IAMS TH
How to Keep Your Cat’s Urinary Tract in Tip-top Shape
How to Keep Your Cat’s Urinary Tract in Tip-top Shape

adp_description_block157
ทำความเข้าใจโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

  • แบ่งปัน

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวคืออะไร?

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่ไม่ได้พบบ่อยในแมว และแมวทุกตัวที่มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจจะไม่ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อ้างอิงจากศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (NCBI) มีแมวเพียง 1 – 2% เท่านั้นที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่หากน้องแมวมีอาการก็จำเป็นต้องไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม
 

อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

เนื่องจากเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและความไม่สบายอย่างรุนแรง เจ้าของจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการหรือสัญญาณเตือนต่าง ๆ ของโรคให้ดี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังนี้

  • ปัสสาวะบ่อยแต่มีปริมาณน้อย
  • มีเลือดปะปนในปัสสาวะ
  • เลียบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มากกว่าปกติ
  • ส่งเสียงร้องออกมาขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะนอกกระบะทราย

การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

ในการวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สัตวแพทย์จะทำการทดสอบตัวอย่างปัสสาวะเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย โดยคุณหมอจะดูดปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน เมื่อตรวจตัวอย่างปัสสาวะแล้ว คุณหมอก็จะทำการแยกเชื้อแบคทีเรียเพื่อศึกษาต่อไป ขั้นตอนนี้เรียกว่าการเพาะเชื้อและการทดสอบความไวของเชื้อต่อยา ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอกำหนดยาที่เหมาะสมต่อการรักษาได้
 

การติดเชื้อครั้งแรกหรือการติดเชื้อแบบเฉียบพลันมักจะรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง อย่างไรก็ตาม หากแมวของคุณมีอาการป่วยจากการติดเชื้อเรื้อรัง สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อเริ่มให้ยาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
 

สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง
  • การสอดใส่สายสวนปัสสาวะ
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

แม้ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยากและพบไม่บ่อย แต่ทางที่ดีก็ควรดูแลน้องแมวอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ โดยการดูแลป้องกันที่แนะนำมีดังนี้

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแมวดื่มน้ำเพียงพอ แนะนำให้ทำความสะอาดชามน้ำเป็นประจำและหมั่นเปลี่ยนน้ำทุกวัน
  • ทำความสะอาดกระบะทรายวันละสองครั้ง และควรเปลี่ยนทรายใหม่ทุกสองสัปดาห์
  • หมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและสีของปัสสาวะ หากพบการความผิดปกติควรปรึกษาสัตวแพทย์
  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคที่อาจนำไปสู่ปัญหากระเพาะปัสสาวะอักเสบ หากแมวของคุณมีอาการของโรคดังกล่าว ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
  • สำหรับแมวสูงวัยและแมวที่มีน้ำหนักตัวเกิน อาจมีปัญหาในการขยับเขยื้อนตัวและไม่สามารถเลียตัวทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง เจ้าของอาจต้องช่วยดูแลเรื่องความสะอาดมากเป็นพิเศษ

สามารถรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวด้วยตนเองได้หรือไม่?

การดูแลรักษาน้องแมวที่มีอาการของโรคนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การให้กินน้ำแครนเบอร์รี แอปเปิลไซเดอร์ และซุปโครงกระดูก ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อกันว่าสามารถบรรเทาอาการของโรคได้ อย่างไรก็ตาม การรักษาเหล่านี้อาจไม่ช่วยให้น้องแมวหายขาด และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โอกาสที่จะเป็นซ้ำก็เพิ่มมากขึ้น ทางที่ดีจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าน้องแมวมีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ?
  2. น้องแมวที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มักจะมีอาการดังต่อไปนี้

    • ปัสสาวะบ่อยแต่ในปริมาณน้อย
    • อาจส่งเสียงร้องขณะปัสสาวะ
    • เลียบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มากกว่าปกติเนื่องจากอาการระคายเคือง
    • อาจมีเลือดปนในปัสสาวะ

    หากพบว่าน้องแมวมีอาการข้างต้น ควรพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที

  3. หากไม่รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการจะดีขึ้นเองได้หรือไม่?
  4. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบางชนิดสามารถหายได้เอง อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าอาการไม่รุนแรงหรือเรื้อรัง คุณควรพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

  5. การกินน้ำน้อยเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวใช่หรือไม่?
  6. น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแมว การกินน้ำน้อยอาจทำให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำและเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะด้วย เจ้าของจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าแมวได้รับน้ำเพียงพอตลอดทั้งวัน

