IAMS TH
dog article
dog article

adp_description_block358
คู่มือการดูแลและการเลี้ยงดูลูกสุนัข

  • แบ่งปัน

ลูกสุนัขตัวเล็กพร้อมนำความสุขมาให้พวกเราตั้งแต่วินาทีแรกที่เข้าบ้าน และการดูแลพวกเค้าอย่างดีก็กลายเป็นนิสัยติดตัวของเรา เชื่อว่าเจ้าของหลาย ๆ คนอาจมีคำถามว่า “เราควรดูแลลูกสุนัขอย่างไรดี?” บอกได้เลยว่าการดูแลลูกสุนัขนั้นแสนง่ายดาย หากรู้วิธีที่ถูกต้อง ซึ่งไอแอมส์ได้รวบรวมคำตอบและเทคนิคดี ๆ อีกมากมายมาให้คุณแล้ว
 

ทำไมลูกสุนัขถึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ?

เจ้าตัวน้อยสี่ขาต้องการอาหารที่ดีมีคุณภาพ และสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เพราะพวกเค้าช่างเปราะบาง มีโอกาสเจ็บป่วยและติดโรคร้ายได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีนิสัยชอบเคี้ยวสิ่งของต่าง ๆ จึงต้องคอยระมัดระวังไม่ให้กลืนสิ่งของอันตรายลงท้อง และควรจัดเตรียมของเล่นสำหรับกัดแทะไว้ให้พวกเค้าแทน

 

การดูแลโภชนาการ และการฝึกอย่างเหมาะสมในช่วงวัยลูกสุนัข ส่งผลต่อสุขภาพของพวกเค้าอย่างไรบ้าง?

หากเลือกให้อาหารคุณภาพดีตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข พวกเค้าก็จะเติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย การดูแลโภชนาการอย่างเหมาะสมเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี มันช่วยลดความเสี่ยงในการล้มป่วยและการมีปัญหาสุขภาพลง นอกจากนี้ควรพาน้องหมาไปออกกำลังกายเป็นประจำ หากไม่ได้ออกกำลังหรือไม่ทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเลย อาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้  ซึ่งทั้งสองข้อนี้คือกุญแจสำคัญที่ช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพแข็งแรงอย่างยั่งยืน

 

ตามติดพัฒนาการของลูกสุนัขในแต่ละช่วงวัย

ตารางพัฒนาการนี้ จะช่วยให้คุณเข้าใจความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัยของเจ้าตัวน้อยที่แสนน่ารักได้ดียิ่งขึ้น:

พัฒนาการลูกสุนัข

0-7 สัปดาห์

7-8 สัปดาห์

8-10 สัปดาห์

8-16 สัปดาห์

4-6 เดือน

6-12 เดือน

12-18 

เดือน

ลักษณะการเปลี่ยนแปลง

ลูกสุนัขเริ่มเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคม เช่น การกัด การยอมจำนน การให้ความสนใจ และการโต้ตอบกับน้องหมาตัวอื่น

เป็นช่วงวัยที่ดีที่สุดในการเชื่อมความสัมพันธ์กับเจ้าของ 

ถือเป็นช่วงเวลาที่ลูกสุนัขอ่อนแอที่สุด อาจเรียกอีกอย่างว่า 'ช่วงเวลาแห่งความกลัว' เป็นการดีที่สุดหากช่วยให้ลูกสุนัขมีประสบการณ์เชิงบวก

สามารถเริ่มฝึกทักษะต่าง ๆ ได้แล้วในช่วงนี้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษขณะฝึก 

ลูกสุนัขจะมีความมั่นใจ และต้องการอิสระมากขึ้น

เป็นช่วงเวลาในการปลดปล่อยพลังงาน ควรจัดหากิจกรรมมาให้พวกเค้าทำแก้เบื่อด้วยนะ

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยนี้ ลูกสุนัขจะเริ่มมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่มั่นคงขึ้น

  

เริ่มฝึกทักษะขั้นพื้นฐานให้พวกเค้าได้แล้ว 

ควรปลอบโยนเวลาที่พวกเค้ารู้สึกกลัวหรือเสียใจ 

 

