IAMS TH
How to Keep Your Cat’s Urinary Tract in Tip-top Shape
How to Keep Your Cat’s Urinary Tract in Tip-top Shape

adp_description_block196
ทำความเข้าใจโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

  • แบ่งปัน

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวคืออะไร?

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่ไม่ได้พบบ่อยในแมว และแมวทุกตัวที่มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจจะไม่ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อ้างอิงจากศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (NCBI) มีแมวเพียง 1 – 2% เท่านั้นที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่หากน้องแมวมีอาการก็จำเป็นต้องไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม
 

อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

เนื่องจากเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและความไม่สบายอย่างรุนแรง เจ้าของจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการหรือสัญญาณเตือนต่าง ๆ ของโรคให้ดี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังนี้

  • ปัสสาวะบ่อยแต่มีปริมาณน้อย
  • มีเลือดปะปนในปัสสาวะ
  • เลียบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มากกว่าปกติ
  • ส่งเสียงร้องออกมาขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะนอกกระบะทราย

การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

ในการวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สัตวแพทย์จะทำการทดสอบตัวอย่างปัสสาวะเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย โดยคุณหมอจะดูดปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน เมื่อตรวจตัวอย่างปัสสาวะแล้ว คุณหมอก็จะทำการแยกเชื้อแบคทีเรียเพื่อศึกษาต่อไป ขั้นตอนนี้เรียกว่าการเพาะเชื้อและการทดสอบความไวของเชื้อต่อยา ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอกำหนดยาที่เหมาะสมต่อการรักษาได้
 

การติดเชื้อครั้งแรกหรือการติดเชื้อแบบเฉียบพลันมักจะรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง อย่างไรก็ตาม หากแมวของคุณมีอาการป่วยจากการติดเชื้อเรื้อรัง สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อเริ่มให้ยาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
 

สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง
  • การสอดใส่สายสวนปัสสาวะ
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

แม้ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยากและพบไม่บ่อย แต่ทางที่ดีก็ควรดูแลน้องแมวอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ โดยการดูแลป้องกันที่แนะนำมีดังนี้

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแมวดื่มน้ำเพียงพอ แนะนำให้ทำความสะอาดชามน้ำเป็นประจำและหมั่นเปลี่ยนน้ำทุกวัน
  • ทำความสะอาดกระบะทรายวันละสองครั้ง และควรเปลี่ยนทรายใหม่ทุกสองสัปดาห์
  • หมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและสีของปัสสาวะ หากพบการความผิดปกติควรปรึกษาสัตวแพทย์
  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคที่อาจนำไปสู่ปัญหากระเพาะปัสสาวะอักเสบ หากแมวของคุณมีอาการของโรคดังกล่าว ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
  • สำหรับแมวสูงวัยและแมวที่มีน้ำหนักตัวเกิน อาจมีปัญหาในการขยับเขยื้อนตัวและไม่สามารถเลียตัวทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง เจ้าของอาจต้องช่วยดูแลเรื่องความสะอาดมากเป็นพิเศษ

สามารถรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวด้วยตนเองได้หรือไม่?

การดูแลรักษาน้องแมวที่มีอาการของโรคนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การให้กินน้ำแครนเบอร์รี แอปเปิลไซเดอร์ และซุปโครงกระดูก ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อกันว่าสามารถบรรเทาอาการของโรคได้ อย่างไรก็ตาม การรักษาเหล่านี้อาจไม่ช่วยให้น้องแมวหายขาด และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โอกาสที่จะเป็นซ้ำก็เพิ่มมากขึ้น ทางที่ดีจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าน้องแมวมีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ?
  2. น้องแมวที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มักจะมีอาการดังต่อไปนี้

    • ปัสสาวะบ่อยแต่ในปริมาณน้อย
    • อาจส่งเสียงร้องขณะปัสสาวะ
    • เลียบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มากกว่าปกติเนื่องจากอาการระคายเคือง
    • อาจมีเลือดปนในปัสสาวะ

    หากพบว่าน้องแมวมีอาการข้างต้น ควรพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที

  3. หากไม่รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการจะดีขึ้นเองได้หรือไม่?
  4. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบางชนิดสามารถหายได้เอง อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าอาการไม่รุนแรงหรือเรื้อรัง คุณควรพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

  5. การกินน้ำน้อยเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวใช่หรือไม่?
  6. น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแมว การกินน้ำน้อยอาจทำให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำและเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะด้วย เจ้าของจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าแมวได้รับน้ำเพียงพอตลอดทั้งวัน

