IAMS TH
Tips for Feeding Your Senior Cat
Tips for Feeding Your Senior Cat

adp_description_block2
คู่มือการให้อาหารน้องแมวสูงวัย

  • แบ่งปัน

เป็นที่รู้กันดีว่าแมวมีความเป็นตัวของตัวเองสูงและมีความสง่างามชวนให้หลงใหล เจ้าเหมียวขนฟูเหล่านี้มีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 12 – 18 ปี แมวที่มีอายุมากกว่า 3 ปีจะถือว่าเป็นแมวโตเต็มวัย และเมื่อมีอายุ 11 ปีขึ้นไปก็จะเข้าสู่ช่วงสูงวัย
 

พฤติกรรมหรือนิสัยการกินของแมวจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ อย่างลูกแมวต้องการปริมาณอาหารมากกว่าเพื่อน เนื่องจากพวกเค้าต้องการพลังงานสูงและอยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต แมวโตเต็มวัยต้องการอาหารในปริมาณปานกลางเพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อการทำกิจกรรมตลอดวัน ส่วนแมวสูงอายุมักจะมีความอยากอาหารน้อยลง เจ้าของจึงอาจต้องปรับเปลี่ยนสูตรอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของพวกเค้า หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการให้อาหารแมวสูงวัย มาติดตามบทความนี้ไปพร้อม ๆ กันเลย
 

ทำไมผู้เลี้ยงจึงควรใส่ใจกับการให้อาหารแมวสูงวัยมากเป็นพิเศษ?

พฤติกรรมการกินส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของแมวสูงวัย เจ้าของควรดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับโภชนาการกันให้มากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าน้องแมวจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม
 

ผู้เลี้ยงควรทำความเข้าใจก่อนว่าแมวแต่ละช่วงวัยมีความต้องการทางโภชนาการแตกต่างกัน ลูกแมวควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม แมวโตเต็มวัยควรได้รับการดูแลอย่างใส่ใจเพื่อป้องกันปัญหาน้ำหนักตัวเกิน และแมวสูงวัยควรได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง อาหารของพวกเค้าควรประกอบด้วยโปรตีนคุณภาพสูงและวิตามินอีเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและข้อต่อ
 

เมื่อน้องแมวมีอายุมากขึ้น การรับรสและการดมกลิ่นก็จะเสื่อมลง นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อปัญหาฟันเสื่อมสภาพซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการเคี้ยวอาหารด้วย เจ้าของสามารถทำตามคำแนะนำในการเลือกอาหารต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้น้องแมวกินอาหารได้ดียิ่งขึ้น

  • เลือกอาหารที่มีชิ้นเล็ก
  • เลือกอาหารที่มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย
  • เลือกอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลัก เพื่อเพิ่มกลิ่นและรสชาติของอาหาร

เคล็ดลับง่าย ๆ ในการให้อาหารแมวสูงวัย

เนื่องจากแมวสูงวัยมีความอยากอาหารน้อยลง เจ้าของจึงต้องเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพื่อให้แน่ใจว่าน้องแมวจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน หรืออาจทำตามเคล็ดลับเหล่านี้เพิ่มเติมด้วยก็ได้

  1. ให้อาหารน้อยลงแต่บ่อยขึ้น –

แม้ว่าน้องแมวสูงวัยจะอยากอาหารน้อยลง แต่พวกเค้ายังคงต้องการสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนหรือวิตามินที่จำเป็น สำหรับแมวสูงวัยที่มีสุขภาพแข็งแรง อาจให้อาหาร 3 – 4 ครั้งต่อวัน แต่หากพวกเค้ามีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร ควรให้อาหารอย่างน้อย 10 – 12 ครั้งต่อ

