IAMS TH
dog article
dog article

adp_description_block378
คู่มือการดูแลและการเลี้ยงดูลูกสุนัข

  • แบ่งปัน

ลูกสุนัขตัวเล็กพร้อมนำความสุขมาให้พวกเราตั้งแต่วินาทีแรกที่เข้าบ้าน และการดูแลพวกเค้าอย่างดีก็กลายเป็นนิสัยติดตัวของเรา เชื่อว่าเจ้าของหลาย ๆ คนอาจมีคำถามว่า “เราควรดูแลลูกสุนัขอย่างไรดี?” บอกได้เลยว่าการดูแลลูกสุนัขนั้นแสนง่ายดาย หากรู้วิธีที่ถูกต้อง ซึ่งไอแอมส์ได้รวบรวมคำตอบและเทคนิคดี ๆ อีกมากมายมาให้คุณแล้ว
 

ทำไมลูกสุนัขถึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ?

เจ้าตัวน้อยสี่ขาต้องการอาหารที่ดีมีคุณภาพ และสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เพราะพวกเค้าช่างเปราะบาง มีโอกาสเจ็บป่วยและติดโรคร้ายได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีนิสัยชอบเคี้ยวสิ่งของต่าง ๆ จึงต้องคอยระมัดระวังไม่ให้กลืนสิ่งของอันตรายลงท้อง และควรจัดเตรียมของเล่นสำหรับกัดแทะไว้ให้พวกเค้าแทน

 

การดูแลโภชนาการ และการฝึกอย่างเหมาะสมในช่วงวัยลูกสุนัข ส่งผลต่อสุขภาพของพวกเค้าอย่างไรบ้าง?

หากเลือกให้อาหารคุณภาพดีตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข พวกเค้าก็จะเติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย การดูแลโภชนาการอย่างเหมาะสมเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี มันช่วยลดความเสี่ยงในการล้มป่วยและการมีปัญหาสุขภาพลง นอกจากนี้ควรพาน้องหมาไปออกกำลังกายเป็นประจำ หากไม่ได้ออกกำลังหรือไม่ทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเลย อาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้  ซึ่งทั้งสองข้อนี้คือกุญแจสำคัญที่ช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพแข็งแรงอย่างยั่งยืน

 

ตามติดพัฒนาการของลูกสุนัขในแต่ละช่วงวัย

ตารางพัฒนาการนี้ จะช่วยให้คุณเข้าใจความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัยของเจ้าตัวน้อยที่แสนน่ารักได้ดียิ่งขึ้น:

พัฒนาการลูกสุนัข

0-7 สัปดาห์

7-8 สัปดาห์

8-10 สัปดาห์

8-16 สัปดาห์

4-6 เดือน

6-12 เดือน

12-18 

เดือน

ลักษณะการเปลี่ยนแปลง

ลูกสุนัขเริ่มเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคม เช่น การกัด การยอมจำนน การให้ความสนใจ และการโต้ตอบกับน้องหมาตัวอื่น

เป็นช่วงวัยที่ดีที่สุดในการเชื่อมความสัมพันธ์กับเจ้าของ 

ถือเป็นช่วงเวลาที่ลูกสุนัขอ่อนแอที่สุด อาจเรียกอีกอย่างว่า 'ช่วงเวลาแห่งความกลัว' เป็นการดีที่สุดหากช่วยให้ลูกสุนัขมีประสบการณ์เชิงบวก

สามารถเริ่มฝึกทักษะต่าง ๆ ได้แล้วในช่วงนี้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษขณะฝึก 

ลูกสุนัขจะมีความมั่นใจ และต้องการอิสระมากขึ้น

เป็นช่วงเวลาในการปลดปล่อยพลังงาน ควรจัดหากิจกรรมมาให้พวกเค้าทำแก้เบื่อด้วยนะ

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยนี้ ลูกสุนัขจะเริ่มมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่มั่นคงขึ้น

   

เริ่มฝึกทักษะขั้นพื้นฐานให้พวกเค้าได้แล้ว 

ควรปลอบโยนเวลาที่พวกเค้ารู้สึกกลัวหรือเสียใจ 

 

สามารถทำหมันได้เมื่อมีอายุ 6 เดือน 

ควรเตรียมของเล่นที่หลากหลายไว้ให้พร้อม 

ในช่วงนี้ น้องหมาจะพยายามขึ้นเป็นจ่าฝูง และพยายามยืนยันสถานะของตัวเอง

 

เคล็ดลับการดูแลสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง

การต้อนรับลูกสุนัขมาเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัว ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราต้องจัดการหลังพาพวกเค้าเข้าบ้านแล้ว และนี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยให้การดูแลนั้นง่ายขึ้น:

  • เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ชามสแตนเลส ชามอาหาร ชามน้ำ
  • เตรียมเบาะนอนและผ้าห่มเพิ่มความอบอุ่น
  • ให้เวลาพวกเค้าได้ปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ 
  • เริ่มต้นก้าวแรกอย่างดีด้วยการเลือกอาหารคุณภาพเยี่ยมให้พวกเค้า
  • เตรียมปลอกคอพร้อมป้ายชื่อที่มีข้อมูลติดต่อของคุณให้เรียบร้อย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัขตัวน้อย:

  1. การดูแลลูกสุนัขแรกเกิดที่ถูกต้องควรทำอย่างไร?
  2. ในฐานะเจ้าของ คุณต้องเรียนรู้วิธีการดูแล และคำนึงถึงปัจจัยสำคัญเหล่านี้:

    • สิ่งที่สำคัญและถือเป็นการดูแลขั้นพื้นฐาน คือการจัดหาน้ำสะอาด โภชนาการที่เหมาะสม และการนอนหลับที่ดี
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเค้าอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย
    • รับมือกับความต้องการทางจิตวิทยา อย่างการฝึกเข้าสังคม

  3. ทำอย่างไรให้ลูกสุนัขแรกเกิดมีสุขภาพที่แข็งแรง?
  4. แนะนำให้ทำความสะอาดพื้นที่อยู่อาศัยของลูกสุนัขเป็นประจำ ฉีดวัคซีนให้ครบตามการนัดหมายของสัตวแพทย์ หมั่นสังเกตพฤติกรรมและความผิดปกติที่เกิดขึ้น คุณสามารถให้ขนมที่ดีต่อสุขภาพกับพวกเค้าได้ด้วยเช่นกัน

  5. ควรเริ่มฝึกลูกสุนัขตอนไหนดีนะ?
  6. สามารถเริ่มต้นด้วยการฝึกขั้นพื้นฐานโดยใช้คำสั่ง เช่น “นั่ง”, “นอนราบ” และ “อยู่นิ่ง” ได้ เมื่อลูกสุนัขมีอายุประมาณ 7 สัปดาห์ ทั้งนี้คุณควรตั้งชื่อให้พวกเค้าตั้งแต่วันแรกที่เจอ เพื่อทำให้พวกเค้าสนใจเมื่อถูกเรียกชื่อ และมีส่วนช่วยให้การฝึกง่ายขึ้นอีกด้วย สุดท้ายนี้ การฝึกลูกสุนัขไม่ควรใจร้อน แต่ควรฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป

  7. สิ่งแรกที่ต้องทำหลังจากรับเลี้ยงลูกสุนัขคืออะไร?
  8. แนะนำให้กำหนดตารางเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้พวกเค้า หรือทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้:

    1. ฝึกให้น้องหมาทำความคุ้นเคยกับพื้นที่สำหรับขับถ่าย หากพวกเค้าขับถ่ายถูกต้องก็อย่าลืมให้รางวัลด้วยนะ
    2. เตรียมพื้นที่พักผ่อนพร้อมของเล่น และอุปกรณ์ที่จำเป็น และปล่อยให้พวกเค้าทำความคุ้นเคย แต่ถ้าน้องหมาเริ่มกัดแทะสิ่งของ หรือฉี่ทับ ให้รีบย้ายข้าวของออกมาในทันที
    3. สังเกตพฤติกรรมของเจ้าตัวน้อยเมื่ออยู่ในพื้นที่ส่วนตัว แม้จะอยู่ในช่วงปรับตัวกับพื้นที่ใหม่ แต่คุณสามารถชวนพวกเค้าเล่นสนุกด้วยได้นะ
  • วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    adp_description_block86
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย

    • แบ่งปัน

    หากคุณอยากมีเพื่อนเล่นแก้เหงาหรือเพื่อนแท้ที่คอยอยู่เคียงข้าง ขอแนะนำให้รับเลี้ยงลูกสุนัขไว้สักตัว แต่ต้องมั่นใจด้วยว่าคุณสามารถดูแลรับผิดชอบเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ได้ เพราะลูกสุนัขต้องการความรักความเอาใจใส่เพื่อให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี
     

    การดูแลลูกสุนัขไม่ใช่แค่การให้อาหาร มอบความรัก หรือชวนเล่นเป็นครั้งคราว คุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม ฝึกพวกเค้าให้รู้จักขับถ่ายเป็นที่ รวมถึงต้องพาไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการดูแลทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณและเจ้าตัวน้อยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันมากขึ้น คุณจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการเจริญเติบโตของพวกเค้า สำหรับผู้เลี้ยงที่ไม่มั่นใจหรือมีความกังวล ในบทความนี้จะบอกเคล็ดลับและวิธีดูแลลูกสุนัขในช่วง 2 – 3 เดือนแรกให้ทุกคนได้รู้กัน
     

