IAMS TH
bathe a puppy
bathe a puppy

adp_description_block59
ควรอาบน้ำลูกหมาตอนไหนดีนะ?

  • แบ่งปัน

ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หัดเลี้ยงหรือคุณพ่อคุณแม่มือโปร การอาบน้ำให้ลูกสุนัขคือหนึ่งในการดูแลที่คุณควรทำเป็นประจำ เพราะไม่เพียงแต่ช่วยให้น้องหมาดูสะอาดสะอ้านเท่านั้น แต่ยังช่วยให้น้องหมามีสุขภาพผิวหนังและเส้นขนที่แข็งแรงอีกด้วย เพื่อให้เจ้าตัวน้อยดูดีและรู้สึกสบายตัว ลองทำตามเคล็ดลับการอาบน้ำง่าย ๆ ที่เรานำมาฝากกันได้เลย

เมื่อรับเลี้ยงลูกสุนัขตัวใหม่ หนึ่งในคำถามแรก ๆ ที่เจ้าของมักจะนึกถึงคือ “ลูกสุนัขอาบน้ำได้เมื่อไหร่” และ 'ต้องอาบน้ำบ่อยแค่ไหน?' เราสามารถอาบน้ำให้ลูกสุนัขได้เมื่อพวกเค้ามีอายุประมาณ 8 สัปดาห์ โดยต้องอาบน้ำให้พวกเค้าอย่างระมัดระวังและอ่อนโยนที่สุด หลังจากอาบน้ำครั้งแรกแล้ว การอาบน้ำครั้งต่อ ๆ ไปควรทำเมื่อจำเป็นเท่านั้น

ก่อนเริ่มอาบน้ำ ควรจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม ทั้งผ้าเช็ดตัว แชมพูและครีมนวดสำหรับน้องหมาขนยาว แปรงหรือหวี และไดร์เป่าผม

 

เพื่อให้เจ้าตัวน้อยรู้สึกดีระหว่างการอาบน้ำ ควรทำตามขั้นตอนเหล่านี้

  • เริ่มต้นด้วยการทำให้พวกเค้าคุ้นเคยกับน้ำ
  • เติมน้ำอุ่นลงในถังหรืออ่างอาบน้ำ โดยไม่จำเป็นต้องเติมน้ำจนเต็ม แต่ให้ระดับน้ำอยู่เหนืออุ้งเท้าเพียงไม่กี่นิ้ว
  • วางลูกสุนัขลงในอ่างและปล่อยให้พวกเค้าจัดท่าทางจนกว่าจะสบายตัว ให้ขนมและพูดคุยกับพวกเค้าด้วยน้ำเสียงที่สงบและมั่นใจ

เมื่อน้องหมารู้สึกคุ้นเคยกับน้ำในอ่าง ก็ถึงเวลาอาบน้ำกันแล้ว!

 

ขั้นตอนการอาบน้ำให้ลูกสุนัขตัวน้อย

หากคุณเพิ่งอาบน้ำให้ลูกสุนัขเป็นครั้งแรก ไม่ต้องกังวลไป เรามีเคล็ดลับดี ๆ และคำแนะนำเกี่ยวกับการอาบน้ำให้ลูกสุนัขทุกขั้นตอนมาฝากกัน

 

  1. เลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับลักษณะขนของน้องหมา

ก่อนที่จะเริ่มอาบน้ำ ควรเลือกแชมพูและครีมนวดที่เหมาะกับลักษณะขน โดยอาจขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์ เพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยของคุณ สำหรับน้องหมาขนสั้น ควรใช้น้ำมันบำรุงขนเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ในขณะที่น้องหมาขนยาวนั้น ควรใช้ครีมนวดเพื่อให้เส้นขนแข็งแรง ดูสวยน่าสัมผัส

 

