IAMS TH
Puppy Basics: Health Care Essentials
Puppy Basics: Health Care Essentials

adp_description_block121
การตรวจสุขภาพของลูกสุนัขตัวใหม่

  • แบ่งปัน

ลูกสุนัขก็เหมือนกับเด็กทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าต้องการความรัก ความเอาใจใส่ และการดูแลอย่างดีในช่วงเจริญเติบโต โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและโภชนาการที่มีความสำคัญมากในช่วงเดือนแรก ลูกสุนัขควรได้รับการดูแลป้องกันควบคู่ไปกับการให้อาหารที่เหมาะสม สำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่สงสัยว่ารายการตรวจสุขภาพของลูกสุนัขมีอะไรบ้าง มาติดตามไปพร้อม ๆ กันเลย
 

การดูแลสุขภาพที่สำคัญสำหรับลูกสุนัข

หน้าที่สำคัญที่สุดของผู้เลี้ยงทุกคนคือการดูแลสุขภาพของเจ้าตัวน้อยให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคร้าย ซึ่งการดูแลป้องกันที่สำคัญมีดังนี้

  • การพบสัตวแพทย์ – สัตวแพทย์จะตรวจร่างกายลูกสุนัขอย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัยอาการแพ้หรือปัญหาสุขภาพต่าง ๆ รวมถึงจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลป้องกันและการกรูมมิ่งอย่างถูกต้อง การนัดพบสัตวแพทย์จะช่วยให้คุณเข้าใจข้อกำหนดด้านสุขภาพและพฤติกรรมของเจ้าตัวน้อยมากยิ่งขึ้น 
  • การถ่ายพยาธิ – การติดเชื้อพยาธิเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในลูกสุนัข สัตวแพทย์จึงมักจะแนะนำให้ตรวจอุจจาระเพื่อหาพยาธิและปรสิต รวมถึงจะให้ถ่ายพยาธิกันตั้งแต่การนัดพบครั้งแรก
  • การฉีดวัคซีน – ลูกสุนัขควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อและโรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น โรคตับอักเสบ โรคไข้หัด โรคพิษสุนัขบ้า ไวรัสพาราอินฟลูเอนซา พาร์โวไวรัส และโรคปอดอักเสบ หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนก็สามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้
  • การป้องกันเห็บหมัด – เห็บและหมัดก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อย มันส่งผลต่อสุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดีของลูกสุนัข เนื่องจากปรสิตเหล่านี้จะดูดเลือดและสารอาหารจากร่างกาย อีกทั้งยังสร้างความระคายเคืองให้กับลูกสุนัขด้วย จึงควรป้องกันเห็บและหมัดเป็นประจำ
  • การจัดตารางออกกำลังกาย – เนื่องจากลูกสุนัขอยู่ในวัยชอบสำรวจและเต็มไปด้วยพลัง ผู้เลี้ยงจึงควรจัดตารางออกกำลังกายหรือหากิจกรรมให้พวกเค้าทำเป็นประจำ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกสุนัขเพลิดเพลินและมีสุขภาพดี การใช้เวลาเล่นกับลูกสุนัขยังช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และเป็นโอกาสดีที่จะสังเกตลูกสุนัขเพื่อประเมินพัฒนาการ สุขภาพ และอารมณ์
  • การเลือกอาหาร – แม้จะมีขนาดตัวเล็ก แต่ลูกสุนัขต้องการพลังงานมากเนื่องจากอยู่ในวัยเจริญเติบโต ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเค้าได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล ทั้งโปรตีน ไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ และคาร์โบไฮเดรต รวมถึงควรให้อาหารพวกเค้าอย่างน้อย 3 – 4 มื้อต่อวัน เพื่อรองรับความต้องการทางโภชนาการและการเติบโตอย่างแข็งแรง

ขอแนะนำไอแอมส์™ อาหารลูกสุนัขเกรดพรีเมียม อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนและสมดุลเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี ผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพสูง ย่อยง่าย ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น
 

การดูแลรักษาลูกสุนัข

ลูกสุนัขยังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจว่าอะไรดีหรือไม่ดี พวกเค้าขาดทักษะการรับรู้และการประเมินความเสี่ยง อีกทั้งยังมีความกระตือรือร้นสูง อยากรู้อยากเห็น ขี้เล่น และชอบกัดแทะสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งบางอย่างก็อาจเป็นอันตรายและเป็นพิษต่อร่างกาย จึงควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเค้าจะเติบโตและมีพัฒนาการที่ดี

  •  การพบสัตวแพทย์ – การพูดคุยกับสัตวแพทย์จะช่วยให้คุณได้รับคำแนะนำด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์และช่วยให้ลูกสุนัขมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ก่อนตัดสินเลือกสัตวแพทย์ประจำตัวลูกสุนัข คุณควรตรวจสอบรายละเอียดที่สำคัญให้เรียบร้อย เช่น ประสบการณ์ทางการแพทย์ ความชำนาญพิเศษของคุณหมอ และสถานที่ตั้งของคลินิกหรือโรงพยาบาล
  • การตรวจสุขภาพ – สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบบางอย่างเพื่อวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติหรือโรคต่าง ๆ เช่น การตรวจอุจจาระเพื่อหาพยาธิ หรือการตรวจร่างกายตั้งแต่หัวจรดหาง ทั้งเส้นขน ดวงตา ใบหู และช่องปาก
  • การให้ยา – สัตวแพทย์อาจสั่งจ่ายยาหรืออาหารเสริมเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยและทดแทนสารอาหารบางชนิดที่ขาดไป อย่างไรก็ตาม การให้ยาลูกสุนัขนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่พ่อแม่ทุกคนสามารถทำได้ เพียงแค่ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
  1. ขั้นตอนที่ 1 – เริ่มต้นด้วยการชวนเล่นเพื่อให้ลูกสุนัขรู้สึกผ่อนคลาย พูดชมเชยเมื่อพวกเค้าเป็นเด็กดี และนั่งลงใกล้ ๆ เมื่อพวกเค้ามีท่าทีที่สงบลง
  2. ขั้นตอนที่ 2 – ถือยาไว้ในมือข้างหนึ่ง และค่อย ๆ เปิดปากลูกสุนัขโดยใช้มืออีกข้างที่ว่างอยู่
  3. ขั้นตอนที่ 3 – วางยาไว้ที่ปลายลิ้นของลูกสุนัข จากนั้นให้รีบปิดปากลูกสุนัขของคุณแล้วเป่าเบา ๆ ไปที่จมูก การเป่าลมที่จมูกจะทำให้ลูกสุนัขกลืนเม็ดยาลงไป
  4. ขั้นตอนที่ 4 – ให้ขนมแสนอร่อยเป็นรางวัลและชวนพวกเค้าเล่นกันต่ออีกสักพัก

นอกจากการตรวจสุขภาพร่างกายแล้ว ผู้เลี้ยงควรจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับลูกสุนัขให้พร้อมด้วย การฝึกทำตามคำสั่งและการเข้าสังคมก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน อย่างการฝึกขับถ่ายให้เป็นที่เป็นทางตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อเสริมสร้างสุขอนามัยและพฤติกรรมที่ดีให้กับเจ้าตัวน้อยของคุณ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพลูกสุนัข

  1. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกสุนัขมีสุขภาพดี?
  2. ต้องหมั่นสังเกตลูกสุนัขทุกวัน คอยเช็กสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพหรืออาการผิดปกติต่าง ๆ หากพบว่าลูกสุนัขมีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ ลักษณะทางกายภาพ การขับถ่าย สุขภาพเส้นขน หรือมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกไป แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด

  3. สัญญาณสุขภาพดี 5 ประการของลูกสุนัขมีอะไรบ้าง?
  4. ขนนุ่มเงางาม หูสะอาด ดวงตาสดใส จมูกโล่ง และร่าเริง ถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกสุนัขของคุณมีสุขภาพดี

  5. ลูกสุนัขที่เจ็บป่วยมักจะมีอาการใดบ้าง?
  6. ลูกสุนัขที่ป่วยมักจะมีอาการผิดปกติ เช่น ท้องเสีย อาเจียน คันเนื้อคันตัว ส่งเสียงครวญคราง และมีอาการอ่อนเพลีย

  • การฝึกลูกสุนัขให้มีวินัยและรู้จักกฎระเบียบของบ้าน
    การฝึกลูกสุนัขให้มีวินัยและรู้จักกฎระเบียบของบ้าน
    adp_description_block305
    การฝึกลูกสุนัขให้มีวินัยและรู้จักกฎระเบียบของบ้าน

    • แบ่งปัน

    การมีเจ้าตัวน้อยอยู่ในบ้านคงทำให้ทุก ๆ วันของพ่อแม่มะหมามีทั้งความสุขและความสนุก สำหรับพ่อแม่บางคน นี่คือความฝันที่กลายเป็นจริงในที่สุด แต่การเลี้ยงน้องหมาไม่ได้ง่ายอย่างที่หลาย ๆ คนคาดคิด โดยเฉพาะเมื่อพวกเค้าไม่ได้รับการฝึกอย่างเหมาะสม
     

    หากผู้เลี้ยงละเลยการฝึกฝนอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้ ลูกสุนัขอาจมีพฤติกรรมไม่น่ารัก ทำลายข้าวของในบ้าน และไม่เชื่อฟังคำสั่ง แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้คุณและครอบครัวหัวหมุนได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตาม มือใหม่หัดเลี้ยงส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับวิธีจัดการและควบคุมเจ้าตัวน้อยแสนซน หากคุณเป็นหนึ่งในนั้น นี่คือทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการฝึกลูกสุนัขที่บ้าน

    • เริ่มด้วยการเตรียมตัวให้พร้อม

    กระบวนการฝึกต้องใช้เวลา ความอดทน และความตั้งใจ ไม่สามารถทำเล่น ๆ หรือทำแบบขอไปทีได้ ผู้เลี้ยงต้องทำเป็นกิจวัตรเพื่อให้น้องหมาคุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกใส่สายจูงหรือการขับถ่ายให้เป็นที่
     

    ข้อควรรู้ – น้องหมาต้องใช้เวลาปรับตัวในสภาพแวดล้อมใหม่ คุณอาจต้องวางแผนการฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่าเร่งรัดและกดดันพวกเค้าจนเกินไป

    • การกำหนดตารางเวลาและทำให้เป็นกิจวัตร

    วิธีนี้จะส่งผลดีในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นสำหรับเราหรือน้องหมา การกำหนดตารางเวลาที่ชัดเจนจะช่วยให้น้องหมาเรียนรู้ว่าเวลาไหนต้องกินอาหาร เล่น นอน หรือขับถ่าย ซึ่งช่วยลดปัญหาขับถ่ายเรี่ยราดได้ดี
     

    การพาน้องหมาออกไปเดินเล่นและขับถ่ายนอกบ้านควรทำเป็นเวลา แนะนำให้พาพวกเค้าออกไปเดินเล่นทันทีหลังจากตื่นนอน เมื่อถึงเวลาเล่นสนุก และหลังจากกินอาหารเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรเว้นระยะห่างระหว่างมื้ออาหารและเวลานอนให้เหมาะสม ลูกสุนัขจะได้ไม่ต้องกลั้นปัสสาวะนานจนเกินไป
     

    เมื่อลูกสุนัขโตขึ้น พวกเค้าจะกลั้นปัสสาวะได้นานขึ้น ตัวอย่างเช่น ลูกสุนัขวัย 2 เดือน จะกลั้นขับถ่ายได้นาน 2 ชั่วโมง แต่ระยะเวลามากสุดที่น้องหมาทำได้คือ 6 ชั่วโมง ไม่ควรปล่อยให้กลั้นนานเกินกว่านี้

    • การใช้คำสั่งร่วมกับการฝึก

    การใช้คำสั่งจะช่วยให้เราสื่อสารกับน้องหมาได้ดีขึ้น หากใช้คำสั่งซ้ำ ๆ กับการกระทำบางอย่าง น้องหมาจะเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคำพูดและการกระทำของคุณ เช่น พูดว่า “ไปคาบมา” ในขณะที่คุณโยนของเล่นหรือกิ่งไม้ น้องหมาจะเข้าใจว่าต้องไปเอาของกลับมา ในทำนองเดียวกัน เมื่อพาพวกเค้าไปขับถ่าย ให้พูดว่า “อึ” หรือ “เบ่ง” โดยชี้ไปที่จุดใดจุดหนึ่งด้วย สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเค้าเรียนรู้ว่าต้องทำอย่างไรต่อไป

    • การให้รางวัลเมื่อน้องหมาทำได้ดี

    การให้รางวัลช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณกับน้องหมา รางวัลเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบของขนม คำชม หรือช่วงเวลาเล่นกับของเล่นชิ้นโปรด นอกจากนี้การให้รางวัลยังช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี ทำให้พวกเค้าฝึกคำสั่งใหม่ ๆ ได้ดีขึ้น คุณสามารถให้รางวัลก่อนหรือหลังการฝึกก็ได้ แต่หลีกเลี่ยงการให้กลางคัน เช่น ระหว่างการขับถ่าย ควรรอให้พวกเค้าขับถ่ายเสร็จเรียบร้อยก่อน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

    ข้อควรระวัง – หากการฝึกขับถ่ายได้ผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้ผลเลย ให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อเช็กให้แน่ใจว่าไม่ได้เกิดจากปัญหาทางสุขภาพ เช่น การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ

    • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

    คุณต้องเข้าใจว่าการฝึกเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน ลูกสุนัขอาจใช้เวลาในการเรียนรู้มากน้อยแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม หากฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ พวกเค้าจะเชื่อฟังและเรียนรู้ได้ดีขึ้น ต่อไปนี้คือเรื่องที่เจ้าของควรรู้ก่อนเริ่มต้นฝึกลูกสุนัข

    • หลีกเลี่ยงการลงโทษเมื่อลูกสุนัขขับถ่ายไม่เป็นที่ เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวหรืออาจตอบโต้ด้วยพฤติกรรมก้าวร้าว
    • หากลูกสุนัขขับถ่ายเป็นที่ ให้รางวัลพวกเค้า แต่ควรรอจนกว่าพวกเค้าจะขับถ่ายเสร็จเรียบร้อย
    • ควรอยู่เป็นเพื่อนลูกสุนัขตลอดเวลาขับถ่าย หากพวกเค้าใช้เวลานานกว่าปกติ ไม่ควรเร่งหรือบังคับให้พวกเค้าขับถ่าย