สามารถทำหมันได้เมื่อมีอายุ 6 เดือน 

ควรเตรียมของเล่นที่หลากหลายไว้ให้พร้อม 

ในช่วงนี้ น้องหมาจะพยายามขึ้นเป็นจ่าฝูง และพยายามยืนยันสถานะของตัวเอง

 

เคล็ดลับการดูแลสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง

การต้อนรับลูกสุนัขมาเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัว ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราต้องจัดการหลังพาพวกเค้าเข้าบ้านแล้ว และนี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยให้การดูแลนั้นง่ายขึ้น:

  • เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ชามสแตนเลส ชามอาหาร ชามน้ำ
  • เตรียมเบาะนอนและผ้าห่มเพิ่มความอบอุ่น
  • ให้เวลาพวกเค้าได้ปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ 
  • เริ่มต้นก้าวแรกอย่างดีด้วยการเลือกอาหารคุณภาพเยี่ยมให้พวกเค้า
  • เตรียมปลอกคอพร้อมป้ายชื่อที่มีข้อมูลติดต่อของคุณให้เรียบร้อย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัขตัวน้อย:

  1. การดูแลลูกสุนัขแรกเกิดที่ถูกต้องควรทำอย่างไร?
  2. ในฐานะเจ้าของ คุณต้องเรียนรู้วิธีการดูแล และคำนึงถึงปัจจัยสำคัญเหล่านี้:

    • สิ่งที่สำคัญและถือเป็นการดูแลขั้นพื้นฐาน คือการจัดหาน้ำสะอาด โภชนาการที่เหมาะสม และการนอนหลับที่ดี
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเค้าอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย
    • รับมือกับความต้องการทางจิตวิทยา อย่างการฝึกเข้าสังคม

  3. ทำอย่างไรให้ลูกสุนัขแรกเกิดมีสุขภาพที่แข็งแรง?
  4. แนะนำให้ทำความสะอาดพื้นที่อยู่อาศัยของลูกสุนัขเป็นประจำ ฉีดวัคซีนให้ครบตามการนัดหมายของสัตวแพทย์ หมั่นสังเกตพฤติกรรมและความผิดปกติที่เกิดขึ้น คุณสามารถให้ขนมที่ดีต่อสุขภาพกับพวกเค้าได้ด้วยเช่นกัน

  5. ควรเริ่มฝึกลูกสุนัขตอนไหนดีนะ?
  6. สามารถเริ่มต้นด้วยการฝึกขั้นพื้นฐานโดยใช้คำสั่ง เช่น “นั่ง”, “นอนราบ” และ “อยู่นิ่ง” ได้ เมื่อลูกสุนัขมีอายุประมาณ 7 สัปดาห์ ทั้งนี้คุณควรตั้งชื่อให้พวกเค้าตั้งแต่วันแรกที่เจอ เพื่อทำให้พวกเค้าสนใจเมื่อถูกเรียกชื่อ และมีส่วนช่วยให้การฝึกง่ายขึ้นอีกด้วย สุดท้ายนี้ การฝึกลูกสุนัขไม่ควรใจร้อน แต่ควรฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป

  7. สิ่งแรกที่ต้องทำหลังจากรับเลี้ยงลูกสุนัขคืออะไร?
  8. แนะนำให้กำหนดตารางเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้พวกเค้า หรือทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้:

    1. ฝึกให้น้องหมาทำความคุ้นเคยกับพื้นที่สำหรับขับถ่าย หากพวกเค้าขับถ่ายถูกต้องก็อย่าลืมให้รางวัลด้วยนะ
    2. เตรียมพื้นที่พักผ่อนพร้อมของเล่น และอุปกรณ์ที่จำเป็น และปล่อยให้พวกเค้าทำความคุ้นเคย แต่ถ้าน้องหมาเริ่มกัดแทะสิ่งของ หรือฉี่ทับ ให้รีบย้ายข้าวของออกมาในทันที
    3. สังเกตพฤติกรรมของเจ้าตัวน้อยเมื่ออยู่ในพื้นที่ส่วนตัว แม้จะอยู่ในช่วงปรับตัวกับพื้นที่ใหม่ แต่คุณสามารถชวนพวกเค้าเล่นสนุกด้วยได้นะ
  • สัญญาณปัญหาสุนัขท้องเสีย พร้อมวิธีรักษา
    สัญญาณปัญหาสุนัขท้องเสีย พร้อมวิธีรักษา
    adp_description_block448
    เทคนิคการดูแลน้องหมาท้องเสีย

    • แบ่งปัน

    เชื่อว่าไม่มีใครอยากเห็นน้องหมาเจ็บปวด มีอาการตัวสั่น อึดอัด หรือรู้สึกไม่สบายตัว เรารู้ดีว่าสถานการณ์เช่นนี้ทำให้พ่อแม่ปวดใจเสมอ

     

    หลาย ๆ คนก็คงตกใจเมื่อน้องหมาอาเจียนหรือมีอาการท้องเสีย รวมถึงสงสัยว่าทำไมน้องหมาถึงอาเจียน น้องหมาท้องเสียเป็นเพราะอะไร? แล้วอาการแบบใดที่บ่งบอกถึงปัญหาที่ร้ายแรง? เรามาหาคำตอบและทำความเข้าใจอาการเหล่านี้ไปด้วยกัน

     

    สุนัขอาเจียนและสุนัขท้องเสียเกิดจากสาเหตุอะไร?

    การอาเจียนเป็นปัญหาทั่วไปที่พบได้บ่อยและเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย มันคือการขับของเหลวในกระเพาะหรือลำไส้ส่วนบนของสุนัขอย่างรุนแรง ส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้เกิดขึ้นก่อน เช่น น้ำลายไหล เลียริมฝีปาก และกลืนน้ำลายมากผิดปกติ สาเหตุของการอาเจียนไม่ได้ร้ายแรงทุกครั้งไป อาจเป็นเพราะน้องหมากินอาหารเร็วเกินหรือกลืนกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป แต่ในบางกรณีก็เป็นสัญญาณเตือนของปัญหาที่น่ากังวล เช่น การได้รับสารพิษ หรือการเจ็บป่วยอย่างรุนแรง

     

    ส่วนสาเหตุที่ทำให้น้องหมาท้องเสียนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากปัจจัยเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง อาการท้องไส้ปั่นป่วนในทางการแพทย์จะเรียกว่ากระเพาะและลำไส้อักเสบ โดยเกิดจากการอักเสบหรือการระคายเคือง สิ่งนี้เกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหัน การแพ้อาหาร การกินสิ่งแปลกปลอม การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส รวมถึงปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น ตับอ่อนอักเสบหรือไตวาย

     

    พ่อแม่ส่วนใหญ่อาจสับสนระหว่างการอาเจียนกับการสำรอก โดยทั่วไปแล้วการสำรอกจะเกิดขึ้นหลังจากกินอาหารไม่นาน และเป็นอาการที่ไม่ต้องเกร็งช่องท้อง อาหารที่ไม่ได้ย่อยจะถูกขับออกมาทางปากโดยไม่ต้องใช้ความพยายามมากนัก ในทางกลับกัน การอาเจียนจะอาเจียนเกี่ยวข้องกับการหดตัวของช่องท้อง ส่งผลให้อาหารที่ย่อยแล้วบางส่วนผสมกับน้ำดีถูกขับออกมา

     

    อาการปวดท้องในสุนัข

    แน่นอนว่าอาการปวดท้องทำให้น้องหมารู้สึกแย่และไม่สบายตัว พ่อแม่จึงควรทำความเข้าใจลักษณะอาการเพื่อดูแลและบรรเทาความเจ็บปวดได้ทันท่วงที โดยอาการที่พบบ่อยมีดังนี้

    • น้ำลายไหล
    • กัดฟัน
    • ขยับหรือเลียริมฝีปากบ่อยผิดปกติ

    ในกรณีที่รุนแรง น้องหมาอาจแสดงอาการเหล่านี้

    • อาเจียน
    • เรอ
    • ตด
    • ท้องเสีย
    • การบีบตัวของลำไส้รุนแรงมากขึ้น

    หากน้องหมามีอาการเจ็บปวด เบื่ออาหาร แสดงอาการขาดน้ำ มีไข้ หรือมีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น อ่อนเพลีย กระสับกระส่าย หรือตัวสั่น ทั้งหมดนี้บ่งบอกถึงปัญหาที่ควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

     

    ในกรณีที่รุนแรง อาการท้องเสียอาจทำให้น้องหมาน้ำหนักลดและอาเจียนบ่อย ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น โรคตับหรือไต ตับอ่อนอักเสบ และโรคมะเร็ง แนะนำให้หมั่นสังเกตพฤติกรรมและอาการเครียดในสุนัข เนื่องจากมักจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นหรือกระตุ้นให้เกิดปัญหากระเพาะอาหาร

     

    สุนัขท้องเสีย รักษาเบื้องต้นได้อย่างไร?

    สำหรับการรักษาอาการสุนัขท้องเสีย วิธีรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุเป็นส่วนใหญ่ เช่น หากสุนัขถ่ายเหลวจากการเปลี่ยนอาหารหรือการกินอาหารเร็วเกินไป สามารถดูแลรักษาที่บ้านได้ง่าย ๆ อย่างไรก็ตาม หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการร้ายแรงอื่น ๆ ร่วมด้วย แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติม

     

    เมื่อสุนัขท้องเสีย วิธีรักษาทั่วไปคือ

    • ปรับตารางการให้อาหาร
    • เปลี่ยนมาให้อาหารรสจืดและย่อยง่าย
    • การจัดเตรียมน้ำให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ วางชามน้ำในมุมที่เข้าถึงได้ตลอดเวลา
    • สามารถซื้อยาจากร้านทั่วไปได้ แต่ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนให้ยาน้องหมาเสมอ

     

    รู้หรือไม่? การเสริมโพรไบโอติกเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันที่ดีที่สุด ขอแนะนำไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ อาหารเสริมรูปแบบเม็ดเพื่อสุขภาพที่ดีของระบบทางเดินอาหาร อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ไม่ใช่การรักษาแต่เป็นวิธีแก้ปัญหาชั่วคราว หากน้องหมาท้องเสียหรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง ควรไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กอย่างละเอียด

     

    ในบางกรณีที่สุนัขท้องเสีย รักษาเบื้องต้นได้ด้วยตนเองที่บ้าน แต่หากเกิดขึ้นบ่อยหรือมีอาการรุนแรงก็จำเป็นต้องไปพบสัตวแพทย์ อายุและสุขภาพโดยรวมของสุนัขก็เป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลรักษาเช่นกัน การตรวจพบอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้การรักษาง่ายขึ้นและลดความรุนแรงของอาการเจ็บป่วยได้ หากน้องหมาอาเจียนหลายครั้งในหนึ่งวัน อาเจียนเสมหะบ่อย หรืออาการไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์โดยเร็ว

     

    อาหารปรุงเอง เช่น เนื้อไก่ มันฝรั่งต้ม และข้าว เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับสุนัขท้องเสีย แต่ไม่ควรให้ติดต่อกันในระยะยาว เพราะสุนัขอาจได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนตามที่ต้องการ สิ่งสำคัญคือต้องหลีกเลี่ยงการให้อาหารดิบ เนื่องจากมีเชื้อโรคที่เป็นอันตราย เช่น ซัลโมเนลลา ทางที่ดีควรปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์เพื่อความปลอดภัยของน้องหมาที่คุณรัก

     

    สุนัขท้องร้องโครกคราก วิธีแก้มีอะไรบ้าง? นอกจากการปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์แล้ว คุณสามารถให้อาหารเสริมเพื่อสุขภาพระบบทางเดินอาหารได้ด้วย ลองเลย! ไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ อาหารเสริมรูปแบบเม็ดเพื่อสุขภาพที่ดีของระบบทางเดินอาหาร มีส่วนประกอบของพรีไบโอติกและโพรไบโอติกที่เป็นประโยชน์กับลำไส้ เนื้อสัมผัสนุ่ม เคี้ยวง่าย ปราศจากสารสังเคราะห์ สารปรุงแต่งกลิ่นรส และวัตถุกันเสีย จึงเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยและเสริมสร้างสุขภาพทางเดินอาหารของสุนัขได้เป็นอย่างดี

     

    การทำความเข้าใจสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาอาการอาเจียนและท้องเสียของสุนัข จะช่วยให้น้องหมามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หากคุณมีข้อสงสัยหรือความกังวลใจ อย่าลังเลที่จะปรึกษาสัตวแพทย์

Close modal