IAMS TH
Nutritional Needs of Pregnant and Nursing Dogs
Nutritional Needs of Pregnant and Nursing Dogs

adp_description_block365
การดูแลสุนัขตั้งท้อง

ความต้องการทางโภชนาการของสุนัขตั้งท้องและสุนัขช่วงให้นมลูก

  • แบ่งปัน

ช่วงที่สุนัขตั้งท้องและช่วงที่สุนัขให้นมลูกการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับการกายของพวกเขาเท่านั้น แต่การดำเนินชีวิตของสุนัขเองก็เปลี่ยนไปด้วย หากสุนัขของคุณกำลังอยู่ในช่วงตั้งท้องหรืออยู่ในช่วงให้นมลูก เจ้าของควรให้การเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษกับความต้องการทางโภชนาการที่เปลี่ยนแปลงของสุนัขตั้งแต่ช่วงที่ตั้งท้อง คลอด และให้นมลูก

โภชนาการและการควบคุมน้ำหนักตัวเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับสุขภาพของแม่สุนัขที่กำลังตั้งท้อง แม้ว่าแม่สุนัขไม่จำเป็นต้องพบสัตวแพทย์บ่อยเหมือนกับคนเรา แต่เจ้าของก็ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีดูแลสุนัขตั้งท้องอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการป้องกันปัญหาปรสิตทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เนื่องจากเป็นอันตรายต่อสุขภาพของแม่สุนัขและลูกตัวน้อย

 

แน่นอนว่าการตั้งท้องเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ในขณะเดียวกันการดูแลสุนัขตั้งท้องก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก ยิ่งในช่วงสัปดาห์แรกของการตั้งท้อง เจ้าของจำเป็นต้องดูแลพวกเค้าอย่างใกล้ชิด

 

โดยอาการเหล่านี้คืออาการที่บ่งบอกว่าสุนัขของคุณกำลังตั้งท้อง – 

 

สัญญาณบ่งบอกการตั้งท้องของสุนัข

ทำกิจกรรมน้อยลง

น้องหมาตั้งท้องมักจะเหนื่อยง่ายและนอนหลับมากขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเรื่องยากที่จะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงในน้องหมาที่ชอบพักผ่อนมากกว่าทำกิจกรรม ในกรณีนี้ให้สังเกตเวลาพวกเค้าเดินว่าเหนื่อยง่ายหรือเหนื่อยเร็วกว่าปกติหรือไม่แทน

 

แสดงพฤติกรรมแปลก ๆ 

พฤติกรรมบางอย่างของน้องหมาตั้งท้องอาจเปลี่ยนแปลงไป เช่น ต้องการความสนใจจากเจ้าของมากขึ้น อยากอยู่ด้วย เข้าหาบ่อยขึ้น แต่บางครั้งพวกเค้าก็ต้องการพื้นที่ส่วนตัว หากถูกรบกวนก็อาจแสดงท่าทางไม่พอใจหรือหงุดหงิดใส่ได้

 

การกินอาหารผิดปกติ

การกินอาหารผิดปกติเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้ในสุนัขตั้งท้อง โดยแม่สุนัขบางตัวอาจกินอาหารน้อยลง มีอาการอาเจียนเป็นครั้งคราวในช่วงแรกหรือในช่วงระหว่างการตั้งท้อง แต่บางตัวก็อาจกินอาหารมากกว่าปกติ และไม่พอใจกับมื้ออาหารทั่วไป ความผิดปกติเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย

 

น้ำหนักเพิ่มขึ้นและหน้าท้องขยายใหญ่ขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างชัดเจนในการตั้งท้องของสุนัขคือหน้าท้องขยายใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ตามการขยายตัวของหน้าท้องไม่ได้เกิดขึ้นในทันที แต่จะเริ่มสังเกตเห็นได้ในช่วงปลายของการตั้งท้องแล้ว หากพบว่าหน้าท้องของพวกเค้าใหญ่ขึ้น แนะนำให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที

 

การดูแลโภชนาการสำหรับแม่สุนัขตั้งท้อง

น้องหมาตั้งท้องจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุลในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในเวลาให้อาหาร

ความต้องการพลังงานของน้องหมาตั้งท้องจะสูงขึ้นตามน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น สัตวแพทย์อาจแนะนำสูตรอาหารที่ให้พลังงานสูง รวมถึงมีไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากสูตรอาหารที่ต้องเลือกอย่างดีแล้ว การกำหนดปริมาณอาหารให้เพียงพอก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน หากให้ปริมาณมากไปก็อาจทำให้แม่สุนัขมีน้ำหนักเกินได้

ระยะเวลาตั้งท้องของสุนัขอยู่ที่ประมาณ 9 สัปดาห์ ในช่วงสัปดาห์ที่ 6 และ 7 ควรดูแลสุนัขตั้งท้องให้ได้รับปริมาณอาหารที่ไม่มากจนเกินไป และควรเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรลูกสุนัข เนื่องจากมีพลังงานและสารอาหารมากกว่าสูตรทั่วไป ช่วยให้แม่สุนัขแข็งแรง ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน และพร้อมสำหรับการให้นมลูกตัวน้อย เมื่อเริ่มเข้าสู่สัปดาห์ที่ 9 แม่สุนัขจะอยากอาหารน้อยลง ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าพวกเค้าใกล้คลอดเจ้าตัวน้อยออกมาแล้ว

สำหรับแม่สุนัขที่อยู่ในช่วงตั้งท้องและช่วงให้นมลูก การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับสภาพร่างกายเท่านั้น แต่การใช้ชีวิตและความต้องการทางโภชนาการของพวกเค้าก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย การดูแลสุนัขตั้งท้องอย่างใกล้ชิดจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

 

พัฒนาการรายสัปดาห์ของแม่สุนัขตั้งท้อง

 

 

สัปดาห์ที่ 1 และ 2

  • มีการผสมพันธุ์
  • เกิดการปฏิสนธิ
  • ไข่เข้าสู่ระยะฝังตัว
 

สัปดาห์ที่ 3 และ 4

  • เอ็มบริโอเริ่มพัฒนา
  • มีการเจริญของไขสันหลัง
  • ตัวอ่อนหรือฟีตัสเติบโตขึ้น เริ่มสังเกตเห็นใบหน้า

สัปดาห์ที่ 5 และ 6

  • เข้าสู่ขบวนการสร้างอวัยวะ
  • มีพัฒนาการของแขนขา ดวงตา และอวัยวะอื่น ๆ

สัปดาห์ที่ 7 และ 8

  • การเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกสุนัขเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
  • เริ่มเคลื่อนตัวไปมาในช่องท้อง

สัปดาห์ที่ 9

  • การเจริญเติบโตและพัฒนาการสมบูรณ์
  • เข้าสู่ช่วงใกล้คลอด

 

แม่สุนัขจำเป็นต้องฉีดวัคซีนใดบ้าง?

 

ก่อนการตั้งท้องของสุนัข:

ก่อนการตั้งท้องของสุนัข เจ้าของควรวางแผน ประเมินสุขภาพร่างกาย และปรึกษาสัตวแพทย์เรื่องการฉีดวัคซีนให้เรียบร้อยเสียก่อน

ซึ่งตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้วัคซีนในสุนัขและแมว แนะนำให้ฉีดวัคซีนดังต่อไปนี้:วัคซีนป้องกันโรคไข้หัดสุนัข

วัคซีนป้องกันพาร์โวไวรัส

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (เรบีส์)

 

ระหว่างการตั้งท้อง:

หากได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนตั้งแต่ก่อนตั้งท้องแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นเพิ่มเติมอีก ซึ่งสัตวแพทย์เองก็ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนให้กับแม่สุนัขที่กำลังตั้งท้อง

ความแตกต่างหลักระหว่างสุนัขพันธุ์ใหญ่และสุนัขพันธุ์เล็กในช่วงตั้งท้องคือความต้องการทางโภชนาการ โดยสุนัขพันธุ์เล็กต้องการพลังงานมากกว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่ เพื่อบำรุงลูกตัวน้อยในท้องและเพื่อให้มีน้ำนมเพียงพอต่อการเลี้ยงลูก ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 แม่หมาตั้งท้องอาจต้องกินอาหารมากขึ้นถึง 3 เท่า เพื่อให้การผลิตน้ำนมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้สมดุล ส่วนในช่วงใกล้คลอด แม่หมาต้องการสารอาหารและพลังงานมากกว่าน้องหมาทั่วไปถึง 15% - 25%

ทั้งนี้การเลือกสูตรอาหารให้แม่สุนัขตั้งท้องควรพิจารณาจากขนาดของสายพันธุ์ด้วย

 

ก่อนการตั้งท้อง: ควรวางแผนล่วงหน้า

หากคุณวางแผนจะเพิ่มจำนวนสมาชิกมะหมา ก่อนการผสมพันธุ์ควรประเมินสุขภาพร่างกายของว่าที่แม่สุนัขเป็นอันดับแรก เนื่องจากร่างกายของพวกเค้าจะมีความต้องการทางโภชนาการและการดูแลเปลี่ยนแปลงไป โดยสุนัขที่มีน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน มักมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ:

สุนัขที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มักมีปัญหาในการกินอาหารได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายตัวเองและลูกน้อยในท้อง

สุนัขที่มีน้ำหนักเกินอาจประสบปัญหาคลอดยาก เนื่องจากลูกสุนัขมีขนาดตัวใหญ่เกินไป 

 

เจ้าของต้องมั่นใจว่าแม่สุนัขได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุลในปริมาณที่เหมาะสม สิ่งนี้จะช่วยให้ว่าที่แม่สุนัขมีน้ำหนักตัวเหมาะสมและมีร่างกายแข็งแรงพร้อมผสมพันธุ์ นอกจากนี้ยังช่วยให้การตั้งท้องไปจนถึงการคลอดและให้นมลูกเป็นไปอย่างราบรื่น

 

ช่วงตั้งท้อง: ควบคุมน้ำหนักให้สมดุล

ระยะเวลาตั้งท้องของสุนัขคือเก้าสัปดาห์ ในช่วงแรกสุนัขตั้งท้องจะมีน้ำหนักเพิ่มเพียงเล็กน้อย จนเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่หก น้ำหนักจะเพิ่มอย่างรวดเร็ว และหลักจากนั้นก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

 

สุนัขตั้งท้องจะต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น โดยจะสะท้อนออกมาในรูปแบบของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ความต้องการจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าสู่การตั้งท้องในสัปดาห์ที่ 6 โดยแม่สุนัขจะกินอาหารมากกว่าปกติประมาณ 25% - 50% ในช่วงใกล้คลอด

 

อาหารที่ดีที่สุดสำหรับแม่สุนัขที่กำลังตั้งท้องและต้องให้นมลูกคือ อาหารคุณภาพดี โภชนาการครบถ้วน และเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตในทุกช่วงวัย แม้ว่าโดยทั่วไปจะแนะนำให้กินอาหารสูตรลูกสุนัข แต่อาหารสูตรสำหรับลูกสุนัขพันธุ์ใหญ่อาจไม่ค่อยเหมาะสม เนื่องจากร่างกายของแม่สุนัขมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ต้องการพลังงานและแร่ธาตุแตกต่างจากช่วงปกติ

 

อาหารชนิดไหนที่ควรหลีกเลี่ยงในระหว่างการดูแลสุนัขตั้งท้อง?

