IAMS TH
Tips for Feeding Your Senior Cat
Tips for Feeding Your Senior Cat

adp_description_block39
คู่มือการให้อาหารน้องแมวสูงวัย

  • แบ่งปัน

เป็นที่รู้กันดีว่าแมวมีความเป็นตัวของตัวเองสูงและมีความสง่างามชวนให้หลงใหล เจ้าเหมียวขนฟูเหล่านี้มีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 12 – 18 ปี แมวที่มีอายุมากกว่า 3 ปีจะถือว่าเป็นแมวโตเต็มวัย และเมื่อมีอายุ 11 ปีขึ้นไปก็จะเข้าสู่ช่วงสูงวัย
 

พฤติกรรมหรือนิสัยการกินของแมวจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ อย่างลูกแมวต้องการปริมาณอาหารมากกว่าเพื่อน เนื่องจากพวกเค้าต้องการพลังงานสูงและอยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต แมวโตเต็มวัยต้องการอาหารในปริมาณปานกลางเพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อการทำกิจกรรมตลอดวัน ส่วนแมวสูงอายุมักจะมีความอยากอาหารน้อยลง เจ้าของจึงอาจต้องปรับเปลี่ยนสูตรอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของพวกเค้า หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการให้อาหารแมวสูงวัย มาติดตามบทความนี้ไปพร้อม ๆ กันเลย
 

ทำไมผู้เลี้ยงจึงควรใส่ใจกับการให้อาหารแมวสูงวัยมากเป็นพิเศษ?

พฤติกรรมการกินส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของแมวสูงวัย เจ้าของควรดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับโภชนาการกันให้มากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าน้องแมวจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม
 

ผู้เลี้ยงควรทำความเข้าใจก่อนว่าแมวแต่ละช่วงวัยมีความต้องการทางโภชนาการแตกต่างกัน ลูกแมวควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม แมวโตเต็มวัยควรได้รับการดูแลอย่างใส่ใจเพื่อป้องกันปัญหาน้ำหนักตัวเกิน และแมวสูงวัยควรได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง อาหารของพวกเค้าควรประกอบด้วยโปรตีนคุณภาพสูงและวิตามินอีเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและข้อต่อ
 

เมื่อน้องแมวมีอายุมากขึ้น การรับรสและการดมกลิ่นก็จะเสื่อมลง นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อปัญหาฟันเสื่อมสภาพซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการเคี้ยวอาหารด้วย เจ้าของสามารถทำตามคำแนะนำในการเลือกอาหารต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้น้องแมวกินอาหารได้ดียิ่งขึ้น

  • เลือกอาหารที่มีชิ้นเล็ก
  • เลือกอาหารที่มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย
  • เลือกอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลัก เพื่อเพิ่มกลิ่นและรสชาติของอาหาร

เคล็ดลับง่าย ๆ ในการให้อาหารแมวสูงวัย

เนื่องจากแมวสูงวัยมีความอยากอาหารน้อยลง เจ้าของจึงต้องเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพื่อให้แน่ใจว่าน้องแมวจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน หรืออาจทำตามเคล็ดลับเหล่านี้เพิ่มเติมด้วยก็ได้

  1. ให้อาหารน้อยลงแต่บ่อยขึ้น –

แม้ว่าน้องแมวสูงวัยจะอยากอาหารน้อยลง แต่พวกเค้ายังคงต้องการสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนหรือวิตามินที่จำเป็น สำหรับแมวสูงวัยที่มีสุขภาพแข็งแรง อาจให้อาหาร 3 – 4 ครั้งต่อวัน แต่หากพวกเค้ามีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร ควรให้อาหารอย่างน้อย 10 – 12 ครั้งต่อ

  1. เสิร์ฟอาหารอุณหภูมิห้อง –

แทนที่จะเสิร์ฟอาหารร้อนหรือเย็นเกินไป เจ้าของควรเสิร์ฟอาหารในอุณหภูมิห้องปกติ เนื่องจากประสาทสัมผัสของแมวสูงวัยไม่ได้ดีดังเดิม อาหารอุณหภูมิห้องจะช่วยให้พวกเค้ารับรสและกลิ่นของอาหารได้ดีขึ้น

