IAMS TH
Tips for Feeding Your Senior Cat
Tips for Feeding Your Senior Cat

adp_description_block388
คู่มือการให้อาหารน้องแมวสูงวัย

  • แบ่งปัน

เป็นที่รู้กันดีว่าแมวมีความเป็นตัวของตัวเองสูงและมีความสง่างามชวนให้หลงใหล เจ้าเหมียวขนฟูเหล่านี้มีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 12 – 18 ปี แมวที่มีอายุมากกว่า 3 ปีจะถือว่าเป็นแมวโตเต็มวัย และเมื่อมีอายุ 11 ปีขึ้นไปก็จะเข้าสู่ช่วงสูงวัย
 

พฤติกรรมหรือนิสัยการกินของแมวจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ อย่างลูกแมวต้องการปริมาณอาหารมากกว่าเพื่อน เนื่องจากพวกเค้าต้องการพลังงานสูงและอยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต แมวโตเต็มวัยต้องการอาหารในปริมาณปานกลางเพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อการทำกิจกรรมตลอดวัน ส่วนแมวสูงอายุมักจะมีความอยากอาหารน้อยลง เจ้าของจึงอาจต้องปรับเปลี่ยนสูตรอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของพวกเค้า หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการให้อาหารแมวสูงวัย มาติดตามบทความนี้ไปพร้อม ๆ กันเลย
 

ทำไมผู้เลี้ยงจึงควรใส่ใจกับการให้อาหารแมวสูงวัยมากเป็นพิเศษ?

พฤติกรรมการกินส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของแมวสูงวัย เจ้าของควรดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับโภชนาการกันให้มากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าน้องแมวจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม
 

ผู้เลี้ยงควรทำความเข้าใจก่อนว่าแมวแต่ละช่วงวัยมีความต้องการทางโภชนาการแตกต่างกัน ลูกแมวควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม แมวโตเต็มวัยควรได้รับการดูแลอย่างใส่ใจเพื่อป้องกันปัญหาน้ำหนักตัวเกิน และแมวสูงวัยควรได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง อาหารของพวกเค้าควรประกอบด้วยโปรตีนคุณภาพสูงและวิตามินอีเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและข้อต่อ
 

เมื่อน้องแมวมีอายุมากขึ้น การรับรสและการดมกลิ่นก็จะเสื่อมลง นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อปัญหาฟันเสื่อมสภาพซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการเคี้ยวอาหารด้วย เจ้าของสามารถทำตามคำแนะนำในการเลือกอาหารต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้น้องแมวกินอาหารได้ดียิ่งขึ้น

  • เลือกอาหารที่มีชิ้นเล็ก
  • เลือกอาหารที่มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย
  • เลือกอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลัก เพื่อเพิ่มกลิ่นและรสชาติของอาหาร

เคล็ดลับง่าย ๆ ในการให้อาหารแมวสูงวัย

เนื่องจากแมวสูงวัยมีความอยากอาหารน้อยลง เจ้าของจึงต้องเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพื่อให้แน่ใจว่าน้องแมวจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน หรืออาจทำตามเคล็ดลับเหล่านี้เพิ่มเติมด้วยก็ได้

  1. ให้อาหารน้อยลงแต่บ่อยขึ้น –

แม้ว่าน้องแมวสูงวัยจะอยากอาหารน้อยลง แต่พวกเค้ายังคงต้องการสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนหรือวิตามินที่จำเป็น สำหรับแมวสูงวัยที่มีสุขภาพแข็งแรง อาจให้อาหาร 3 – 4 ครั้งต่อวัน แต่หากพวกเค้ามีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร ควรให้อาหารอย่างน้อย 10 – 12 ครั้งต่อ

  1. เสิร์ฟอาหารอุณหภูมิห้อง –

แทนที่จะเสิร์ฟอาหารร้อนหรือเย็นเกินไป เจ้าของควรเสิร์ฟอาหารในอุณหภูมิห้องปกติ เนื่องจากประสาทสัมผัสของแมวสูงวัยไม่ได้ดีดังเดิม อาหารอุณหภูมิห้องจะช่วยให้พวกเค้ารับรสและกลิ่นของอาหารได้ดีขึ้น

  1. เลือกอาหารที่มีคุณภาพดี –

อาหารของแมวสูงวัยควรย่อยง่ายและมีสารอาหารที่สำคัญครบถ้วน เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุ
 

ช่วงวัยเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกอาหาร รวมถึงสภาวะสุขภาพ น้ำหนัก ความอยากอาหาร และรูปแบบการใช้ชีวิตของแมวด้วย แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อทำความเข้าใจข้อกำหนดด้านสุขภาพ การขาดสารอาหาร และโรคประจำตัวก่อนเลือกอาหารให้กับพวกเค้า

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้อาหารน้องแมวสูงวัย

  1. ควรให้อาหารแมวสูงวัยในปริมาณเท่าใด?
  2. แมวสูงวัยส่วนใหญ่ต้องการพลังงานประมาณ 280 – 360 แคลอรี่ต่อวัน แนะนำให้เลือกอาหารคุณภาพดี โดยพิจารณาจากน้ำหนัก สภาวะสุขภาพ และสารอาหารที่ต้องการ

  3. ควรให้อาหารแมวสูงวัยบ่อยแค่ไหน?
  4. ควรให้อาหารแมวสูงวัยในปริมาณเล็กน้อยแต่ให้บ่อยขึ้น อย่างน้อย 3 – 4 ครั้งต่อวัน หากพวกเค้ามีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร คุณควรให้อาหารปริมาณที่น้อยลงและแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 10 – 12 ครั้งต่อวัน

  5. ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับแมวสูงวัยโดยเฉพาะใช่หรือไม่?
  6. ใช่ คุณควรเลือกอาหารสูตรสำหรับแมวสูงวัยโดยเฉพาะ เนื่องจากได้รับการคิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของแมวในช่วงวัยนี้

  7. อาหารสูตรสำหรับแมวสูงวัยมีข้อดีอย่างไร?
  8. ข้อดีของอาหารสำหรับแมวสูงวัยมีดังต่อไปนี้

    • มีสารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้น ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน
    • มีไฟเบอร์สูงเพื่อเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร
    • มีวิตามินเพิ่มมากขึ้นเพื่อเสริมข้อต่อและกระดูกให้แข็งแรง

  9. แมวเข้าสู่ช่วงสูงวัยเมื่อมีอายุเท่าไหร่?
  10. แมวที่มีอายุมากกว่า 11 ปีถือเป็นแมวสูงวัย

  • สาเหตุของแมวอ้วกและวิธีการรักษา
    สาเหตุของแมวอ้วกและวิธีการรักษา
    adp_description_block357
    สาเหตุของแมวอ้วกและวิธีการรักษา

    • แบ่งปัน

    สำหรับคนเลี้ยงแมว คุณคงเคยเห็นแมวอาเจียนบ้างเป็นครั้งคราว บางครั้งแมวก็อ้วกออกมาเป็นก้อนขน หรือบางครั้งคุณอาจพบว่าแมวอ้วกเป็นอาหารที่กินเข้าไป การอาเจียนแบบนี้ถือเป็นเรื่องปกติ แต่แมวที่มีสุขภาพดีไม่ควรอาเจียนบ่อยเกินไป การอาเจียนบ่อยครั้งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทางที่ดีควรไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่และรับการรักษาอย่างทันท่วงที

     

    ดังที่กล่าวไปแล้ว การอาเจียนเป็นครั้งคราวไม่ใช่เรื่องน่ากังวล คุณไม่จำเป็นต้องรีบพาแมวไปพบสัตวแพทย์ แต่ควรไปพบเมื่อแมวอ้วกหลังอาหารทุกมื้อหรือทุกวัน อ่านบทความของเราเพื่อเรียนรู้สาเหตุและวิธีดูแลรักษาอาการอาเจียนในแมวเพิ่มเติม

     

    แมวอาเจียนเพราะอะไร?

    การอาเจียนของแมวเกิดได้จากหลายสาเหตุ แมวอาจอาเจียนเมื่อสัมผัสกับสารพิษ เช่น พืชบางชนิด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการอาเจียนเรื้อรังได้ นอกจากนี้แมวยังมีนิสัยอยากรู้อยากเห็น พวกเค้าอาจรับสารพิษเข้าไปแบบไม่รู้ตัวในขณะที่สำรวจสิ่งต่าง ๆ จนนำไปสู่การอาเจียนในที่สุด

     

    การอาเจียนไม่สามารถระบุความเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อที่เฉพาะเจาะจงได้ โรคในแมวเกือบทั้งหมดส่งผลให้แมวมีอาการอาเจียน ทั้งนี้เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง คุณจะต้องพาเจ้าเหมียวไปพบสัตวแพทย์ โดยการอาเจียนอาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ ความผิดปกติของอวัยวะ ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร อาหาร การติดเชื้อ โรคมะเร็ง และอื่น ๆ

     

    สาเหตุของการอาเจียนในแมว

    สาเหตุที่ทำให้แมวอ้วกมีอะไรบ้าง ตามมาดูไปพร้อม ๆ กันเลย

    1. ก้อนขนอุดตัน – 

    แมวชอบดูแลตัวเอง พวกเค้ามักจะเลียทำความสะอาดตัวเองอยู่เสมอ และลิ้นที่มีหนามเล็ก ๆ อาจเกี่ยวติดขนที่ใกล้หลุดร่วงออกมา ทำให้แมวกลืนขนบางส่วนลงไป ขนเหล่านี้จะสะสมอยู่ในท้องจนเกิดการอุดตัน แมวจึงต้องขย้อนมันออกมา การขย้อนก้อนขนเป็นเรื่องปกติและไม่น่ากังวล แต่หากแมวขย้อนก้อนขนบ่อยเกินไป นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาระบบทางเดินอาหาร ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์

     

    1. ปัญหาในระบบทางเดินอาหาร – 

    อาจเรียกว่าเป็นอาการท้องไส้ปั่นป่วนก็ได้ สาเหตุนี้อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยา ปัญหาเกี่ยวกับอาหาร และการได้รับสารพิษ ปัญหาในระบบทางเดินอาหารส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงและหายได้เอง ในขณะที่สาเหตุอื่น ๆ อาจก่อให้เกิดอาการเรื้อรังและต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ

    • สิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งกีดขวาง – หากแมวของคุณชอบกัดหรือเคี้ยวสิ่งของ มันก็มีโอกาสที่พวกเค้าจะกลืนชิ้นส่วนเล็ก ๆ ลงไป ทำให้เกิดการอุดตันในระบบทางเดินอาหารและเกิดการอาเจียนได้ ในกรณีนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน ทางที่ดีควรพาแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กอาการเพิ่มเติม

    • อาการภูมิแพ้แมวและโรคลำไส้อักเสบ – การแพ้อาหารจะเกิดขึ้นเมื่อแมวได้กินอาหารบางชนิดเข้าไป ซึ่งอาจทำให้แมวอ้วกออกมาทันทีเนื่องจากการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร บางครั้งการแพ้อาหารก็ทำให้เกิดอาการท้องเสียเรื้อรังได้เช่นกัน

    • อาการเจ็บป่วย – โรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น ตับอ่อนอักเสบ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป โรคไต และอื่น ๆ อาจทำให้แมวรู้สึกคลื่นไส้และอาเจียนได้ หากแมวอ้วกบ่อยจนผิดปกติ คุณควรพาพวกเค้าไปตรวจเช็กร่างกายเพื่อค้นหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่

    • การติดเชื้อปรสิต – ปรสิตตัวร้ายมักจะทำให้ลูกแมวมีอาการอาเจียน แต่สาเหตุนี้เกิดขึ้นได้กับแมวทุกวัยเช่นกัน แนะนำให้ตรวจสอบอาเจียนของแมวเพื่อหาพยาธิที่มีชีวิต ข่าวดีคือการอาเจียนจากปรสิตสามารถรักษาให้หายได้ 100%

    • โรคมะเร็ง – มะเร็งในระบบทางเดินอาหารพบได้บ่อยมากในแมว ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้แมวมีอาการอาเจียน อย่างไรก็ตาม มะเร็งในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายก็อาจทำให้อาเจียนได้เช่นกัน

    ลักษณะอาเจียนของแมว

    ลักษณะของอาเจียนมีความสำคัญต่อการรักษา เนื่องจากสามารถบ่งบอกถึงสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงได้ แนะนำให้สังเกตหรือตรวจดูอาเจียนของแมวเพื่อแจ้งให้สัตวแพทย์ทราบ โดยลักษณะอาเจียนของแมวที่พบบ่อยมีดังนี้

     

    อาเจียนสีเหลือง

    แมวอ้วกเป็นสีเหลืองอาจเป็นเพราะอาหารย่อยได้แค่บางส่วนหรือเป็นน้ำดีในท้อง

    อาเจียนสีใส

    อาเจียนสีใสอาจเกิดขึ้นจากอาการท้องว่างหรือการสำรอกน้ำลายออกจากหลอดอาหาร

    อาเจียนสีขาว มีฟอง

    การขย้อนก้อนขนในขณะท้องว่างอาจทำให้แมวอาเจียนเป็นฟองสีขาวได้

    อาเจียนเป็นเลือด 

    อาเจียนเป็นเลือดอาจเกิดจากการอักเสบในกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร หรือลำไส้ส่วนบน

    อาเจียนสีน้ำตาล มีกลิ่น

    อาเจียนสีน้ำตาลและมีกลิ่นอาจเป็นสัญญาณของการมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังอาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับไตหรือตับด้วย

     

    ป้องกันไม่ให้แมวอาเจียนได้อย่างไร?

    เราสามารถป้องกันไม่ให้แมวอ้วกได้หลายวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุดคือการดูแลเรื่องอาหารการกิน ในกรณีที่มีอาการภูมิแพ้แมวหรือมีอาการแพ้อาหาร ควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากสัตวแพทย์ วิธีนี้จะช่วยป้องกันปัญหาอาเจียนเรื้อรังได้

     

    ขอแนะนำให้เลือกอาหารแมวที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล หลีกเลี่ยงการให้อาหารของคน คอยจับตาดูแมวขณะเล่นและอย่าปล่อยให้พวกเค้ากินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป สำหรับปัญหาก้อนขนอุดตัน คุณอาจเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรลดก้อนขนหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่สัตวแพทย์แนะนำเพิ่มเติมได้

     

    การรักษาอาการอาเจียนในแมว

    การสังเกตลักษณะอาเจียนเป็นส่วนสำคัญในการรักษา คุณควรสังเกตว่าอาเจียนของแมวเป็นแบบใด แมวอ้วกเป็นอาหารที่กินเข้าไปหรือแมวอาเจียนเป็นฟองสีขาว ทั้งนี้พ่อแม่แมวหลายคนพยายามหาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยป้องกันหรือลดการอาเจียนมาใช้กับแมว แต่การอาเจียนเกิดจากหลายสาเหตุ การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาจึงเป็นเรื่องยาก หากแมวของคุณอาเจียนเพราะปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะในร่างกายหรือโรคมะเร็ง สิ่งแรกที่ควรทำคือเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม แต่หากแมวของคุณมีอาการอาเจียนเพียงเล็กน้อย สัตวแพทย์อาจสั่งยาแก้อาเจียนหรือยาลดกรดให้ สำหรับปัญหาระบบทางเดินอาหาร คุณอาจต้องเปลี่ยนสูตรอาหารที่เหมาะสมกับอาการ 

     

    การวินิจฉัยและการตรวจสอบโดยสัตวแพทย์

    สัตวแพทย์จะตัดสินใจว่าควรทดสอบและใช้วิธีการรักษาแบบใดโดยพิจารณาจากประเด็นเหล่านี้

    1. แมวมีไข้ อ่อนเพลีย หรือเซื่องซึมหรือไม่

    2. แมวมีอาการเบื่ออาหารไหม? น้ำหนักลดลงหรือเปล่า?

    3. แมวอ้วกเป็นเลือดหรือไม่?

    4. แมวมีอาการเจ็บปวดหรือไม่สบายตัวไหม?

    5. ช่องท้องของแมวได้รับผลกระทบหรือไม่?

    6. แมวอ้วกบ่อยครั้งในหนึ่งวันหรือแค่หลังมื้ออาหาร?

    7. อาเจียนของแมวมีกลิ่นเหม็นไหม? แล้วอาเจียนมีสีอะไร?

    8. คุณเพิ่งเปลี่ยนอาหารให้แมวใหม่หรือเปล่า มีการให้อาหารเสริมหรือไม่?

    9. แมวของคุณชอบเคี้ยวของเล่นหรือกินอาหารอื่นเข้าไปหรือเปล่า?

    10. แมวตัวอื่นในบ้านมีอาการเหมือนกันไหม?

    การตรวจวินิจฉัยและการรักษาวิธีอื่น

    หากแมวของคุณอาเจียนบ่อยครั้งและคุณสงสัยว่าพวกเค้ามีปัญหาสุขภาพอื่นแอบแฝง สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบเพิ่มเติมและทำการรักษาในเชิงรุก หากแมวสูญเสียเลือดหรืออิเล็กโทรไลต์จำนวนมากจากการอาเจียนบ่อย ๆ คุณอาจต้องพาพวกเค้าไปรักษาในโรงพยาบาล

     

    สาเหตุอื่น ๆ ของการอาเจียนในแมว

    ก่อนจะเรียนรู้วิธีรักษาอาการอาเจียนของแมว เรามาดูสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้แมวอาเจียนกันก่อน

    1. สารพิษ

    • การอาเจียนจากการได้รับสารพิษขณะเลียขนเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด

    • แมวชอบเคี้ยวใบไม้ดอกไม้ในบ้าน ซึ่งพืชบางชนิดก็เป็นพิษกับแมว

    • ขณะที่เราทำความสะอาดบ้านด้วยสารเคมีต่าง ๆ แมวอาจสูดดมหรือเลียเข้าไป ทำให้เกิดการอาเจียนได้

    1. อาหาร

    • หากแมวไม่ยอมกินอาหารหรือกินช้าลงกว่าปกติ คุณอาจพบว่าแมวอ้วกเป็นอาหารที่ไม่ได้ย่อยออกมา

    • อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้แมวอาเจียนบ่อยคือการเปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหัน คุณควรเปลี่ยนอาหารอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 1 – 2 สัปดาห์ โดยค่อย ๆ ปรับปริมาณอาหารเดิมให้น้อยลง และเพิ่มปริมาณอาหารใหม่ให้มากขึ้น

    1. ปัญหาในระบบทางเดินอาหาร

    • การได้รับสิ่งแปลกปลอม มลพิษ หรือผลข้างเคียงของยา อาจทำให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินอาหารได้ เช่น มีอาการปวดท้อง

    • บางกรณีอาจไม่รุนแรงและหายได้เอง แต่บางกรณีอาจร้ายแรงและควรได้รับการดูแลจากสัตวแพทย์

    1. ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้

    • การกลืนสิ่งแปลกปลอม เช่น เชือกหรือของเล่นชิ้นเล็ก ๆ อาจทำให้เกิดการอุดตันที่กระเพาะหรือลำไส้ 

    • ลำไส้อุดตันเป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องได้รับการดูแลรักษาทันที อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ เช่น เนื้องอก หรือการบีบตัวผิดปกติของลำไส้

    • อาการที่สังเกตได้ทั่วไป เช่น แมวอ้วกบ่อย ไม่สามารถกลืนน้ำหรืออาหารได้

    1. ความผิดปกติของอวัยวะ

    • ความผิดปกติเรื้อรัง เช่น ตับอ่อนอักเสบ โรคไต และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนเรื้อรังในแมวได้

    • การระบุโรคที่เป็นต้นเหตุเป็นสิ่งสำคัญเพื่อค้นหาวิธีดูแลรักษาอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต

    1. ปัญหาต่อมไร้ท่อ

    • หนึ่งในโรคต่อมไร้ท่อในแมวที่พบบ่อยที่สุดคือไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป 

    • การทำงานมากเกินไปของต่อมไทรอยด์เกิดจากเนื้องอก (โดยปกติจะไม่เป็นอันตราย)

    • อัตราการเผาผลาญที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้แมวอาเจียนได้

    อาการอาเจียนแบบใดที่น่ากังวล?

    พ่อแม่แมวไม่ควรละเลยหากแมวอาเจียนอย่างต่อเนื่อง เพราะอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาเจียนแบบไหนถือว่าผิดปกติ? หากแมวอ้วก 1 – 3 ครั้งต่อเดือน จะถือว่าเป็นเรื่องปกติ

     

    กรณีที่ร้ายแรงหรือน่ากังวลคือแมวอ้วกวันละสองครั้งเป็นเวลาสองหรือสามวัน หากแมวของคุณไม่ยอมกินอาหาร มีอาการปวดท้อง อาเจียนอย่างต่อเนื่องหรืออาเจียนมีเลือดปน ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

Close modal