IAMS TH
dog article
dog article

adp_description_block500
คู่มือการดูแลและการเลี้ยงดูลูกสุนัข

  • แบ่งปัน

ลูกสุนัขตัวเล็กพร้อมนำความสุขมาให้พวกเราตั้งแต่วินาทีแรกที่เข้าบ้าน และการดูแลพวกเค้าอย่างดีก็กลายเป็นนิสัยติดตัวของเรา เชื่อว่าเจ้าของหลาย ๆ คนอาจมีคำถามว่า “เราควรดูแลลูกสุนัขอย่างไรดี?” บอกได้เลยว่าการดูแลลูกสุนัขนั้นแสนง่ายดาย หากรู้วิธีที่ถูกต้อง ซึ่งไอแอมส์ได้รวบรวมคำตอบและเทคนิคดี ๆ อีกมากมายมาให้คุณแล้ว
 

ทำไมลูกสุนัขถึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ?

เจ้าตัวน้อยสี่ขาต้องการอาหารที่ดีมีคุณภาพ และสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เพราะพวกเค้าช่างเปราะบาง มีโอกาสเจ็บป่วยและติดโรคร้ายได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีนิสัยชอบเคี้ยวสิ่งของต่าง ๆ จึงต้องคอยระมัดระวังไม่ให้กลืนสิ่งของอันตรายลงท้อง และควรจัดเตรียมของเล่นสำหรับกัดแทะไว้ให้พวกเค้าแทน

 

การดูแลโภชนาการ และการฝึกอย่างเหมาะสมในช่วงวัยลูกสุนัข ส่งผลต่อสุขภาพของพวกเค้าอย่างไรบ้าง?

หากเลือกให้อาหารคุณภาพดีตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข พวกเค้าก็จะเติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย การดูแลโภชนาการอย่างเหมาะสมเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี มันช่วยลดความเสี่ยงในการล้มป่วยและการมีปัญหาสุขภาพลง นอกจากนี้ควรพาน้องหมาไปออกกำลังกายเป็นประจำ หากไม่ได้ออกกำลังหรือไม่ทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเลย อาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้  ซึ่งทั้งสองข้อนี้คือกุญแจสำคัญที่ช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพแข็งแรงอย่างยั่งยืน

 

ตามติดพัฒนาการของลูกสุนัขในแต่ละช่วงวัย

ตารางพัฒนาการนี้ จะช่วยให้คุณเข้าใจความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัยของเจ้าตัวน้อยที่แสนน่ารักได้ดียิ่งขึ้น:

พัฒนาการลูกสุนัข

0-7 สัปดาห์

7-8 สัปดาห์

8-10 สัปดาห์

8-16 สัปดาห์

4-6 เดือน

6-12 เดือน

12-18 

เดือน

ลักษณะการเปลี่ยนแปลง

ลูกสุนัขเริ่มเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคม เช่น การกัด การยอมจำนน การให้ความสนใจ และการโต้ตอบกับน้องหมาตัวอื่น

เป็นช่วงวัยที่ดีที่สุดในการเชื่อมความสัมพันธ์กับเจ้าของ 

ถือเป็นช่วงเวลาที่ลูกสุนัขอ่อนแอที่สุด อาจเรียกอีกอย่างว่า 'ช่วงเวลาแห่งความกลัว' เป็นการดีที่สุดหากช่วยให้ลูกสุนัขมีประสบการณ์เชิงบวก

สามารถเริ่มฝึกทักษะต่าง ๆ ได้แล้วในช่วงนี้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษขณะฝึก 

ลูกสุนัขจะมีความมั่นใจ และต้องการอิสระมากขึ้น

เป็นช่วงเวลาในการปลดปล่อยพลังงาน ควรจัดหากิจกรรมมาให้พวกเค้าทำแก้เบื่อด้วยนะ

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยนี้ ลูกสุนัขจะเริ่มมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่มั่นคงขึ้น

  

เริ่มฝึกทักษะขั้นพื้นฐานให้พวกเค้าได้แล้ว 

ควรปลอบโยนเวลาที่พวกเค้ารู้สึกกลัวหรือเสียใจ 

 

