IAMS TH
Kitten Basics: Taking Care of Your Kitten’s Oral Health banner
Kitten Basics: Taking Care of Your Kitten’s Oral Health

adp_description_block436
คู่มือการดูแลสุขภาพช่องปากของแมวสำหรับทาสแมวมือใหม่

  • แบ่งปัน

การดูแลสุขภาพในช่องปากให้น้องแมวเป็นสิ่งสำคัญที่แนะนำให้ทำเป็นประจำ โดยเจ้าของควรเริ่มดูแลและฝึกแปรงฟันให้น้องแมวตั้งแต่ช่วงที่ฟันกำลังขึ้น เพื่อลดการสะสมของคราบพลัค หินปูน และป้องกันฟันผุ หากไม่แน่ใจว่าควรเริ่มดูแลกันอย่างไร มาติดตามข้อควรรู้ที่จำเป็นต่อการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของน้องแมวได้จากคู่มือนี้
 

ทำความเข้าใจพัฒนาการและลำดับการขึ้นของฟันแมว
 

เพื่อให้แน่ใจว่าจะดูแลฟันของน้องแมวได้อย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจระยะการเจริญเติบโตของฟันเจ้าเหมียวกันก่อน โดยลูกแมวจะเริ่มมีฟันขึ้นเมื่ออายุ 2 หรือ 3 สัปดาห์ และภายใน 8 – 12 สัปดาห์ พวกเค้าก็จะมีฟันน้ำนมครบทุกซี่ ต่อมาฟันน้ำนมเหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยฟันแท้ ซึ่งในระหว่างการงอกของฟันอาจทำให้พวกเค้ารู้สึกไม่สบาย ปวด มีอาการบวม หรือมีเลือดออกตามไรฟัน เจ้าของสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับวิธีการดูแลและบรรเทาอาการเจ็บปวดเพิ่มเติมได้
 

วิธีแปรงฟันให้น้องแมว มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
 

หากต้องการให้น้องแมวมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี ทำตามขั้นตอนการแปรงฟันเหล่านี้กันได้เลย
 

  1. เริ่มต้นด้วยการแนะนำให้ลูกแมวตัวน้อยรู้จักกับแปรงสีฟันและยาสีฟัน ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนของการแปรงฟัน ปล่อยให้พวกเค้าดมกลิ่นหรือเลียเพื่อทำความคุ้นเคยกับรสชาติและเนื้อสัมผัสของทั้งสองสิ่งกันก่อน
  2. เมื่อลูกแมวคุ้นเคยกับแปรงสีฟันและยาสีฟันแล้ว ค่อย ๆ ยกริมฝีปากพวกเค้าขึ้น จากนั้นขยับแปรงไปมาเป็นวงกลมตามแนวฟันจนครบทุกซี่ ควรเลือกแปรงสีฟันขนนุ่ม ทั้งแปรงและยาสีฟันควรออกแบบมาเพื่อน้องแมวโดยเฉพาะด้ว

  3. การแปรงฟันให้ลูกแมวจะใช้ยาสีฟันปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น และต้องคอยระวังไม่ให้พวกเค้ากลืนยาสีฟันลงไป

  4. หลังแปรงฟันเรียบร้อยแล้ว ควรให้รางวัลลูกแมวเป็นขนมสุดโปรดหรืออ้อมกอดอุ่น ๆ เพื่อสร้างความทรงจำที่ดี

  5. ค่อย ๆ เพิ่มความถี่และระยะเวลาในการแปรงฟันเมื่อลูกแมวคุ้นเคยกับกระบวนการนี้มากขึ้น ทั้งนี้ควรฝึกแปรงฟันอย่างค่อยเป็นค่อยไป เจ้าของควรมีความอดทนและปฏิบัติกับพวกเค้าอย่างอ่อนโยน
     

การดูแลและป้องกันปัญหาสุขภาพในช่องปาก
 

การรักษาสุขภาพช่องปากของลูกแมวเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งยังส่งผลดีกับสุขภาพโดยรวมของพวกเค้าด้วย ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับป้องกันการสะสมของคราบพลัคและหินปูน เพื่อให้เหงือกและฟันของลูกแมวแข็งแรง
 

  1. การแปรงฟันด้วยยาสีฟัน – การแปรงฟันเป็นประจำเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการสะสมของคราบพลัคและหินปูน ควรเริ่มฝึกแปรงฟันตั้งแต่เนิ่น ๆ และควรเลือกใช้ยาสีฟันสูตรเฉพาะสำหรับแมว เพราะยาสีฟันทั่วไปอาจเป็นอันตรายต่อแมวได้ การแปรงฟันอย่างน้อย 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยขจัดคราบพลัคและหินปูนได้ดี รวมถึงช่วยให้ลูกแมวมีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดีอีกด้วย
  2. ผ้าหรือกระดาษทำความสะอาดฟัน และน้ำยาบ้วนปาก – ผ้าหรือกระดาษสำหรับทำความสะอาดฟันเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีในการดูแลช่องปาก สามารถใช้แทนการแปรงฟันได้ สำหรับน้ำยาบ้วนปากจะช่วยให้ลมหายใจหอมสดชื่นและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย

  3. ขนมขัดฟัน – เป็นตัวช่วยที่มีทั้งประโยชน์และรสชาติอร่อย ขนมขัดฟันจะช่วยทำความสะอาดและเสริมให้ฟันแข็งแรง โดยแนะนำให้เลือกขนมสูตรสำหรับลดคราบพลัคและหินปูน แต่ให้หลีกเลี่ยงขนมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณมาก

  4. ตรวจสุขภาพในช่องปากเป็นประจำ – การตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าเหงือกและฟันของลูกแมวแข็งแรง นอกจากนี้คุณหมอยังสามารถช่วยระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้น พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลอย่างเหมาะสมได้อีกด้วย

 

การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพโดยรวมของแมว เจ้าของทุกคนจึงควรดูแลและเอาใจใส่สุขอนามัยในช่องปากของแมวเหมียวตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยการแปรงฟัน การให้ขนมขัดฟัน และการตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพเหงือกและฟันที่แข็งแรงเป็นเวลาหลายปี! ทั้งนี้สามารถปรึกษาสัตวแพทย์ได้เสมอหากคุณมีข้อกังวลหรือคำถามเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของลูกแมว

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของแมว

  1. ลูกแมวฟันขึ้นตอนอายุเท่าไหร่?
  2. ลูกแมวส่วนใหญ่จะมีฟันขึ้นเมื่ออายุประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ และเมื่อมีอายุครบ 6 เดือน พวกเค้าจะมีฟันแท้ขึ้นครบ 30 ซี่ แต่ลูกแมวบางตัวอาจใช้เวลาถึง 9 เดือนกว่าฟันแท้จะขึ้นครบทุกซี่

     

  3. ลูกแมวในช่วงที่ฟันกำลังขึ้นจะมีพฤติกรรมกัดแทะหรือไม่?  
  4. เมื่อลูกแมวเข้าสู่ช่วงฟันขึ้น พวกเค้าอาจกัดแทะบ่อยขึ้นเพื่อบรรเทาความรู้สึกไม่สบายจากการงอกของฟันใหม่ เพื่อช่วยบรรเทาพฤติกรรมนี้ เจ้าของต้องจัดหาของเล่นสำหรับกัดแทะที่เหมาะสมมาให้พวกเค้า เพื่อป้องกันการกัดมือหรือข้าวของที่เป็นอันตรายอื่น ๆ ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

     

  5. ควรเริ่มแปรงฟันให้ลูกแมวตอนไหน?  
  6. แนะนำให้เริ่มแปรงฟันทันทีที่ลูกแมวมีฟันแท้ขึ้น หรือเมื่อมีอายุประมาณ 3 – 4 เดือน โดยจำเป็นต้องปรึกษากับสัตวแพทย์ก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะดูแลพวกเค้าได้อย่างถูกต้อง รวมถึงควรตรวจสุขภาพฟันก่อนที่จะเริ่มแปรงฟันให้ลูกแมวตัวน้อย

     

  7. จะดูแลฟันของลูกแมวให้มีสุขภาพดีได้อย่างไร?  
  8. เพื่อให้สุขภาพช่องปากของลูกแมวแข็งแรง สิ่งสำคัญคือต้องนัดตรวจสุขภาพเป็นประจำกับสัตวแพทย์ แปรงฟันทุกวันโดยใช้ยาสีฟันสูตรสำหรับแมวโดยเฉพาะ นอกจากนี้ควรเลือกของเล่น ขนม และอาหารที่มีส่วนช่วยในการดูแลฟันให้เจ้าตัวน้อยด้วย