ควรหลีกเลี่ยงอาหารดิบหรืออาหารที่ไม่ปรุงสุก สามารถให้อาหารสูตรสำหรับสุนัขตั้งท้องหรือสูตรสำหรับลูกสุนัขตามการแนะนำของสัตวแพทย์ โดยไม่จำเป็นต้องให้อาหารเสริมหรือวิตามินเพิ่มเติม

อีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับแม่หมาตั้งท้องคือการให้อาหารสุนัขไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรแม่และลูกสุนัข เพราะมีส่วนช่วยในการเพิ่มน้ำนม เสริมสร้างพัฒนาการของลูกสุนัขตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ และยังมีสารอาหารสำคัญอย่างดีเอชเอที่ช่วยในการทำงานของระบบสมองให้ลูกสุนัขมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้นด้วย

 

ช่วงให้นมลูก: ดูแลให้แม่สุนัขได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

แม้ว่าหลังคลอดแม่สุนัขจะมีน้ำหนักตัวลดลงแล้ว แต่พวกเค้ายังคงต้องการสารอาหารมากกว่าปกติ ซึ่งความต้องการนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนลูกสุนัขและการให้นม โดยแม่สุนัขอาจต้องการอาหารมากกว่าปกติ 2 - 3 เท่า เพื่อให้มีน้ำนมเพียงพอสำหรับลูกตัวน้อย นอกจากนี้ควรเช็กให้แน่ใจว่าแม่สุนัขได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสม เพราะมันมีส่วนช่วยในการผลิตน้ำนมด้วยเช่นกัน

 

เพื่อให้แม่สุนัขที่อยู่ในช่วงให้นมลูกได้รับสารอาหารที่เพียงพอ คุณสามารถลองใช้เทคนิคเหล่านี้ได้:

<ul><li> เลือกให้อาหารที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน เช่น อาหารสูตรสำหรับลูกสุนัข

<ul><li> หลีกเลี่ยงการเพิ่มปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ แต่ให้เพิ่มจำนวนมื้ออาหารตลอดวันแทน

<ul><li> แนะนำให้เทอาหารเม็ดทิ้งไว้ เพื่อให้แม่สุนัขเข้าถึงได้ตลอดทั้งวัน

 

ช่วงหย่านม: เปลี่ยนไปให้อาหารสูตรเดิมก่อนการตั้งท้อง

ในช่วง 4 - 5 สัปดาห์หลังคลอด ลูกสุนัขจะเริ่มให้ความสนใจในอาหารของแม่ เจ้าตัวน้อยจะกินอาหารอื่นมากขึ้นและดูดนมน้อยลง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วลูกสุนัขจะหย่านมเมื่ออายุประมาณ 7 - 8 สัปดาห์ ในเวลานี้ร่างกายของแม่สุนัขจะเปลี่ยนไปมีความต้องการพลังงานในระดับปกติ จึงกลับไปกินอาหารสูตรเดิมก่อนการตั้งท้องหรือสูตรทั่วไปได้แล้ว



dog

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลสุนัขตั้งท้องและสุนัขให้นมลูก

 

สุนัขตั้งท้องควรกินอาหารแบบใด?

สุนัขตั้งท้องควรเปลี่ยนมากินอาหารที่ให้พลังงานสูง (ควรเปลี่ยนหลังตั้งท้องได้หนึ่งเดือน) อาหารควรมีปริมาณโปรตีน 22% และปริมาณแคลอรี่ที่ย่อยได้ประมาณ 1600 กิโลแคลอรี

 

สามารถให้อาหารแม่สุนัขระหว่างคลอดได้หรือไม่?

สุนัขที่อยู่ในระหว่างการคลอดลูก มักจะไม่ยอมกินอาหาร เนื่องจากกระบวนการคลอด ทำให้เหนื่อย อ่อนเพลีย ท้องไส้ปั่นป่วน มีอาการอาเจียน และรู้สึกไม่สบายตัว หากให้แม่สุนัขกินอาหารทันทีหลังคลอด พวกเค้าอาจมีอาการอาเจียนได้

 

หากไม่ได้อยู่ในช่วงติดสัด สุนัขสามารถตั้งท้องได้หรือไม่?