  1. เสิร์ฟอาหารอุณหภูมิห้อง –

แทนที่จะเสิร์ฟอาหารร้อนหรือเย็นเกินไป เจ้าของควรเสิร์ฟอาหารในอุณหภูมิห้องปกติ เนื่องจากประสาทสัมผัสของแมวสูงวัยไม่ได้ดีดังเดิม อาหารอุณหภูมิห้องจะช่วยให้พวกเค้ารับรสและกลิ่นของอาหารได้ดีขึ้น

  1. เลือกอาหารที่มีคุณภาพดี –

อาหารของแมวสูงวัยควรย่อยง่ายและมีสารอาหารที่สำคัญครบถ้วน เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุ
 

ช่วงวัยเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกอาหาร รวมถึงสภาวะสุขภาพ น้ำหนัก ความอยากอาหาร และรูปแบบการใช้ชีวิตของแมวด้วย แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อทำความเข้าใจข้อกำหนดด้านสุขภาพ การขาดสารอาหาร และโรคประจำตัวก่อนเลือกอาหารให้กับพวกเค้า

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้อาหารน้องแมวสูงวัย

  1. ควรให้อาหารแมวสูงวัยในปริมาณเท่าใด?
  2. แมวสูงวัยส่วนใหญ่ต้องการพลังงานประมาณ 280 – 360 แคลอรี่ต่อวัน แนะนำให้เลือกอาหารคุณภาพดี โดยพิจารณาจากน้ำหนัก สภาวะสุขภาพ และสารอาหารที่ต้องการ

  3. ควรให้อาหารแมวสูงวัยบ่อยแค่ไหน?
  4. ควรให้อาหารแมวสูงวัยในปริมาณเล็กน้อยแต่ให้บ่อยขึ้น อย่างน้อย 3 – 4 ครั้งต่อวัน หากพวกเค้ามีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร คุณควรให้อาหารปริมาณที่น้อยลงและแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 10 – 12 ครั้งต่อวัน

  5. ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับแมวสูงวัยโดยเฉพาะใช่หรือไม่?
  6. ใช่ คุณควรเลือกอาหารสูตรสำหรับแมวสูงวัยโดยเฉพาะ เนื่องจากได้รับการคิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของแมวในช่วงวัยนี้

  7. อาหารสูตรสำหรับแมวสูงวัยมีข้อดีอย่างไร?
  8. ข้อดีของอาหารสำหรับแมวสูงวัยมีดังต่อไปนี้

    • มีสารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้น ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน
    • มีไฟเบอร์สูงเพื่อเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร
    • มีวิตามินเพิ่มมากขึ้นเพื่อเสริมข้อต่อและกระดูกให้แข็งแรง

  9. แมวเข้าสู่ช่วงสูงวัยเมื่อมีอายุเท่าไหร่?
  10. แมวที่มีอายุมากกว่า 11 ปีถือเป็นแมวสูงวัย

  • รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหมัดในลูกแมว
    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหมัดในลูกแมว
    adp_description_block492
    รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหมัดในลูกแมว

    • แบ่งปัน

    หากพบว่าเจ้าเหมียวเกาหรือกัดตัวเองบ่อยผิดปกติ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของการมีหมัด นอกจากจะทำให้เกิดอาการคันและไม่สบายตัวแล้ว หมัดยังสามารถแพร่โรคได้อีกด้วย ในกรณีที่ร้ายแรง ลูกแมวอาจมีภาวะโลหิตจาง ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับลูกแมวตัวน้อย แต่ไม่ต้องกังวล! เรามีคำแนะนำและวิธีจัดการกับหมัดตัวร้ายเหล่านี้มาฝากกัน

     

    วิธีกำจัดหมัดแมว

    • ประเมินอาการเบื้องต้น

    ก่อนจะเริ่มใช้วิธีรักษาหมัดแมวในรูปแบบต่าง ๆ คุณต้องประเมินสถานการณ์เสียก่อน โดยวิธีการอาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักของลูกแมว

    ข้อควรระวัง

    1. หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเห็บหมัดกับลูกแมวที่มีอายุน้อยกว่า 12 สัปดาห์

    2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ป้องกันเหมาะกับอายุและน้ำหนักของลูกแมว

    3. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาสำหรับแมวเท่านั้น
    • ขั้นตอนการกำจัดหมัดแมว

    1. แปรงขน – แปรงหรือหวีซี่เล็กสามารถกำจัดหมัดที่มองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    2. อาบน้ำ – เมื่อลูกแมวมีอายุที่เหมาะสม อาจเลือกใช้แชมพูกำจัดเห็บหมัดสำหรับผิวแพ้ง่าย หรือใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนและไม่มีฟองแทนก็ได้ 

    3. ทำความสะอาดบ้าน – ซักผ้าปูที่นอนทั้งหมดด้วยน้ำสบู่และดูดฝุ่นบริเวณพรมเป็นประจำ อาจใช้สเปรย์กำจัดหมัดฉีดรอบ ๆ ตัวบ้านด้วยก็ได้

    4. ทำความสะอาดสวนหรือสนามหญ้า – แม้จะเลี้ยงลูกแมวในบ้าน แต่หมัดก็อาจแอบเข้ามาจากข้างนอกได้ คุณสามารถใช้สเปรย์กำจัดหมัดฉีดให้ทั่วทุกบริเวณเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของหมัด

    • การรักษาหมัดในลูกแมวอายุน้อยกว่า 12 สัปดาห์

    ทางเลือกในการรักษาค่อนข้างมีจำกัด เพราะลูกแมวในวัยนี้ยังไม่แข็งแรงมากพอที่จะใช้วิธีการรักษาสำหรับแมวโต โดยแนะนำให้วิธีเหล่านี้แทน

    1. สำหรับลูกแมวที่มีอายุต่ำกว่า 8 สัปดาห์ ทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุดคือการใช้หวีกำจัดหมัด โดยให้จุ่มหวีลงในน้ำสบู่ร้อนระหว่างการแปรงขน 

    2. อีกหนึ่งวิธีที่แนะนำคือการอาบน้ำ การอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นและแชมพูสูตรอ่อนโยนช่วยลดจำนวนหมัดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ควรจำกัดเวลาในการอาบน้ำให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันลูกแมวของคุณหนาวหรือรู้สึกกังวลมากจนเกินไป

    • การใช้น้ำมันหอมระเหย

    หลายคนอาจคิดว่าน้ำมันหอมระเหยเป็นสิ่งที่ดีและปลอดภัย แต่ความจริงนั้น น้ำมันหอมระเหยหลายชนิดเป็นพิษต่อแมว แม้จะใช้เพียงปริมาณเล็กน้อยก็ตาม ยากำจัดหมัดบางชนิดก็มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหย แนะนำให้อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนเลือกซื้อทุกครั้ง และหากมีข้อสงสัย ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติม

    • การป้องกันเห็บหมัดในลูกแมว

    สำหรับลูกแมวที่มีอายุมากกว่า 8 – 10 สัปดาห์และมีน้ำหนักมากกว่า 1 กก. คุณสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเฉพาะจุดได้ แต่ต้องแน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่เลือกนั้นเหมาะกับอายุและน้ำหนักของลูกแมว

    • วิธีรักษาหมัดแมวที่ดีที่สุด

    สิ่งสำคัญคือความปลอดภัยของลูกแมวและประสิทธิภาพในการกำจัดหมัด วิธีที่ดีที่สุดคือการรักษาตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเห็บหมัดที่มีจำหน่ายทั่วไปได้เช่นกัน แต่แนะนำให้อ่านฉลากอย่างละเอียดและหลีกเลี่ยงส่วนผสมที่เป็นอันตราย เช่น เพอร์เมทรินและน้ำมันหอมระเหยบางชนิด

    การรักษาหมัดอาจใช้เวลานาน แต่หากคุณมีความอดทนและรักษาอย่างถูกวิธี แมวของคุณก็จะปราศจากหมัดและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ก่อนการรักษาด้วยตนเองหรือก่อนการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อความปลอดภัยของลูกแมว

Close modal