เมื่อได้ยินคำว่า “แมวเหมียว” คุณคิดถึงสิ่งใดเป็นอย่างแรก? หลายคนคงคิดถึงขนสวยเงางามของพวกเค้า ซึ่งไม่ได้มีดีแค่ความสวยเท่านั้นนะ แต่ยังมีเนื้อนุ่มละเอียดคล้ายผ้าไหมคุณภาพดีอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เส้นขนของพวกเค้ามีสุขภาพดี ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม ว่าแล้วก็มาเรียนรู้เทคนิคการดูแลและปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อสภาพเส้นขนของพวกเค้าไปด้วยกันในบทความนี้
หากแมวของคุณมีขนหยาบกระด้าง อย่าเพิ่งเร่งหาวิธีแก้ไข ให้ลองทำความเข้าใจต้นตอของปัญหากันก่อน โดยสาเหตุที่ทำให้ขนแมวสูญเสียความเงางาม มีดังนี้
นอกเหนือจากการกรูมมิ่งเป็นประจำแล้ว โภชนาการก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของการมีขนสวยเงางาม ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเลือกอาหารแมวที่อุดมไปด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุในปริมาณที่เหมาะสม
ขนแมวอาจแห้งและหยาบกระด้างเมื่ออาบน้ำบ่อยเกินไป นั่นเป็นเพราะน้ำมันที่เคลือบอยู่บนผิวหนังถูกทำลายระหว่างการอาบน้ำ ซึ่งน้ำมันเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้ขนของแมวเงางาม
เราไม่จำเป็นต้องกรูมมิ่งให้เจ้าเหมียวบ่อย เนื่องจากพวกเค้ามักจะดูแลทำความสะอาดตัวเองเป็นประจำ แต่เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นหรือมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ความยืดหยุ่นของร่างกายก็จะลดน้อยลง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดูแลขนของแมว ในกรณีนี้ ผู้เลี้ยงอาจต้องให้ความช่วยเหลือและอาจต้องวางแผนการลดน้ำหนักอย่างเหมาะสมร่วมกับสัตวแพทย์เพิ่มเติม
สาเหตุสุดท้ายที่อาจเป็นได้คือปัญหาสุขภาพ ขนแมวอาจสูญเสียความเงางามจากปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคเบาหวาน ปรสิต การติดเชื้อ และอาการแพ้ หากคุณพบว่าน้องแมวมีอาการผิดปกติหรือแสดงสัญญาณของการเจ็บป่วย ให้ปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
เมื่อรู้ถึงสาเหตุของปัญหากันแล้ว ก็ถึงเวลาแก้ไขเพื่อให้ขนแมวกลับมาเงางามได้อีกครั้ง โดยเคล็ดลับง่าย ๆ ในการดูแลขนแมว มีดังนี้
ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดบนร่างกายแมว มันถูกปกคลุมด้วยเส้นขนจำนวนมาก แมวจะผลัดขนและสร้างเส้นขนใหม่หลายครั้งตลอดทั้งชีวิต อย่างไรก็ตาม หากได้รับอาหารคุณภาพไม่ดี มีสารอาหารไม่ครบถ้วน กระบวนการสร้างเส้นขนใหม่ก็อาจช้าลงได้ และอาจทำให้เกิดปัญหาขนร่วงเป็นหย่อม ๆ อีกด้วย แนะนำให้เลือกอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง มาพร้อมวิตามิน แร่ธาตุ ไขมันดี และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อเร่งกระบวนการเจริญเติบโตของเส้น ช่วยให้ขนเงางาม และเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
ไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ อาหารแมวชนิดเม็ด สูตรเลี้ยงในบ้านและบำรุงขน อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 ช่วยให้ขนของแมวเงางามและมีสุขภาพดี นอกจากนี้ยังมีสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ เช่น โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ จึงช่วยเสริมสุขภาพโดยรวมของน้องแมวที่คุณรักได้เป็นอย่างดี
ขนแมวสูญเสียความเงางามได้จากหลายปัจจัย โดยสาเหตุทั่วไปที่พบได้ มีดังนี้
การดูแลขนแมวให้แข็งแรงและเงางามขึ้นอยู่กับสองปัจจัย ได้แก่ สุขอนามัยและโภชนาการ โดยแนะนำให้กรูมมิ่งพวกเค้าเป็นประจำหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ และเลือกอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างเส้นขนใหม่ ทำให้เส้นขนแข็งแรงเงางาม ทั้งนี้ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรม โดยไม่ควรปล่อยแมวเลียตัวทำความสะอาดบ่อยเกินไป
แม้ว่าการทาน้ำมันบนขนแมวอาจไม่เป็นอันตราย แต่แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนลงมือทำ
ขนเป็นตัวบ่งบอกสุขภาพโดยรวมของแมว หากพวกเค้าได้รับการบำรุงและมีสุขภาพดีจากภายใน มันจะสะท้อนออกมาทางผิวหนังและขน ดังนั้นควรเลือกอาหารที่มีคุณภาพดี อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณที่เหมาะสม
แมวเลี้ยงง่าย อยู่ง่าย ไม่ต้องเอาใจใส่อะไรมากมาย ชุดความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง! แม้จะพึ่งพาตัวเองได้ค่อนข้างดี แต่แมวเหมียวยังคงต้องการการดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การรักษาพยาบาล และการดูแลป้องกัน โดยแมวทุกตัวควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีน FVRCP เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อร้ายแรง และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
วัคซีนถูกพัฒนามาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง การฉีดวัคซีนให้แมวมักจะพิจารณาจากอายุ สุขภาพโดยรวม การใช้ชีวิต และสายพันธุ์ โดยวัคซีนสำหรับแมวแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ วัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือก วัคซีนหลักจำเป็นสำหรับแมวทุกตัว ส่วนวัคซีนทางเลือกจะฉีดให้กับแมวหลังจากพิจารณาสถานการณ์บางอย่างแล้ว
การฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยปกป้องแมวจากการตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายแรงได้ โดยวัคซีนสำคัญที่ลูกแมวทุกตัวควรได้รับมีดังนี้
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นประจำทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่คุณเลือก เพื่อปกป้องลูกแมวตัวน้อยจากไวรัสเรบีส์ที่อันตราย เชื้อชนิดนี้ไม่ได้พบแค่ในหมาแมวเท่านั้น แต่พบได้ในคนด้วย โดยแพร่กระจายผ่านการกัดหรือข่วนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวร้าว สับสน และมีอาการกลัวน้ำหลังผ่านระยะฟักตัว โรคพิษสุนัขบ้าส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ ไม่มียารักษา อัตราเสียชีวิตก็สูง การฉีดวัคซีนป้องกันจึงจำเป็นมาก
ต่อกันด้วยวัคซีนรวมที่ช่วยป้องกันแมวจากไวรัสสามชนิด ได้แก่ ไวรัสไข้หัดแมว รวมถึงเชื้อ Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดในแมว ทั้งนี้แนะนำให้ฉีดวัคซีน FVRCP เป็นประจำทุกปี
วัคซีน FeLV เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยแมวอาจติดเชื้อขณะเลียขนหรือจากการใช้ชามอาหารชามน้ำร่วมกับแมวที่ติดเชื้อ ไวรัสร้ายแรงนี้อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรฉีดวัคซีน FeLV ให้แมวตั้งแต่อายุยังน้อยหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ วัคซีนนี้ประกอบด้วย 2 โดส โดยเว้นระยะห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์สำหรับลูกแมว และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อแมวอายุอย่างน้อย 16 สัปดาห์
วัคซีน FPV จะช่วยปกป้องแมวจากโรคไข้หัดแมว โดยลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FPV เมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ และฉีดทุก ๆ 3 – 4 สัปดาห์จนกระทั่งอายุ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นในช่วงอายุ 1 – 2 ปี
วัคซีน F4 หรือ FVRCCP พัฒนาขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคหวัดแมว การติดเชื้อไวรัสคาลิไซในแมว โรคไข้หัดแมว และโรคติดเชื้อคลาไมเดียในแมวซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตาในระยะเริ่มแรกด้วย ลูกแมวควรได้รับวัคซีนชนิดนี้เมื่อมีอายุ 8, 12 และ 16 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครบ 1 ปี และฉีดใหม่ทุก ๆ 3 ปี
วัคซีน F5 หรือ Fevac 5 เป็นวัคซีนรวมที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของลูกแมวเพื่อรับมือกับไวรัส 5 ชนิด การฉีดวัคซีนชนิดนี้จะช่วยให้ลูกแมวตัวน้อยปลอดภัยจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ
หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ลูกแมวของคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและแสดงอาการผิดปกติเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายกำลังสร้างกลไกป้องกันเพื่อกำจัดไวรัสร้ายแรง โดยผลข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีนมีดังนี้
อ่อนเพลีย เซื่องซึม
อยากอาหารลดลง
อาเจียน
มีไข้
ท้องเสีย
การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นหนึ่งในการดูแลที่สำคัญ มันช่วยให้แมวมีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง และกระฉับกระเฉง ขอแนะนำให้พ่อแม่แมวทุกคนวางแผนตารางการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้