  7. แมวที่เลี้ยงในบ้านเสี่ยงต่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือไม่?
  8. การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ แม้ว่าแมวที่เลี้ยงในบ้านจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่ำกว่าแมวที่เลี้ยงนอกบ้าน แต่หากละเลยเรื่องความสะอาดหรือสุขอนามัย พวกเค้าก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน อย่างกระบะทรายที่ไม่ได้ทำความสะอาดเป็นประจำ อาจกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรียร้ายแรงนับไม่ถ้วน และแบคทีเรียที่ปะปนอยู่ในอุจจาระก็สามารถแพร่เข้าไปในท่อปัสสาวะได้ทุกครั้งที่น้องแมวขับถ่าย เจ้าของจึงควรทำความสะอาดกระบะทรายอย่างน้อยวันละสองครั้ง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันอย่างฉับพลัน ความเครียด และภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในแมว
    การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในแมว
    adp_description_block494
    การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าและการดูแล

    • แบ่งปัน

    โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการถูกกัดและข่วนโดยสัตว์ที่ติดเชื้อ เนื่องจากไม่มียาในการรักษา ทางออกเดียวที่จะต่อสู้กับไวรัสร้ายแรงนี้คือการฉีดวัคซีนป้องกัน

     

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นหนึ่งในวัคซีนหลักสำหรับแมว มันช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และช่วยให้แมวมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่ก่อนจะพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีน เรามาทำความเข้าใจรายละเอียดของโรคและวิธีป้องกันไปด้วยกันในบทความนี้
     

    โรคพิษสุนัขบ้าแพร่กระจายได้อย่างไร?

    โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ ซึ่งติดต่อได้ทั้งในสัตว์และคน ไม่ใช่แค่สุนัขอย่างที่เข้าใจผิดกัน เชื้อชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลเปิด ผ่านเยื่อเมือกในตา ปาก และจมูก รวมถึงแพร่กระจายผ่านการสัมผัสน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อด้วย โดยแมวส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายในเวลาไม่กี่วันหรืออาจใช้เวลานานถึงสองสามปีหลังได้รับเชื้อ
     

    เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรง พ่อแม่แมวจึงควรเรียนรู้สัญญาณเตือนและลักษณะอาการของโรคให้ดี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังนี้

    1. มีไข้

    2. เซื่องซึม

    3. ความอยากอาหารลดลง

    4. หายใจลำบาก

    5. น้ำลายไหลมาก

    6. กลืนลำบาก

    7. พฤติกรรมผิดปกติ

    การรักษาโรคพิษสุนัขบ้าอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มียารักษา การฉีดวัคซีนป้องกันจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าแมวของคุณจะปลอดภัยจากโรคร้ายนี้
     

    แมวที่เลี้ยงในบ้านจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่?

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแมวทั้งในบ้านและนอกบ้าน เพราะแมวมักจะเข้าสังคมด้วยการเลีย ดม หรือเกาตัวให้กัน แมวในบ้านจึงยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ที่ลูกแมวจะติดเชื้อ วัคซีนจะกระตุ้นการสร้างแอนติเจนในร่างกาย ทำให้แมวสามารถรับมือกับไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าได้
     

    แมวควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าบ่อยแค่ไหน?

    การฉีดวัคซีนจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ สายพันธุ์ และไลฟ์สไตล์ของลูกแมว รวมถึงประเภทของวัคซีนด้วย วัคซีนบางชนิดก็ต้องฉีดทุกปี บางชนิดอาจฉีดทุก ๆ 3 ปี โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนของแมวเพิ่มเติมได้

     

    แมวควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อใด?

    ลูกแมวควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มแรกเมื่อมีอายุ 12 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีนครั้งแรก ต้องฉีดวัคซีนทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีน
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    หลังจากการฉีดวัคซีน น้องแมวอาจมีอาการผิดปกติเล็กน้อย โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้มีดังนี้

    1. มีไข้ต่ำ

    2. เซื่องซึม

    3. ความอยากอาหารลดลง

    4. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    นอกจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว พ่อแม่แมวควรพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีนหลักอื่น ๆ ด้วย เช่น วัคซีนรวม F4 วัคซีนรวม FeVac 5 และวัคซีน FVRCP การฉีดวัคซีนควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพเป็นประจำจะช่วยให้ลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี