IAMS TH
Puppy Basics: Health Care Essentials
Puppy Basics: Health Care Essentials

adp_description_block351
การตรวจสุขภาพของลูกสุนัขตัวใหม่

  • แบ่งปัน

ลูกสุนัขก็เหมือนกับเด็กทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าต้องการความรัก ความเอาใจใส่ และการดูแลอย่างดีในช่วงเจริญเติบโต โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและโภชนาการที่มีความสำคัญมากในช่วงเดือนแรก ลูกสุนัขควรได้รับการดูแลป้องกันควบคู่ไปกับการให้อาหารที่เหมาะสม สำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่สงสัยว่ารายการตรวจสุขภาพของลูกสุนัขมีอะไรบ้าง มาติดตามไปพร้อม ๆ กันเลย
 

การดูแลสุขภาพที่สำคัญสำหรับลูกสุนัข

หน้าที่สำคัญที่สุดของผู้เลี้ยงทุกคนคือการดูแลสุขภาพของเจ้าตัวน้อยให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคร้าย ซึ่งการดูแลป้องกันที่สำคัญมีดังนี้

  • การพบสัตวแพทย์ – สัตวแพทย์จะตรวจร่างกายลูกสุนัขอย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัยอาการแพ้หรือปัญหาสุขภาพต่าง ๆ รวมถึงจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลป้องกันและการกรูมมิ่งอย่างถูกต้อง การนัดพบสัตวแพทย์จะช่วยให้คุณเข้าใจข้อกำหนดด้านสุขภาพและพฤติกรรมของเจ้าตัวน้อยมากยิ่งขึ้น 
  • การถ่ายพยาธิ – การติดเชื้อพยาธิเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในลูกสุนัข สัตวแพทย์จึงมักจะแนะนำให้ตรวจอุจจาระเพื่อหาพยาธิและปรสิต รวมถึงจะให้ถ่ายพยาธิกันตั้งแต่การนัดพบครั้งแรก
  • การฉีดวัคซีน – ลูกสุนัขควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อและโรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น โรคตับอักเสบ โรคไข้หัด โรคพิษสุนัขบ้า ไวรัสพาราอินฟลูเอนซา พาร์โวไวรัส และโรคปอดอักเสบ หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนก็สามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้
  • การป้องกันเห็บหมัด – เห็บและหมัดก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อย มันส่งผลต่อสุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดีของลูกสุนัข เนื่องจากปรสิตเหล่านี้จะดูดเลือดและสารอาหารจากร่างกาย อีกทั้งยังสร้างความระคายเคืองให้กับลูกสุนัขด้วย จึงควรป้องกันเห็บและหมัดเป็นประจำ
  • การจัดตารางออกกำลังกาย – เนื่องจากลูกสุนัขอยู่ในวัยชอบสำรวจและเต็มไปด้วยพลัง ผู้เลี้ยงจึงควรจัดตารางออกกำลังกายหรือหากิจกรรมให้พวกเค้าทำเป็นประจำ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกสุนัขเพลิดเพลินและมีสุขภาพดี การใช้เวลาเล่นกับลูกสุนัขยังช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และเป็นโอกาสดีที่จะสังเกตลูกสุนัขเพื่อประเมินพัฒนาการ สุขภาพ และอารมณ์
  • การเลือกอาหาร – แม้จะมีขนาดตัวเล็ก แต่ลูกสุนัขต้องการพลังงานมากเนื่องจากอยู่ในวัยเจริญเติบโต ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเค้าได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล ทั้งโปรตีน ไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ และคาร์โบไฮเดรต รวมถึงควรให้อาหารพวกเค้าอย่างน้อย 3 – 4 มื้อต่อวัน เพื่อรองรับความต้องการทางโภชนาการและการเติบโตอย่างแข็งแรง

ขอแนะนำไอแอมส์™ อาหารลูกสุนัขเกรดพรีเมียม อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนและสมดุลเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี ผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพสูง ย่อยง่าย ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น
 