     

  9. นอกจากการแปรงฟัน เราสามารถดูแลความสะอาดฟันด้วยวิธีใดได้อีกบ้าง?  
  10. เราสามารถดูแลความสะอาดฟันของแมวได้ด้วยการให้อาหารเม็ดที่มีเนื้อสัมผัสกรุบกรอบ จัดหาของเล่นสำหรับกัดแทะ นัดตรวจสุขภาพฟันและทำความสะอาดกับสัตวแพทย์เป็นประจำ นอกจากนี้ควรสังเกตพฤติกรรมการกินของแมวและรีบไปพบคุณหมอทันทีหากมีอาการผิดปกติ

     

  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในแมว
    การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในแมว
    adp_description_block494
    การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าและการดูแล

    • แบ่งปัน

    โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการถูกกัดและข่วนโดยสัตว์ที่ติดเชื้อ เนื่องจากไม่มียาในการรักษา ทางออกเดียวที่จะต่อสู้กับไวรัสร้ายแรงนี้คือการฉีดวัคซีนป้องกัน

     

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นหนึ่งในวัคซีนหลักสำหรับแมว มันช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และช่วยให้แมวมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่ก่อนจะพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีน เรามาทำความเข้าใจรายละเอียดของโรคและวิธีป้องกันไปด้วยกันในบทความนี้
     

    โรคพิษสุนัขบ้าแพร่กระจายได้อย่างไร?

    โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ ซึ่งติดต่อได้ทั้งในสัตว์และคน ไม่ใช่แค่สุนัขอย่างที่เข้าใจผิดกัน เชื้อชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลเปิด ผ่านเยื่อเมือกในตา ปาก และจมูก รวมถึงแพร่กระจายผ่านการสัมผัสน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อด้วย โดยแมวส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายในเวลาไม่กี่วันหรืออาจใช้เวลานานถึงสองสามปีหลังได้รับเชื้อ
     

    เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรง พ่อแม่แมวจึงควรเรียนรู้สัญญาณเตือนและลักษณะอาการของโรคให้ดี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังนี้

    1. มีไข้

    2. เซื่องซึม

    3. ความอยากอาหารลดลง

    4. หายใจลำบาก

    5. น้ำลายไหลมาก

    6. กลืนลำบาก

    7. พฤติกรรมผิดปกติ

    การรักษาโรคพิษสุนัขบ้าอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มียารักษา การฉีดวัคซีนป้องกันจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าแมวของคุณจะปลอดภัยจากโรคร้ายนี้
     

    แมวที่เลี้ยงในบ้านจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่?

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแมวทั้งในบ้านและนอกบ้าน เพราะแมวมักจะเข้าสังคมด้วยการเลีย ดม หรือเกาตัวให้กัน แมวในบ้านจึงยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ที่ลูกแมวจะติดเชื้อ วัคซีนจะกระตุ้นการสร้างแอนติเจนในร่างกาย ทำให้แมวสามารถรับมือกับไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าได้
     

    แมวควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าบ่อยแค่ไหน?

    การฉีดวัคซีนจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ สายพันธุ์ และไลฟ์สไตล์ของลูกแมว รวมถึงประเภทของวัคซีนด้วย วัคซีนบางชนิดก็ต้องฉีดทุกปี บางชนิดอาจฉีดทุก ๆ 3 ปี โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนของแมวเพิ่มเติมได้

     

    แมวควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อใด?

    ลูกแมวควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มแรกเมื่อมีอายุ 12 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีนครั้งแรก ต้องฉีดวัคซีนทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีน
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    หลังจากการฉีดวัคซีน น้องแมวอาจมีอาการผิดปกติเล็กน้อย โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้มีดังนี้

    1. มีไข้ต่ำ

    2. เซื่องซึม

    3. ความอยากอาหารลดลง

    4. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    นอกจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว พ่อแม่แมวควรพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีนหลักอื่น ๆ ด้วย เช่น วัคซีนรวม F4 วัคซีนรวม FeVac 5 และวัคซีน FVRCP การฉีดวัคซีนควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพเป็นประจำจะช่วยให้ลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี