IAMS TH
dog article
dog article

adp_description_block258
คู่มือการดูแลและการเลี้ยงดูลูกสุนัข

  • แบ่งปัน

ลูกสุนัขตัวเล็กพร้อมนำความสุขมาให้พวกเราตั้งแต่วินาทีแรกที่เข้าบ้าน และการดูแลพวกเค้าอย่างดีก็กลายเป็นนิสัยติดตัวของเรา เชื่อว่าเจ้าของหลาย ๆ คนอาจมีคำถามว่า “เราควรดูแลลูกสุนัขอย่างไรดี?” บอกได้เลยว่าการดูแลลูกสุนัขนั้นแสนง่ายดาย หากรู้วิธีที่ถูกต้อง ซึ่งไอแอมส์ได้รวบรวมคำตอบและเทคนิคดี ๆ อีกมากมายมาให้คุณแล้ว
 

ทำไมลูกสุนัขถึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ?

เจ้าตัวน้อยสี่ขาต้องการอาหารที่ดีมีคุณภาพ และสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เพราะพวกเค้าช่างเปราะบาง มีโอกาสเจ็บป่วยและติดโรคร้ายได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีนิสัยชอบเคี้ยวสิ่งของต่าง ๆ จึงต้องคอยระมัดระวังไม่ให้กลืนสิ่งของอันตรายลงท้อง และควรจัดเตรียมของเล่นสำหรับกัดแทะไว้ให้พวกเค้าแทน

 

การดูแลโภชนาการ และการฝึกอย่างเหมาะสมในช่วงวัยลูกสุนัข ส่งผลต่อสุขภาพของพวกเค้าอย่างไรบ้าง?

หากเลือกให้อาหารคุณภาพดีตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข พวกเค้าก็จะเติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย การดูแลโภชนาการอย่างเหมาะสมเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี มันช่วยลดความเสี่ยงในการล้มป่วยและการมีปัญหาสุขภาพลง นอกจากนี้ควรพาน้องหมาไปออกกำลังกายเป็นประจำ หากไม่ได้ออกกำลังหรือไม่ทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเลย อาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้  ซึ่งทั้งสองข้อนี้คือกุญแจสำคัญที่ช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพแข็งแรงอย่างยั่งยืน

 

ตามติดพัฒนาการของลูกสุนัขในแต่ละช่วงวัย

ตารางพัฒนาการนี้ จะช่วยให้คุณเข้าใจความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัยของเจ้าตัวน้อยที่แสนน่ารักได้ดียิ่งขึ้น:

พัฒนาการลูกสุนัข

0-7 สัปดาห์

7-8 สัปดาห์

8-10 สัปดาห์

8-16 สัปดาห์

4-6 เดือน

6-12 เดือน

12-18 

เดือน

ลักษณะการเปลี่ยนแปลง

ลูกสุนัขเริ่มเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคม เช่น การกัด การยอมจำนน การให้ความสนใจ และการโต้ตอบกับน้องหมาตัวอื่น

เป็นช่วงวัยที่ดีที่สุดในการเชื่อมความสัมพันธ์กับเจ้าของ 

ถือเป็นช่วงเวลาที่ลูกสุนัขอ่อนแอที่สุด อาจเรียกอีกอย่างว่า 'ช่วงเวลาแห่งความกลัว' เป็นการดีที่สุดหากช่วยให้ลูกสุนัขมีประสบการณ์เชิงบวก

สามารถเริ่มฝึกทักษะต่าง ๆ ได้แล้วในช่วงนี้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษขณะฝึก 

ลูกสุนัขจะมีความมั่นใจ และต้องการอิสระมากขึ้น

เป็นช่วงเวลาในการปลดปล่อยพลังงาน ควรจัดหากิจกรรมมาให้พวกเค้าทำแก้เบื่อด้วยนะ

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยนี้ ลูกสุนัขจะเริ่มมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่มั่นคงขึ้น

  

เริ่มฝึกทักษะขั้นพื้นฐานให้พวกเค้าได้แล้ว 

ควรปลอบโยนเวลาที่พวกเค้ารู้สึกกลัวหรือเสียใจ 

 

สามารถทำหมันได้เมื่อมีอายุ 6 เดือน 

ควรเตรียมของเล่นที่หลากหลายไว้ให้พร้อม 

ในช่วงนี้ น้องหมาจะพยายามขึ้นเป็นจ่าฝูง และพยายามยืนยันสถานะของตัวเอง

 