สุนัขจะมีโอกาสตั้งท้องสูงเมื่อได้รับการผสมพันธุ์ในช่วงติดสัด ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละครั้งหรือสองครั้งขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ สุนัขจะเข้าสู่ช่วงติดสัดเมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือน โดยช่วงนี้จะกินเวลาประมาณ 3 สัปดาห์

 

แม่สุนัขจะมีอาการคิดถึงลูกหรือไม่?

แม่สุนัขก็อาจมีการคิดถึงลูกตัวน้อยได้ ดังนั้นควรวางแผนการแยกลูกสุนัขจากแม่ให้เรียบร้อยก่อนเริ่มผสมพันธุ์

 

สุนัขสามารถตั้งท้องในขณะที่ให้นมลูกได้หรือไม่?

หลังจากคลอดลูกแล้ว สุนัขสามารถตั้งท้องได้อีกแต่ก็จะขึ้นอยู่กับช่วงติดสัดด้วย ทางที่ดีจึงควรแยกสุนัขตัวผู้ออกห่างจากแม่สุนัขก่อน เพื่อป้องกันการผสมพันธุ์โดยไม่ตั้งใจ

  • วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    adp_description_block388
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย

    • แบ่งปัน

    หากคุณอยากมีเพื่อนเล่นแก้เหงาหรือเพื่อนแท้ที่คอยอยู่เคียงข้าง ขอแนะนำให้รับเลี้ยงลูกสุนัขไว้สักตัว แต่ต้องมั่นใจด้วยว่าคุณสามารถดูแลรับผิดชอบเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ได้ เพราะลูกสุนัขต้องการความรักความเอาใจใส่เพื่อให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี
     

    การดูแลลูกสุนัขไม่ใช่แค่การให้อาหาร มอบความรัก หรือชวนเล่นเป็นครั้งคราว คุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม ฝึกพวกเค้าให้รู้จักขับถ่ายเป็นที่ รวมถึงต้องพาไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการดูแลทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณและเจ้าตัวน้อยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันมากขึ้น คุณจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการเจริญเติบโตของพวกเค้า สำหรับผู้เลี้ยงที่ไม่มั่นใจหรือมีความกังวล ในบทความนี้จะบอกเคล็ดลับและวิธีดูแลลูกสุนัขในช่วง 2 – 3 เดือนแรกให้ทุกคนได้รู้กัน
     

    การนำลูกสุนัขกลับบ้าน

    มีอะไรบ้างที่เราควรรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัข? มาเริ่มกันที่การรับลูกสุนัขเข้าบ้านวันแรก คุณควรจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นอันตรายอยู่รอบ ๆ ตัวลูกสุนัข เช่น สารเคมี สายไฟ ต้นไม้ที่มีพิษ ของมีคม และข้าวของที่แตกหักง่าย เพราะลูกสุนัขก็เปรียบเหมือนทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าบอบบางแต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น นอกจากนี้คุณต้องซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม อย่างเช่น ชามอาหาร ปลอกคอ สายจูง และเบาะนอนนุ่ม ๆ สำหรับพักผ่อน
     

    การให้อาหารลูกสุนัข

    หนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้ามีความต้องการแตกต่างจากสุนัขวัยอื่น อีกทั้งยังต้องการสารอาหารที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี 
     

    การเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตจะขึ้นอยู่กับขนาดพันธุ์ สำหรับสุนัขพันธุ์เล็กหรือพันธุ์กลาง คุณสามารถเปลี่ยนสูตรอาหารได้เมื่อพวกเค้ามีอายุ 9 – 12 เดือน แต่หากเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ควรเปลี่ยนเมื่อมีอายุ 12 – 24 เดือน นอกจากการให้อาหารที่ดีและเหมาะสมแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วย
     

    ตารางการให้อาหารสำหรับลูกสุนัข

    • 6 – 12 สัปดาห์ - 4 มื้อต่อวัน 
    • 3 – 6 เดือน - 3 มื้อต่อวัน
    • 6 – 12 เดือน - 2 มื้อต่อวัน

    ไอแอมส์™ มีผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับลูกสุนัขและสุนัขโตให้เลือกหลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์ของเราคัดสรรแต่วัตถุดิบคุณภาพระดับพรีเมียม นอกจากนี้ยังอุดมด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ มั่นใจได้เลยว่าน้องหมาของคุณจะเพลิดเพลินกับอาหารทุกคำที่พวกเค้าลิ้มรส
     

    การพบสัตวแพทย์และการฉีดวัคซีน

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลลูกสุนัข การเข้าพบครั้งแรกจะช่วยให้คุณรับรู้ข้อมูลสุขภาพโดยรวมของเจ้าตัวน้อย คุณหมอจะแจ้งตารางการฉีดวัคซีนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเหล่านี้เพิ่มเติมด้วย

    • ตารางการฉีดวัคซีน
    • การทำหมัน
    • การฝึกขับถ่าย
    • การฝึกทำตามคำสั่งพื้นฐาน
    • การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
    • โภชนาการที่เหมาะสม
    • การถ่ายพยาธิ

    การฝึกเข้าสังคมให้ลูกสุนัข

    ลูกสุนัขควรได้พบเจอกับผู้คน เพื่อนหมาตัวอื่น และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเรียนรู้ที่จะปรับตัว โดยเวลาที่สำคัญที่สุดในการฝึกเข้าสังคมคือช่วงอายุระหว่าง 3 – 12 สัปดาห์ และแนะนำให้ฝึกอย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

    คุณควรเริ่มฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัขตั้งแต่วันแรกที่พาเข้าบ้าน เพื่อปลูกฝังให้พวกเค้าขับถ่ายเป็นที่ ไม่ต้องคอยทำความสะอาดทุกครั้ง เริ่มต้นฝึกด้วยการเลือกพื้นที่ขับถ่ายนอกบ้าน จากนั้นพาลูกสุนัขไปที่ดังกล่าวเมื่อถึงเวลาขับถ่าย ให้รางวัลทันทีหลังจากพวกเค้าขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำโทษไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวและอาจแสดงท่าทีก้าวร้าว
     

    การฝึกที่ดีที่สุดคือการฝึกในเชิงบวก หรือก็คือการให้รางวัลเมื่อพวกเค้าทำได้ดีหรือทำตัวน่ารัก และควรกำหนดระยะเวลาการฝึกเป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อไม่ให้ลูกสุนัขรู้สึกเบื่อหรือเหนื่อยจนเกินไป
     

    การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

    น้องหมาก็มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันเช่นเดียวกัน ทั้งการมีกลิ่นปาก ฟันหลุด และโรคปริทันต์ ซึ่งพวกเค้ามักจะไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็นอย่างชัดเจน ผู้เลี้ยงจึงควรดูแลช่องปากและฟันของพวกเค้าเป็นประจำ โดยควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยของคุณเพิ่มเติมได้
     

    การออกกำลังกายสำหรับลูกสุนัข

    แม้จะเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลัง แต่ผู้เลี้ยงควรควบคุมปริมาณและเวลาในการออกกำลังกายของลูกสุนัขให้เหมาะสม และปล่อยให้พวกเค้าได้พักผ่อนทุกครั้งที่ต้องการ หลีกเลี่ยงการให้เล่นเป็นเวลานาน ๆ เพียงครั้งเดียว แนะนำให้พาออกไปเดินเล่นระยะสั้น ๆ วันละสองครั้งแทน