IAMS TH
cat article
cat article

adp_description_block150
วิธีดูแลลูกแมวแรกเกิด

  • แบ่งปัน

ลูกแมวตัวน้อยเต็มไปด้วยความน่ารัก และเหมาะสำหรับการเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านที่สุด แม้ว่าการมีลูกแมวจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่เจ้าของควรทำความเข้าใจความต้องการที่แตกต่างไปตามช่วงวัย และวิธีการดูแลเจ้าตัวน้อยอย่างถูกวิธีด้วย สำหรับทาสแมวมือใหม่อาจเกิดข้อสงสัยว่า “แล้ววิธีการดูแลลูกแมวที่ถูกต้องเป็นอย่างไรกัน?” ซึ่งไอแอมส์ได้รวบรวมคำตอบและเทคนิคดี ๆ อีกมากมายมาให้แล้ว รับรองเลยว่าการดูแลลูกแมวแรกเกิดจะกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณเลยหล่ะ

 

อะไรคือเหตุผลที่การดูแลลูกแมวมีความสำคัญมาก?

การดูแลลูกแมวคือสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเค้าจะเติบโตมาอย่างแข็งแรง ในช่วงวัยนี้พวกเค้ายังต้องปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ การอยู่เคียงข้างพวกเค้าจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก

 

อะไรคือความหมายที่แท้จริงของการเลี้ยงดูลูกแมวให้เติบโต?

ลูกแมวตัวน้อยกลายเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวตั้งแต่วันแรกที่คุณพาพวกเค้าเข้าบ้าน แม้การเลี้ยงดูลูกแมวอาจเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับทาสแมวมือใหม่ แต่มันก็มีช่วงเวลาที่สนุกสนาน ซึ่งช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคุณและเจ้าตัวน้อยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นได้

 

อะไรคือสิ่งสำคัญในการดูแลลูกแมวตัวน้อย?

สิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลลูกแมวประกอบไปด้วยปัจจัยเหล่านี้:

  • การดูแลความสะอาด:

    การรักษาความสะอาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ควรทำความสะอาดเบาะนอน หรือพื้นที่ที่ลูกแมวอยู่เป็นประจำ
  • การให้อาหารคุณภาพดี:

    ลูกแมวต้องการสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเหมาะสม เราขอแนะนำอาหารแมวจากไอแอมส์™ ที่ได้รับการพัฒนาสูตรโดยสัตวแพทย์ และผลิตจากเนื้อไก่คุณภาพดี การเลือกอาหารที่ดีมีคุณภาพ จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสมอง และเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  • การตรวจสุขภาพเป็นประจำ:

    ควรพบสัตวแพทย์เป็นประจำเพื่อติดตามพัฒนาการและความประพฤติกรรมของลูกแมวอย่างใกล้ชิด
  • การทำความสะอาดขน:

    ควรฝึกพวกเค้าให้คุ้นเคยกับการทำความสะอาดขนตั้งแต่ยังเป็นลูกแมว โดยเฉพาะน้องแมวขนยาว

ตามติดพัฒนาการของลูกแมวในแต่ละช่วงวัย

สำหรับทาสแมวมือใหม่ คุณอาจไม่ทันสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัยของเจ้าตัวน้อย แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะคุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้จากตารางต่อไปนี้:

พัฒนาการลูกแมว 0-2 สัปดาห์ (ช่วงแรกเกิด) 2-7 สัปดาห์ (ช่วงเข้าสังคม) 7-14 สัปดาห์ (ช่วงนักสำรวจ) 3-6 เดือน (ช่วงเรียนรู้ความสำคัญ) 6-18 เดือน (ช่วงวัยรุ่น)
ลักษณะการเปลี่ยนแปลง เริ่มเคลื่อนไหวเข้าหาเสียงต่าง ๆ เรียนรู้ที่จะเข้าสังคม เป็นช่วงวัยที่ลูกแมวกระตือรือร้นมากที่สุด เป็นช่วงวัยที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากแม่แมวหรือพี่น้องในครอก เติบโตอย่างเต็มที่ในช่วงวัยนี้
  ตาของลูกแมวจะเปิดในช่วงนี้ ประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นและการได้ยินพัฒนาอย่างเต็มที่ในสัปดาห์ที่ 4 เริ่มแสดงความรักผ่านการกอดและการเลีย เริ่มทำความเข้าใจและจัดลำดับความสำคัญของผู้คนรอบตัว หากยังไม่ทำหมัน จะเริ่มแสดงพฤติกรรมทางเพศ
  หากลูกแมวถูกแยกออกจากแม่หรือพี่น้อง อาจมีแนวโน้มที่จะก้าวร้าวกับผู้คนและแมวตัวอื่น ๆ การมองเห็นพัฒนาอย่างเต็มที่ในสัปดาห์ที่ 5 และสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถใช้อุ้งเท้า ปาก ในการจับสิ่งของได้ดีขึ้น    
    เริ่มเลียขนทำความสะอาดตัวเอง เริ่มเล่นไล่งับหางตัวเอง และกระโจนไปมา    
    เริ่มพัฒนานิสัยการนอน การเคลื่อนไหว และการโต้ตอบกับ      
    สิ่งต่าง ๆ รอบตัว      

