IAMS TH
การฝึกลูกสุนัขให้มีวินัยและรู้จักกฎระเบียบของบ้าน
การฝึกลูกสุนัขให้มีวินัยและรู้จักกฎระเบียบของบ้าน

adp_description_block475
การฝึกลูกสุนัขให้มีวินัยและรู้จักกฎระเบียบของบ้าน

  • แบ่งปัน

การมีเจ้าตัวน้อยอยู่ในบ้านคงทำให้ทุก ๆ วันของพ่อแม่มะหมามีทั้งความสุขและความสนุก สำหรับพ่อแม่บางคน นี่คือความฝันที่กลายเป็นจริงในที่สุด แต่การเลี้ยงน้องหมาไม่ได้ง่ายอย่างที่หลาย ๆ คนคาดคิด โดยเฉพาะเมื่อพวกเค้าไม่ได้รับการฝึกอย่างเหมาะสม
 

หากผู้เลี้ยงละเลยการฝึกฝนอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้ ลูกสุนัขอาจมีพฤติกรรมไม่น่ารัก ทำลายข้าวของในบ้าน และไม่เชื่อฟังคำสั่ง แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้คุณและครอบครัวหัวหมุนได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตาม มือใหม่หัดเลี้ยงส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับวิธีจัดการและควบคุมเจ้าตัวน้อยแสนซน หากคุณเป็นหนึ่งในนั้น นี่คือทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการฝึกลูกสุนัขที่บ้าน

  • เริ่มด้วยการเตรียมตัวให้พร้อม

กระบวนการฝึกต้องใช้เวลา ความอดทน และความตั้งใจ ไม่สามารถทำเล่น ๆ หรือทำแบบขอไปทีได้ ผู้เลี้ยงต้องทำเป็นกิจวัตรเพื่อให้น้องหมาคุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกใส่สายจูงหรือการขับถ่ายให้เป็นที่
 

ข้อควรรู้ – น้องหมาต้องใช้เวลาปรับตัวในสภาพแวดล้อมใหม่ คุณอาจต้องวางแผนการฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่าเร่งรัดและกดดันพวกเค้าจนเกินไป

  • การกำหนดตารางเวลาและทำให้เป็นกิจวัตร

วิธีนี้จะส่งผลดีในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นสำหรับเราหรือน้องหมา การกำหนดตารางเวลาที่ชัดเจนจะช่วยให้น้องหมาเรียนรู้ว่าเวลาไหนต้องกินอาหาร เล่น นอน หรือขับถ่าย ซึ่งช่วยลดปัญหาขับถ่ายเรี่ยราดได้ดี
 

การพาน้องหมาออกไปเดินเล่นและขับถ่ายนอกบ้านควรทำเป็นเวลา แนะนำให้พาพวกเค้าออกไปเดินเล่นทันทีหลังจากตื่นนอน เมื่อถึงเวลาเล่นสนุก และหลังจากกินอาหารเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรเว้นระยะห่างระหว่างมื้ออาหารและเวลานอนให้เหมาะสม ลูกสุนัขจะได้ไม่ต้องกลั้นปัสสาวะนานจนเกินไป
 

เมื่อลูกสุนัขโตขึ้น พวกเค้าจะกลั้นปัสสาวะได้นานขึ้น ตัวอย่างเช่น ลูกสุนัขวัย 2 เดือน จะกลั้นขับถ่ายได้นาน 2 ชั่วโมง แต่ระยะเวลามากสุดที่น้องหมาทำได้คือ 6 ชั่วโมง ไม่ควรปล่อยให้กลั้นนานเกินกว่านี้

  • การใช้คำสั่งร่วมกับการฝึก

การใช้คำสั่งจะช่วยให้เราสื่อสารกับน้องหมาได้ดีขึ้น หากใช้คำสั่งซ้ำ ๆ กับการกระทำบางอย่าง น้องหมาจะเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคำพูดและการกระทำของคุณ เช่น พูดว่า “ไปคาบมา” ในขณะที่คุณโยนของเล่นหรือกิ่งไม้ น้องหมาจะเข้าใจว่าต้องไปเอาของกลับมา ในทำนองเดียวกัน เมื่อพาพวกเค้าไปขับถ่าย ให้พูดว่า “อึ” หรือ “เบ่ง” โดยชี้ไปที่จุดใดจุดหนึ่งด้วย สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเค้าเรียนรู้ว่าต้องทำอย่างไรต่อไป

  • การให้รางวัลเมื่อน้องหมาทำได้ดี

การให้รางวัลช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณกับน้องหมา รางวัลเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบของขนม คำชม หรือช่วงเวลาเล่นกับของเล่นชิ้นโปรด นอกจากนี้การให้รางวัลยังช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี ทำให้พวกเค้าฝึกคำสั่งใหม่ ๆ ได้ดีขึ้น คุณสามารถให้รางวัลก่อนหรือหลังการฝึกก็ได้ แต่หลีกเลี่ยงการให้กลางคัน เช่น ระหว่างการขับถ่าย ควรรอให้พวกเค้าขับถ่ายเสร็จเรียบร้อยก่อน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

ข้อควรระวัง – หากการฝึกขับถ่ายได้ผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้ผลเลย ให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อเช็กให้แน่ใจว่าไม่ได้เกิดจากปัญหาทางสุขภาพ เช่น การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ

  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

คุณต้องเข้าใจว่าการฝึกเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน ลูกสุนัขอาจใช้เวลาในการเรียนรู้มากน้อยแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม หากฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ พวกเค้าจะเชื่อฟังและเรียนรู้ได้ดีขึ้น ต่อไปนี้คือเรื่องที่เจ้าของควรรู้ก่อนเริ่มต้นฝึกลูกสุนัข

  • หลีกเลี่ยงการลงโทษเมื่อลูกสุนัขขับถ่ายไม่เป็นที่ เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวหรืออาจตอบโต้ด้วยพฤติกรรมก้าวร้าว
  • หากลูกสุนัขขับถ่ายเป็นที่ ให้รางวัลพวกเค้า แต่ควรรอจนกว่าพวกเค้าจะขับถ่ายเสร็จเรียบร้อย
  • ควรอยู่เป็นเพื่อนลูกสุนัขตลอดเวลาขับถ่าย หากพวกเค้าใช้เวลานานกว่าปกติ ไม่ควรเร่งหรือบังคับให้พวกเค้าขับถ่าย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฝึกลูกสุนัข

  1. ควรฝึกลูกสุนัขขับถ่ายอย่างไร?
  2. การฝึกขับถ่ายจะได้ผลดีหากทำเป็นกิจวัตร ไม่ว่าจะเป็นเวลาให้อาหาร เวลาเล่นสนุก หรือเวลาขับถ่าย หากทำตามตารางเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ลูกสุนัขก็จะขับถ่ายตามเวลาที่กำหนดโดยอัตโนมัติ แนะนำให้ใช้วิธีฝึกเชิงบวกเพื่อป้องกันลูกสุนัขเกิดอาการหวาดกลัวและมีพฤติกรรมก้าวร้าว

  3. ควรเริ่มฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัขตั้งแต่อายุเท่าไหร่?
  4. คุณสามารถเริ่มฝึกได้เมื่อลูกสุนัขมีอายุ 12 – 16 สัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่พวกเค้าสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ได้แล้ว ลูกสุนัขอาจใช้เวลาประมาณ 4 – 6 เดือนในการฝึกขับถ่าย อย่างไรก็ตาม น้องหมาบางตัวอาจใช้เวลาเป็นปี หากการฝึกไม่ได้ผลหรือมีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อย ควรพาลูกสุนัขไปพบสัตวแพทย์

  5. ทำไมการฝึกลูกสุนัขขับถ่ายจึงเป็นสิ่งสำคัญ?
  6. จุดประสงค์หลักในการฝึกขับถ่ายคือเพื่อป้องกันปัญหาลูกสุนัขขับถ่ายเรี่ยราด

  • วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    adp_description_block445
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย

    • แบ่งปัน

    หากคุณอยากมีเพื่อนเล่นแก้เหงาหรือเพื่อนแท้ที่คอยอยู่เคียงข้าง ขอแนะนำให้รับเลี้ยงลูกสุนัขไว้สักตัว แต่ต้องมั่นใจด้วยว่าคุณสามารถดูแลรับผิดชอบเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ได้ เพราะลูกสุนัขต้องการความรักความเอาใจใส่เพื่อให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี
     

    การดูแลลูกสุนัขไม่ใช่แค่การให้อาหาร มอบความรัก หรือชวนเล่นเป็นครั้งคราว คุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม ฝึกพวกเค้าให้รู้จักขับถ่ายเป็นที่ รวมถึงต้องพาไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการดูแลทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณและเจ้าตัวน้อยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันมากขึ้น คุณจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการเจริญเติบโตของพวกเค้า สำหรับผู้เลี้ยงที่ไม่มั่นใจหรือมีความกังวล ในบทความนี้จะบอกเคล็ดลับและวิธีดูแลลูกสุนัขในช่วง 2 – 3 เดือนแรกให้ทุกคนได้รู้กัน
     