  1.  ทำให้บรรยากาศในการอาบน้ำน่าประทับใจ

สามารถอาบน้ำให้ลูกสุนัขได้เมื่อมีอายุ 8 สัปดาห์ การอาบน้ำตั้งแต่เด็กจะช่วยให้พวกเค้าคุ้นเคยและทำให้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตร ในการอาบน้ำครั้งแรกไม่ควรมีการบังคับ แต่ควรค่อย ๆ แนะนำให้พวกเค้ารู้สึกคุ้นเคยและแสดงให้เห็นว่าไม่มีอะไรต้องกลัว ปล่อยให้ลูกสุนัขเดินเล่นอย่างอิสระและทำความคุ้นเคยกับการอยู่ในอ่าง จากนั้นจึงค่อยใช้แปรงหวีขนให้พวกเค้า อย่าลืมให้ขนม ลูบตัว และกอดพวกเค้าบ่อย ๆ เพื่อให้รู้สึกปลอดภัย

 

  1. แปรงขนของลูกสุนัขอย่างเบามือ

ก่อนการอาบน้ำและตัดแต่งขน ให้แปรงหรือหวีขนเบา ๆ เพื่อขจัดสิ่งสกปรกบริเวณเส้นขนและผิวหนังออกไป การทำเช่นนี้จะช่วยขจัดปมหรือขนที่พันกันได้อีกด้วย

 

  1. อาบน้ำลูกสุนัขด้วยน้ำอุ่น

เตรียมน้ำที่อุ่นแต่ไม่ร้อนจนเกินไป เนื่องจากลูกสุนัขมีผิวที่บอบบาง จึงไวต่อสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งที่มาสัมผัสตัวมาก 

ก่อนที่จะเริ่มอาบน้ำให้พวกเค้า ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีใครในบ้านใช้น้ำในขณะที่คุณอาบน้ำให้ลูกสุนัข การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างกะทันหันอาจเป็นอันตรายต่อลูกสุนัข จึงควรระมัดระวังเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ

 

  1. ทำความสะอาดอย่างเบามือด้วยน้ำอุ่นและผ้าขนหนู (สำหรับลูกสุนัขอายุ 3 - 4 เดือน)

สำหรับลูกสุนัขที่อายุน้อยกว่า 3 – 4 เดือน ควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นในการทำความสะอาดตัว และงดใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการระคายเคืองบริเวณผิวหนัง อุณหภูมิร่างกายของน้องหมาแตกต่างจากคนเรา น้ำที่ใช้จึงต้องมีอุณหภูมิที่เหมาะสม น้ำที่ร้อนจนเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อน้องหมาได้

 

  1. เริ่มอาบน้ำให้ลูกสุนัขกันได้เลย

สำหรับลูกสุนัขที่มีอายุมากกว่า 3 – 4 เดือน  คุณสามารถจับพวกเค้าอาบน้ำในอ่างอาบน้ำหรือจะใช้ฝักบัวแทนก็ได้ เมื่อถึงเวลาอาบน้ำ ลูกสุนัขอาจรับมือได้ค่อนข้างยาก หากคุณมีอ่างอาบน้ำหรือฝักบัวสำหรับอาบน้ำให้ลูกสุนัขโดยเฉพาะ ให้ใช้อุปกรณ์เหล่านั้นแทนอุปกรณ์ตามปกติ เพราะจะช่วยให้จัดการสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นผิวของอ่างอาบน้ำไม่ลื่น เพื่อป้องกันการลื่นล้มและจมจนพวกเค้าเกิดอาการตื่นตระหนก

 

  1. เลือกแชมพูอาบน้ำที่เหมาะสม

เมื่อลูกสุนัขมีอายุ 3 เดือนขึ้นไป จึงจะสามารถใช้แชมพูหรือครีมนวดได้

โดยควรเลือกแชมพูและครีมนวดสูตรสำหรับน้องหมาโดยเฉพาะ ควรเลือกที่มีค่า pH สมดุลเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายต่อสุขภาพผิวหนังและเส้นขน อาจเลือกเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ไม่มีสารเคมีเจือปนก็ได้ แต่ไม่แนะนำให้เลือกซื้อสินค้าเพราะมีราคาถูก เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านั้นอาจไม่สามารถใช้ได้จริงหรือไม่ปลอดภัยกับลูกสุนัข

ควรผสมแชมพูกับน้ำในปริมาณที่เท่ากันเพื่อให้เจือจางลง ก่อนนำไปถูลงบนตัวของน้องหมา โดยระวังอย่าให้สัมผัสกับบริเวณที่บอบบาง เช่น ดวงตาและใบหู

 