เตรียมความพร้อมให้กับเจ้าลูกแมวตัวน้อย

  • ควรดูแลลูกแมวในแต่ละช่วงวัยอย่างไร?

    การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการดูแลลูกแมวคือการเปลี่ยนอาหาร แมวต้องการสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและเพื่อมีสุขภาพที่ดี ทาสแมวควรเลือกอาหารคุณภาพดี เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนจากการให้อาหารสูตรลูกแมวมาเป็นสูตรแมวโตเต็มวัย
  • ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หากลูกแมวไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม:

    หากลูกแมวถูกละเลย และขาดการดูแลเอาใจใส่ที่ดี พวกเค้าอาจเกิดภาวะซึมเศร้า และมีร่างกายอ่อนแอ รวมถึงมีโอกาสติดเชื้อโรคร้ายสูง หากไม่ได้รับการดูแลความสะอาด
  • มีวิธีการป้องกันอะไรบ้างที่สามารถนำมาใช้กับลูกแมวได้?

    ในช่วงวัยลูกแมว ควรพาพวกเค้าไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำ และหมั่นสังเกตสิ่งผิดปกติอย่างใกล้ชิด
  • เคล็ดลับการดูแลสำหรับทาสแมวมือใหม่

    ตามมาดูเคล็ดลับดี ๆ ที่ทาสแมวมือใหม่ควรรู้กัน :
    • หลังต้อนรับลูกแมวเข้าบ้านแล้ว ควรฝึกให้ใช้กระบะทรายทันที
    • ให้เวลาพวกเค้าทำความคุ้นเคยกับพื้นที่ส่วนตัว
    • หากลูกแมวเริ่มมีพฤติกรรมงับมือ ให้พูดอย่างจริงจังว่า “ไม่” เพื่อให้พวกเค้ารู้ว่านี่คือสิ่งที่ไม่ควรทำ
    • ให้รางวัลลูกแมวทุกครั้งเมื่อพวกเค้าเชื่อฟังคำสั่ง เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีให้กับพวกเค้า

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลลูกแมว:

  1. ควรให้ลูกแมวนอนตรงไหนดีนะ?
  2. แนะนำให้ฝึกพวกเค้านอนบนเบาะของตัวเอง คุณอาจเตรียมผ้าห่มเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับพวกเค้า

  3. จะดูแลลูกแมวกำพร้าที่ปราศจากแม่แมวอย่างไร?
  4. การดูแลลูกแมวกำพร้าแม่ต้องใช้ความอดทนและความตั้งใจมาก เจ้าของต้องให้อาหารผ่านขวดนม โดยต้องให้กินนมสำหรับลูกแมวโดยเฉพาะ รวมถึงช่วยกระตุ้นการขับถ่าย และทำความสะอาดตัวพวกเค้าหลังขับถ่ายเสมอ

  5. อาหารที่ลูกแมวควรกินมีอะไรบ้าง?
  6. เมื่อลูกแมวมีอายุประมาณ 4 สัปดาห์ หรือเข้าสู่วัยหย่านม สามารถเปลี่ยนมาให้อาหารแมวไอแอมส์™ สูตรเพอร์เฟค พอร์ชันส์ คิทเท่น พรีเมียม เพท รสไก่ได้แล้ว นี่คือขั้นตอนที่ควรทำเมื่อลูกแมวของคุณเข้าสู่วัยหย่านม

    ขั้นที่หนึ่ง: เติมน้ำลงในจานทรงตื้นเพียงเล็กน้อย

    ขั้นที่สอง: ผสมอาหารแมวไอแอมส์™ กับน้ำที่เติมลงไป ทั้งนี้ควรเตรียมน้ำสะอาดแยกอีกชามให้พร้อม

    ขั้นที่สาม: เมื่อเวลาผ่านไป ให้เพิ่มปริมาณอาหารและลดปริมาณน้ำลง จนกว่าลูกแมวจะเริ่มกินอาหารเพียงอย่างเดียว

    ขั้นที่สี่: แนะนำให้เริ่มจากอาหารแมวไอแอมส์™ แบบเปียก สูตรโปรแอคทีฟ เฮลท์™ สำหรับลูกแมว ก่อนจะเปลี่ยนเป็นให้อาหารเม็ด

    หากทำตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว การเปลี่ยนอาหารให้ลูกแมวก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป และเพื่อให้พวกเค้าเติบโตเป็นแมวที่แข็งแรง แนะนำให้เลือกอาหารแมวไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ ที่พัฒนาสูตรโดยสัตวแพทย์ รับรองเลยว่าดีต่อสุขภาพเจ้าตัวน้อยที่คุณรักอย่างแน่นอน

     

  7. เราสามารถอาบน้ำให้ลูกแมวได้ตอนอายุเท่าไหร่?
  8. ลูกแมวเรียนรู้การเลียขนทำความสะอาดตัวเองเมื่อมีอายุ 2-4 สัปดาห์ แต่เพื่อทำความสะอาดอย่างเหมาะสม คุณสามารถอาบน้ำให้ลูกแมวได้เมื่อมีอายุอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้องเพิ่มเติม

  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในแมว
    การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในแมว
    adp_description_block494
    การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าและการดูแล

    • แบ่งปัน

    โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการถูกกัดและข่วนโดยสัตว์ที่ติดเชื้อ เนื่องจากไม่มียาในการรักษา ทางออกเดียวที่จะต่อสู้กับไวรัสร้ายแรงนี้คือการฉีดวัคซีนป้องกัน

     

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นหนึ่งในวัคซีนหลักสำหรับแมว มันช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และช่วยให้แมวมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่ก่อนจะพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีน เรามาทำความเข้าใจรายละเอียดของโรคและวิธีป้องกันไปด้วยกันในบทความนี้
     

    โรคพิษสุนัขบ้าแพร่กระจายได้อย่างไร?

    โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ ซึ่งติดต่อได้ทั้งในสัตว์และคน ไม่ใช่แค่สุนัขอย่างที่เข้าใจผิดกัน เชื้อชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลเปิด ผ่านเยื่อเมือกในตา ปาก และจมูก รวมถึงแพร่กระจายผ่านการสัมผัสน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อด้วย โดยแมวส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายในเวลาไม่กี่วันหรืออาจใช้เวลานานถึงสองสามปีหลังได้รับเชื้อ
     

    เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรง พ่อแม่แมวจึงควรเรียนรู้สัญญาณเตือนและลักษณะอาการของโรคให้ดี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังนี้

    1. มีไข้

    2. เซื่องซึม

    3. ความอยากอาหารลดลง

    4. หายใจลำบาก

    5. น้ำลายไหลมาก

    6. กลืนลำบาก

    7. พฤติกรรมผิดปกติ

    การรักษาโรคพิษสุนัขบ้าอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มียารักษา การฉีดวัคซีนป้องกันจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าแมวของคุณจะปลอดภัยจากโรคร้ายนี้
     

    แมวที่เลี้ยงในบ้านจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่?

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแมวทั้งในบ้านและนอกบ้าน เพราะแมวมักจะเข้าสังคมด้วยการเลีย ดม หรือเกาตัวให้กัน แมวในบ้านจึงยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ที่ลูกแมวจะติดเชื้อ วัคซีนจะกระตุ้นการสร้างแอนติเจนในร่างกาย ทำให้แมวสามารถรับมือกับไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าได้
     

    แมวควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าบ่อยแค่ไหน?

    การฉีดวัคซีนจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ สายพันธุ์ และไลฟ์สไตล์ของลูกแมว รวมถึงประเภทของวัคซีนด้วย วัคซีนบางชนิดก็ต้องฉีดทุกปี บางชนิดอาจฉีดทุก ๆ 3 ปี โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนของแมวเพิ่มเติมได้

     

    แมวควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อใด?

    ลูกแมวควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มแรกเมื่อมีอายุ 12 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีนครั้งแรก ต้องฉีดวัคซีนทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีน
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    หลังจากการฉีดวัคซีน น้องแมวอาจมีอาการผิดปกติเล็กน้อย โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้มีดังนี้

    1. มีไข้ต่ำ

    2. เซื่องซึม

    3. ความอยากอาหารลดลง

    4. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    นอกจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว พ่อแม่แมวควรพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีนหลักอื่น ๆ ด้วย เช่น วัคซีนรวม F4 วัคซีนรวม FeVac 5 และวัคซีน FVRCP การฉีดวัคซีนควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพเป็นประจำจะช่วยให้ลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี