IAMS TH
ควรพาลูกสุนัขตัวน้อยไปพบสัตวแพทย์บ่อยแค่ไหน?
ควรพาลูกสุนัขตัวน้อยไปพบสัตวแพทย์บ่อยแค่ไหน?

adp_description_block207
ควรพาลูกสุนัขตัวน้อยไปพบสัตวแพทย์บ่อยแค่ไหน?

  • แบ่งปัน

การนำลูกสุนัขตัวใหม่เข้าบ้านเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นและน่ายินดี แต่ในขณะเดียวกัน มันก็มาพร้อมความรับผิดชอบมากมาย หนึ่งในนั้นคือการพาลูกสุนัขไปพบสัตวแพทย์ในช่วงสัปดาห์แรก เพื่อตรวจเช็กปัญหาสุขภาพแอบแฝงและสุขภาพโดยรวม อีกทั้งยังเป็นโอกาสดีที่ผู้เลี้ยงจะปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน การให้อาหาร การฝึกสอน และวิธีการดูแลต่าง ๆ หากไม่แน่ใจว่าควรพาลูกสุนัขไปพบคุณหมอเมื่อไหร่ บ่อยแค่ไหน ติดตามคำตอบและเรื่องน่ารู้อีกมากมายได้ในบทความนี้

 

ลูกสุนัขต้องพบสัตวแพทย์บ่อยแค่ไหน?

ลูกสุนัขเป็นช่วงวัยที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่ค่อนข้างมาก ผู้เลี้ยงควรพาลูกสุนัขไปพบสัตวแพทย์ทุก ๆ 3 – 4 สัปดาห์ แต่หากจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษอาจมีการนัดพบบ่อยขึ้น ทั้งนี้ก่อนพาเจ้าตัวน้อยไปพบคุณหมอ คุณควรสอบถามข้อมูลการฉีดวัคซีนหรือการรักษาต่าง ๆ จากฟาร์มหรือผู้เพาะพันธุ์ให้เรียบร้อย และในกรณีที่รับเลี้ยงสุนัขไร้บ้านก็ควรแจ้งให้คุณหมอทราบเช่นกัน

หากคุณสังเกตพบอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบพาเจ้าตัวน้อยไปพบสัตวแพทย์ในทันที

  • บาดแผลบริเวณดวงตา
  • อาการลมพิษ
  • แผลเปิด
  • อาการชัก
  • เป็นลม หมดสติ
  • มีรอยกัด
  • หายใจลำบาก
  • อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • อาการเจ็บป่วยอื่น ๆ

ข้อควรรู้ – แม้จะมีสมุดฉีดวัคซีนหรือหลักฐานการตรวจยืนยันจากผู้เพาะพันธุ์ คุณก็ควรพาลูกสุนัขไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เพิ่มเติม
 

การตรวจสุขภาพประจำปี

ลูกสุนัขจำเป็นต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีเช่นเดียวกับคน นอกจากการฉีดวัคซีนกระตุ้นแล้ว คุณหมอจะตรวจเช็กสุขภาพหัวใจ ปอด ดวงตา หู พร้อมมองหาอาการผิดปกติต่าง ๆ และอาจทำการทดสอบพื้นฐานอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย
 

หลังการตรวจเช็กสุขภาพ คุณหมออาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนสูตรอาหาร เพิ่มหรือลดการออกกำลังกาย รวมถึงอาจต้องดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้ดียิ่งขึ้น ผู้เลี้ยงควรทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อสุขภาพที่ดีของเจ้าตัวน้อยที่คุณรัก อย่างไรก็ตาม ในการตรวจสุขภาพประจำปี คุณสามารถสอบถามหรือขอปรึกษาเรื่องเหล่านี้จากสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้

  • การใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
  • รายงานสุขภาพ
  • โภชนาการที่เหมาะสม
  • คำถามเกี่ยวกับการดูแล การฝึก หรือปัญหาที่สงสัย

ลูกสุนัขฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่?

ลูกสุนัขเกิดมาพร้อมระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากแม่ อย่างไรก็ตาม พวกเค้าจะเริ่มสูญเสียภูมิคุ้มกันเหล่านี้เมื่ออายุ 6 – 8 สัปดาห์ จึงจำเป็นต้องเริ่มฉีดวัคซีนในช่วงเวลาดังกล่าว บวกกับนิสัยชอบดมและเลียเพื่อสำรวจทุกสิ่งรอบตัว ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ มากมาย แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะการฉีดวัคซีนสามารถป้องกันไวรัสและโรคร้ายแรงได้ การฉีดวัคซีนจะเริ่มเมื่อลูกสุนัขมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ และต้องฉีดกระตุ้นซ้ำทุก 2 – 4 สัปดาห์จนกว่าลูกสุนัขจะมีอายุ 16 สัปดาห์ขึ้นไป บางกรณีสัตวแพทย์อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 4 สัปดาห์ เนื่องจากมีการระบาดของโรคหรือเมื่อแม่หมาที่ไม่มีประวัติการฉีดวัคซีน คุณสามารถขอตารางการฉีดวัคซีนของลูกสุนัขจากสัตวแพทย์ได้
 

การฉีดวัคซีนสำหรับสุนัข

สุนัขจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้หัด และโรคตับอักเสบในสุนัข โดยวัคซีนทั่วไปที่สุนัขจำเป็นต้องได้รับมีดังนี้

  • เชื้อพาร์โวไวรัสในสุนัข
  • โรคไข้หัด
  • โรคตับอักเสบ
  • โรคพิษสุนัขบ้า
  • โรคติดเชื้อในทางเดินหายใจ
  • โรคลำไส้อักเสบติดต่อจากเชื้อโคโรนาไวรัสในสุนัข
  • โรคหลอดลมอักเสบติดต่อของสุนัข
  • โรคเลบโตสไปโรซีสหรือโรคไข้ฉี่หนู

การฉีดวัคซีนข้างต้นอาจมีการผสมที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรปรึกษาสัตวแพทย์และทำความเข้าใจให้ถูกต้อง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการพาลูกสุนัขไปพบสัตวแพทย์

  1. ควรพาลูกสุนัขไปพบสัตวแพทย์บ่อยแค่ไหน?
  2. ในช่วงปีแรก คุณอาจต้องพาเจ้าตัวน้อยไปพบคุณหมอบ่อย ๆ เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันที่จำเป็น และเมื่อฉีดวัคซีนครบถ้วนดีแล้ว คุณหมอจะเป็นผู้กำหนดนัดหมายเพิ่มเติม ทั้งนี้คุณจำเป็นต้องพาพวกเค้าไปตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อเช็กให้แน่ใจว่าไม่มีปัญหาสุขภาพแอบแฝงด้วย

  3. เช็กลิสต์การตรวจสุขภาพครั้งแรกของลูกสุนัข มีอะไรบ้าง?
  4. หากเป็นการพบสัตวแพทย์ครั้งแรกของลูกสุนัข คุณควรพูดคุยกับผู้เพาะพันธุ์หรือศูนย์พักพิงเพื่อขอข้อมูลการฉีดวัคซีน การถ่ายพยาธิ หรือการรักษาต่าง ๆ ในกรณีที่ลูกสุนัขกำลังใช้ยาหรืออาหารเสริมอยู่ ให้พกติดตัวไปด้วย รวมถึงควรแจ้งสัตวแพทย์เกี่ยวกับอาหารหรือประเด็นปัญหาที่คุณพบเจอ

  5. ลูกสุนัขต้องเข้าพบสัตวแพทย์กี่ครั้ง?
  6. หากลูกสุนัขอายุน้อยกว่า 4 เดือน คุณควรพาลูกสุนัขไปหาสัตวแพทย์ทุก ๆ 3 หรือ 4 สัปดาห์ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยที่ต้องเริ่มฉีดวัคซีนแล้ว สัตวแพทย์จะจัดตารางเวลานัดหมายให้ คุณควรพาลูกสุนัขไปพบตามกำหนดเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเค้าจะได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน

  • วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    adp_description_block404
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย

    • แบ่งปัน

    หากคุณอยากมีเพื่อนเล่นแก้เหงาหรือเพื่อนแท้ที่คอยอยู่เคียงข้าง ขอแนะนำให้รับเลี้ยงลูกสุนัขไว้สักตัว แต่ต้องมั่นใจด้วยว่าคุณสามารถดูแลรับผิดชอบเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ได้ เพราะลูกสุนัขต้องการความรักความเอาใจใส่เพื่อให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี
     

    การดูแลลูกสุนัขไม่ใช่แค่การให้อาหาร มอบความรัก หรือชวนเล่นเป็นครั้งคราว คุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม ฝึกพวกเค้าให้รู้จักขับถ่ายเป็นที่ รวมถึงต้องพาไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการดูแลทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณและเจ้าตัวน้อยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันมากขึ้น คุณจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการเจริญเติบโตของพวกเค้า สำหรับผู้เลี้ยงที่ไม่มั่นใจหรือมีความกังวล ในบทความนี้จะบอกเคล็ดลับและวิธีดูแลลูกสุนัขในช่วง 2 – 3 เดือนแรกให้ทุกคนได้รู้กัน
     

    การนำลูกสุนัขกลับบ้าน

    มีอะไรบ้างที่เราควรรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัข? มาเริ่มกันที่การรับลูกสุนัขเข้าบ้านวันแรก คุณควรจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นอันตรายอยู่รอบ ๆ ตัวลูกสุนัข เช่น สารเคมี สายไฟ ต้นไม้ที่มีพิษ ของมีคม และข้าวของที่แตกหักง่าย เพราะลูกสุนัขก็เปรียบเหมือนทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าบอบบางแต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น นอกจากนี้คุณต้องซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม อย่างเช่น ชามอาหาร ปลอกคอ สายจูง และเบาะนอนนุ่ม ๆ สำหรับพักผ่อน
     

    การให้อาหารลูกสุนัข

    หนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้ามีความต้องการแตกต่างจากสุนัขวัยอื่น อีกทั้งยังต้องการสารอาหารที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี 
     

    การเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตจะขึ้นอยู่กับขนาดพันธุ์ สำหรับสุนัขพันธุ์เล็กหรือพันธุ์กลาง คุณสามารถเปลี่ยนสูตรอาหารได้เมื่อพวกเค้ามีอายุ 9 – 12 เดือน แต่หากเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ควรเปลี่ยนเมื่อมีอายุ 12 – 24 เดือน นอกจากการให้อาหารที่ดีและเหมาะสมแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วย
     

    ตารางการให้อาหารสำหรับลูกสุนัข

    • 6 – 12 สัปดาห์ - 4 มื้อต่อวัน 
    • 3 – 6 เดือน - 3 มื้อต่อวัน
    • 6 – 12 เดือน - 2 มื้อต่อวัน

    ไอแอมส์™ มีผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับลูกสุนัขและสุนัขโตให้เลือกหลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์ของเราคัดสรรแต่วัตถุดิบคุณภาพระดับพรีเมียม นอกจากนี้ยังอุดมด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ มั่นใจได้เลยว่าน้องหมาของคุณจะเพลิดเพลินกับอาหารทุกคำที่พวกเค้าลิ้มรส
     

    การพบสัตวแพทย์และการฉีดวัคซีน

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลลูกสุนัข การเข้าพบครั้งแรกจะช่วยให้คุณรับรู้ข้อมูลสุขภาพโดยรวมของเจ้าตัวน้อย คุณหมอจะแจ้งตารางการฉีดวัคซีนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเหล่านี้เพิ่มเติมด้วย

    • ตารางการฉีดวัคซีน
    • การทำหมัน
    • การฝึกขับถ่าย
    • การฝึกทำตามคำสั่งพื้นฐาน
    • การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
    • โภชนาการที่เหมาะสม
    • การถ่ายพยาธิ

    การฝึกเข้าสังคมให้ลูกสุนัข

    ลูกสุนัขควรได้พบเจอกับผู้คน เพื่อนหมาตัวอื่น และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเรียนรู้ที่จะปรับตัว โดยเวลาที่สำคัญที่สุดในการฝึกเข้าสังคมคือช่วงอายุระหว่าง 3 – 12 สัปดาห์ และแนะนำให้ฝึกอย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

    คุณควรเริ่มฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัขตั้งแต่วันแรกที่พาเข้าบ้าน เพื่อปลูกฝังให้พวกเค้าขับถ่ายเป็นที่ ไม่ต้องคอยทำความสะอาดทุกครั้ง เริ่มต้นฝึกด้วยการเลือกพื้นที่ขับถ่ายนอกบ้าน จากนั้นพาลูกสุนัขไปที่ดังกล่าวเมื่อถึงเวลาขับถ่าย ให้รางวัลทันทีหลังจากพวกเค้าขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำโทษไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวและอาจแสดงท่าทีก้าวร้าว
     

    การฝึกที่ดีที่สุดคือการฝึกในเชิงบวก หรือก็คือการให้รางวัลเมื่อพวกเค้าทำได้ดีหรือทำตัวน่ารัก และควรกำหนดระยะเวลาการฝึกเป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อไม่ให้ลูกสุนัขรู้สึกเบื่อหรือเหนื่อยจนเกินไป
     

    การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

    น้องหมาก็มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันเช่นเดียวกัน ทั้งการมีกลิ่นปาก ฟันหลุด และโรคปริทันต์ ซึ่งพวกเค้ามักจะไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็นอย่างชัดเจน ผู้เลี้ยงจึงควรดูแลช่องปากและฟันของพวกเค้าเป็นประจำ โดยควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยของคุณเพิ่มเติมได้
     

    การออกกำลังกายสำหรับลูกสุนัข

    แม้จะเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลัง แต่ผู้เลี้ยงควรควบคุมปริมาณและเวลาในการออกกำลังกายของลูกสุนัขให้เหมาะสม และปล่อยให้พวกเค้าได้พักผ่อนทุกครั้งที่ต้องการ หลีกเลี่ยงการให้เล่นเป็นเวลานาน ๆ เพียงครั้งเดียว แนะนำให้พาออกไปเดินเล่นระยะสั้น ๆ วันละสองครั้งแทน