เคล็ดลับการดูแลสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง

การต้อนรับลูกสุนัขมาเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัว ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราต้องจัดการหลังพาพวกเค้าเข้าบ้านแล้ว และนี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยให้การดูแลนั้นง่ายขึ้น:

  • เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ชามสแตนเลส ชามอาหาร ชามน้ำ
  • เตรียมเบาะนอนและผ้าห่มเพิ่มความอบอุ่น
  • ให้เวลาพวกเค้าได้ปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ 
  • เริ่มต้นก้าวแรกอย่างดีด้วยการเลือกอาหารคุณภาพเยี่ยมให้พวกเค้า
  • เตรียมปลอกคอพร้อมป้ายชื่อที่มีข้อมูลติดต่อของคุณให้เรียบร้อย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัขตัวน้อย:

  1. การดูแลลูกสุนัขแรกเกิดที่ถูกต้องควรทำอย่างไร?
  2. ในฐานะเจ้าของ คุณต้องเรียนรู้วิธีการดูแล และคำนึงถึงปัจจัยสำคัญเหล่านี้:

    • สิ่งที่สำคัญและถือเป็นการดูแลขั้นพื้นฐาน คือการจัดหาน้ำสะอาด โภชนาการที่เหมาะสม และการนอนหลับที่ดี
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเค้าอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย
    • รับมือกับความต้องการทางจิตวิทยา อย่างการฝึกเข้าสังคม

  3. ทำอย่างไรให้ลูกสุนัขแรกเกิดมีสุขภาพที่แข็งแรง?
  4. แนะนำให้ทำความสะอาดพื้นที่อยู่อาศัยของลูกสุนัขเป็นประจำ ฉีดวัคซีนให้ครบตามการนัดหมายของสัตวแพทย์ หมั่นสังเกตพฤติกรรมและความผิดปกติที่เกิดขึ้น คุณสามารถให้ขนมที่ดีต่อสุขภาพกับพวกเค้าได้ด้วยเช่นกัน

  5. ควรเริ่มฝึกลูกสุนัขตอนไหนดีนะ?
  6. สามารถเริ่มต้นด้วยการฝึกขั้นพื้นฐานโดยใช้คำสั่ง เช่น “นั่ง”, “นอนราบ” และ “อยู่นิ่ง” ได้ เมื่อลูกสุนัขมีอายุประมาณ 7 สัปดาห์ ทั้งนี้คุณควรตั้งชื่อให้พวกเค้าตั้งแต่วันแรกที่เจอ เพื่อทำให้พวกเค้าสนใจเมื่อถูกเรียกชื่อ และมีส่วนช่วยให้การฝึกง่ายขึ้นอีกด้วย สุดท้ายนี้ การฝึกลูกสุนัขไม่ควรใจร้อน แต่ควรฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป

  7. สิ่งแรกที่ต้องทำหลังจากรับเลี้ยงลูกสุนัขคืออะไร?
  8. แนะนำให้กำหนดตารางเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้พวกเค้า หรือทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้:

    1. ฝึกให้น้องหมาทำความคุ้นเคยกับพื้นที่สำหรับขับถ่าย หากพวกเค้าขับถ่ายถูกต้องก็อย่าลืมให้รางวัลด้วยนะ
    2. เตรียมพื้นที่พักผ่อนพร้อมของเล่น และอุปกรณ์ที่จำเป็น และปล่อยให้พวกเค้าทำความคุ้นเคย แต่ถ้าน้องหมาเริ่มกัดแทะสิ่งของ หรือฉี่ทับ ให้รีบย้ายข้าวของออกมาในทันที
    3. สังเกตพฤติกรรมของเจ้าตัวน้อยเมื่ออยู่ในพื้นที่ส่วนตัว แม้จะอยู่ในช่วงปรับตัวกับพื้นที่ใหม่ แต่คุณสามารถชวนพวกเค้าเล่นสนุกด้วยได้นะ
  • สุนัขหายใจแรงเกิดจากอะไร?
    สุนัขหายใจแรงเกิดจากอะไร?
    adp_description_block353
    สุนัขหายใจแรงเกิดจากอะไร?

    • แบ่งปัน

    เคยเห็นน้องหมาหายใจแรงหรือหอบจนลิ้นห้อยกันไหม? พฤติกรรมนี้มักจะเกิดหลังการเล่นหรือในช่วงบ่ายที่อากาศค่อนข้างร้อน หลายคนอาจสงสัยว่าอะไรคือสาเหตุเบื้องหลัง มันเชื่อมโยงกับสุขภาพและความเป็นอยู่ของสุนัขหรือไม่

    การหอบของสุนัขเป็นวิธีการตอบสนองของร่างกายเพื่อควบคุมอุณหภูมิและระบายความร้อน อีกทั้งยังเป็นวิธีสื่อสารภาวะทางอารมณ์อย่างหนึ่งด้วย โดยการทำความเข้าใจลักษณะและสาเหตุของอาการหอบ จะช่วยให้เราดูแลน้องหมาที่รักได้ดียิ่งขึ้น
     

    อาการหอบของสุนัข

    สุนัขหอบเพื่อควบคุมอุณหภูมิร่างกาย เป็นกลไกที่คล้ายคลึงกับเหงื่อของคน แม้ว่าการหอบจะเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีอาการมากผิดปกติ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่
     

    อาการหอบทั่วไป

    • การหายใจ – สำหรับน้องหมาที่มีสุขภาพดี ในขณะที่นั่งพักมักจะมีอัตราการหายใจ 15 – 35 ครั้งต่อนาที
    • ความรุนแรง – หายใจตื้นแต่เงียบ ไม่ค่อยมีอาการลิ้นห้อย
    • บริบท – คาดว่าจะมีอาการหอบหลังออกกำลังกาย เล่น ตื่นเต้น หรือในช่วงที่อากาศร้อน
    • ความต่อเนื่อง – เมื่อได้รับการดูแลแล้ว (เช่น เย็นลงหรือสงบลง) การหอบก็ควรจะทุเลาลง
       

    อาการหอบที่ผิดปกติ

    • การหายใจ – ในช่วงพักหรือขณะเคลื่อนไหวเล็กน้อย น้องหมาหายใจเร็วมาก หรือมีอัตราการหายใจ 40 ครั้งต่อนาที นี่ถือเป็นสัญญาณอันตราย
    • ความรุนแรง – เมื่อสุนัขหายใจแรง การหอบจะลึกและหนักหน่วง โดยมีอาการลิ้นห้อยและน้ำลายไหลอย่างชัดเจน
    • บริบท – เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เช่น ขณะพักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่เย็นสบาย
    • ความต่อเนื่อง – อาการหอบไม่ทุเลาแม้จะดูแลหรือจัดการกับสาเหตุแล้ว อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เซื่องซึม อาเจียน หรือเบื่ออาหาร
       

    สาเหตุของอาการหอบ

    แม้อาการหอบจะเป็นกลไกหลักในการระบายความร้อน แต่อาการนี้ก็เกิดจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน 
     

    สาเหตุทางกายภาพ

    • การควบคุมความร้อนในร่างกาย – การหอบช่วยให้ร่างกายของสุนัขเย็นลงหลังออกกำลังกาย เล่น หรือในช่วงที่อากาศร้อน โดยจะระเหยความชื้นออกจากลิ้นและทางเดินหายใจ เพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายกลับสู่ระดับปกติ
    • ความเจ็บปวด – การหอบมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณของความเจ็บปวดจากการบาดเจ็บหรือปัญหาสุขภาพ ความเจ็บปวดทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหอบ
    • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ – โรคภูมิแพ้ หอบหืด อาการไอ และปัญหาในระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ อาจทำให้สุนัขหายใจได้ยาก ส่งผลให้หายใจหอบเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องการออกซิเจนมากขึ้น
       

    สาเหตุทางอารมณ์

    • ความตื่นเต้น – เมื่อน้องหมารู้สึกตื่นเต้น อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจจะเพิ่มขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งถูกมองว่าเป็นอาการหอบ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเล่น การทักทาย หรือการคาดหวังกิจกรรมโปรด
    • ความเครียดหรือวิตกกังวล – การหอบเป็นกลไกในการรับมือกับความเครียดและความกังวล แนะนำให้ระวังพฤติกรรมผิดปกติอื่น ๆ ด้วย เช่น เดินวนไปมา น้ำลายไหล หรือการเชิดหาง
    • ความกลัว – เสียงดัง พายุฝนฟ้าคะนอง และสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยสามารถกระตุ้นให้เกิดความกลัว ส่งผลให้น้องหมาหายใจเร็ว หอบ ตัวสั่น และพยายามซ่อนตัว
       

    ควรทำอย่างไรเมื่อสุนัขหายใจแรง?

    การเห็นเจ้าตัวน้อยกำลังดิ้นรนหายใจอาจเป็นประสบการณ์ที่สะเทือนอารมณ์ แต่สิ่งสำคัญคือต้องสงบสติอารมณ์ จากนั้นให้ประเมินสถานการณ์และปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้
     

    ตรวจสอบสภาพแวดล้อม

    • กิจกรรมล่าสุด – น้องหมาทำกิจกรรมใดไปบ้าง มีการออกแรงมากหรือไม่ เช่น เล่นคาบของ วิ่ง หรือออกกำลังกายอย่างหนัก
    • อุณหภูมิและสภาพอากาศ – อากาศร้อนหรือเปล่า? พวกเค้าตากแดดนานไปหรือไม่?
    • สภาพแวดล้อมที่ตึงเครียด – มีเสียงดัง คนที่ไม่คุ้นเคย หรือมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลหรือไม่?

    หากพบปัจจัยเหล่านี้ การหอบน่าจะเป็นการตอบสนองของร่างกายตามปกติเพื่อควบคุมอุณหภูมิหรือจัดการกับความเครียด ในกรณีนี้ เพียงจัดพื้นที่ที่อากาศถ่ายเท เย็นสบาย และเงียบสงบให้น้องหมาพักผ่อน รวมถึงควรจัดเตรียมน้ำสะอาดให้เพียงพอด้วย
     

    สังเกตอาการและพฤติกรรม

    • ความรุนแรง – การหอบหายใจตื้นและเงียบสงบ หรือลึกและหนักหน่วง
    • การหายใจ – พวกเค้าหายใจกี่ครั้งต่อนาที
    • ลิ้น – มีอาการลิ้นห้อยและน้ำลายไหลหรือไม่
    • อาการร่วม – มีอาการร่วมด้วยหรือไม่ เช่น เซื่องซึม อาเจียน หรือเบื่ออาหาร

    คอยสังเกตอาการและการหายใจของน้องหมาอย่างใกล้ชิด อาการหอบที่มากผิดปกติทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็นสบาย อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพซึ่งควรได้รับการตรวจสอบเพิ่มเติม
     

    วิธีการดูแล

    • ลดอุณหภูมิร่างกาย – ย้ายน้องหมาไปยังบริเวณที่อากาศถ่ายเทและมีร่มเงา 
    • เตรียมน้ำสะอาด – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเค้าสามารถเข้าถึงน้ำที่สะอาดและสดใหม่ได้ตลอดเวลา
    • สร้างสภาพแวดล้อมที่สงบ – สร้างพื้นที่ที่เงียบสงบและสะดวกสบายเพื่อให้น้องหมาพักผ่อนโดยปราศจากการรบกวน

    ขั้นตอนเหล่านี้ช่วยบรรเทาอาการหอบที่เกิดจากความร้อนหรือความเครียดได้
     

    อาการหอบแบบใดที่น่ากังวลและควรพาไปพบสัตวแพทย์?

    ลักษณะอาการเหล่านี้เป็นอาการที่ผิดปกติและน่ากังวล ควรไปพบคุณหมอทันทีที่พบเห็น

    • อาการร่วม – หากน้องหมามีอาการหอบร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เซื่องซึม อ่อนแรง เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย ไอ เหงือกซีด น้ำลายไหลมาก หรือมีพฤติกรรมผิดปกติ ควรได้รับการดูแลจากสัตวแพทย์โดยทันที
    • อาการหอบอย่างรุนแรง – อาการหอบลึก หนักหน่วง และลิ้นห้อย อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
    • อาการหอบอย่างต่อเนื่อง – หากยังคงมีอาการหอบอยู่แม้จะพักผ่อนแล้ว อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็นแล้ว หรือได้รับการดูแลเบื้องต้นแล้ว กรณีนี้จำเป็นต้องได้รับการประเมินจากสัตวแพทย์เพิ่มเติม
    • อาการหอบไม่ดีขึ้น – หากการหอบไม่ทุเลาลงภายในระยะเวลาที่เหมาะสมหรือแย่ลงไปอีก แม้ว่าจะจัดการกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมแล้วก็ตาม คุณจำเป็นจะต้องขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

    แม้การหอบจะเป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกาย แต่ก็บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน คุณจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการเพื่อประเมินความรุนแรงและความน่ากังวล วิธีนี้จะช่วยให้คุณดูแลน้องหมาได้ดียิ่งขึ้น

Close modal