IAMS TH
How to Keep Your Cat’s Urinary Tract in Tip-top Shape
How to Keep Your Cat’s Urinary Tract in Tip-top Shape

adp_description_block424
ทำความเข้าใจโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

  • แบ่งปัน

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวคืออะไร?

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่ไม่ได้พบบ่อยในแมว และแมวทุกตัวที่มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจจะไม่ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อ้างอิงจากศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (NCBI) มีแมวเพียง 1 – 2% เท่านั้นที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่หากน้องแมวมีอาการก็จำเป็นต้องไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม
 

อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

เนื่องจากเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและความไม่สบายอย่างรุนแรง เจ้าของจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการหรือสัญญาณเตือนต่าง ๆ ของโรคให้ดี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังนี้

  • ปัสสาวะบ่อยแต่มีปริมาณน้อย
  • มีเลือดปะปนในปัสสาวะ
  • เลียบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มากกว่าปกติ
  • ส่งเสียงร้องออกมาขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะนอกกระบะทราย

การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

ในการวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สัตวแพทย์จะทำการทดสอบตัวอย่างปัสสาวะเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย โดยคุณหมอจะดูดปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน เมื่อตรวจตัวอย่างปัสสาวะแล้ว คุณหมอก็จะทำการแยกเชื้อแบคทีเรียเพื่อศึกษาต่อไป ขั้นตอนนี้เรียกว่าการเพาะเชื้อและการทดสอบความไวของเชื้อต่อยา ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอกำหนดยาที่เหมาะสมต่อการรักษาได้
 

การติดเชื้อครั้งแรกหรือการติดเชื้อแบบเฉียบพลันมักจะรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง อย่างไรก็ตาม หากแมวของคุณมีอาการป่วยจากการติดเชื้อเรื้อรัง สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อเริ่มให้ยาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
 

สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง
  • การสอดใส่สายสวนปัสสาวะ
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

แม้ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยากและพบไม่บ่อย แต่ทางที่ดีก็ควรดูแลน้องแมวอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ โดยการดูแลป้องกันที่แนะนำมีดังนี้

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแมวดื่มน้ำเพียงพอ แนะนำให้ทำความสะอาดชามน้ำเป็นประจำและหมั่นเปลี่ยนน้ำทุกวัน
  • ทำความสะอาดกระบะทรายวันละสองครั้ง และควรเปลี่ยนทรายใหม่ทุกสองสัปดาห์
  • หมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและสีของปัสสาวะ หากพบการความผิดปกติควรปรึกษาสัตวแพทย์
  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคที่อาจนำไปสู่ปัญหากระเพาะปัสสาวะอักเสบ หากแมวของคุณมีอาการของโรคดังกล่าว ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
  • สำหรับแมวสูงวัยและแมวที่มีน้ำหนักตัวเกิน อาจมีปัญหาในการขยับเขยื้อนตัวและไม่สามารถเลียตัวทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง เจ้าของอาจต้องช่วยดูแลเรื่องความสะอาดมากเป็นพิเศษ

สามารถรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวด้วยตนเองได้หรือไม่?

การดูแลรักษาน้องแมวที่มีอาการของโรคนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การให้กินน้ำแครนเบอร์รี แอปเปิลไซเดอร์ และซุปโครงกระดูก ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อกันว่าสามารถบรรเทาอาการของโรคได้ อย่างไรก็ตาม การรักษาเหล่านี้อาจไม่ช่วยให้น้องแมวหายขาด และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โอกาสที่จะเป็นซ้ำก็เพิ่มมากขึ้น ทางที่ดีจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าน้องแมวมีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ?
  2. น้องแมวที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มักจะมีอาการดังต่อไปนี้

    • ปัสสาวะบ่อยแต่ในปริมาณน้อย
    • อาจส่งเสียงร้องขณะปัสสาวะ
    • เลียบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มากกว่าปกติเนื่องจากอาการระคายเคือง
    • อาจมีเลือดปนในปัสสาวะ

    หากพบว่าน้องแมวมีอาการข้างต้น ควรพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที

  3. หากไม่รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการจะดีขึ้นเองได้หรือไม่?
  4. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบางชนิดสามารถหายได้เอง อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าอาการไม่รุนแรงหรือเรื้อรัง คุณควรพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

  5. การกินน้ำน้อยเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวใช่หรือไม่?
  6. น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแมว การกินน้ำน้อยอาจทำให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำและเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะด้วย เจ้าของจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าแมวได้รับน้ำเพียงพอตลอดทั้งวัน

