IAMS TH
Your Senior Dog’s Special Nutritional Needs
Your Senior Dog’s Special Nutritional Needs

adp_description_block325
ความต้องการโภชนาการพิเศษสำหรับสุนัขสูงวัย

  • แบ่งปัน

หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดในการให้อาหารสุนัขสูงวัยก็คือควรเลือกอาหารที่มีโภชนาการที่เหมาะสม โดยที่ ไอแอมส์™ เราได้มีการวิจัยเพื่อให้สุนัขสูงวัยได้รับสารอาหารที่เหมาะสมที่สุด อาหารที่มีสารอาหารที่ครบถ้วน สมดุล จะช่วยทำให้สุนัขนั้นมีอายุที่ยาวนานขึ้น มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม ไม่อ้วนไม่ผอมจนเกินไป และยังช่วยทำให้กล้ามเนื้อและระบบการย่อยอาหารของพวกเค้าดีขึ้นได้อีกด้วย
 

สุนัขอายุเท่าไหร่ ถึงเรียกว่าเป็นสุนัขสูงวัย ?


สุนัขสูงวัยไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่รวมไปถึงระบบต่างๆในร่างกายที่เริ่มเสื่อมโทรมลงตามกาลเวลา ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามขนาดและสายพันธุ์ โดยสุนัขพันธุ์เล็กจะเข้าสู่ช่วงสูงวัยเมื่ออายุได้ประมาณ 7 ปี และในสุนัขพันธุ์ใหญ่จะเข้าสู่ช่วงสูงวัยเมื่ออายุได้ประมาณ 5 ปี การให้อาหารสุนัขตามช่วงวัยนั้น จะช่วยรักษาสุขภาพสุนัขโดยรวมได้เป็นอย่างดี เมื่อสุนัขมีอายุมากขึ้นและมีสัญญาณของโรคต่างๆ การรักษาและดูแลตั้งแต่เนิ่นๆก็ช่วยให้เค้าได้รับการดูแลรักษาได้เร็วขึ้นเช่นกัน

สายพันธุ์และสิ่งแวดล้อมก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับอายุในสุนัข แต่คุณภาพของอาหารและสารอาหารที่พวกเค้าจะได้รับนั้นก็สามารถช่วยชะลอวัยและช่วยให้เค้ามีอายุที่ยืนยาวและแข็งแรงขึ้นได้

เมื่อสุนัขสูงวัยอายุเพิ่มมากขึ้น อาหารที่คุณจัดหามาให้นั้นช่วยได้มาก จากข้อมูลของ นักวิจัยของ ไอแอมส์ ™บอกไว้ว่า สุนัขสูงวัยนั้นก็ต้องการสารอาหารไม่ต่างกับสุนัขวัยรุ่น แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปคือปริมาณและสารอาหารที่เปลี่ยนไป

Dr. Hayek นักวิจัยของ ไอแอมส์ ™ แนะนำว่าเราไม่ควรเริ่มเปลี่ยนอาหารให้เมื่อสุนัขเข้าสู่วัยชรา แต่ทางที่ดีกว่าคือการให้อาหารพรีเมียมคุณภาพสูง เช่น อาหารสุนัข ไอแอมส์™ ที่มีโภชนาการที่เหมาะสมตั้งแต่ยังเล็ก เราควรจะดูแลสุขภาพพวกเค้าในเชิงรุกมากกว่าที่จะรอให้พวกเค้ามีปัญหาแล้วถึงมาเริ่มดูแลทีหลัง

แต่ถ้าตอนนี้คุณกำลังเลี้ยงสุนัขสูงวัยอยู่ล่ะก็ อย่าลืมมองหาอาหารที่มีคุณภาพสูงมีสารอาหารที่สมดุลและถูกต้องตามความต้องการของพวกเค้า โดยสารมารถดูได้จากสิ่งต่อไปนี้

โปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพดี
ความต้องการด้านโปรตีนของสุนัขนั้นสำคัญมาก เมื่อสุนัขมีอายุมากขึ้น พวกเค้าจะสูญเสียความสมดุลของมวลกล้ามเนื้อไป ดังนั้นพวกเค้าจะต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ โดยปกติสุนัขมักจะต้องการโปรตีนจากสัตว์ เช่น โปรตีนจากเนื้อไก่ หรือ โปรตีนจากเนื้อแกะ มีหลายคนมีความเชื่อว่า สุนัขสูงวัยควรจะได้รับโปรตีนน้อยลงเพื่อป้องกันการเป็นโรคไต อย่างไรก็ตามโรคไตนั้นเกิดจากปัจจัยหลายอย่างไม่ได้มาจากอาหารเพียงอย่างเดียวทางที่ดีคุณควรพาสุนัขไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อให้สัตวแพทย์ได้ประเมินประสิทธิภาพการทำงานของไตและแนะนำการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมจะดีที่สุด

