ต้นอ่อนข้าวสาลีเป็นยอดสดของต้นข้าวสาลีที่เก็บเกี่ยวก่อนที่เมล็ดข้าวจะงอก อาจจะฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่ต้นอ่อนข้าวสาลีเป็นส่วนประกอบทั่วไปที่พบได้ในอาหารแมวส่วนใหญ่ มันอุดมไปด้วยโปรตีน แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี โดยแมวมักจะเคี้ยวต้นอ่อนข้าวสาลีหรือต้นหญ้าเพื่อบรรเทาอาการท้องผูกและอาหารไม่ย่อย เส้นใยที่อยู่ในพืชเหล่านี้ช่วยให้การขับถ่ายราบรื่นขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้เลียงควรเช็กให้แน่ใจว่าเจ้าเหมียวเคี้ยวต้นอ่อนข้าวสาลีออร์แกนิกและปลอดยาฆ่าแมลงเท่านั้น
แมวส่วนใหญ่ไม่มีอาการแพ้ต้นอ่อนข้าวสาลี พวกเค้าสามารถย่อยและดูดซึมสารอาหารจากมันได้อย่างง่ายดาย ต้นอ่อนข้าวสาลีถือเป็นแหล่งสารอาหารชั้นเยี่ยม มีทั้งวิตามิน โปรตีน และสารอาหารที่มีประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย อีกทั้งยังมีไฟเบอร์และซีลีเนียมที่ช่วยให้ลำไส้สุขภาพดีด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของเจ้าตัวน้อย คุณควรสังเกตความผิดปกติที่บ่งบอกถึงอาการแพ้หลังการบริโภคต้นอ่อนข้าวสาลี โดยสามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือนเหล่านี้
ทั้งนี้ผู้เลี้ยงควรให้ต้นอ่อนข้าวสาลีกับเจ้าเหมียวในปริมาณที่เหมาะสม โดยต้องให้น้อยกว่า 10% ของปริมาณแคลอรีทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน หลีกเลี่ยงการให้ทุกวัน แต่สามารถให้เป็นวันเว้นวันได้
เป็นที่รู้กันดีว่าต้นอ่อนข้าวสาลีมีส่วนช่วยในการย่อยอาหารและขับถ่าย แต่นี่ไม่ใช่ข้อดีเพียงอย่างเดียว ต้นอ่อนข้าวสาลียังมีประโยชน์ต่อร่างกายเจ้าเหมียวอีกมากมาย ดังนี้
แน่นอนว่าต้นอ่อนข้าวสาลีไม่ได้มีเพียงข้อดีเท่านั้น มันมีข้อควรระวังและข้อเสียด้วยเช่นกัน หากปล่อยให้เจ้าเหมียวเคี้ยวต้นอ่อนข้าวสาลีมากเกินไป อาจเกิดผลกระทบดังนี้ได้
ทาสแมวส่วนใหญ่สับสนระหว่างหญ้าแมวกับต้นอ่อนข้าวสาลี หากคุณเป็นหนึ่งในนั้น ไม่ต้องกังวลไป เรามีเคล็ดลับง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณแยกแยะความแตกต่างของพืชทั้งสองชนิดนี้ได้
แบรนด์อาหารแมวส่วนใหญ่มักใช้คำว่า “หญ้าแมว” กับส่วนประกอบที่เป็นพืชทุกชนิด มันอาจเป็นหญ้าชนิดใดก็ได้ ตั้งแต่ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ไปจนถึงต้นอ่อนข้าวสาลี หากคุณพบข้อความที่ระบุว่ามีหญ้าแมวบนผลิตภัณฑ์อาหารแมว แนะนำให้อ่านฉลากอีกครั้งเพื่อเช็กให้แน่ใจว่าเป็นส่วนประกอบชนิดใดและเลือกใช้แบบออร์แกนิกหรือไม่
ทั้งนี้คุณสามารถให้ต้นอ่อนข้าวสาลีควบคู่ไปกับอาหารมื้อหลักได้ แต่ต้องจำกัดปริมาณให้เหมาะสมและควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนตัดสินใจให้ต้นอ่อนข้าวสาลีกับแมวที่บ้าน
หากพบว่าแมวของคุณเคี้ยวต้นอ่อนข้าวสาลีหรือต้นหญ้ามากผิดปกติ แสดงว่าพวกเค้าอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กให้แน่ใจว่าพวกเค้าแข็งแรงและมีสุขภาพที่ดี
แมวสามารถกินข้าวสาลีอบหรือปรุงสุกได้ รวมถึงสามารถกินรำข้าวสาลีได้ด้วยเช่นกัน
ควรจำกัดปริมาณไว้ที่ 10% หรือน้อยกว่า จากปริมาณแคลอรีทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน
ต้นอ่อนข้าวสาลีมีประโยชน์มากสำหรับแมวที่เลี้ยงในบ้าน มันมีส่วนช่วยเสริมการมองเห็น เสริมระบบภูมิคุ้มกัน เสริมสุขภาพช่องปากและระบบทางเดินอาหาร รวมถึงช่วยควบคุมน้ำหนักของแมวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วย
ต้นข้าวสาลีอ่อนถือเป็นหญ้าแมวชนิดหนึ่ง ส่วนหญ้าแมวก็เป็นธัญพืชที่แมวส่วนใหญ่โปรดปราน
แมวเลี้ยงง่าย อยู่ง่าย ไม่ต้องเอาใจใส่อะไรมากมาย ชุดความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง! แม้จะพึ่งพาตัวเองได้ค่อนข้างดี แต่แมวเหมียวยังคงต้องการการดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การรักษาพยาบาล และการดูแลป้องกัน โดยแมวทุกตัวควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีน FVRCP เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อร้ายแรง และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
วัคซีนถูกพัฒนามาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง การฉีดวัคซีนให้แมวมักจะพิจารณาจากอายุ สุขภาพโดยรวม การใช้ชีวิต และสายพันธุ์ โดยวัคซีนสำหรับแมวแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ วัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือก วัคซีนหลักจำเป็นสำหรับแมวทุกตัว ส่วนวัคซีนทางเลือกจะฉีดให้กับแมวหลังจากพิจารณาสถานการณ์บางอย่างแล้ว
การฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยปกป้องแมวจากการตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายแรงได้ โดยวัคซีนสำคัญที่ลูกแมวทุกตัวควรได้รับมีดังนี้
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นประจำทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่คุณเลือก เพื่อปกป้องลูกแมวตัวน้อยจากไวรัสเรบีส์ที่อันตราย เชื้อชนิดนี้ไม่ได้พบแค่ในหมาแมวเท่านั้น แต่พบได้ในคนด้วย โดยแพร่กระจายผ่านการกัดหรือข่วนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวร้าว สับสน และมีอาการกลัวน้ำหลังผ่านระยะฟักตัว โรคพิษสุนัขบ้าส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ ไม่มียารักษา อัตราเสียชีวิตก็สูง การฉีดวัคซีนป้องกันจึงจำเป็นมาก
ต่อกันด้วยวัคซีนรวมที่ช่วยป้องกันแมวจากไวรัสสามชนิด ได้แก่ ไวรัสไข้หัดแมว รวมถึงเชื้อ Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดในแมว ทั้งนี้แนะนำให้ฉีดวัคซีน FVRCP เป็นประจำทุกปี
วัคซีน FeLV เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยแมวอาจติดเชื้อขณะเลียขนหรือจากการใช้ชามอาหารชามน้ำร่วมกับแมวที่ติดเชื้อ ไวรัสร้ายแรงนี้อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรฉีดวัคซีน FeLV ให้แมวตั้งแต่อายุยังน้อยหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ วัคซีนนี้ประกอบด้วย 2 โดส โดยเว้นระยะห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์สำหรับลูกแมว และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อแมวอายุอย่างน้อย 16 สัปดาห์
วัคซีน FPV จะช่วยปกป้องแมวจากโรคไข้หัดแมว โดยลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FPV เมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ และฉีดทุก ๆ 3 – 4 สัปดาห์จนกระทั่งอายุ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นในช่วงอายุ 1 – 2 ปี
วัคซีน F4 หรือ FVRCCP พัฒนาขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคหวัดแมว การติดเชื้อไวรัสคาลิไซในแมว โรคไข้หัดแมว และโรคติดเชื้อคลาไมเดียในแมวซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตาในระยะเริ่มแรกด้วย ลูกแมวควรได้รับวัคซีนชนิดนี้เมื่อมีอายุ 8, 12 และ 16 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครบ 1 ปี และฉีดใหม่ทุก ๆ 3 ปี
วัคซีน F5 หรือ Fevac 5 เป็นวัคซีนรวมที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของลูกแมวเพื่อรับมือกับไวรัส 5 ชนิด การฉีดวัคซีนชนิดนี้จะช่วยให้ลูกแมวตัวน้อยปลอดภัยจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ
หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ลูกแมวของคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและแสดงอาการผิดปกติเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายกำลังสร้างกลไกป้องกันเพื่อกำจัดไวรัสร้ายแรง โดยผลข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีนมีดังนี้
อ่อนเพลีย เซื่องซึม
อยากอาหารลดลง
อาเจียน
มีไข้
ท้องเสีย
การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นหนึ่งในการดูแลที่สำคัญ มันช่วยให้แมวมีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง และกระฉับกระเฉง ขอแนะนำให้พ่อแม่แมวทุกคนวางแผนตารางการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้