  7. แมวที่เลี้ยงในบ้านเสี่ยงต่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือไม่?
  8. การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ แม้ว่าแมวที่เลี้ยงในบ้านจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่ำกว่าแมวที่เลี้ยงนอกบ้าน แต่หากละเลยเรื่องความสะอาดหรือสุขอนามัย พวกเค้าก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน อย่างกระบะทรายที่ไม่ได้ทำความสะอาดเป็นประจำ อาจกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรียร้ายแรงนับไม่ถ้วน และแบคทีเรียที่ปะปนอยู่ในอุจจาระก็สามารถแพร่เข้าไปในท่อปัสสาวะได้ทุกครั้งที่น้องแมวขับถ่าย เจ้าของจึงควรทำความสะอาดกระบะทรายอย่างน้อยวันละสองครั้ง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันอย่างฉับพลัน ความเครียด และภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

  • รวมทุกเรื่องที่คุณควรรู้ ก่อนนำลูกแมวเข้าบ้าน
    รวมทุกเรื่องที่คุณควรรู้ ก่อนนำลูกแมวเข้าบ้าน
    adp_description_block485
    พาแมวเข้าบ้านวันแรก ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

    • แบ่งปัน

    การนำลูกแมวตัวใหม่กลับบ้านเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนี่เป็นครั้งแรกของคุณ แต่ไม่ว่าจะรู้สึกตื่นเต้นหรือดีใจมากน้อยแค่ไหน คุณก็ควรเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อให้วันแรกและคืนแรกของเจ้าตัวน้อยเป็นไปอย่างราบรื่น
     

    การนำลูกแมวกลับบ้านก็เหมือนการพาลูกน้อยกลับบ้าน คุณควรเก็บข้าวของอันตรายในบ้านให้เรียบร้อย และสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ที่สำคัญในช่วงสัปดาห์แรก ควรพาลูกแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกาย แนะนำให้พวกเค้ารู้จักกับ
     

    สมาชิกในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ ส่วนการวางแผนออกไปผจญภัยนอกบ้านควรเริ่มเมื่อลูกแมวได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว
     

    สำหรับพ่อแม่แมวมือใหม่ทุกคน เรามีคำแนะนำและเคล็ดลับดี ๆ เกี่ยวกับการต้อนรับลูกแมวตัวใหม่เข้าบ้านมาฝากกัน
     

    สิ่งที่ควรทำก่อนนำลูกแมวเข้าบ้าน

    ก่อนที่จะพาลูกแมวเข้าบ้าน คุณควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์ที่น่าเชื่อถือในละแวกบ้าน เพื่อทำการตรวจสุขภาพ วางแผนการฉีดวัคซีนและป้องกันปรสิตเบื้องต้น ทั้งนี้หากคุณรับเลี้ยงลูกแมวแรกเกิด ก็ควรพาไปพบคุณหมอทันทีที่รับเลี้ยง รวมถึงควรทำตามขั้นตอนสำคัญอื่น ๆ ดังนี้ด้วย

    1. ป้องกันอันตรายภายในบ้าน

    ลูกแมวมีขนาดตัวเล็กและยังคงบอบบาง ผู้เลี้ยงจึงควรทำความสะอาดบ้าน เก็บข้าวของมีคมและสารอันตรายต่าง ๆ ให้มิดชิด พร้อมตรวจสอบให้แน่ใจว่าจัดพื้นที่นอน ชามอาหาร ชามน้ำ ของเล่น และกระบะทรายให้ครบถ้วน

    1. เตรียมพื้นที่พักผ่อนให้ดี

    ในช่วงสองสามคืนแรก ลูกแมวอาจรู้สึกวิตกกังวลและมักจะส่งเสียงร้อง พวกเค้าจะใช้เวลาสักพักเพื่อทำความคุ้นเคยกับบ้านใหม่ เพื่อช่วยให้ลูกแมวนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น ควรจัดมุมพักผ่อนในบริเวณที่อบอุ่น เงียบสงบ เมื่ออยู่บ้านใหม่ได้อย่างสบายใจ ลูกแมวจะสามารถนอนหลับได้นานถึง 20 ชั่วโมงต่อวัน

    1. เลือกโภชนาการอย่างเหมาะสม

    อาหารมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีในลูกแมว คุณจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม รวมไปถึงวิธีการให้อาหารอย่างถูกต้อง สำหรับลูกแมวในช่วงวัย 2 – 12 เดือน ขอแนะนำ ไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ อาหารเม็ดสูตรสำหรับแม่และลูกแมว เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน มีวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยพัฒนาสมองและดวงตาให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังมีดีเอชเอและโคลอสตรุม ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานตามธรรมชาติและป้องกันโรคร้าย ถือเป็นแหล่งอาหารจำเป็นที่พบได้ในนมแม่
     

    สิ่งที่ควรทำหลังนำลูกแมวเข้าบ้าน

    เมื่อเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยดีแล้ว ก็ถึงเวลารับเจ้าตัวน้อยเข้าบ้าน และมีขั้นตอนอีกมากมายที่คุณควรทำหลังจากนี้

    1. แนะนำลูกแมวให้รู้จักกับสมาชิกในครอบครัว

    ลูกแมวอาจรู้สึกกังวลเมื่ออยู่กับคนแปลกหน้า การทำให้พวกเค้าคุ้นเคยกับครอบครัวใหม่ตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้บรรยากาศสงบและไม่เสียงดังจนเกินไปในช่วงเวลาที่ทำความรู้จักกัน ควรปฏิบัติกับลูกแมวอย่างอ่อนโยน ไม่บังคับ ให้เวลาลูกแมวได้ปรับตัวและสำรวจบ้านด้วยตัวเอง

    1. แนะนำลูกแมวให้รู้จักกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่น

    หากคุณมีสัตว์เลี้ยงหรือแมวในบ้านอยู่แล้ว การเลือกวิธีแนะนำลูกแมวตัวใหม่เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะพวกเค้าทั้งหมดต้องอยู่ร่วมกันและควรจะเข้ากันได้ดี เริ่มจากปล่อยให้พวกเค้าทำความคุ้นเคยกลิ่นของกันและกันก่อน อาจนำผ้าห่มของลูกแมวตัวใหม่ไปวางใกล้ ๆ ชามอาหารของแมวตัวเก่า จากนั้นปล่อยให้ดมกลิ่นสำรวจจนคุ้นชิน วิธีนี้จะทำให้แมวตัวเก่าค่อย ๆ คุ้นเคยกับกลิ่นของแมวตัวใหม่ไปเอง

    1. พาลูกแมวไปพบสัตวแพทย์

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นหนึ่งในข้อปฏิบัติสำคัญที่ต้องทำทันทีหลังนำลูกแมวตัวใหม่กลับบ้าน คุณหมอจะวางแผนการฉีดวัคซีน พร้อมทำการดูแลป้องกันอื่น ๆ เพื่อเสริมสุขภาพโดยรวมของลูกแมว รวมถึงจะตรวจสอบน้ำหนักและสภาพร่างกาย เพื่อประเมินความต้องการทางโภชนาการของลูกแมวให้อีกด้วย

    1. ปล่อยให้ลูกแมวสำรวจบ้านใหม่

    เมื่อลูกแมวรู้สึกสบายใจกับการอยู่ในบ้านใหม่ พวกเค้าจะเริ่มสำรวจพื้นที่ทุกซอกทุกมุม คุณอาจพบว่าลูกแมวเดินเตร่ไปมาและดมกลิ่นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว นี่ถือเป็นข่าวดี ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกแมวได้รับบาดเจ็บขณะสำรวจบ้านใหม่ คุณควรเก็บกวาดบ้านให้เรียบร้อยพร้อมตามดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ไม่แนะนำให้อุ้มลูกแมวขึ้นมากอดหรือบังคับให้เคลื่อนไหวไปมา ปล่อยให้พวกเค้าสำรวจด้วยตัวเอง

    1. แบ่งเวลามาเล่นกับลูกแมวเป็นประจำ

    หลังจากลูกแมวปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้แล้ว คุณสามารถชวนพวกเค้าเล่นและทำกิจกรรมง่าย ๆ ได้ เช่น เล่นซ่อนแอบ เล่นตะครุบเหยื่อ อาจให้รางวัลด้วยขนมเมื่อพวกเค้าเล่นกับคุณ วิธีนี้ช่วยให้ลูกแมวเชื่อใจคุณมากยิ่งขึ้น จากนั้นอีกไม่นาน พวกเค้าก็จะเริ่มอ้อน เข้ามาคลอเคลีย และแสดงความรักให้เห็นบ่อยมากขึ้น

Close modal