Dr. Hayek นักวิจัยของ ไอแอมส์ ™ อธิบายว่า ยังไม่มีงานวิจัยชิ้นไหนที่บ่งชี้ว่าอาหารที่มีโปรตีนสูงจะไปเร่งการทำงานของไต รวมถึงยังไม่มีงานวิจัยชิ้นไหนเช่นกันที่บอกว่าอาหารที่มีโปรตีนต่ำจะช่วยชะลอโรคไตได้ ทั้งนี้โปรตีนยังคงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการสร้างมวลกล้ามเนื้อในร่างกายรวมไปถึงช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโตในสุนัขอีกด้วย

ไขมันต่ำ

สุนัขสูงวัยนั้นจะมีความต้องการแคลอรีที่น้อยลง ควรเลือกอาหารสุนัขสูงวัยที่มีไขมันอย่างน้อย 10% ให้กับเค้าสำหรับสุนัขสูงวัยนั้น ความต้องการกรดไขมันที่จำเป็นรวมไปถึงกรดไขมันโอเมก้า 3 นั้นจำเป็นมาก เพราะจะช่วยทดแทนการสังเคราะห์ไขมันของพวกเค้าที่จะลดลงไปตามอายุโดยธรรมชาติ

ความเหมาะสมของไฟเบอร์ในอาหารของสุนัขสูงวัย

ในสุนัขสูงวัยปัญหาเรื่องการย่อยอาการเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญ ไฟเบอร์ในอาหารนั้นไม่ควรเกิน 5 % เพื่อให้พวกเค้ามีลำไส้ที่ดีรวมไปถึงช่วยให้การดูดซึมสารอาหารเป็นไปได้อย่างดี เช่น อาหารสุนัข ไอแอมส์™ ที่มีส่วนประกอบของเยื่อบีทพัลพ์สูตรเฉพาะของไอแอมส์™ ช่วยระบบย่อยและขับถ่ายและยังช่วยรักษาสุขภาพของลำไส้ ด้วยการให้พลังงานแก่เซลล์ในลำไส้ และช่วยให้อุจจาระมีขนาดเล็กและเป็นก้อนอีกด้วย

FRUCTOOLIGOSACCHARIDES (FOS) แหล่งใยอาหารสูตรเฉพาะ

FOS เป็นไฟเบอร์ที่ย่อยได้โดยจุลินทรีย์ ช่วยรักษาสุขภาพของลำไส้ได้เป็นอย่างดี

สารต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระช่วยรักษาความสมดุลในร่างกายของสุนัข โดยจะทำหน้าที่เข้ากำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย และยังทำหน้าที่ชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ดังนั้นควรเลือกอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเช่นวิตามินอีและเบต้าแคโรตีนให้กับพวกเค้า

วิตามินและแร่ธาตุ
โดยปกติแล้วในอาหารสุนัขที่มีคุณภาพจะมีสารอาหารและโภชนาการครบถ้วนอยู่แล้ว นั่นรวมไปถึงวิตามินและแร่ธาตุด้วยเช่นกัน สำหรับวิตามินนั้นแนะนำให้สัตวแพทย์เป็นผู้แนะนำในกรณีที่สุนัขต้องการวิตามินหรืออยู่ในกลุ่มที่ขาดวิตามินจะดีที่สุด

 

เมื่อสุนัขเข้าสู่ช่วงสูงวัย

การให้สารอาหารที่ครบถ้วนสมดุลนั้นมีความสำคัญในสุนัขทุกๆช่วงวัย ยิ่งคุณให้อาหารที่ประโยชน์ต่อสุขภาพของพวกเค้าเช่น ไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ ซีเนียร์ พลัส ยิ่งทำให้พวกเค้ามีโอกาสที่จะมีชีวิตยืนยาวและมีสุขภาพที่ดีขึ้น เรามีเคล็ดลับที่จะช่วยให้สุนัขสูงวัยของคุณมีอายุที่ยาวนานมาฝากกัน

• ลดความเครียดลง หลีกเลี่ยงการให้สุนัขทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานเยอะ หรือเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันที่เค้าทำอยู่เป็นประจำ คุณควรค่อยๆให้เวลากับพวกเค้าเพื่อไม่ให้เค้าเครียดจนเกินไป
• ให้ออกกำลังกายเป็นประจำ การพาพวกเค้าออกกำลังกายโดยการเดิน 15 นาทีต่อวันจะช่วยให้กล้ามเนื้อและระบบการย่อยอาหารของเค้าดีขึ้น และยังช่วยป้องกันปัญหาน้ำหนักเกินที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย
• ลดปริมาณอาหารลงแต่ให้บ่อยมากขึ้น จากเดิมที่สุนัขกินอาหารมื้อใหญ่แค่วันละครั้ง ลองปรับเปลี่ยนเป็นให้อาหารมื้อเล็กๆสองหรือสามมื้อต่อวันแทน โดยให้ในปริมาณเท่าเดิม การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มการเผาผลาญอาหารของสุนัขได้ดียิ่งขึ้น • ตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนเป็นประจำ การดูแลสุขภาพเหงือกและช่องปากของสุนัขรวมไปถึงการหมั่นสังเกตความผิดปกติต่างๆของสุนัขอย่างเป็นประจำ จะช่วยให้สุนัขลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆได้รวดเร็วยิ่งขึ้น หากคุณพบความผิดปกติเพียงแค่นิดเดียว ให้รีบปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อตรวจหาและรีบรักษาได้อย่างเร็วที่สุด
• เลือกซื้ออาหารที่มีคุณภาพ เมื่อสุนัขของคุณเข้าสู่ช่วงสูงวัย ความสนใจในอาหารของพวกเค้ามักจะลดลง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคืออาหารที่มีคุณค่าโภชนาการครบถ้วน ดังนั้น การเลือกซื้ออาหารที่มีคุณภาพจึงสำคัญที่สุด
• Dr. Hayek นักวิจัยของ ไอแอมส์ ™ ชี้ให้เห็นว่ายังมีเรื่องราวของโภชนาการในสุนัขสูงวัยอีกมากมายที่น่าเรียนรู้ แต่สิ่งที่เน้นย้ำก็คือ สุนัขแต่ละช่วงวัยนั้นมีความต้องการที่แตกต่างกัน เราในฐานะผู้เลี้ยงจะต้องหมั่นค่อยสังเกตว่าสุนัขของเรานั้นกำลังเข้าสู่ช่วงสูงวัยแล้วหรือยัง ในสายพันธ์เล็กจะเริ่มต้นเข้าสู่ช่วงสูงวัยเมื่ออายุประมาณ 7 ปี และสำหรับสายพันธุ์ใหญ่ จะเริ่มต้นในช่วงอายุ 5 ปี เราต้องเลือกอาหารที่เหมาะสมให้กับเค้า เพื่อให้เค้ามีชีวิตอย่างแข็งแรงและมีความสุขไปได้นานๆ

  • วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    adp_description_block360
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย

    • แบ่งปัน

    หากคุณอยากมีเพื่อนเล่นแก้เหงาหรือเพื่อนแท้ที่คอยอยู่เคียงข้าง ขอแนะนำให้รับเลี้ยงลูกสุนัขไว้สักตัว แต่ต้องมั่นใจด้วยว่าคุณสามารถดูแลรับผิดชอบเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ได้ เพราะลูกสุนัขต้องการความรักความเอาใจใส่เพื่อให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี
     

    การดูแลลูกสุนัขไม่ใช่แค่การให้อาหาร มอบความรัก หรือชวนเล่นเป็นครั้งคราว คุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม ฝึกพวกเค้าให้รู้จักขับถ่ายเป็นที่ รวมถึงต้องพาไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการดูแลทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณและเจ้าตัวน้อยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันมากขึ้น คุณจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการเจริญเติบโตของพวกเค้า สำหรับผู้เลี้ยงที่ไม่มั่นใจหรือมีความกังวล ในบทความนี้จะบอกเคล็ดลับและวิธีดูแลลูกสุนัขในช่วง 2 – 3 เดือนแรกให้ทุกคนได้รู้กัน
     

    การนำลูกสุนัขกลับบ้าน

    มีอะไรบ้างที่เราควรรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัข? มาเริ่มกันที่การรับลูกสุนัขเข้าบ้านวันแรก คุณควรจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นอันตรายอยู่รอบ ๆ ตัวลูกสุนัข เช่น สารเคมี สายไฟ ต้นไม้ที่มีพิษ ของมีคม และข้าวของที่แตกหักง่าย เพราะลูกสุนัขก็เปรียบเหมือนทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าบอบบางแต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น นอกจากนี้คุณต้องซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม อย่างเช่น ชามอาหาร ปลอกคอ สายจูง และเบาะนอนนุ่ม ๆ สำหรับพักผ่อน
     

    การให้อาหารลูกสุนัข

    หนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้ามีความต้องการแตกต่างจากสุนัขวัยอื่น อีกทั้งยังต้องการสารอาหารที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี 
     

    การเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตจะขึ้นอยู่กับขนาดพันธุ์ สำหรับสุนัขพันธุ์เล็กหรือพันธุ์กลาง คุณสามารถเปลี่ยนสูตรอาหารได้เมื่อพวกเค้ามีอายุ 9 – 12 เดือน แต่หากเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ควรเปลี่ยนเมื่อมีอายุ 12 – 24 เดือน นอกจากการให้อาหารที่ดีและเหมาะสมแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วย
     

    ตารางการให้อาหารสำหรับลูกสุนัข

    • 6 – 12 สัปดาห์ - 4 มื้อต่อวัน 
    • 3 – 6 เดือน - 3 มื้อต่อวัน
    • 6 – 12 เดือน - 2 มื้อต่อวัน

    ไอแอมส์™ มีผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับลูกสุนัขและสุนัขโตให้เลือกหลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์ของเราคัดสรรแต่วัตถุดิบคุณภาพระดับพรีเมียม นอกจากนี้ยังอุดมด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ มั่นใจได้เลยว่าน้องหมาของคุณจะเพลิดเพลินกับอาหารทุกคำที่พวกเค้าลิ้มรส
     

    การพบสัตวแพทย์และการฉีดวัคซีน

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลลูกสุนัข การเข้าพบครั้งแรกจะช่วยให้คุณรับรู้ข้อมูลสุขภาพโดยรวมของเจ้าตัวน้อย คุณหมอจะแจ้งตารางการฉีดวัคซีนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเหล่านี้เพิ่มเติมด้วย

    • ตารางการฉีดวัคซีน
    • การทำหมัน
    • การฝึกขับถ่าย
    • การฝึกทำตามคำสั่งพื้นฐาน
    • การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
    • โภชนาการที่เหมาะสม
    • การถ่ายพยาธิ

    การฝึกเข้าสังคมให้ลูกสุนัข

    ลูกสุนัขควรได้พบเจอกับผู้คน เพื่อนหมาตัวอื่น และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเรียนรู้ที่จะปรับตัว โดยเวลาที่สำคัญที่สุดในการฝึกเข้าสังคมคือช่วงอายุระหว่าง 3 – 12 สัปดาห์ และแนะนำให้ฝึกอย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

    คุณควรเริ่มฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัขตั้งแต่วันแรกที่พาเข้าบ้าน เพื่อปลูกฝังให้พวกเค้าขับถ่ายเป็นที่ ไม่ต้องคอยทำความสะอาดทุกครั้ง เริ่มต้นฝึกด้วยการเลือกพื้นที่ขับถ่ายนอกบ้าน จากนั้นพาลูกสุนัขไปที่ดังกล่าวเมื่อถึงเวลาขับถ่าย ให้รางวัลทันทีหลังจากพวกเค้าขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำโทษไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวและอาจแสดงท่าทีก้าวร้าว
     

    การฝึกที่ดีที่สุดคือการฝึกในเชิงบวก หรือก็คือการให้รางวัลเมื่อพวกเค้าทำได้ดีหรือทำตัวน่ารัก และควรกำหนดระยะเวลาการฝึกเป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อไม่ให้ลูกสุนัขรู้สึกเบื่อหรือเหนื่อยจนเกินไป
     

    การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

    น้องหมาก็มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันเช่นเดียวกัน ทั้งการมีกลิ่นปาก ฟันหลุด และโรคปริทันต์ ซึ่งพวกเค้ามักจะไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็นอย่างชัดเจน ผู้เลี้ยงจึงควรดูแลช่องปากและฟันของพวกเค้าเป็นประจำ โดยควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยของคุณเพิ่มเติมได้
     

    การออกกำลังกายสำหรับลูกสุนัข

    แม้จะเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลัง แต่ผู้เลี้ยงควรควบคุมปริมาณและเวลาในการออกกำลังกายของลูกสุนัขให้เหมาะสม และปล่อยให้พวกเค้าได้พักผ่อนทุกครั้งที่ต้องการ หลีกเลี่ยงการให้เล่นเป็นเวลานาน ๆ เพียงครั้งเดียว แนะนำให้พาออกไปเดินเล่นระยะสั้น ๆ วันละสองครั้งแทน