IAMS TH
dog article
dog article

adp_description_block285
คู่มือการดูแลและการเลี้ยงดูลูกสุนัข

  • แบ่งปัน

ลูกสุนัขตัวเล็กพร้อมนำความสุขมาให้พวกเราตั้งแต่วินาทีแรกที่เข้าบ้าน และการดูแลพวกเค้าอย่างดีก็กลายเป็นนิสัยติดตัวของเรา เชื่อว่าเจ้าของหลาย ๆ คนอาจมีคำถามว่า “เราควรดูแลลูกสุนัขอย่างไรดี?” บอกได้เลยว่าการดูแลลูกสุนัขนั้นแสนง่ายดาย หากรู้วิธีที่ถูกต้อง ซึ่งไอแอมส์ได้รวบรวมคำตอบและเทคนิคดี ๆ อีกมากมายมาให้คุณแล้ว
 

ทำไมลูกสุนัขถึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ?

เจ้าตัวน้อยสี่ขาต้องการอาหารที่ดีมีคุณภาพ และสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เพราะพวกเค้าช่างเปราะบาง มีโอกาสเจ็บป่วยและติดโรคร้ายได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีนิสัยชอบเคี้ยวสิ่งของต่าง ๆ จึงต้องคอยระมัดระวังไม่ให้กลืนสิ่งของอันตรายลงท้อง และควรจัดเตรียมของเล่นสำหรับกัดแทะไว้ให้พวกเค้าแทน

 

การดูแลโภชนาการ และการฝึกอย่างเหมาะสมในช่วงวัยลูกสุนัข ส่งผลต่อสุขภาพของพวกเค้าอย่างไรบ้าง?

หากเลือกให้อาหารคุณภาพดีตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข พวกเค้าก็จะเติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย การดูแลโภชนาการอย่างเหมาะสมเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี มันช่วยลดความเสี่ยงในการล้มป่วยและการมีปัญหาสุขภาพลง นอกจากนี้ควรพาน้องหมาไปออกกำลังกายเป็นประจำ หากไม่ได้ออกกำลังหรือไม่ทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเลย อาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้  ซึ่งทั้งสองข้อนี้คือกุญแจสำคัญที่ช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพแข็งแรงอย่างยั่งยืน

 

ตามติดพัฒนาการของลูกสุนัขในแต่ละช่วงวัย

ตารางพัฒนาการนี้ จะช่วยให้คุณเข้าใจความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัยของเจ้าตัวน้อยที่แสนน่ารักได้ดียิ่งขึ้น:

พัฒนาการลูกสุนัข

0-7 สัปดาห์

7-8 สัปดาห์

8-10 สัปดาห์

8-16 สัปดาห์

4-6 เดือน

6-12 เดือน

12-18 

เดือน

ลักษณะการเปลี่ยนแปลง

ลูกสุนัขเริ่มเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคม เช่น การกัด การยอมจำนน การให้ความสนใจ และการโต้ตอบกับน้องหมาตัวอื่น

เป็นช่วงวัยที่ดีที่สุดในการเชื่อมความสัมพันธ์กับเจ้าของ 

ถือเป็นช่วงเวลาที่ลูกสุนัขอ่อนแอที่สุด อาจเรียกอีกอย่างว่า 'ช่วงเวลาแห่งความกลัว' เป็นการดีที่สุดหากช่วยให้ลูกสุนัขมีประสบการณ์เชิงบวก

สามารถเริ่มฝึกทักษะต่าง ๆ ได้แล้วในช่วงนี้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษขณะฝึก 

ลูกสุนัขจะมีความมั่นใจ และต้องการอิสระมากขึ้น

เป็นช่วงเวลาในการปลดปล่อยพลังงาน ควรจัดหากิจกรรมมาให้พวกเค้าทำแก้เบื่อด้วยนะ

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยนี้ ลูกสุนัขจะเริ่มมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่มั่นคงขึ้น

  

เริ่มฝึกทักษะขั้นพื้นฐานให้พวกเค้าได้แล้ว 

ควรปลอบโยนเวลาที่พวกเค้ารู้สึกกลัวหรือเสียใจ 

 

สามารถทำหมันได้เมื่อมีอายุ 6 เดือน 

ควรเตรียมของเล่นที่หลากหลายไว้ให้พร้อม 

ในช่วงนี้ น้องหมาจะพยายามขึ้นเป็นจ่าฝูง และพยายามยืนยันสถานะของตัวเอง

 

เคล็ดลับการดูแลสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง

การต้อนรับลูกสุนัขมาเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัว ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราต้องจัดการหลังพาพวกเค้าเข้าบ้านแล้ว และนี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยให้การดูแลนั้นง่ายขึ้น:

  • เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ชามสแตนเลส ชามอาหาร ชามน้ำ
  • เตรียมเบาะนอนและผ้าห่มเพิ่มความอบอุ่น
  • ให้เวลาพวกเค้าได้ปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ 
  • เริ่มต้นก้าวแรกอย่างดีด้วยการเลือกอาหารคุณภาพเยี่ยมให้พวกเค้า
  • เตรียมปลอกคอพร้อมป้ายชื่อที่มีข้อมูลติดต่อของคุณให้เรียบร้อย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัขตัวน้อย:

  1. การดูแลลูกสุนัขแรกเกิดที่ถูกต้องควรทำอย่างไร?
  2. ในฐานะเจ้าของ คุณต้องเรียนรู้วิธีการดูแล และคำนึงถึงปัจจัยสำคัญเหล่านี้:

    • สิ่งที่สำคัญและถือเป็นการดูแลขั้นพื้นฐาน คือการจัดหาน้ำสะอาด โภชนาการที่เหมาะสม และการนอนหลับที่ดี
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเค้าอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย
    • รับมือกับความต้องการทางจิตวิทยา อย่างการฝึกเข้าสังคม

  3. ทำอย่างไรให้ลูกสุนัขแรกเกิดมีสุขภาพที่แข็งแรง?
  4. แนะนำให้ทำความสะอาดพื้นที่อยู่อาศัยของลูกสุนัขเป็นประจำ ฉีดวัคซีนให้ครบตามการนัดหมายของสัตวแพทย์ หมั่นสังเกตพฤติกรรมและความผิดปกติที่เกิดขึ้น คุณสามารถให้ขนมที่ดีต่อสุขภาพกับพวกเค้าได้ด้วยเช่นกัน

  5. ควรเริ่มฝึกลูกสุนัขตอนไหนดีนะ?
  6. สามารถเริ่มต้นด้วยการฝึกขั้นพื้นฐานโดยใช้คำสั่ง เช่น “นั่ง”, “นอนราบ” และ “อยู่นิ่ง” ได้ เมื่อลูกสุนัขมีอายุประมาณ 7 สัปดาห์ ทั้งนี้คุณควรตั้งชื่อให้พวกเค้าตั้งแต่วันแรกที่เจอ เพื่อทำให้พวกเค้าสนใจเมื่อถูกเรียกชื่อ และมีส่วนช่วยให้การฝึกง่ายขึ้นอีกด้วย สุดท้ายนี้ การฝึกลูกสุนัขไม่ควรใจร้อน แต่ควรฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป

  7. สิ่งแรกที่ต้องทำหลังจากรับเลี้ยงลูกสุนัขคืออะไร?
  8. แนะนำให้กำหนดตารางเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้พวกเค้า หรือทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้:

    1. ฝึกให้น้องหมาทำความคุ้นเคยกับพื้นที่สำหรับขับถ่าย หากพวกเค้าขับถ่ายถูกต้องก็อย่าลืมให้รางวัลด้วยนะ
    2. เตรียมพื้นที่พักผ่อนพร้อมของเล่น และอุปกรณ์ที่จำเป็น และปล่อยให้พวกเค้าทำความคุ้นเคย แต่ถ้าน้องหมาเริ่มกัดแทะสิ่งของ หรือฉี่ทับ ให้รีบย้ายข้าวของออกมาในทันที
    3. สังเกตพฤติกรรมของเจ้าตัวน้อยเมื่ออยู่ในพื้นที่ส่วนตัว แม้จะอยู่ในช่วงปรับตัวกับพื้นที่ใหม่ แต่คุณสามารถชวนพวกเค้าเล่นสนุกด้วยได้นะ
  • คู่มือการลดน้ำหนักสุนัข
    คู่มือการลดน้ำหนักสุนัข
    adp_description_block255
    3 วิธีช่วยลดน้ำหนักให้สุนัขของคุณ

    • แบ่งปัน

    เคยสงสัยไหมว่าทำไมน้องหมาบางตัวถึงมีหุ่นอวบอ้วนกว่าที่ควรจะเป็น? น้องหมาก็เหมือนกับเราที่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำหนักตัว ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องดูแลให้น้องหมามีน้ำหนักและรูปร่างที่เหมาะสม ถึงแม้ว่าจะมีขนมหลากหลายชนิดยั่วยวนใจและข้อจำกัดในการออกกำลังกายมากขึ้นก็ตาม การรับมือกับปัญหาน้ำหนักเกินในสุนัขอาจเป็นเรื่องยากหากคุณไม่รู้วิธีลดอย่างถูกต้อง อ่านบทความของเราเพื่อเรียนรู้วิธีการดูแลและการเลือกอาหารลดน้ำหนักสุนัขอย่างเหมาะสม

     

    ในปัจจุบันพบว่าสุนัขมีน้ำหนักตัวเกินมากขึ้น ผู้เลี้ยงจึงควรสังเกตรูปร่างและร่างกายของน้องหมาให้ละเอียดยิ่งขึ้น สัมผัสลำตัวแล้วพบกระดูกซี่โครงไหม? มองเห็นช่วงเอวหรือไม่? การสังเกตเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการประเมินว่าสุนัขอ้วนหรือผอมเกินไปหรือไม่ หากพบว่าน้องหมามีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักตัว คุณควรจัดการในทันที 
     

    เพราะอะไรการลดน้ำหนักสุนัขจึงเป็นสิ่งสำคัญ?

    การรักษาน้ำหนักให้เหมาะสมส่งผลดีต่อสุขภาพ รูปลักษณ์ภายนอก และความเป็นอยู่ สุนัขที่มีน้ำหนักเกินมักจะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานและโรคหัวใจ ผู้เลี้ยงควรทำความเข้าใจสาเหตุที่ทำให้สุนัขน้ำหนักเพิ่มขึ้น เพราะมันเป็นก้าวแรกในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีและยืดอายุให้ยืนยาวขึ้น
     

    การลดน้ำหนักสุนัข มีวิธีใดบ้าง?

    เรารู้ดีว่าการลดน้ำหนักหมามักจะทำให้ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่กังวลและเครียด แต่ทุกอย่างจะง่ายขึ้น หากคุณเริ่มต้นลดน้ำหนักให้น้องหมาด้วยวิธีเหล่านี้

    • เลือกโภชนาการที่ครบถ้วนและสมดุล

    โภชนาการที่ดีจะประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสุนัข ขอแนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อวางแผนมื้ออาหารที่เหมาะสำหรับการลดน้ำหนัก โดยอาหารลดน้ำหนักสุนัขควรผลิตจากส่วนผสมคุณภาพสูงและมีแคลอรีต่ำ สิ่งสำคัญคือต้องกำหนดปริมาณอาหารให้เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป

    • ออกกำลังกายเป็นประจำ 

    การออกกำลังกายคือวิธีลดน้ำหนักสุนัขที่ได้ผลดีที่สุด แต่ควรปรับให้เหมาะกับสายพันธุ์และอายุของสุนัขด้วย คุณอาจชวนพวกเค้าเล่นหรือทำกิจกรรมสนุก ๆ เช่น เล่นคาบของ วิ่งล่าเหยื่อ หรือว่ายน้ำ เพื่อกระตุ้นให้น้องหมาเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ค่อย ๆ เพิ่มความเข้มข้นและระยะเวลาของการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักทีละน้อย ควบคู่ไปกับการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

    • จัดการกับปัญหาสุขภาพ 

    น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพ แนะนำให้ไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจเช็กร่างกายและค้นหาสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์อาจทำให้สุนัขมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น โดยสัตวแพทย์สามารถแนะนำแนวทางการรักษา การใช้ยา และการเลือกอาหารลดน้ำหนักสุนัขที่เหมาะสมได้

    • ดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด 

    หมั่นสังเกตพฤติกรรมและความเปลี่ยนแปลงของน้องหมาอย่างสม่ำเสมอ อาจจะต้องปรับแผนตามความจำเป็น การลดน้ำหนักหมาแบบค่อยเป็นค่อยไปช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดี ควรทำตามแผนการอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ แม้น้องหมาจะมีน้ำหนักตัวตามที่คาดหวังแล้วก็ควรควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมต่อไป อย่างไรก็ตาม หากพบว่าน้องหมามีน้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายอย่างละเอียด

    • ประเมินผลการลดน้ำหนัก 

    แม้ว่าการทำตามแผนลดน้ำหนักอย่างเคร่งครัดจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ไม่ควรลดน้ำหนักเร็วเกินไปหรือเลือกใช้วิธีลดน้ำหนักสุนัขที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
     

    สุนัขน้ำหนักลดลงผิดปกติ

    สิ่งสำคัญในการลดน้ำหนักสุนัขคือการเลือกวิธีที่ดีต่อสุขภาพ ต้องไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว และน้ำหนักต้องไม่ลดลงเร็วจนเกินไป โดยปัจจัยเหล่านี้คือสิ่งที่คุณควรระมัดระวังมากเป็นพิเศษในช่วงลดน้ำหนัก

    • ออกกำลังกายมากเกินไป – หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายมากเกินไป เพราะอาจนำไปสู่ความเครียดหรือการบาดเจ็บ ควรสังเกตสัญญาณของความเหนื่อยล้าหรือความไม่สบายตัวระหว่างออกกำลังกายด้วย
    • ความเครียด – การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ความอยากอาหาร หรือระดับพลังงานอาจบ่งบอกถึงความเครียด คุณควรสร้างสภาพแวดล้อมที่สงบและเป็นมิตรเพื่อให้น้องหมารู้สึกปลอดภัย
    • ปัญหาสุขภาพ – น้ำหนักลดอย่างกะทันหันอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ หากพบการเปลี่ยนแปลงที่น่าตกใจ ขอแนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

    การควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความเป็นอยู่โดยรวมของสุนัข การเลือกใช้วิธีลดน้ำหนักหมาที่ดีต่อสุขภาพ ควบคู่ไปกับการปรึกษาสัตวแพทย์และสังเกตพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้น้องหมาของคุณมีชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น

Close modal