IAMS TH
Common Questions about Feeding Your Dog
Common Questions about Feeding Your Dog

adp_description_block373
มารู้จักว่าสุนัขของคุณกินอะไร และ ให้อาหารสุนัขของคุณอย่างไร

  • แบ่งปัน

 

 

การเลือกอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและสมดุลให้น้องหมาไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คุณคิด! มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันว่า อะไรคืออาหารที่ใช่สำหรับน้องหมา ปริมาณอาหารที่จำเป็นในแต่ละวัน รวมไปถึงวิธีการให้ขนม และอาหารเสริมต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

  1. เราควรเลือกอาหารให้น้องหมาอย่างไร?

เมื่อพูดถึงเรื่องการเลือกอาหารที่ใช่สำหรับน้องหมาแล้ว เราควรพิจารณาจาก 3 ปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ช่วงวัยของน้องหมา
  • กิจวัตรประจำวัน (หรือการออกกำลังกาย)
  • เงื่อนไขด้านสุขภาพ (สุขภาพโดยรวมและน้ำหนักตัว)

 

  1. เราควรให้อาหารน้องหมากี่มื้อในหนึ่งวัน?

หากเป็นลูกสุนัขในวัยหย่านม (อายุ 3 – 6 สัปดาห์) ควรให้อาหารพวกเค้า 3 มื้อต่อวัน เมื่อมีอายุครบ 4 เดือน ให้ลดลงเหลือเพียง 2 มื้อต่อวัน ซึ่งเป็นจำนวนมื้ออาหารของน้องหมาส่วนใหญ่ แต่ก็มีน้องหมาบางส่วนที่สามารถกินอาหารเพียงวันละ 1 มื้อได้

 

  1. ปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับน้องหมาคือเท่าใด?

ปริมาณอาหารที่น้องหมาควรได้รับจะขึ้นอยู่กับอายุ ขนาดตัว และกิจวัตรประจำวันของพวกเค้า หรือจะเลือกให้อาหารตามตารางแนะนำที่ระบุไว้บนซองอาหารสุนัขทุกซองของไอแอมส์™ ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณอาหารตามความต้องการของน้องหมาได้ และอย่าลืมแบ่งสัดส่วนให้เหมาะสมหากคุณให้อาหารพวกเค้ามากกว่า 1 ครั้งต่อวัน

 

  1. ปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกสุนัขตัวน้อยคือเท่าใด?

การกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกสุนัข จะพิจารณาจาก 3 ปัจจัยหลักดังนี้ สายพันธุ์ น้ำหนักตัว และช่วงวัย หรือเลือกให้อาหารตามตารางแนะนำดังต่อไปนี้

ลูกสุนัข

น้ำหนักตัว (กก.)

ปริมาณอาหารที่แนะนำต่อวัน

                                                <3 เดือน              3-6 เดือน            6-9 เดือน           9-12 เดือน             12-18 เดือน

พันธุ์ทอย

1-3

15-72

32-83

37-83

   
 

3-5

33-106

72-121

83-121

   
 

พันธุ์เล็ก 

(25-50)

5-8

48-151

106-172

111-172

111-170

เปลี่ยนมาให้อาหารสุนัขไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™สำหรับสุนัขโตเต็มวัย

 

8-10

69-178

151-204

170-204

170-201

 
 

พันธุ์กลาง

10-20

82-299

178-343

201-343

201-339

 
 

20-25

137-346

339-404

339-404

339-404

 
 

พันธุ์ใหญ่

25-40

136-492

346-575

404-575

396-575

396-563

 

40-50

191-509

493-675

575-681

563-681

553-676

 

อาหารปริมาณ 100 กรัม จะให้พลังงาน 390 กิโลแคลอรี่ นอกจากปริมาณอาหารที่ควรใส่ใจแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วยนะ

  1. เราควรเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตเต็มวัยเมื่อไหร่?

ไม่แนะนำให้เปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหัน เพราะอาจส่งผลเสียต่อท้องน้อย ๆ ของลูกสุนัขได้ ควรให้เวลาพวกเค้าได้ปรับตัว และทำความคุ้นเคยกับอาหารใหม่กันก่อน สำหรับการกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสม และวิธีการเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตเต็มวัยอย่างถูกวิธี เจ้าของสามารถทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • วันที่หนึ่ง – ผสมอาหารสูตรลูกสุนัข 75% เข้ากับอาหารสูตรสุนัขโต 25%
  • วันที่สอง – ผสมอาหารทั้งสองสูตรในปริมาณที่เท่ากัน หรือในสัดส่วน 50-50
  • วันที่สาม – เพิ่มปริมาณอาหารสูตรสุนัขโตเป็น 75% และลดปริมาณอาหารสูตรลูกสุนัขลงเหลือ 25%
  • วันที่สี่ – เปลี่ยนมาให้อาหารสูตรสุนัขโต 100%

ตารางน้ำหนักตัวและช่วงวัยที่แนะนำสำหรับการเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรสุนัขโตเต็มวัย

ตารางน้ำหนัก

ช่วงวัยที่เริ่มเปลี่ยนสูตรอาหารได้

สุนัขพันธุ์เล็กที่มีน้ำหนัก < 20 ปอนด์ 

9 - 12 เดือน

สุนัขพันธุ์กลางที่มีน้ำหนัก 20 ถึง 50 ปอนด์

12 - 14 เดือน

สุนัขพันธุ์ใหญ๋ที่มีน้ำหนักมากกว่า 50 ปอนด์ขึ้นไป

12 - 24 เดือน

 

  1. เราควรเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขสูงวัยเมื่อไหร่?

น้ำหนักตัวคือปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงเมื่อต้องเปลี่ยนอาหารจากสูตรสุนัขโตเต็มวัยมาเป็นสูตรสุนัขสูงวัย เรามาดูตารางแนะนำที่จะช่วยให้การเปลี่ยนอาหารเป็นไปอย่างถูกต้องกันได้เลย

ตารางน้ำหนัก

ช่วงวัยที่เริ่มเปลี่ยนสูตรอาหารได้

น้ำหนักมากกว่า 90 ปอนด์ขึ้นไป

5 ปี

51 - 90 ปอนด์

6 ปี

21 - 50 ปอนด์

7 ปี

น้ำหนัก 20 ปอนด์ขึ้นไป

7 ปี

 

  1. วิธีใดดีที่สุดในการแนะนำอาหารสูตรใหม่ให้น้องหมา?

การปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไปคือกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนอาหารให้น้องหมา ช่วงแรกควรให้อาหารในอัตราส่วนต่อไปนี้ อาหารเก่า 75% อาหารใหม่ 25% และหลังจากนั้น 3 วัน ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหารใหม่ และลดปริมาณอาหารเก่าลง

 

  1. เราควรให้อาหารสุนัขที่มีน้ำหนักเกินอย่างไรจึงจะเหมาะสม?

หากน้องหมาของคุณมีปัญหาน้ำหนักเกิน แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง และเพิ่มความถี่ในการออกกำลังกาย หรือเลือกอาหารสุนัขแบบเม็ดจากไอแอมส์™ ที่มีไขมันต่ำ สารอาหารครบถ้วน มีส่วนผสมของเส้นใยอาหารและพรีไบโอติก ซึ่งมีส่วนช่วยให้ระบบย่อยและขับถ่ายดี รวมถึงมี แอล – คาร์นิทีน ช่วยเสริมการทำงานของระบบเผาผลาญ นอกจากคุณภาพอาหารแล้ว ปริมาณอาหารก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับน้องหมาที่มีน้ำหนักเกิน ต้องมั่นใจว่าให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ไม่ลดน้อยจนทำให้ขาดสารอาหารอย่างโปรตีนและกรดไขมันที่จำเป็น

 

  1. เราควรให้อาหารแม่สุนัขที่กำลังตั้งท้องอย่างไร?

แม่สุนัขที่กำลังตั้งท้องต้องการสารอาหารแตกต่างจากสุนัขทั่วไป แนะนำให้เลือกอาหารสุนัขไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สำหรับแม่และลูกสุนัข ที่อุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพดี ช่วยให้คุณแม่สี่ขามีร่างกายแข็งแรงและมีน้ำนมที่ดีสำหรับลูกตัวน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลก

 

  1. จำเป็นต้องให้อาหารทั้งแบบเม็ดและแบบเปียกกับน้องหมาหรือไม่?

อาหารสุนัขแบบเปียกคือที่สุดของความอร่อยสำหรับเจ้าตัวน้อย จะให้เพียงอย่างเดียวหรือผสมกับอาหารเม็ดเพิ่มความฟินด้วยก็ได้ แนะนำให้ลองกันเลยสำหรับอาหารสุนัขแบบเปียกจากไอแอมส์™ ที่อัดแน่นไปด้วยสารอาหารครบถ้วนและสมดุล มาพร้อมรสชาติความอร่อยที่ถูกใจ ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเสิร์ฟอาหารเปียกทุกมื้อ สามารถสลับกับการให้อาหารเม็ดจากไอแอมส์™ เป็นบางมื้อก็ได้ เพราะอาหารสุนัขของเรามีโปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อไก่ เนื้อแกะ และเนื้อปลา อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้เม็ดอาหารยังมีเนื้อสัมผัสที่เหมาะกับการขัดฟัน ช่วยให้น้องหมามีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดี รวมถึงช่วยลดการสะสมของคราบหินปูนได้อีกด้วย





 

  1. น้องหมาจะเบื่อหรือไม่ หากต้องกินอาหารเดิม ๆ เป็นประจำทุกวัน?

น้องหมาแตกต่างจากนิสัยของคน น้องหมามักไม่มีอาการเบื่ออาหาร หรือเบื่อที่ต้องกินอาหารเดิม ๆ โดยทั่วไปแล้วพวกเค้ากินอาหารเพื่อเพิ่มพลังงานและรับสารอาหารที่จำเป็นเข้าสู่ร่างกายเท่านั้น นอกจากนี้พวกเค้ายังมีระบบย่อยอาหารที่สั้นมาก การเปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหันจึงส่งผลเสียกับท้องน้อย ๆ ของพวกเค้า และการเปลี่ยนอาหารบ่อย ๆ ยังส่งเสริมให้พวกเค้ามีนิสัยเลือกกินอีกด้วย

 

  1.  เราสามารถเติมน้ำลงในอาหารแบบเม็ดได้หรือไม่?

การเติมน้ำไม่ทำให้คุณค่าทางโภชนาการของอาหารเปลี่ยนแปลงไป แต่แนะนำให้น้องหมากินอาหารในทันที เพื่อป้องกันการเน่าเสีย ขอแนะนำอาหารเม็ดจากไอแอมส์™ ที่ทั้งเอร็ดอร่อยและมีส่วนช่วยให้น้องหมาของคุณมีสุขภาพช่องปากที่ดี ลองเลยวันนี้!

 

  1. น้องหมากินอาหารแมวได้หรือไม่?

น้องหมาและน้องแมวต้องการสารอาหารแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น น้องแมวต้องการกรดอะมิโนอย่างทอรีนสูงกว่าน้องหมา จึงไม่แนะนำให้กินอาหารชนิดเดียวกัน การกินอาหารแมวเป็นครั้งคราวอาจไม่เป็นอันตราย แต่ก็ไม่แนะนำให้น้องหมากินเป็นประจำ เพราะอาจส่งผลเสียกับร่างกายของพวกเค้าได้

 

  1. ในหนึ่งวัน เราสามารถให้ขนมบิสกิตกับน้องหมาได้มากน้อยเท่าใด?

ปริมาณที่แนะนำคือ 2-4 ชิ้นต่ออาหารหนึ่งถ้วยตวง ทั้งนี้การให้ขนมคือการเพิ่มปริมาณแคลอรี่ จึงควรปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสมต่อความต้องการในแต่ละวัน รวมถึงควรเช็กปริมาณแคลอรี่ของขนมให้ดีก่อน เพราะขนมแต่ละชนิดมีขนาดและปริมาณแคลอรี่ที่แตกต่างกัน

 

  1. เราสามารถให้อาหารเสริมที่เป็นวิตามิน แร่ธาตุ หรือกรดไขมันนอกเหนือจากอาหารสุนัขได้หรือไม่?