    การนำลูกสุนัขกลับบ้าน

    มีอะไรบ้างที่เราควรรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัข? มาเริ่มกันที่การรับลูกสุนัขเข้าบ้านวันแรก คุณควรจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นอันตรายอยู่รอบ ๆ ตัวลูกสุนัข เช่น สารเคมี สายไฟ ต้นไม้ที่มีพิษ ของมีคม และข้าวของที่แตกหักง่าย เพราะลูกสุนัขก็เปรียบเหมือนทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าบอบบางแต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น นอกจากนี้คุณต้องซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม อย่างเช่น ชามอาหาร ปลอกคอ สายจูง และเบาะนอนนุ่ม ๆ สำหรับพักผ่อน
     

    การให้อาหารลูกสุนัข

    หนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้ามีความต้องการแตกต่างจากสุนัขวัยอื่น อีกทั้งยังต้องการสารอาหารที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี 
     

    การเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตจะขึ้นอยู่กับขนาดพันธุ์ สำหรับสุนัขพันธุ์เล็กหรือพันธุ์กลาง คุณสามารถเปลี่ยนสูตรอาหารได้เมื่อพวกเค้ามีอายุ 9 – 12 เดือน แต่หากเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ควรเปลี่ยนเมื่อมีอายุ 12 – 24 เดือน นอกจากการให้อาหารที่ดีและเหมาะสมแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วย
     

    ตารางการให้อาหารสำหรับลูกสุนัข

    • 6 – 12 สัปดาห์ - 4 มื้อต่อวัน 
    • 3 – 6 เดือน - 3 มื้อต่อวัน
    • 6 – 12 เดือน - 2 มื้อต่อวัน

    ไอแอมส์™ มีผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับลูกสุนัขและสุนัขโตให้เลือกหลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์ของเราคัดสรรแต่วัตถุดิบคุณภาพระดับพรีเมียม นอกจากนี้ยังอุดมด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ มั่นใจได้เลยว่าน้องหมาของคุณจะเพลิดเพลินกับอาหารทุกคำที่พวกเค้าลิ้มรส
     

    การพบสัตวแพทย์และการฉีดวัคซีน

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลลูกสุนัข การเข้าพบครั้งแรกจะช่วยให้คุณรับรู้ข้อมูลสุขภาพโดยรวมของเจ้าตัวน้อย คุณหมอจะแจ้งตารางการฉีดวัคซีนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเหล่านี้เพิ่มเติมด้วย

    • ตารางการฉีดวัคซีน
    • การทำหมัน
    • การฝึกขับถ่าย
    • การฝึกทำตามคำสั่งพื้นฐาน
    • การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
    • โภชนาการที่เหมาะสม
    • การถ่ายพยาธิ

    การฝึกเข้าสังคมให้ลูกสุนัข

    ลูกสุนัขควรได้พบเจอกับผู้คน เพื่อนหมาตัวอื่น และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเรียนรู้ที่จะปรับตัว โดยเวลาที่สำคัญที่สุดในการฝึกเข้าสังคมคือช่วงอายุระหว่าง 3 – 12 สัปดาห์ และแนะนำให้ฝึกอย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

    คุณควรเริ่มฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัขตั้งแต่วันแรกที่พาเข้าบ้าน เพื่อปลูกฝังให้พวกเค้าขับถ่ายเป็นที่ ไม่ต้องคอยทำความสะอาดทุกครั้ง เริ่มต้นฝึกด้วยการเลือกพื้นที่ขับถ่ายนอกบ้าน จากนั้นพาลูกสุนัขไปที่ดังกล่าวเมื่อถึงเวลาขับถ่าย ให้รางวัลทันทีหลังจากพวกเค้าขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำโทษไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวและอาจแสดงท่าทีก้าวร้าว
     

    การฝึกที่ดีที่สุดคือการฝึกในเชิงบวก หรือก็คือการให้รางวัลเมื่อพวกเค้าทำได้ดีหรือทำตัวน่ารัก และควรกำหนดระยะเวลาการฝึกเป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อไม่ให้ลูกสุนัขรู้สึกเบื่อหรือเหนื่อยจนเกินไป
     

    การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

    น้องหมาก็มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันเช่นเดียวกัน ทั้งการมีกลิ่นปาก ฟันหลุด และโรคปริทันต์ ซึ่งพวกเค้ามักจะไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็นอย่างชัดเจน ผู้เลี้ยงจึงควรดูแลช่องปากและฟันของพวกเค้าเป็นประจำ โดยควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยของคุณเพิ่มเติมได้
     

    การออกกำลังกายสำหรับลูกสุนัข

    แม้จะเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลัง แต่ผู้เลี้ยงควรควบคุมปริมาณและเวลาในการออกกำลังกายของลูกสุนัขให้เหมาะสม และปล่อยให้พวกเค้าได้พักผ่อนทุกครั้งที่ต้องการ หลีกเลี่ยงการให้เล่นเป็นเวลานาน ๆ เพียงครั้งเดียว แนะนำให้พาออกไปเดินเล่นระยะสั้น ๆ วันละสองครั้งแทน