สามารถทำหมันได้เมื่อมีอายุ 6 เดือน 

ควรเตรียมของเล่นที่หลากหลายไว้ให้พร้อม 

ในช่วงนี้ น้องหมาจะพยายามขึ้นเป็นจ่าฝูง และพยายามยืนยันสถานะของตัวเอง

 

เคล็ดลับการดูแลสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง

การต้อนรับลูกสุนัขมาเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัว ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราต้องจัดการหลังพาพวกเค้าเข้าบ้านแล้ว และนี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยให้การดูแลนั้นง่ายขึ้น:

  • เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ชามสแตนเลส ชามอาหาร ชามน้ำ
  • เตรียมเบาะนอนและผ้าห่มเพิ่มความอบอุ่น
  • ให้เวลาพวกเค้าได้ปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ 
  • เริ่มต้นก้าวแรกอย่างดีด้วยการเลือกอาหารคุณภาพเยี่ยมให้พวกเค้า
  • เตรียมปลอกคอพร้อมป้ายชื่อที่มีข้อมูลติดต่อของคุณให้เรียบร้อย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัขตัวน้อย:

  1. การดูแลลูกสุนัขแรกเกิดที่ถูกต้องควรทำอย่างไร?
  2. ในฐานะเจ้าของ คุณต้องเรียนรู้วิธีการดูแล และคำนึงถึงปัจจัยสำคัญเหล่านี้:

    • สิ่งที่สำคัญและถือเป็นการดูแลขั้นพื้นฐาน คือการจัดหาน้ำสะอาด โภชนาการที่เหมาะสม และการนอนหลับที่ดี
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเค้าอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย
    • รับมือกับความต้องการทางจิตวิทยา อย่างการฝึกเข้าสังคม

  3. ทำอย่างไรให้ลูกสุนัขแรกเกิดมีสุขภาพที่แข็งแรง?
  4. แนะนำให้ทำความสะอาดพื้นที่อยู่อาศัยของลูกสุนัขเป็นประจำ ฉีดวัคซีนให้ครบตามการนัดหมายของสัตวแพทย์ หมั่นสังเกตพฤติกรรมและความผิดปกติที่เกิดขึ้น คุณสามารถให้ขนมที่ดีต่อสุขภาพกับพวกเค้าได้ด้วยเช่นกัน

  5. ควรเริ่มฝึกลูกสุนัขตอนไหนดีนะ?
  6. สามารถเริ่มต้นด้วยการฝึกขั้นพื้นฐานโดยใช้คำสั่ง เช่น “นั่ง”, “นอนราบ” และ “อยู่นิ่ง” ได้ เมื่อลูกสุนัขมีอายุประมาณ 7 สัปดาห์ ทั้งนี้คุณควรตั้งชื่อให้พวกเค้าตั้งแต่วันแรกที่เจอ เพื่อทำให้พวกเค้าสนใจเมื่อถูกเรียกชื่อ และมีส่วนช่วยให้การฝึกง่ายขึ้นอีกด้วย สุดท้ายนี้ การฝึกลูกสุนัขไม่ควรใจร้อน แต่ควรฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป

  7. สิ่งแรกที่ต้องทำหลังจากรับเลี้ยงลูกสุนัขคืออะไร?
  8. แนะนำให้กำหนดตารางเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้พวกเค้า หรือทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้:

    1. ฝึกให้น้องหมาทำความคุ้นเคยกับพื้นที่สำหรับขับถ่าย หากพวกเค้าขับถ่ายถูกต้องก็อย่าลืมให้รางวัลด้วยนะ
    2. เตรียมพื้นที่พักผ่อนพร้อมของเล่น และอุปกรณ์ที่จำเป็น และปล่อยให้พวกเค้าทำความคุ้นเคย แต่ถ้าน้องหมาเริ่มกัดแทะสิ่งของ หรือฉี่ทับ ให้รีบย้ายข้าวของออกมาในทันที
    3. สังเกตพฤติกรรมของเจ้าตัวน้อยเมื่ออยู่ในพื้นที่ส่วนตัว แม้จะอยู่ในช่วงปรับตัวกับพื้นที่ใหม่ แต่คุณสามารถชวนพวกเค้าเล่นสนุกด้วยได้นะ
  • 5 เหตุผลที่สุนัขของคุณนอนหลับนาน
    5 เหตุผลที่สุนัขของคุณนอนหลับนาน
    adp_description_block454
    5 เหตุผลที่สุนัขของคุณนอนหลับนาน

