IAMS TH
Understanding Kitten Food Nutrition Labels
Understanding Kitten Food Nutrition Labels

adp_description_block107
ทำความเข้าใจกับฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์อาหารลูกแมว

  • แบ่งปัน

 

คุณกำลังสับสนกับชื่อวัตถุดิบในอาหารแมวอยู่หรือไม่ ไม่ต้องกังวลเพราะไม่ได้มีแค่คุณคนเดียว อาหารแมวที่ทำการตลาดโดยใช้ “วัตถุดิบเกรดอาหารคน” กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ถึงแม้จะดูเป็นที่สนใจของเจ้าของแมวอยู่สมพอควร แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าคำว่า “เกรดอาหารคน” ไม่ได้มีคำจำกัดความทางกฎหมายและมีจุดประสงค์หลักเพื่อการตลาดเท่านั้น

 

อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์โดยทั่วไปแล้วจะมีป้ายกำกับว่า “กินได้” หรือ “กินไม่ได้ ไม่ใช่เพื่อการบริโภคของมนุษย์” เมื่ออาหารออกจากห่วงโซ่อาหารของมนุษย์แล้ว แม้ว่าอาหารนั้นจะมีคุณภาพดีแค่ไหนก็ตาม ก็จะต้องระบุว่า “กินไม่ได้ ไม่ใช่เพื่อการบริโภคของมนุษย์” ดังนั้น เนื้อสัตว์ที่ใช้ในอาหารสัตว์เลี้ยงจะต้องระบุว่า “กินไม่ได้” โดยไม่ต้องคำนึงถึงแหล่งที่มาหรือคุณภาพของเนื้อสัตว์ วิธีการเดียวในการทำให้อาหารสัตว์เลี้ยงใช้ส่วนผสมที่ถือว่า 'กินได้' ก็คือ อย่าปล่อยให้เนื้อสัตว์ออกจากห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ และผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงในโรงงานผลิตอาหารมนุษย์เท่านั้น รวมถึงต้องขนส่งโดยใช้รถบรรทุกอาหารของมนุษย์ด้วย ดังนั้น การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่มี 'ส่วนผสมเกรดเดียวกับมนุษย์' จึงไม่เป็นความจริง หากผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้ผลิตในโรงงานผลิตอาหารมนุษย์ อย่างไรก็ตาม การที่อาหารสัตว์เลี้ยงไม่ได้ถูกวางตำแหน่งทางการตลาดว่าเป็น “เกรดสำหรับมนุษย์” ไม่ได้หมายความว่าส่วนผสมนั้นจะมีคุณภาพต่ำ

 

นี่เป็นเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณเข้าใจวัตถุดิบมากขึ้น

คุณไม่ควรใช้รายชื่อวัตถุดิบเพียงปัจจัยเดียว เพื่อตัดสินเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากรายชื่อของวัตถุดิบอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะบอกถึงคุณภาพของวัตถุดิบ หรือสารอาหารที่เพียงพอสำหรับสัตว์เลี้ยง

เจ้าของสัตว์เลี้ยงและสัตวแพทย์ควรให้ความสำคัญกับประกาศความเพียงพอด้านสารอาหารของ AAFCO และขั้นตอนควบคุมคุณภาพของผู้ผลิต แทนที่จะดูแค่วัตถุดิบเพียงอย่างเดียว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม คุณสามารถดูโบรชัวร์ของสมาคมสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กสากล (World Small Animal Veterinary Association) หัวข้อ “วิธีเลือกอาหารที่เหมาะกับสัตว์เลี้ยงของคุณ” (“Selecting the Best Food for your Pet”) ได้ที่ www.wsava.org/nutrition-toolkit

รายชื่อวัตถุดิบมีการจัดทำขึ้นเพื่อดึงดูดผู้บริโภค รวมถึงลำดับของวัตถุดิบด้วย เช่น ใช้เนื้อแกะอยู่ในบรรทัดแรกของรายชื่อวัตถุดิบ นอกจากนี้ยังมีการรายชื่อวัตถุดิบที่ดูเป็นที่ต้องการ แต่ในความเป็นจริงแล้ววัตถุดิบดังกล่าวผสมลงไปในปริมาณน้อยมากจนไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการเลย เช่น ใส่อาร์ทิโชกหรือราสป์เบอร์รี โดยใส่ไว้ถัดจากวิตามินและแร่ธาตุเสริม

ทั้งนี้การมีวัตถุดิบมากกว่าไม่ได้หมายความว่าคุณค่าทางสารอาหารจะเพิ่มขึ้น

 

  • รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหมัดในลูกแมว
    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหมัดในลูกแมว
    adp_description_block420
    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหมัดในลูกแมว

    • แบ่งปัน

    หากพบว่าเจ้าเหมียวเกาหรือกัดตัวเองบ่อยผิดปกติ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของการมีหมัด นอกจากจะทำให้เกิดอาการคันและไม่สบายตัวแล้ว หมัดยังสามารถแพร่โรคได้อีกด้วย ในกรณีที่ร้ายแรง ลูกแมวอาจมีภาวะโลหิตจาง ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับลูกแมวตัวน้อย แต่ไม่ต้องกังวล! เรามีคำแนะนำและวิธีจัดการกับหมัดตัวร้ายเหล่านี้มาฝากกัน

     

    วิธีกำจัดหมัดแมว

    • ประเมินอาการเบื้องต้น

    ก่อนจะเริ่มใช้วิธีรักษาหมัดแมวในรูปแบบต่าง ๆ คุณต้องประเมินสถานการณ์เสียก่อน โดยวิธีการอาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักของลูกแมว

    ข้อควรระวัง

    1. หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเห็บหมัดกับลูกแมวที่มีอายุน้อยกว่า 12 สัปดาห์

    2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ป้องกันเหมาะกับอายุและน้ำหนักของลูกแมว

    3. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาสำหรับแมวเท่านั้น
    • ขั้นตอนการกำจัดหมัดแมว

    1. แปรงขน – แปรงหรือหวีซี่เล็กสามารถกำจัดหมัดที่มองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    2. อาบน้ำ – เมื่อลูกแมวมีอายุที่เหมาะสม อาจเลือกใช้แชมพูกำจัดเห็บหมัดสำหรับผิวแพ้ง่าย หรือใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนและไม่มีฟองแทนก็ได้ 

    3. ทำความสะอาดบ้าน – ซักผ้าปูที่นอนทั้งหมดด้วยน้ำสบู่และดูดฝุ่นบริเวณพรมเป็นประจำ อาจใช้สเปรย์กำจัดหมัดฉีดรอบ ๆ ตัวบ้านด้วยก็ได้

    4. ทำความสะอาดสวนหรือสนามหญ้า – แม้จะเลี้ยงลูกแมวในบ้าน แต่หมัดก็อาจแอบเข้ามาจากข้างนอกได้ คุณสามารถใช้สเปรย์กำจัดหมัดฉีดให้ทั่วทุกบริเวณเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของหมัด

    • การรักษาหมัดในลูกแมวอายุน้อยกว่า 12 สัปดาห์

    ทางเลือกในการรักษาค่อนข้างมีจำกัด เพราะลูกแมวในวัยนี้ยังไม่แข็งแรงมากพอที่จะใช้วิธีการรักษาสำหรับแมวโต โดยแนะนำให้วิธีเหล่านี้แทน

    1. สำหรับลูกแมวที่มีอายุต่ำกว่า 8 สัปดาห์ ทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุดคือการใช้หวีกำจัดหมัด โดยให้จุ่มหวีลงในน้ำสบู่ร้อนระหว่างการแปรงขน 

    2. อีกหนึ่งวิธีที่แนะนำคือการอาบน้ำ การอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นและแชมพูสูตรอ่อนโยนช่วยลดจำนวนหมัดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ควรจำกัดเวลาในการอาบน้ำให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันลูกแมวของคุณหนาวหรือรู้สึกกังวลมากจนเกินไป

    • การใช้น้ำมันหอมระเหย

    หลายคนอาจคิดว่าน้ำมันหอมระเหยเป็นสิ่งที่ดีและปลอดภัย แต่ความจริงนั้น น้ำมันหอมระเหยหลายชนิดเป็นพิษต่อแมว แม้จะใช้เพียงปริมาณเล็กน้อยก็ตาม ยากำจัดหมัดบางชนิดก็มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหย แนะนำให้อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนเลือกซื้อทุกครั้ง และหากมีข้อสงสัย ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติม

    • การป้องกันเห็บหมัดในลูกแมว

    สำหรับลูกแมวที่มีอายุมากกว่า 8 – 10 สัปดาห์และมีน้ำหนักมากกว่า 1 กก. คุณสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเฉพาะจุดได้ แต่ต้องแน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่เลือกนั้นเหมาะกับอายุและน้ำหนักของลูกแมว

    • วิธีรักษาหมัดแมวที่ดีที่สุด

    สิ่งสำคัญคือความปลอดภัยของลูกแมวและประสิทธิภาพในการกำจัดหมัด วิธีที่ดีที่สุดคือการรักษาตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเห็บหมัดที่มีจำหน่ายทั่วไปได้เช่นกัน แต่แนะนำให้อ่านฉลากอย่างละเอียดและหลีกเลี่ยงส่วนผสมที่เป็นอันตราย เช่น เพอร์เมทรินและน้ำมันหอมระเหยบางชนิด

    การรักษาหมัดอาจใช้เวลานาน แต่หากคุณมีความอดทนและรักษาอย่างถูกวิธี แมวของคุณก็จะปราศจากหมัดและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ก่อนการรักษาด้วยตนเองหรือก่อนการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อความปลอดภัยของลูกแมว

Close modal