    การนำลูกสุนัขกลับบ้าน

    มีอะไรบ้างที่เราควรรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัข? มาเริ่มกันที่การรับลูกสุนัขเข้าบ้านวันแรก คุณควรจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นอันตรายอยู่รอบ ๆ ตัวลูกสุนัข เช่น สารเคมี สายไฟ ต้นไม้ที่มีพิษ ของมีคม และข้าวของที่แตกหักง่าย เพราะลูกสุนัขก็เปรียบเหมือนทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าบอบบางแต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น นอกจากนี้คุณต้องซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม อย่างเช่น ชามอาหาร ปลอกคอ สายจูง และเบาะนอนนุ่ม ๆ สำหรับพักผ่อน
     

    การให้อาหารลูกสุนัข

    หนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้ามีความต้องการแตกต่างจากสุนัขวัยอื่น อีกทั้งยังต้องการสารอาหารที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี 
     

    การเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตจะขึ้นอยู่กับขนาดพันธุ์ สำหรับสุนัขพันธุ์เล็กหรือพันธุ์กลาง คุณสามารถเปลี่ยนสูตรอาหารได้เมื่อพวกเค้ามีอายุ 9 – 12 เดือน แต่หากเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ควรเปลี่ยนเมื่อมีอายุ 12 – 24 เดือน นอกจากการให้อาหารที่ดีและเหมาะสมแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วย
     

    ตารางการให้อาหารสำหรับลูกสุนัข

    • 6 – 12 สัปดาห์ - 4 มื้อต่อวัน 
    • 3 – 6 เดือน - 3 มื้อต่อวัน
    • 6 – 12 เดือน - 2 มื้อต่อวัน

    ไอแอมส์™ มีผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับลูกสุนัขและสุนัขโตให้เลือกหลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์ของเราคัดสรรแต่วัตถุดิบคุณภาพระดับพรีเมียม นอกจากนี้ยังอุดมด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ มั่นใจได้เลยว่าน้องหมาของคุณจะเพลิดเพลินกับอาหารทุกคำที่พวกเค้าลิ้มรส
     

    การพบสัตวแพทย์และการฉีดวัคซีน

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลลูกสุนัข การเข้าพบครั้งแรกจะช่วยให้คุณรับรู้ข้อมูลสุขภาพโดยรวมของเจ้าตัวน้อย คุณหมอจะแจ้งตารางการฉีดวัคซีนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเหล่านี้เพิ่มเติมด้วย

    • ตารางการฉีดวัคซีน
    • การทำหมัน
    • การฝึกขับถ่าย
    • การฝึกทำตามคำสั่งพื้นฐาน
    • การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
    • โภชนาการที่เหมาะสม
    • การถ่ายพยาธิ

    การฝึกเข้าสังคมให้ลูกสุนัข

    ลูกสุนัขควรได้พบเจอกับผู้คน เพื่อนหมาตัวอื่น และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเรียนรู้ที่จะปรับตัว โดยเวลาที่สำคัญที่สุดในการฝึกเข้าสังคมคือช่วงอายุระหว่าง 3 – 12 สัปดาห์ และแนะนำให้ฝึกอย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

    คุณควรเริ่มฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัขตั้งแต่วันแรกที่พาเข้าบ้าน เพื่อปลูกฝังให้พวกเค้าขับถ่ายเป็นที่ ไม่ต้องคอยทำความสะอาดทุกครั้ง เริ่มต้นฝึกด้วยการเลือกพื้นที่ขับถ่ายนอกบ้าน จากนั้นพาลูกสุนัขไปที่ดังกล่าวเมื่อถึงเวลาขับถ่าย ให้รางวัลทันทีหลังจากพวกเค้าขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำโทษไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวและอาจแสดงท่าทีก้าวร้าว
     

    การฝึกที่ดีที่สุดคือการฝึกในเชิงบวก หรือก็คือการให้รางวัลเมื่อพวกเค้าทำได้ดีหรือทำตัวน่ารัก และควรกำหนดระยะเวลาการฝึกเป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อไม่ให้ลูกสุนัขรู้สึกเบื่อหรือเหนื่อยจนเกินไป
     

    การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

    น้องหมาก็มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันเช่นเดียวกัน ทั้งการมีกลิ่นปาก ฟันหลุด และโรคปริทันต์ ซึ่งพวกเค้ามักจะไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็นอย่างชัดเจน ผู้เลี้ยงจึงควรดูแลช่องปากและฟันของพวกเค้าเป็นประจำ โดยควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยของคุณเพิ่มเติมได้
     

    การออกกำลังกายสำหรับลูกสุนัข

    แม้จะเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลัง แต่ผู้เลี้ยงควรควบคุมปริมาณและเวลาในการออกกำลังกายของลูกสุนัขให้เหมาะสม และปล่อยให้พวกเค้าได้พักผ่อนทุกครั้งที่ต้องการ หลีกเลี่ยงการให้เล่นเป็นเวลานาน ๆ เพียงครั้งเดียว แนะนำให้พาออกไปเดินเล่นระยะสั้น ๆ วันละสองครั้งแทน