  1. อาบน้ำให้ลูกสุนัขอย่างค่อยเป็นค่อยไป

การอาบน้ำให้ลูกสุนัขก็เหมือนกับการอาบน้ำให้เด็กทารกตัวน้อย พวกเค้าอาจจะไม่ชินและรับมือได้ไม่ดีนักในช่วงแรก

หากกังวลว่าจะทำให้เจ้าตัวน้อยเจ็บตัว ให้ใช้ปลายนิ้วนวดแชมพูลงบนขนพวกเค้าเบา ๆ นอกจากจะช่วยขจัดสิ่งสกปรกและฝุ่นละอองแล้ว ยังเหมือนเป็นการนวดตัวให้น้องหมาอีกด้วย รับรองเลยว่าถูกใจพวกเค้าอย่างแน่นอน!

ควรล้างน้ำซ้ำหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าล้างคราบแชมพูออกหมดแล้ว สำหรับลูกสุนัขอายุน้อยควรใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด หรือผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เพื่อล้างสบู่ออกให้หมดและเพื่อป้องกันการระคายเคืองบนผิวหนัง หลังอาบน้ำเรียบร้อยแล้ว ควรรีบเช็ดตัวน้องหมาให้แห้ง

 

  1. เช็ดตัวให้แห้งทันทีหลังอาบน้ำเสร็จ

ค่อย ๆ ใช้ผ้าขนหนูเช็ดตามตัวน้องหมาเพื่อขจัดน้ำส่วนเกินออกไป เมื่อมั่นใจว่าเช็ดตัวจนแห้งดีแล้วหรือไม่มีน้ำหยดจากตัวพวกเค้าแล้ว ให้ใครสักคนช่วยจับหรือนั่งคุกเข่าลงข้าง ๆ เพื่อให้น้องหมาจะรู้สึกปลอดภัย ก่อนเป่าขนให้แห้งด้วยไดร์เป่าผม ควรเลือกใช้เครื่องที่สามารถกระจายความร้อนได้อย่างสม่ำเสมอ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าใช้ลมร้อนต่ำหรือเย็นเท่านั้น

เพื่อให้ลูกสุนัขคุ้นเคยกับเสียงของไดร์เป่าผม ควรหลีกเลี่ยงการเป่าลมใส่หน้าหรือหูโดยตรง และพยายามทำให้ขนแห้งเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ สำหรับน้องหมาขนยาว ในระหว่างเป่าขนควรหยุดแปรงขนบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้ขนพันกัน

 

  1. อาบน้ำเป็นประจำเพื่อสุขภาพผิวหนังที่ดี

สุขภาพของน้องหมาเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการอาบน้ำเป็นประจำจะช่วยให้น้องหมามีความสุขและมีสุขภาพดี โดยแนะนำให้เจ้าของอาบน้ำให้น้องหมาเดือนละครั้ง เนื่องจากบริเวณผิวหนังและเส้นขนมักจะมีสิ่งสกปรกจากปัจจัยแวดล้อมและกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน 

สำหรับลูกสุนัขควรใช้น้ำอุ่นในการอาบน้ำ และใช้น้ำสบู่อ่อน ๆ นวดลงบนตัวเบา ๆ อย่าลืมแปรงขนเป็นประจำ เพื่อให้ขนนุ่มและเงางาม ทั้งนี้ไม่แนะนำให้อาบน้ำให้ลุกสุนัขบ่อย ๆ เพราะอาจทำให้ผิวแห้ง

ขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยให้น้องหมาของคุณมีความสุขและแข็งแรง การอาบน้ำเป็นประจำจะทำให้เจ้าตัวน้อยดูดีและรู้สึกสบายตัวอยู่เสมอ อาจต้องใช้เวลาสักพักในการทำความคุ้นเคย แต่การอาบน้ำจะเป็นประสบการณ์ที่สนุกสนานหากทำอย่างถูกวิธี

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการอาบน้ำให้ลูกสุนัข

  1. เราสามารถใช้ไดร์เป่าผมกับลูกสุนัขได้หรือไม่?
  2. คุณสามารถใช้ไดร์เป่าผมกับลูกสุนัขได้ แต่ควรใช้อย่างระมัดระวัง โดยพยายามถือไดร์เป่าผมให้ห่างจากน้องหมาอย่างน้อย 2 - 3 นิ้ว หลีกเลี่ยงการเป่าใส่หน้าหรือหูโดยตรง และอย่าจ่อไดร์เป่าผมที่ตัวนาน ๆ เพื่อไม่ให้น้องหมารู้สึกร้อนจนเกินไป

  3. เราสามารถใช้กระดาษเปียกทำความสะอาดตัวน้องหมาได้หรือไม่?
  4. แนะนำให้เลือกทกระดาษเปียกสำหรับเด็ก เนื่องจากเป็นสูตรที่มีความอ่อนโยน เหมาะสำหรับผิวบอบบางของลูกสุนัข โดยสามารถใช้ทำความสะอาดใบหน้า ลำตัว และบริเวณก้นได้ สิ่งสำคัญคือเลือกสูตรที่ปราศจากสารเคมีรุนแรง น้ำหอม และแอลกอฮอล์

  5. ลูกสุนัขอาบน้ำครั้งแรกได้เมื่อไหร่?
  6. ทางที่ดีควรรอจนกว่าลูกสุนัขจะมีอายุอย่างน้อย 8 สัปดาห์ จนกว่าจะถึงเวลานั้น ให้เช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำหมาด ๆ แทนการอาบน้ำ เพื่อขจัดสิ่งสกปรกหรือฝุ่นละอองตามตัวออกไป

  7. การอาบน้ำให้ลูกสุนัขอายุ 8 สัปดาห์ปลอดภัยหรือไม่?
  8. คุณสามารถอาบน้ำให้ลูกสุนัขอายุ 8 สัปดาห์ได้ แต่ควรใช้น้ำอุ่นและแชมพูสูตรอ่อนโยนเท่านั้น อย่าลืมล้างตัวพวกเค้าให้สะอาดและเช็ดตัวให้แห้งทันที เนื่องจากลูกสุนัขยังควบคุมอุณหภูมิในร่างกายได้ไม่ดี จึงรู้สึกหนาวได้ง่ายมาก 

  • วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    adp_description_block445
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย

    • แบ่งปัน

    หากคุณอยากมีเพื่อนเล่นแก้เหงาหรือเพื่อนแท้ที่คอยอยู่เคียงข้าง ขอแนะนำให้รับเลี้ยงลูกสุนัขไว้สักตัว แต่ต้องมั่นใจด้วยว่าคุณสามารถดูแลรับผิดชอบเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ได้ เพราะลูกสุนัขต้องการความรักความเอาใจใส่เพื่อให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี
     

    การดูแลลูกสุนัขไม่ใช่แค่การให้อาหาร มอบความรัก หรือชวนเล่นเป็นครั้งคราว คุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม ฝึกพวกเค้าให้รู้จักขับถ่ายเป็นที่ รวมถึงต้องพาไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการดูแลทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณและเจ้าตัวน้อยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันมากขึ้น คุณจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการเจริญเติบโตของพวกเค้า สำหรับผู้เลี้ยงที่ไม่มั่นใจหรือมีความกังวล ในบทความนี้จะบอกเคล็ดลับและวิธีดูแลลูกสุนัขในช่วง 2 – 3 เดือนแรกให้ทุกคนได้รู้กัน
     

    การนำลูกสุนัขกลับบ้าน

    มีอะไรบ้างที่เราควรรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัข? มาเริ่มกันที่การรับลูกสุนัขเข้าบ้านวันแรก คุณควรจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นอันตรายอยู่รอบ ๆ ตัวลูกสุนัข เช่น สารเคมี สายไฟ ต้นไม้ที่มีพิษ ของมีคม และข้าวของที่แตกหักง่าย เพราะลูกสุนัขก็เปรียบเหมือนทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าบอบบางแต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น นอกจากนี้คุณต้องซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม อย่างเช่น ชามอาหาร ปลอกคอ สายจูง และเบาะนอนนุ่ม ๆ สำหรับพักผ่อน
     

    การให้อาหารลูกสุนัข

    หนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้ามีความต้องการแตกต่างจากสุนัขวัยอื่น อีกทั้งยังต้องการสารอาหารที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี 
     

    การเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตจะขึ้นอยู่กับขนาดพันธุ์ สำหรับสุนัขพันธุ์เล็กหรือพันธุ์กลาง คุณสามารถเปลี่ยนสูตรอาหารได้เมื่อพวกเค้ามีอายุ 9 – 12 เดือน แต่หากเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ควรเปลี่ยนเมื่อมีอายุ 12 – 24 เดือน นอกจากการให้อาหารที่ดีและเหมาะสมแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วย
     

    ตารางการให้อาหารสำหรับลูกสุนัข

    • 6 – 12 สัปดาห์ - 4 มื้อต่อวัน 
    • 3 – 6 เดือน - 3 มื้อต่อวัน
    • 6 – 12 เดือน - 2 มื้อต่อวัน

    ไอแอมส์™ มีผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับลูกสุนัขและสุนัขโตให้เลือกหลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์ของเราคัดสรรแต่วัตถุดิบคุณภาพระดับพรีเมียม นอกจากนี้ยังอุดมด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ มั่นใจได้เลยว่าน้องหมาของคุณจะเพลิดเพลินกับอาหารทุกคำที่พวกเค้าลิ้มรส
     

    การพบสัตวแพทย์และการฉีดวัคซีน

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลลูกสุนัข การเข้าพบครั้งแรกจะช่วยให้คุณรับรู้ข้อมูลสุขภาพโดยรวมของเจ้าตัวน้อย คุณหมอจะแจ้งตารางการฉีดวัคซีนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเหล่านี้เพิ่มเติมด้วย

    • ตารางการฉีดวัคซีน
    • การทำหมัน
    • การฝึกขับถ่าย
    • การฝึกทำตามคำสั่งพื้นฐาน
    • การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
    • โภชนาการที่เหมาะสม
    • การถ่ายพยาธิ

    การฝึกเข้าสังคมให้ลูกสุนัข

    ลูกสุนัขควรได้พบเจอกับผู้คน เพื่อนหมาตัวอื่น และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเรียนรู้ที่จะปรับตัว โดยเวลาที่สำคัญที่สุดในการฝึกเข้าสังคมคือช่วงอายุระหว่าง 3 – 12 สัปดาห์ และแนะนำให้ฝึกอย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

    คุณควรเริ่มฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัขตั้งแต่วันแรกที่พาเข้าบ้าน เพื่อปลูกฝังให้พวกเค้าขับถ่ายเป็นที่ ไม่ต้องคอยทำความสะอาดทุกครั้ง เริ่มต้นฝึกด้วยการเลือกพื้นที่ขับถ่ายนอกบ้าน จากนั้นพาลูกสุนัขไปที่ดังกล่าวเมื่อถึงเวลาขับถ่าย ให้รางวัลทันทีหลังจากพวกเค้าขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำโทษไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวและอาจแสดงท่าทีก้าวร้าว
     

    การฝึกที่ดีที่สุดคือการฝึกในเชิงบวก หรือก็คือการให้รางวัลเมื่อพวกเค้าทำได้ดีหรือทำตัวน่ารัก และควรกำหนดระยะเวลาการฝึกเป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อไม่ให้ลูกสุนัขรู้สึกเบื่อหรือเหนื่อยจนเกินไป
     

    การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

    น้องหมาก็มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันเช่นเดียวกัน ทั้งการมีกลิ่นปาก ฟันหลุด และโรคปริทันต์ ซึ่งพวกเค้ามักจะไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็นอย่างชัดเจน ผู้เลี้ยงจึงควรดูแลช่องปากและฟันของพวกเค้าเป็นประจำ โดยควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยของคุณเพิ่มเติมได้
     

    การออกกำลังกายสำหรับลูกสุนัข

    แม้จะเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลัง แต่ผู้เลี้ยงควรควบคุมปริมาณและเวลาในการออกกำลังกายของลูกสุนัขให้เหมาะสม และปล่อยให้พวกเค้าได้พักผ่อนทุกครั้งที่ต้องการ หลีกเลี่ยงการให้เล่นเป็นเวลานาน ๆ เพียงครั้งเดียว แนะนำให้พาออกไปเดินเล่นระยะสั้น ๆ วันละสองครั้งแทน