    • แบ่งปัน

    ใครเคยเป็นบ้าง? อยากสลับตัวกับน้องหมา เพราะอิจฉาที่น้องหมาได้นอนทั้งวัน ไม่ต้องทำงาน แค่พักผ่อนสบาย ๆ อยู่ในบ้าน แม้ว่าจะนอนหลับเต็มอิ่มมาตลอดทั้งคืนแล้ว แต่น้องหมาก็ยังสามารถงีบหลับได้ในช่วงกลางวัน อาจเห็นพวกเค้านอนอาบแดด หลับไปบนโซฟา หรือแค่งีบหลับอยู่ใกล้ ๆ ตัวเรา และเมื่อตื่นขึ้นมาหลังจากงีบหลับไป เจ้าตัวน้อยของคุณก็จะเต็มไปด้วยพลังและพร้อมสำหรับการเล่นอย่างจริงจัง

     

    ทำไมสุนัขของฉันถึงนอนมาก? สุนัขนอนกลางคืนกี่ชั่วโมง? สุนัขนอนทั้งวันผิดปกติหรือไม่? คำถามเหล่านี้พบบ่อยมากในหมู่ผู้เลี้ยงสุนัข เพราะสัตว์หลายชนิด รวมถึงสุนัขด้วย มีพฤติกรรมการนอนแตกต่างจากคน นอกจากนี้วงจรการนอนหลับของสุนัขก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ สุขภาพ และรูปแบบการใช้ชีวิต อ่านบทความของเราเพื่อค้นหาคำตอบว่าน้องหมานอนวันละกี่ชั่วโมง พร้อมทำความเข้าใจพฤติกรรมการนอนของพวกเค้ากันให้มากขึ้น
     

    สุนัขนอนกี่ชั่วโมงในแต่ละวัน?

    สุนัขจำเป็นต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งระยะเวลาในการนอนอาจมากกว่าเรา และเพราะเป็นสัตว์กินเนื้อจึงนอนหลับมากกว่าสัตว์กินพืช เนื่องจากการนอนเป็นอันตรายต่อสัตว์ที่เป็นเหยื่อมากกว่า ระยะเวลาในการนอนหลับของสุนัขจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ สุขภาพโดยรวม และรูปแบบการใช้ชีวิต โดยอายุถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด
     

    สุนัขนอนทั้งวันจริงหรือไม่? โดยทั่วไป สุนัขจะนอนหลับประมาณ 12 – 14 ชั่วโมงต่อวัน แต่สำหรับลูกสุนัขอาจนอนนานกว่านี้ เนื่องจากลูกสุนัขจำเป็นต้องพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อฟื้นฟูร่างกายในช่วง 2 – 3 เดือนแรกของชีวิต เรามาดูกันว่าอายุส่งผลต่อวงจรการนอนหลับของสุนัขอย่างไรบ้าง

    • ลูกสุนัข

    ลูกสุนัขต้องนอนมากเท่าที่ร่างกายต้องการเพื่อการเจริญเติบโตและการฟื้นฟู เป็นเรื่องปกติหากลูกสุนัขจะนอนหลับเกือบทั้งวัน ความจริงแล้ว ลูกสุนัขมักจะนอนหลับในช่วงกลางวันและนอนน้อยลงในช่วงกลางคืน

    • สุนัขโต

    สุนัขโตเต็มวัยจะนอนประมาณ 8 – 13 ชั่วโมง หรือโดยเฉลี่ย 11 ชั่วโมงต่อวัน สุนัขโตมักจะนอนได้นานขึ้นในตอนกลางคืน ขึ้นอยู่กับกิจวัตรประจำวันของพวกเค้าและผู้เลี้ยง อย่างไรก็ตาม การงีบหลับในช่วงกลางวันก็ยังคงเกิดขึ้นตามปกติ พวกเค้าอาจนอนสองสามชั่วโมงระหว่างวัน

    • สุนัขสูงวัย

    สุนัขสูงอายุนอนหลับได้มากเท่ากับลูกสุนัข มักจะไม่ตื่นขึ้นมากลางดึกและงีบหลับเป็นเวลาหลายชั่วโมงตลอดทั้งวัน การนอนหลับช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่และฟื้นตัวได้ดีเมื่อมีอายุมากขึ้น
     

    สุนัขนอนหลับมากเกินไปหรือเปล่า?

    น้องหมานอนเยอะมาก พฤติกรรมนี้ผิดปกติหรือเปล่า? สุนัขทุกช่วงวัยนอนหลับเฉลี่ยประมาณ 15 ชั่วโมงต่อวัน น้องหมาแต่ละตัวมีความแตกต่างกัน ทั้งความต้องการ สุขภาพ และกิจวัตรประจำวัน หากคุณหมั่นสังเกตพฤติกรรม ในไม่ช้า คุณก็จะเข้าใจวิธีการทำงานของร่างกายและวงจรการนอนหลับของน้องหมา
     

    หากคุณกังวลที่น้องหมานอนเยอะเกินไป อย่าลังเลที่จะปรึกษาสัตวแพทย์ เป็นการดีกว่าเสมอที่จะคลายข้อสงสัยของคุณและพาเจ้าตัวน้อยไปตรวจสุขภาพเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เนื่องจากปัญหาสุขภาพเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้น้องหมานอนเยอะกว่าปกติ เช่น โรคเบาหวาน อาการซึมเศร้า และความวิตกกังวล
     

    สาเหตุที่สุนัขนอนหลับมาก

    มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้น้องหมานอนหลับมากหรือนอนนานเกินไป โดยปัญหาสุขภาพเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย จึงแนะนำให้หมั่นพาน้องหมาไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ แต่นอกจากปัญหาสุขภาพแล้ว น้องหมาอาจนอนหลับนานขึ้นเพราะสาเหตุเหล่านี้ได้เช่นกัน

    • ความเครียด ความวิตกกังวล และความเบื่อหน่าย

    หากbbที่ง่ายที่สุดคือความเบื่อหน่าย บางครั้งน้องหมาก็เลือกที่จะนอนเพียงเพราะไม่มีอะไรทำ แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากความเครียดและความวิตกกังวล โดยคุณจะพบว่าน้องหมามีอาการเซื่องซึมและเผลอหลับบ่อย ๆ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการสร้างกิจวัตรประจำวัน พยายามแบ่งเวลาเล่นและออกกำลังกายให้เพียงพอต่อความต้องการของพวกเค้า

    • โรคเบาหวาน

    น้องหมาอาจเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ในปริมาณที่ต้องการ สุนัขบางพันธุ์มีความเสี่ยงต่อโรคนี้สูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ

    • การติดเชื้อไวรัส

    การติดเชื้อไวรัสในสุนัขติดต่อได้ง่ายและอาจส่งผลต่อร่างกายอย่างรุนแรง น้องหมาจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ตามปกติ ทำให้ร่างกายขาดน้ำ และอาจมีภาวะขาดโปรตีนด้วย การฟื้นตัวจากโรคนี้มักจะใช้เวลานานพอสมควร แนะนำให้ฉีดวัคซีนลูกสุนัขตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

    • การติดเชื้อแบคทีเรีย

    การติดเชื้อแบคทีเรียเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในสุนัข อีกทั้งยังติดต่อได้ง่ายผ่านการสัมผัสปัสสาวะของสุนัขตัวอื่น และสามารถแพร่กระจายมาสู่คนได้เช่นกัน การติดเชื้อนี้อาจทำให้ร่างกายหมดพลังงาน ส่งผลให้น้องหมานอนหลับบ่อยผิดปกติ

    • การได้รับสารพิษ

    หากน้องหมาไม่ได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมและชอบกินของแปลกปลอม ความเสี่ยงต่อการได้รับพิษก็จะมากขึ้น นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการให้อาหารของคนหลายชนิด เนื่องจากเป็นอันตรายต่อสุนัข เช่น อะโวคาโด เครื่องเทศ กาแฟ และชีสบางชนิด
     

    ตอนนี้คุณรู้แล้วว่าในหนึ่งวันสุนัขนอนกี่ชั่วโมง หากพบว่าน้องหมามีอาการผิดปกติหรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างกะทันหัน ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์ทันที

Close modal