อาหารสุนัขของไอแอมส์™ อุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล การเพิ่มอาหารเสริมเข้าไปอาจทำให้พวกเค้าได้รับสารอาหารเกินความจำเป็น การเลือกให้อาหารคุณภาพดี มีสารอาหารจำเป็นและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ก็สามารถช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงได้แล้ว

 

  1. ทำไมน้องหมาจึงจำเป็นต้องได้รับโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม?

โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญและควรเป็นส่วนประกอบหลักในอาหารสุนัข เพราะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง รวมถึงช่วยให้มีสุขภาพผิวหนังที่ดีและขนนุ่มเงางามอีกด้วย

 

  1. ทำไมจึงควรให้อาหารน้องหมาตรงเวลา?

ควรให้อาหารตรงเวลาทุกวันและฝึกให้กินแค่ในช่วงเวลานั้น เพื่อหลีกเลี่ยงนิสัยขอกินอาหารตลอดเวลา

 

  1. อาหารต้องห้ามที่ไม่ควรให้น้องหมากินมีอะไรบ้าง?

ไม่ควรให้น้องหมากินขนมอบ ลูกอม หมากฝรั่ง ช็อกโกแลต มะนาว หัวหอม และองุ่น ทั้งหมดนี้อาจเป็นอันตรายกับระบบย่อยอาหารของพวกเค้า และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อได้

 

  1. ทำไมจึงควรเลือกอาหารสุนัข ไอแอมส์™ ให้กับน้องหมามากกว่าการให้อาหารปรุงเอง?

อาหารสุนัข ไอแอมส์™ มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของน้องหมา นอกจากนี้ยังผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพดี ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไก่ เนื้อปลา กรดไขมัน บีทพัลพ์สูตรเฉพาะ ธัญพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหาร และพรีไบโอติกจากธรรมชาติ

 

  1. ฉันจะเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการของสัตว์เลี้ยงเพิ่มเติมผ่านช่องทางใดได้บ้าง?

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโภชนาการของสัตว์เลี้ยง สามารถติดต่อเราได้ที่นี่

  • วิธีกำจัดเห็บหมัดสุนัข
    วิธีกำจัดเห็บหมัดสุนัข
    adp_description_block470
    วิธีกำจัดเห็บหมัดสุนัข

    • แบ่งปัน

    เราเชื่อว่าผู้เลี้ยงทุกคนอยากให้น้องหมามีชีวิตที่มีความสุขและสุขภาพดี อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามที่ซ่อนอยู่ในเงามืดอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของพวกเค้าได้  อย่างการแพร่กระจายของเห็บและหมัด ปรสิตตัวร้ายเหล่านี้มีขนาดเล็ก สังเกตได้ยาก จึงต้องอาศัยความระมัดระวังและจัดการในทันทีที่พบเจอ
     

    วงจรชีวิตของเห็บและหมัด

    เพื่อปกป้องน้องหมาจากการติดเชื้อปรสิต คุณควรทำความเข้าใจวงจรชีวิตของพวกมัน
     

    หมัด

    หมัดมีวงจรชีวิตสี่ระยะ ได้แก่

    • ระยะไข่ – ไข่หมัดมีขนาดเล็กและมีสีขาว โดยหมัดตัวเมียจะวางไข่บนตัวสุนัข ซึ่งมักจะตกหล่นอยู่ตามสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น พรม ผ้าปูที่นอน และรอยแตกบนพื้น 
    • ระยะตัวอ่อน – หลังระยะวางไข่ประมาณ 2 วัน – 2 สัปดาห์ ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนอน พวกมันจะกินอินทรียวัตถุในสิ่งแวดล้อมเป็นอาหาร
    • ระยะดักแด้ – จากนั้นตัวอ่อนจะหมุนรังไหมป้องกันตัวเองและเข้าสู่ระยะดักแด้ ระยะนี้อาจใช้เวลาหลายเดือน ทำให้ยากต่อการกำจัด
    • ระยะตัวเต็มวัย – หมัดตัวเต็มวัยจะโผล่ออกมาจากดักแด้ พร้อมที่จะกระโดดขึ้นไปบนตัวสุนัข กินเลือดและวางไข่เพื่อเริ่มวงจรใหม่
       

    เห็บ

    แม้จะมีวงจรชีวิตแตกต่างกัน แต่ก็ก่อให้เกิดอันตรายที่คล้ายกัน โดยพวกมันมีวงจรชีวิตดังนี้

    • ระยะไข่ – เห็บตัวเมียจะวางไข่หลายพันฟองในสิ่งแวดล้อม โดยมักอยู่ตามหญ้าสูงหรือพื้นที่ป่า
    • ระยะตัวอ่อน – หลังฟักตัวออกจากไข่ ตัวอ่อนของเห็บจะมีหกขาและกระตือรือร้นที่จะหาที่อยู่ พวกมันจะปีนขึ้นไปบนตัวสุนัขและกินเลือดเป็นเวลาหลายวันก่อนที่จะลอกคราบ
    • ระยะตัวกลางวัย – ตัวอ่อนจะพัฒนาเป็นตัวแปดขา โดยยังต้องอาศัยการกินเลือดเพื่อเติบโต
    • ระยะตัวเต็มวัย – เห็บตัวเต็มวัยจะหาอาหารเป็นครั้งสุดท้าย โดยเกาะติดกับสุนัขและกินเลือดเป็นเวลาหลายวันก่อนที่จะแยกตัวออกไปผสมพันธุ์และวางไข่ ซึ่งเป็นการสิ้นสุดวงจร
       

    สัญญาณเตือนของการติดเชื้อเห็บหมัด

    การตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นกุญแจสำคัญในการจัดการปรสิตเหล่านี้
     

    หมัดกับสุนัข

    หมัดเป็นแมลงตัวเล็กไม่มีปีก พวกมันกินเลือดสุนัขเป็นอาหาร ซึ่งการกัดและการกินเลือดของพวกมันอาจทำให้เกิดปัญหากับสุนัขดังนี้

    • มีอาการคัน เกาตัวบ่อยผิดปกติ – เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาการคันเกิดจากการถูกหมัดกัด และการแพ้น้ำลายของหมัด
    • ขนร่วง – หมัดอาจทำให้ขนร่วงได้ โดยเฉพาะบริเวณโคนหางและท้อง
    • อาการระคายเคือง – หมัดกัดอาจทำให้ผิวหนังแดงและระคายเคืองได้
    • เหงือกซีด – ในกรณีที่หมัดระบาดอย่างรุนแรง อาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง ซึ่งทำให้เหงือกซีดได้
    • มีสิ่งสกปรกจากหมัด – สิ่งสกปรกจากหมัดหมายถึงของเสีย มีลักษณะเป็นจุดดำเล็ก ๆ สามารถพบได้ในขนสุนัขหรือบนเตียง
       

    เห็บกับสุนัข

    เห็บมีแปดขาและมีขนาดตัวใหญ่กว่าหมัด พวกมันเกาะติดกับผิวหนังสุนัขเพื่อกินเลือด เห็บสามารถแพร่โรคต่าง ๆ ไปยังสุนัขได้ เช่น โรคลายม์ โรคอะนาพลาสโมซิส และโรคไข้พุพองเทือกเขาร็อคกี้ หากน้องหมาติดเชื้อ คุณอาจพบอาการเหล่านี้

    • เห็นตัวเห็บ – เห็บมักมองเห็นได้ง่าย พบได้บริเวณหัว คอ หู อุ้งเท้า และขาหนีบ
    • ตุ่มแดงและบวม – การติดเชื้อเห็บมักจะทำให้เกิดตุ่มแดงและอาการบวมบนผิวหนังของสุนัข
    • อาการเซื่องซึม – สุนัขอาจมีอาการเซื่องซึมหรือเหนื่อยง่าย
    • ไข้ – เป็นหนึ่งในอาการที่บ่งบอกว่าสุนัขติดเชื้อเห็บ
       

    การรักษาหมัดและเห็บ

    เมื่อตรวจพบการระบาดของปรสิตในสุนัข ผู้เลี้ยงควรทำการดูแลรักษาโดยทันที
     

    การรักษาหมัดในสุนัข

    วิธีรับมือกับหมัดมีหลายขั้นตอน โดยมีทางเลือกในการจัดการดังนี้

    • ยากิน – ยาเม็ดแบบเคี้ยวช่วยป้องกันหมัดได้ยาวนานและใช้งานง่าย
    • ยารักษาเฉพาะที่ – ยาประเภทนี้แนะนำให้ใช้กับผิวหนังของสุนัขโดยตรง สามารถหยอดบริเวณสะบัก เป็นวิธีควบคุมหมัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและอาจกำจัดเห็บได้ด้วย
    • แชมพูและสเปรย์กำจัดหมัด – แม้จะออกฤทธิ์ได้ไม่นานเท่ายากินและยารักษาเฉพาะที่ แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ช่วยกำจัดหมัดได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ร่วมกับการรักษาอื่น ๆ เพื่อให้ได้แนวทางที่ครอบคลุมมากขึ้น

    ทั้งนี้ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยคุณหมอจะพิจารณาจากอายุ สายพันธุ์ และความต้องการเฉพาะของน้องหมา
     

    การรักษาเห็บในสุนัข

    หากพบเห็บบนตัวสุนัข ให้กำจัดออกทันทีตามขั้นตอนต่อไปนี้

    • ใช้แหนบปลายแหลมดึงออก โดยจับเห็บให้ใกล้กับผิวมากที่สุด
    • ค่อย ๆ ดึงเห็บออกอย่างช้า ๆ หลีกเลี่ยงการบิดหรือขยี้เห็บ เพราะจะทำให้น้ำลายไหลเข้าไปในรอยกัดได้มากขึ้น
    • หลังจากดึงเห็บออกแล้ว ให้ใส่ในภาชนะที่ปิดสนิทและกำจัดเห็บอย่างเหมาะสม อย่าบดหรือทิ้งมันลงในชักโครก
    • ทำความสะอาดบริเวณที่ถูกกัดด้วยแอลกอฮอล์หรือแผ่นเช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อ

    หมั่นสังเกตอาการและพฤติกรรมของน้องหมาอย่างใกล้ชิด หากพบอาการบวมแดงหรือมีไข้ ให้ปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

    เคล็ดลับ – หลีกเลี่ยงการใช้วิธีรักษาบางวิธี เช่น ใช้ปิโตรเลียมเจลลีหรือไม้ขีดเพื่อกำจัดเห็บ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เห็บปล่อยน้ำลายออกมามากขึ้น และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรคได้
     

    การป้องกันเห็บหมัดในสุนัข

    แนวทางป้องกันเห็บและหมัดตัวร้ายที่ดีที่สุดมีขั้นตอนดังนี้
     

    การตรวจหาและกำจัดตั้งแต่เนิ่น ๆ

    • ตรวจสอบสม่ำเสมอ – หมั่นตรวจสอบขนและผิวหนังของน้องหมา โดยเฉพาะบริเวณหัว หู คอ และรักแร้ เพื่อหาสัญญาณของเห็บหมัด
    • ดูแลขนเป็นประจำ – การแปรงขนจะช่วยกำจัดหมัดและสิ่งสกปรกได้ นอกจากนี้ยังทำให้พบเจอสิ่งผิดปกติได้ง่ายและเร็วขึ้น
    • ทำความสะอาด – ซักเบาะนอนของน้องหมา ดูดฝุ่นและทำความสะอาดบ้านเป็นประจำเพื่อกำจัดหมัดที่มีอยู่และป้องกันการแพร่กระจายในอนาคต
       

    การป้องกัน

    • ดูแลป้องกันทุกเวลา – แนะนำให้ดูแลเอาใจใส่น้องหมาอย่างสม่ำเสมอ เห็บหมัดสามารถมีชีวิตอยู่ในบ้านได้เป็นเวลานานและพบเจอตลอดทั้งปี
    • รักษาสภาพแวดล้อม – หากสงสัยว่ามีเห็บหมัดในบ้านหรือในสวน ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำจัดสัตว์รบกวนเหล่านี้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
    • ระมัดระวังเมื่อต้องเดินทาง – ควรระมัดระวังเป็นพิเศษในช่วงเดินทาง เนื่องจากสภาพแวดล้อมใหม่อาจเป็นที่อยู่ของประชากรปรสิตที่แตกต่างกัน

    การปกป้องน้องหมาจากเห็บหมัดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี หากมีการป้องกันอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการใช้ยาและรักษาความสะอาด น้องหมาของคุณก็จะปลอดภัยจากปรสิตตัวร้ายเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและกำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับน้องหมาของคุณ