  7. แมวที่เลี้ยงในบ้านเสี่ยงต่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือไม่?
  8. การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ แม้ว่าแมวที่เลี้ยงในบ้านจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่ำกว่าแมวที่เลี้ยงนอกบ้าน แต่หากละเลยเรื่องความสะอาดหรือสุขอนามัย พวกเค้าก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน อย่างกระบะทรายที่ไม่ได้ทำความสะอาดเป็นประจำ อาจกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรียร้ายแรงนับไม่ถ้วน และแบคทีเรียที่ปะปนอยู่ในอุจจาระก็สามารถแพร่เข้าไปในท่อปัสสาวะได้ทุกครั้งที่น้องแมวขับถ่าย เจ้าของจึงควรทำความสะอาดกระบะทรายอย่างน้อยวันละสองครั้ง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันอย่างฉับพลัน ความเครียด และภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

  • เผย 8 เคล็ดลับดูแลลูกแมวให้เติบโตอย่างแข็งแรง
    เผย 8 เคล็ดลับดูแลลูกแมวให้เติบโตอย่างแข็งแรง
    adp_description_block312
    วิธีดูแลลูกแมวแรกเกิดให้มีสุขภาพดี

    • แบ่งปัน

    ในโลกออนไลน์ทุกวันนี้ เต็มไปด้วยรูปภาพและคลิปวิดีโอของแมวเหมียว นั่นเพราะความน่ารักน่าเอ็นดูและนิสัยที่เป็นเอกลักษณ์ของพวกเค้า ไม่น่าแปลกใจเลยที่ใครหลาย ๆ คนอยากมีลูกแมวเป็นของตัวเอง แต่รู้ไหมว่าเจ้าตัวน้อยเหล่านี้บอบบางและจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี หากคุณรับเลี้ยงลูกแมวกำพร้าแม่ คุณอาจต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ และควรเรียนรู้วิธีการดูแลลูกแมวเพิ่มเติมด้วย
     

    สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง เรามีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณเริ่มต้นเส้นทางการดูแลลูกแมวได้อย่างราบรื่น ตั้งแต่การนัดพบสัตวแพทย์ การเลือกอาหาร ไปจนถึงการดูแลทำความสะอาด ติดตามเรื่องราวน่ารู้ทั้งหมดได้ในบทความนี้
     

    ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

    เมื่อรับลูกแมวเข้าบ้านแล้ว แนะนำให้พาไปตรวจสุขภาพเบื้องต้นกับสัตวแพทย์กันก่อน หากพบปัญหาหรืออาการผิดปกติก็สามารถทำการรักษาได้ทันที นอกจากนี้คุณหมอจะแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนและการทำหมันเพิ่มเติมด้วย หากคุณเป็นทาสแมวมือใหม่ นี่ถือเป็นโอกาสที่ดีในการสอบถามข้อสงสัยต่าง ๆ
     

    จัดเตรียมน้ำให้เพียงพอ

    เนื่องจากลูกแมวที่มีภาวะขาดน้ำมักจะเสี่ยงต่อโรคและการติดเชื้อสูง แนะนำให้วางชามน้ำหลาย ๆ จุดรอบบ้าน หลีกเลี่ยงบริเวณกระบะทรายหรือมุมขับถ่าย รวมถึงทำความสะอาดชามเหล่านี้เป็นประจำและหมั่นเปลี่ยนน้ำเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
     

    เลือกโภชนาการที่เหมาะสม

    ลูกแมวแรกเกิดควรได้รับน้ำนมแม่ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์แรก อย่างไรก็ตาม ลูกแมวจรจัดหรือลูกแมวไร้บ้านมักจะถูกแยกจากแม่ตั้งแต่อายุยังน้อย หากคุณรับเลี้ยงลูกแมวเหล่านี้ คุณอาจต้องปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อเรียนรู้วิธีการดูแลและการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าลูกแมวจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ โดยคุณอาจต้องเปลี่ยนสูตรอาหารให้เหมาะสมกับช่วงวัยด้วย
     

    แมวเป็นสัตว์กินเนื้อ อาหารแมวจึงควรมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลัก และต้องมาจากแหล่งโปรตีนคุณภาพเยี่ยม อย่างอาหารแมวไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรแม่และลูกแมว ที่อัดแน่นไปด้วยโปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อไก่และโอเมก้า 3 มีส่วนผสมของโคลอสตรุมและดีเอชเอ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการดวงตาและสมอง
     

    ดูแลเอาใจใส่และมอบความรักให้อย่างสม่ำเสมอ

    แม้ว่าแมวจะมีนิสัยรักอิสระและชอบความเป็นส่วนตัว แต่ในบางครั้งพวกเค้าก็ชอบให้กอด ให้อุ้ม และชอบให้เอาอกเอาใจ พวกเค้ามีวิธีแสดงความรักในแบบของตัวเอง ให้เวลาลูกแมวตัวใหม่ของคุณได้ปรับตัว ค่อย ๆ เข้าหาและเริ่มสัมผัสพวกเค้าอย่างอ่อนโยน อาจใช้ของเล่นมาช่วยดึงความสนใจ โดยลูกแมวส่วนใหญ่ชอบเล่นกับกระดิ่ง เชือก หรืออะไรก็ตามที่พวกเค้าสามารถวิ่งไล่ตามได้
     

    แนะนำให้รู้จักกับสมาชิกในครอบครัว

    หลังจากรับลูกแมวเข้าบ้านแล้ว คุณควรเปิดโอกาสให้เจ้าตัวน้อยทำความรู้จักกับสมาชิกในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงตัวอื่นตั้งแต่แรกเริ่ม โดยการแนะนำลูกแมวตัวใหม่ควรทำภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด สำหรับบ้านที่มีน้องหมาอยู่ก่อน คุณควรฝึกให้น้องหมาคุ้นเคยกับกลิ่นของลูกแมว เพื่อป้องกันสัญชาตญาณการล่าเหยื่อ อย่างไรก็ตาม น้องหมาบางสายพันธุ์ก็ไม่เหมาะที่จะอยู่ร่วมกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น 
     

    การฝึกเข้าสังคมเป็นสิ่งสำคัญ ควรให้ลูกแมวพบเจอผู้คนหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นเป็นครั้งคราว เพื่อให้พวกเค้าปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ง่าย วิธีนี้มีประโยชน์มากเมื่อถึงเวลาพบสัตวแพทย์หรือเมื่อต้องเข้าร้านอาบน้ำตัดขน
     

    ดูแลขนลูกแมวเป็นประจำ

    แมวชอบดูแลตัวเองและใส่ใจกับรูปร่างหน้าตามากเป็นพิเศษ แม้ว่าพวกเค้าจะดูแลตัวเองได้เป็นอย่างดี แต่บางครั้งก็อาจต้องการความช่วยเหลือ โดยเฉพาะเมื่อเนื้อตัวมอมแมม ทั้งนี้การแปรงขนไม่เพียงแต่ช่วยขจัดสิ่งสกปรกและเส้นขนที่ตายแล้วเท่านั้น แต่ยังช่วยนวดผิวหนังเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้ลูกแมวของคุณมีสุขภาพผิวหนังที่ดีและเส้นขนเงางามอีกด้วย
     

    ฝึกลูกแมวเข้ากระบะทราย

    การฝึกเข้ากระบะทรายถือเป็นหนึ่งในการฝึกที่สำคัญที่สุด เริ่มจากเลือกกระบะทรายที่มีขนาดเหมาะกับตัวลูกแมว ส่วนทรายแมวอาจต้องทดลองใช้หลาย ๆ ชนิดเพื่อค้นหาชนิดที่ถูกใจเจ้าเหมียวที่สุด โชคดีที่แมวส่วนใหญ่มักจะขับถ่ายในพื้นผิวที่เป็นทราย การฝึกนี้จึงมีโอกาสสำเร็จสูง แต่หากลูกแมวไม่ยอมเข้ากระบะทรายในทันที ให้เวลาพวกเค้าปรับตัวกันสักพัก และหมั่นทำความสะอาดกระบะทรายเป็นประจำด้วย
     

    เตรียมพื้นที่พักผ่อนสำหรับลูกแมว

    ลูกแมวและแมวมักจะงีบหลับกันในช่วงกลางวัน โดยลูกแมวสามารถนอนได้ถึง 20 ชั่วโมงต่อวัน! ในช่วงสองสามคืนแรก ลูกแมวอาจส่งเสียงร้องบ่อย เนื่องจากยังปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ไม่ดี คุณอาจจับพวกเค้านอนข้างเตียงเพื่อให้ง่ายต่อการดูแล เมื่อพวกเค้าเริ่มคุ้นเคยกับพื้นที่ใหม่และนอนหลับได้นานหลายชั่วโมงแล้ว สามารถจัดเตรียมมุมสบาย ๆ อากาศถ่ายเท และเงียบสงบให้พวกเค้าพักผ่อนตามลำพังได้

Close modal