  1. เลือกอาหารที่มีคุณภาพดี –

อาหารของแมวสูงวัยควรย่อยง่ายและมีสารอาหารที่สำคัญครบถ้วน เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุ
 

ช่วงวัยเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกอาหาร รวมถึงสภาวะสุขภาพ น้ำหนัก ความอยากอาหาร และรูปแบบการใช้ชีวิตของแมวด้วย แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อทำความเข้าใจข้อกำหนดด้านสุขภาพ การขาดสารอาหาร และโรคประจำตัวก่อนเลือกอาหารให้กับพวกเค้า

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้อาหารน้องแมวสูงวัย

  1. ควรให้อาหารแมวสูงวัยในปริมาณเท่าใด?
  2. แมวสูงวัยส่วนใหญ่ต้องการพลังงานประมาณ 280 – 360 แคลอรี่ต่อวัน แนะนำให้เลือกอาหารคุณภาพดี โดยพิจารณาจากน้ำหนัก สภาวะสุขภาพ และสารอาหารที่ต้องการ

  3. ควรให้อาหารแมวสูงวัยบ่อยแค่ไหน?
  4. ควรให้อาหารแมวสูงวัยในปริมาณเล็กน้อยแต่ให้บ่อยขึ้น อย่างน้อย 3 – 4 ครั้งต่อวัน หากพวกเค้ามีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร คุณควรให้อาหารปริมาณที่น้อยลงและแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 10 – 12 ครั้งต่อวัน

  5. ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับแมวสูงวัยโดยเฉพาะใช่หรือไม่?
  6. ใช่ คุณควรเลือกอาหารสูตรสำหรับแมวสูงวัยโดยเฉพาะ เนื่องจากได้รับการคิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของแมวในช่วงวัยนี้

  7. อาหารสูตรสำหรับแมวสูงวัยมีข้อดีอย่างไร?
  8. ข้อดีของอาหารสำหรับแมวสูงวัยมีดังต่อไปนี้

    • มีสารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้น ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน
    • มีไฟเบอร์สูงเพื่อเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร
    • มีวิตามินเพิ่มมากขึ้นเพื่อเสริมข้อต่อและกระดูกให้แข็งแรง

  9. แมวเข้าสู่ช่วงสูงวัยเมื่อมีอายุเท่าไหร่?
  10. แมวที่มีอายุมากกว่า 11 ปีถือเป็นแมวสูงวัย

  • vet approved tips image
    vet approved tips image
    adp_description_block89
    วิธีอาบน้ำลูกแมวตัวน้อย

    • แบ่งปัน

    การอาบน้ำเป็นหนึ่งในงานที่ยากมากสำหรับพ่อแม่แมว เพราะเจ้าเหมียวส่วนใหญ่ไม่ชอบน้ำและมักจะหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำ แต่มันเป็นการดูแลที่สำคัญและไม่สามารถละเลยได้ โดยเฉพาะเมื่อลูกแมวมีปัญหาสุขภาพผิวหนัง สำหรับทาสแมวมือใหม่ที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอาบน้ำลูกแมวอย่างไร เรามีเคล็ดลับและเทคนิคดี ๆ มาฝากกัน ห้ามพลาดบทความนี้เลย!

     

    เคล็ดลับการอาบน้ำให้ลูกแมว
     

    ก่อนเริ่มอาบน้ำให้ลูกแมว คุณควรตัดเล็บพวกเค้าให้เรียบร้อย เพราะเจ้าเหมียวจะข่วนคุณอย่างไม่ลังเลหากรู้สึกไม่พอใจหรือไม่สบายตัว และคุณอาจทำตามเคล็ดลับเหล่านี้เพื่อให้การอาบน้ำเจ้าตัวน้อยง่ายขึ้น!

    1. แปรงขนก่อนอาบน้ำเสมอ

      ลูกแมวผลัดขนตลอดทั้งปี ขนของพวกเค้าอาจร่วงมากขณะอาบน้ำ และอาจอุดตันระบบระบายน้ำของคุณได้ ทางที่ดีจึงควรแปรงขนลูกแมวเพื่อกำจัดเส้นขนที่หลุดร่วงออกไปก่อน

    2. เลือกเวลาที่เหมาะสม

      แนะนำให้เลือกอาบน้ำหลังจากที่ลูกแมวทำกิจกรรมอย่างเต็มที่แล้ว เช่น หลังเวลาเล่นหรือออกกำลังกาย เมื่อลูกแมวเหนื่อยและหมดแรง พวกเค้าอาจจะปล่อยให้คุณอาบน้ำโดยไม่ขัดขืน

    3. ใช้แชมพูสูตรสำหรับแมวโดยเฉพาะ

      ควรเลือกแชมพูที่ถูกออกแบบมาเพื่อแมวโดยเฉพาะ หลีกเลี่ยงการใช้แชมพูหรือสบู่ของคนในทุกกรณี เนื่องจากมันอาจตกค้างอยู่บนเส้นขน ทำให้แมวได้รับเข้าไปขณะเลียตัวทำความสะอาด

    4. ล้างน้ำให้สะอาด

      สิ่งสำคัญคือต้องล้างแชมพูออกจากขนลูกแมวให้หมด และควรระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าหู จมูก หรือตา ทั้งนี้เพื่อให้ลูกแมวรู้สึกสบายตัวมากที่สุด ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนหรือน้ำเย็นจัด แนะนำให้ใช้น้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้องแทน

    5. ให้ขนมแสนอร่อยเป็นรางวัล

      เมื่ออาบน้ำให้ลูกแมวเรียบร้อยแล้ว ควรให้ขนมเป็นรางวัลทันที การเล่นและขนมแสนอร่อยจะทำให้ช่วงเวลาอาบน้ำเป็นประสบการณ์ที่ดีของแมว นอกจากนี้ขนมยังมีประโยชน์ในการหันเหความสนใจได้ดีเมื่อลูกแมวเริ่มวิตกกังวล

     

    การเป่าขนแมวอย่างถูกวิธี

     

    หลังอาบน้ำเสร็จ ควรเช็ดตัวและเป่าขนแมวให้แห้งทันที หากปล่อยให้ขนเปียกชื้นนาน ๆ อาจทำให้เกิดปัญหาผิวหนังได้ แต่การใช้ผ้าขนหนูถูตัวแรง ๆ ก็อาจทำให้แมวรู้สึกไม่สบายและเกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังได้เช่นกัน คุณจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยแนะนำให้ทำตามวิธีต่อไปนี้แทน
     

    1. ขั้นตอนที่ 1 – วางลูกแมวลงบนผ้าขนหนูที่แห้งและสะอาด

    2. ขั้นตอนที่ 2 – ห่อตัวลูกแมวด้วยผ้าขนหนู

    3. ขั้นตอนที่ 3 – จับแมวนั่งบนตัก ปล่อยให้แมวสงบอารมณ์ลงสักพัก

    4. ขั้นตอนที่ 4 – ใช้ผ้าขนหนูซับเบา ๆ ทั่วทั้งตัวแมว

    5. ขั้นตอนที่ 5 – ค่อย ๆ ซับไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งขนชื้นและไม่เปียกโชก

     

    ป้องกันปัญหาขณะอาบน้ำให้ลูกแมว
     

    แมวเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบน้ำโดยธรรมชาติ เนื่องจากบรรพบุรุษอาศัยอยู่ในทะเลทราย ซึ่งหมายความว่าพวกเค้าแทบจะไม่เคยเจอฝน ทะเลสาบ หรือแม่น้ำเลย ดังนั้นน้ำทุกประเภท ยกเว้นน้ำดื่ม จึงกลายเป็นสิ่งแปลกปลอม อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติกับลูกแมวอย่างอ่อนโยนจะช่วยลดปัญหาขณะอาบน้ำและสร้างประสบการณ์ที่ดีได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการจ่อฝักบัวที่ตัวลูกแมวตลอดเวลา และพยายามจำกัดเวลาอาบน้ำให้สั้นที่สุด
     

    ข้อควรระวัง – หากลูกแมวยังคงแสดงอาการกังวลหรือเครียดมาก ๆ ขณะอาบน้ำ แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์
     

    การอาบน้ำเป็นช่วงเวลาที่ดีในการสานสัมพันธ์กับลูกแมวตัวน้อยของคุณ อีกทั้งยังช่วยให้ลูกแมวคุ้นเคยกับการสัมผัส เสริมสร้างความไว้วางใจและกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นขึ้นด้วย

Close modal