IAMS TH
How to Keep Your Cat’s Urinary Tract in Tip-top Shape
How to Keep Your Cat’s Urinary Tract in Tip-top Shape

adp_description_block365
ทำความเข้าใจโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

  • แบ่งปัน

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวคืออะไร?

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่ไม่ได้พบบ่อยในแมว และแมวทุกตัวที่มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจจะไม่ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อ้างอิงจากศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (NCBI) มีแมวเพียง 1 – 2% เท่านั้นที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่หากน้องแมวมีอาการก็จำเป็นต้องไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม
 

อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

เนื่องจากเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและความไม่สบายอย่างรุนแรง เจ้าของจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการหรือสัญญาณเตือนต่าง ๆ ของโรคให้ดี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังนี้

  • ปัสสาวะบ่อยแต่มีปริมาณน้อย
  • มีเลือดปะปนในปัสสาวะ
  • เลียบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มากกว่าปกติ
  • ส่งเสียงร้องออกมาขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะนอกกระบะทราย

การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

ในการวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สัตวแพทย์จะทำการทดสอบตัวอย่างปัสสาวะเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย โดยคุณหมอจะดูดปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน เมื่อตรวจตัวอย่างปัสสาวะแล้ว คุณหมอก็จะทำการแยกเชื้อแบคทีเรียเพื่อศึกษาต่อไป ขั้นตอนนี้เรียกว่าการเพาะเชื้อและการทดสอบความไวของเชื้อต่อยา ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอกำหนดยาที่เหมาะสมต่อการรักษาได้
 

การติดเชื้อครั้งแรกหรือการติดเชื้อแบบเฉียบพลันมักจะรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง อย่างไรก็ตาม หากแมวของคุณมีอาการป่วยจากการติดเชื้อเรื้อรัง สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อเริ่มให้ยาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
 

สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง
  • การสอดใส่สายสวนปัสสาวะ
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

แม้ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยากและพบไม่บ่อย แต่ทางที่ดีก็ควรดูแลน้องแมวอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ โดยการดูแลป้องกันที่แนะนำมีดังนี้

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแมวดื่มน้ำเพียงพอ แนะนำให้ทำความสะอาดชามน้ำเป็นประจำและหมั่นเปลี่ยนน้ำทุกวัน
  • ทำความสะอาดกระบะทรายวันละสองครั้ง และควรเปลี่ยนทรายใหม่ทุกสองสัปดาห์
  • หมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและสีของปัสสาวะ หากพบการความผิดปกติควรปรึกษาสัตวแพทย์
  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคที่อาจนำไปสู่ปัญหากระเพาะปัสสาวะอักเสบ หากแมวของคุณมีอาการของโรคดังกล่าว ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
  • สำหรับแมวสูงวัยและแมวที่มีน้ำหนักตัวเกิน อาจมีปัญหาในการขยับเขยื้อนตัวและไม่สามารถเลียตัวทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง เจ้าของอาจต้องช่วยดูแลเรื่องความสะอาดมากเป็นพิเศษ

สามารถรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวด้วยตนเองได้หรือไม่?

การดูแลรักษาน้องแมวที่มีอาการของโรคนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การให้กินน้ำแครนเบอร์รี แอปเปิลไซเดอร์ และซุปโครงกระดูก ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อกันว่าสามารถบรรเทาอาการของโรคได้ อย่างไรก็ตาม การรักษาเหล่านี้อาจไม่ช่วยให้น้องแมวหายขาด และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โอกาสที่จะเป็นซ้ำก็เพิ่มมากขึ้น ทางที่ดีจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าน้องแมวมีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ?
  2. น้องแมวที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มักจะมีอาการดังต่อไปนี้

    • ปัสสาวะบ่อยแต่ในปริมาณน้อย
    • อาจส่งเสียงร้องขณะปัสสาวะ
    • เลียบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มากกว่าปกติเนื่องจากอาการระคายเคือง
    • อาจมีเลือดปนในปัสสาวะ

    หากพบว่าน้องแมวมีอาการข้างต้น ควรพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที

  3. หากไม่รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการจะดีขึ้นเองได้หรือไม่?
  4. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบางชนิดสามารถหายได้เอง อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าอาการไม่รุนแรงหรือเรื้อรัง คุณควรพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

  5. การกินน้ำน้อยเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมวใช่หรือไม่?
  6. น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแมว การกินน้ำน้อยอาจทำให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำและเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะด้วย เจ้าของจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าแมวได้รับน้ำเพียงพอตลอดทั้งวัน

  7. แมวที่เลี้ยงในบ้านเสี่ยงต่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือไม่?
  8. การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ แม้ว่าแมวที่เลี้ยงในบ้านจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่ำกว่าแมวที่เลี้ยงนอกบ้าน แต่หากละเลยเรื่องความสะอาดหรือสุขอนามัย พวกเค้าก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน อย่างกระบะทรายที่ไม่ได้ทำความสะอาดเป็นประจำ อาจกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรียร้ายแรงนับไม่ถ้วน และแบคทีเรียที่ปะปนอยู่ในอุจจาระก็สามารถแพร่เข้าไปในท่อปัสสาวะได้ทุกครั้งที่น้องแมวขับถ่าย เจ้าของจึงควรทำความสะอาดกระบะทรายอย่างน้อยวันละสองครั้ง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันอย่างฉับพลัน ความเครียด และภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

  • Feline Rhinotracheitis คืออะไร
    Feline Rhinotracheitis คืออะไร
    adp_description_block207
    Feline Rhinotracheitis คืออะไร

    • แบ่งปัน

    เจ้าเหมียวของคุณฉีดวัคซีนกันแล้วหรือยัง? สำหรับวัคซีน FVRCP หรือชื่อเต็มว่า Feline Viral Rhinotracheitis, Calicivirus และ Panleukopenia เป็นหนึ่งในวัคซีนกลุ่มหลักที่จำเป็นต่อน้องแมวทุกตัว

     

    วัคซีน FVRCP จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ Feline Rhinotracheitis หรือไวรัสอันตรายที่ทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในแมว แม้ส่วนใหญ่จะพบในแมวเลี้ยงนอกบ้าน แต่แมวที่เลี้ยงในบ้านก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน อีกทั้งยังช่วยป้องกันเชื้อ Feline Calicivirus ที่ทำให้เกิดแผลในปากและการอักเสบ สุดท้ายคือเชื้อ Feline Panleukopenia ซึ่งมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน จัดเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต 
     

    การติดเชื้อเหล่านี้สร้างความเจ็บปวดและส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของแมวเป็นอย่างมาก การฉีดวัคซีนป้องกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ว่าแล้วก็มาติดตามเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีน FVRCP สำหรับแมวไปด้วยกัน
     

    แมวควรได้รับวัคซีน FVRCP เมื่อใด?

    ถึงตอนนี้เรารู้แล้วว่าวัคซีน FVRCP มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเป็นอยู่ที่ดีของแมว แต่เราควรพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีนนี้ช่วงใด? ฉีดตอนไหนจึงจะเหมาะสม? มาหาคำตอบและทำความเข้าใจวัคซีนชนิดนี้กันให้มากขึ้น

     

    โรคหวัดแมว

    เกิดจากไวรัส Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) หรือไวรัส Feline Herpesvirus (FHV-1) ซึ่งเป็นหนึ่งในการติดเชื้อที่ร้ายแรงที่สุดในแมว มักจะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น จาม เยื่อบุตาอักเสบ มีไข้ และมีอาการอ่อนเพลีย เชื้อเหล่านี้แพร่กระจายผ่านของเหลวในร่างกาย ทั้งน้ำลายและน้ำมูก หากไม่ได้รับการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที แมวอาจเสียชีวิตได้
     

    ไวรัสคาลิไซในแมว

    Feline Calicivirus (FCV) จัดเป็นไวรัสที่อันตรายถึงชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วไวรัสนี้จะโจมตีระบบทางเดินหายใจและอวัยวะในช่องปาก หากคุณพบเห็นสัญญาณของการติดเชื้อ แนะนำให้พาเจ้าเหมียวไปพบสัตวแพทย์ทันที อย่างไรก็ตาม ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพที่น่ากังวลนี้ด้วยการฉีดวัคซีน FVRCP ตามคำแนะนำของคุณหมอ
     

    โรคไข้หัดแมว

    โรคไข้หัดแมวเกิดจากไวรัส Feline Panleukopenia (FPV) เป็นไวรัสที่ติดต่อง่ายและรุนแรง โดยจะโจมตีระบบภูมิคุ้มกันของแมว ลักษณะอาการที่สำคัญคืออาเจียน เบื่ออาหาร และมีไข้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อไขกระดูกและต่อมน้ำเหลือง ทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวลดลง มีอัตราการตายสูง ถึงแม้จะเป็นโรคที่อันตราย แต่ไม่ต้องกังวล! เพราะการฉีดวัคซีน FVRCP ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     

    เพราะเหตุใดวัคซีน FVRCP จึงเป็นวัคซีนหลักสำหรับแมว?

    วัคซีน FVRCP ถือเป็นมาตรการป้องกันที่จำเป็นสำหรับแมวทุกตัวเช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจาก FVR, FCV และ FPV เป็นไวรัสที่ติดต่อได้ง่าย สามารถแพร่กระจายผ่านของเหลวในร่างกาย การฉีดวัคซีนจะช่วยให้ร่างกายลูกแมวเตรียมแอนติเจนเพื่อต่อต้านไวรัสร้ายแรงเหล่านี้ได้
     

    แมวควรฉีดวัคซีน FVRCP เมื่อมีอายุเท่าไหร่?

    ลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FVRCP ทุก 3 – 4 สัปดาห์ในช่วงอายุระหว่าง 16 – 20 สัปดาห์ โดย จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นเพื่อให้แน่ใจว่าระบบภูมิคุ้มกันพร้อมสำหรับการต่อสู้กับไวรัสอันตราย และลูกแมวควรได้รับ FVRCP เข็มสุดท้ายเมื่ออายุครบ 1 ปี หลังจากนั้นควรฉีดวัคซีนชนิดนี้ทุก ๆ สามปี เพื่อให้ภูมิคุ้มกันสมบูรณ์

     

    โดยก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน FVRCP แนะนำให้สอบถามสัตวแพทย์ดังนี้

    1. ผลข้างเคียงของ FVRCP มีอะไรบ้าง และผลข้างเคียงจะเกิดขึ้นนานแค่ไหน?

    2. ควรดูแลลูกแมวหลังฉีดวัคซีนอย่างไร?

    3. เมื่อพิจารณาจากไลฟ์สไตล์ อายุ และสายพันธุ์ ลูกแมวต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นกี่เข็ม?

    4. การฉีดวัคซีน FVRCP มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน FVRCP

    วัคซีน FVRCP อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเล็กน้อย ลูกแมวอาจรู้สึกไม่สบายตัวหลังการฉีด โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดมีดังนี้

    1. อาการบวมหรือแดงบริเวณที่ฉีด

    2. ไข้ต่ำ

    3. ความอยากอาหารลดลง

    แมวบางตัวอาจมีอาการแพ้วัคซีน หากพบว่าลูกแมวของคุณอาเจียน มีอาการคัน หรือท้องเสีย ควรปรึกษาสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด

Close modal