IAMS TH
Understanding Kitten Food Nutrition Labels
Understanding Kitten Food Nutrition Labels

adp_description_block422
ทำความเข้าใจกับฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์อาหารลูกแมว

  • แบ่งปัน

 

คุณกำลังสับสนกับชื่อวัตถุดิบในอาหารแมวอยู่หรือไม่ ไม่ต้องกังวลเพราะไม่ได้มีแค่คุณคนเดียว อาหารแมวที่ทำการตลาดโดยใช้ “วัตถุดิบเกรดอาหารคน” กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ถึงแม้จะดูเป็นที่สนใจของเจ้าของแมวอยู่สมพอควร แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าคำว่า “เกรดอาหารคน” ไม่ได้มีคำจำกัดความทางกฎหมายและมีจุดประสงค์หลักเพื่อการตลาดเท่านั้น

 

อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์โดยทั่วไปแล้วจะมีป้ายกำกับว่า “กินได้” หรือ “กินไม่ได้ ไม่ใช่เพื่อการบริโภคของมนุษย์” เมื่ออาหารออกจากห่วงโซ่อาหารของมนุษย์แล้ว แม้ว่าอาหารนั้นจะมีคุณภาพดีแค่ไหนก็ตาม ก็จะต้องระบุว่า “กินไม่ได้ ไม่ใช่เพื่อการบริโภคของมนุษย์” ดังนั้น เนื้อสัตว์ที่ใช้ในอาหารสัตว์เลี้ยงจะต้องระบุว่า “กินไม่ได้” โดยไม่ต้องคำนึงถึงแหล่งที่มาหรือคุณภาพของเนื้อสัตว์ วิธีการเดียวในการทำให้อาหารสัตว์เลี้ยงใช้ส่วนผสมที่ถือว่า 'กินได้' ก็คือ อย่าปล่อยให้เนื้อสัตว์ออกจากห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ และผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงในโรงงานผลิตอาหารมนุษย์เท่านั้น รวมถึงต้องขนส่งโดยใช้รถบรรทุกอาหารของมนุษย์ด้วย ดังนั้น การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่มี 'ส่วนผสมเกรดเดียวกับมนุษย์' จึงไม่เป็นความจริง หากผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้ผลิตในโรงงานผลิตอาหารมนุษย์ อย่างไรก็ตาม การที่อาหารสัตว์เลี้ยงไม่ได้ถูกวางตำแหน่งทางการตลาดว่าเป็น “เกรดสำหรับมนุษย์” ไม่ได้หมายความว่าส่วนผสมนั้นจะมีคุณภาพต่ำ

 

นี่เป็นเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณเข้าใจวัตถุดิบมากขึ้น

คุณไม่ควรใช้รายชื่อวัตถุดิบเพียงปัจจัยเดียว เพื่อตัดสินเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากรายชื่อของวัตถุดิบอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะบอกถึงคุณภาพของวัตถุดิบ หรือสารอาหารที่เพียงพอสำหรับสัตว์เลี้ยง

เจ้าของสัตว์เลี้ยงและสัตวแพทย์ควรให้ความสำคัญกับประกาศความเพียงพอด้านสารอาหารของ AAFCO และขั้นตอนควบคุมคุณภาพของผู้ผลิต แทนที่จะดูแค่วัตถุดิบเพียงอย่างเดียว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม คุณสามารถดูโบรชัวร์ของสมาคมสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กสากล (World Small Animal Veterinary Association) หัวข้อ “วิธีเลือกอาหารที่เหมาะกับสัตว์เลี้ยงของคุณ” (“Selecting the Best Food for your Pet”) ได้ที่ www.wsava.org/nutrition-toolkit

รายชื่อวัตถุดิบมีการจัดทำขึ้นเพื่อดึงดูดผู้บริโภค รวมถึงลำดับของวัตถุดิบด้วย เช่น ใช้เนื้อแกะอยู่ในบรรทัดแรกของรายชื่อวัตถุดิบ นอกจากนี้ยังมีการรายชื่อวัตถุดิบที่ดูเป็นที่ต้องการ แต่ในความเป็นจริงแล้ววัตถุดิบดังกล่าวผสมลงไปในปริมาณน้อยมากจนไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการเลย เช่น ใส่อาร์ทิโชกหรือราสป์เบอร์รี โดยใส่ไว้ถัดจากวิตามินและแร่ธาตุเสริม

ทั้งนี้การมีวัตถุดิบมากกว่าไม่ได้หมายความว่าคุณค่าทางสารอาหารจะเพิ่มขึ้น

 

  • รวมทุกเรื่องที่คุณควรรู้ ก่อนนำลูกแมวเข้าบ้าน
    รวมทุกเรื่องที่คุณควรรู้ ก่อนนำลูกแมวเข้าบ้าน
    adp_description_block485
    พาแมวเข้าบ้านวันแรก ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

    • แบ่งปัน

    การนำลูกแมวตัวใหม่กลับบ้านเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนี่เป็นครั้งแรกของคุณ แต่ไม่ว่าจะรู้สึกตื่นเต้นหรือดีใจมากน้อยแค่ไหน คุณก็ควรเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อให้วันแรกและคืนแรกของเจ้าตัวน้อยเป็นไปอย่างราบรื่น
     

    การนำลูกแมวกลับบ้านก็เหมือนการพาลูกน้อยกลับบ้าน คุณควรเก็บข้าวของอันตรายในบ้านให้เรียบร้อย และสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ที่สำคัญในช่วงสัปดาห์แรก ควรพาลูกแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกาย แนะนำให้พวกเค้ารู้จักกับ
     

    สมาชิกในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ ส่วนการวางแผนออกไปผจญภัยนอกบ้านควรเริ่มเมื่อลูกแมวได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว
     

    สำหรับพ่อแม่แมวมือใหม่ทุกคน เรามีคำแนะนำและเคล็ดลับดี ๆ เกี่ยวกับการต้อนรับลูกแมวตัวใหม่เข้าบ้านมาฝากกัน
     

    สิ่งที่ควรทำก่อนนำลูกแมวเข้าบ้าน

    ก่อนที่จะพาลูกแมวเข้าบ้าน คุณควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์ที่น่าเชื่อถือในละแวกบ้าน เพื่อทำการตรวจสุขภาพ วางแผนการฉีดวัคซีนและป้องกันปรสิตเบื้องต้น ทั้งนี้หากคุณรับเลี้ยงลูกแมวแรกเกิด ก็ควรพาไปพบคุณหมอทันทีที่รับเลี้ยง รวมถึงควรทำตามขั้นตอนสำคัญอื่น ๆ ดังนี้ด้วย

    1. ป้องกันอันตรายภายในบ้าน

    ลูกแมวมีขนาดตัวเล็กและยังคงบอบบาง ผู้เลี้ยงจึงควรทำความสะอาดบ้าน เก็บข้าวของมีคมและสารอันตรายต่าง ๆ ให้มิดชิด พร้อมตรวจสอบให้แน่ใจว่าจัดพื้นที่นอน ชามอาหาร ชามน้ำ ของเล่น และกระบะทรายให้ครบถ้วน

    1. เตรียมพื้นที่พักผ่อนให้ดี

    ในช่วงสองสามคืนแรก ลูกแมวอาจรู้สึกวิตกกังวลและมักจะส่งเสียงร้อง พวกเค้าจะใช้เวลาสักพักเพื่อทำความคุ้นเคยกับบ้านใหม่ เพื่อช่วยให้ลูกแมวนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น ควรจัดมุมพักผ่อนในบริเวณที่อบอุ่น เงียบสงบ เมื่ออยู่บ้านใหม่ได้อย่างสบายใจ ลูกแมวจะสามารถนอนหลับได้นานถึง 20 ชั่วโมงต่อวัน

    1. เลือกโภชนาการอย่างเหมาะสม

    อาหารมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีในลูกแมว คุณจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม รวมไปถึงวิธีการให้อาหารอย่างถูกต้อง สำหรับลูกแมวในช่วงวัย 2 – 12 เดือน ขอแนะนำ ไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ อาหารเม็ดสูตรสำหรับแม่และลูกแมว เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน มีวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยพัฒนาสมองและดวงตาให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังมีดีเอชเอและโคลอสตรุม ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานตามธรรมชาติและป้องกันโรคร้าย ถือเป็นแหล่งอาหารจำเป็นที่พบได้ในนมแม่
     

    สิ่งที่ควรทำหลังนำลูกแมวเข้าบ้าน

    เมื่อเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยดีแล้ว ก็ถึงเวลารับเจ้าตัวน้อยเข้าบ้าน และมีขั้นตอนอีกมากมายที่คุณควรทำหลังจากนี้

    1. แนะนำลูกแมวให้รู้จักกับสมาชิกในครอบครัว

    ลูกแมวอาจรู้สึกกังวลเมื่ออยู่กับคนแปลกหน้า การทำให้พวกเค้าคุ้นเคยกับครอบครัวใหม่ตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้บรรยากาศสงบและไม่เสียงดังจนเกินไปในช่วงเวลาที่ทำความรู้จักกัน ควรปฏิบัติกับลูกแมวอย่างอ่อนโยน ไม่บังคับ ให้เวลาลูกแมวได้ปรับตัวและสำรวจบ้านด้วยตัวเอง

    1. แนะนำลูกแมวให้รู้จักกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่น

    หากคุณมีสัตว์เลี้ยงหรือแมวในบ้านอยู่แล้ว การเลือกวิธีแนะนำลูกแมวตัวใหม่เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะพวกเค้าทั้งหมดต้องอยู่ร่วมกันและควรจะเข้ากันได้ดี เริ่มจากปล่อยให้พวกเค้าทำความคุ้นเคยกลิ่นของกันและกันก่อน อาจนำผ้าห่มของลูกแมวตัวใหม่ไปวางใกล้ ๆ ชามอาหารของแมวตัวเก่า จากนั้นปล่อยให้ดมกลิ่นสำรวจจนคุ้นชิน วิธีนี้จะทำให้แมวตัวเก่าค่อย ๆ คุ้นเคยกับกลิ่นของแมวตัวใหม่ไปเอง

    1. พาลูกแมวไปพบสัตวแพทย์

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นหนึ่งในข้อปฏิบัติสำคัญที่ต้องทำทันทีหลังนำลูกแมวตัวใหม่กลับบ้าน คุณหมอจะวางแผนการฉีดวัคซีน พร้อมทำการดูแลป้องกันอื่น ๆ เพื่อเสริมสุขภาพโดยรวมของลูกแมว รวมถึงจะตรวจสอบน้ำหนักและสภาพร่างกาย เพื่อประเมินความต้องการทางโภชนาการของลูกแมวให้อีกด้วย

    1. ปล่อยให้ลูกแมวสำรวจบ้านใหม่

    เมื่อลูกแมวรู้สึกสบายใจกับการอยู่ในบ้านใหม่ พวกเค้าจะเริ่มสำรวจพื้นที่ทุกซอกทุกมุม คุณอาจพบว่าลูกแมวเดินเตร่ไปมาและดมกลิ่นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว นี่ถือเป็นข่าวดี ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกแมวได้รับบาดเจ็บขณะสำรวจบ้านใหม่ คุณควรเก็บกวาดบ้านให้เรียบร้อยพร้อมตามดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ไม่แนะนำให้อุ้มลูกแมวขึ้นมากอดหรือบังคับให้เคลื่อนไหวไปมา ปล่อยให้พวกเค้าสำรวจด้วยตัวเอง

    1. แบ่งเวลามาเล่นกับลูกแมวเป็นประจำ

    หลังจากลูกแมวปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้แล้ว คุณสามารถชวนพวกเค้าเล่นและทำกิจกรรมง่าย ๆ ได้ เช่น เล่นซ่อนแอบ เล่นตะครุบเหยื่อ อาจให้รางวัลด้วยขนมเมื่อพวกเค้าเล่นกับคุณ วิธีนี้ช่วยให้ลูกแมวเชื่อใจคุณมากยิ่งขึ้น จากนั้นอีกไม่นาน พวกเค้าก็จะเริ่มอ้อน เข้ามาคลอเคลีย และแสดงความรักให้เห็นบ่อยมากขึ้น

Close modal