การดูแลรักษาลูกสุนัข

ลูกสุนัขยังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจว่าอะไรดีหรือไม่ดี พวกเค้าขาดทักษะการรับรู้และการประเมินความเสี่ยง อีกทั้งยังมีความกระตือรือร้นสูง อยากรู้อยากเห็น ขี้เล่น และชอบกัดแทะสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งบางอย่างก็อาจเป็นอันตรายและเป็นพิษต่อร่างกาย จึงควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเค้าจะเติบโตและมีพัฒนาการที่ดี

  •  การพบสัตวแพทย์ – การพูดคุยกับสัตวแพทย์จะช่วยให้คุณได้รับคำแนะนำด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์และช่วยให้ลูกสุนัขมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ก่อนตัดสินเลือกสัตวแพทย์ประจำตัวลูกสุนัข คุณควรตรวจสอบรายละเอียดที่สำคัญให้เรียบร้อย เช่น ประสบการณ์ทางการแพทย์ ความชำนาญพิเศษของคุณหมอ และสถานที่ตั้งของคลินิกหรือโรงพยาบาล
  • การตรวจสุขภาพ – สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบบางอย่างเพื่อวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติหรือโรคต่าง ๆ เช่น การตรวจอุจจาระเพื่อหาพยาธิ หรือการตรวจร่างกายตั้งแต่หัวจรดหาง ทั้งเส้นขน ดวงตา ใบหู และช่องปาก
  • การให้ยา – สัตวแพทย์อาจสั่งจ่ายยาหรืออาหารเสริมเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยและทดแทนสารอาหารบางชนิดที่ขาดไป อย่างไรก็ตาม การให้ยาลูกสุนัขนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่พ่อแม่ทุกคนสามารถทำได้ เพียงแค่ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
  1. ขั้นตอนที่ 1 – เริ่มต้นด้วยการชวนเล่นเพื่อให้ลูกสุนัขรู้สึกผ่อนคลาย พูดชมเชยเมื่อพวกเค้าเป็นเด็กดี และนั่งลงใกล้ ๆ เมื่อพวกเค้ามีท่าทีที่สงบลง
  2. ขั้นตอนที่ 2 – ถือยาไว้ในมือข้างหนึ่ง และค่อย ๆ เปิดปากลูกสุนัขโดยใช้มืออีกข้างที่ว่างอยู่
  3. ขั้นตอนที่ 3 – วางยาไว้ที่ปลายลิ้นของลูกสุนัข จากนั้นให้รีบปิดปากลูกสุนัขของคุณแล้วเป่าเบา ๆ ไปที่จมูก การเป่าลมที่จมูกจะทำให้ลูกสุนัขกลืนเม็ดยาลงไป
  4. ขั้นตอนที่ 4 – ให้ขนมแสนอร่อยเป็นรางวัลและชวนพวกเค้าเล่นกันต่ออีกสักพัก

นอกจากการตรวจสุขภาพร่างกายแล้ว ผู้เลี้ยงควรจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับลูกสุนัขให้พร้อมด้วย การฝึกทำตามคำสั่งและการเข้าสังคมก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน อย่างการฝึกขับถ่ายให้เป็นที่เป็นทางตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อเสริมสร้างสุขอนามัยและพฤติกรรมที่ดีให้กับเจ้าตัวน้อยของคุณ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพลูกสุนัข

  1. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกสุนัขมีสุขภาพดี?
  2. ต้องหมั่นสังเกตลูกสุนัขทุกวัน คอยเช็กสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพหรืออาการผิดปกติต่าง ๆ หากพบว่าลูกสุนัขมีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ ลักษณะทางกายภาพ การขับถ่าย สุขภาพเส้นขน หรือมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกไป แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด

  3. สัญญาณสุขภาพดี 5 ประการของลูกสุนัขมีอะไรบ้าง?
  4. ขนนุ่มเงางาม หูสะอาด ดวงตาสดใส จมูกโล่ง และร่าเริง ถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกสุนัขของคุณมีสุขภาพดี

  5. ลูกสุนัขที่เจ็บป่วยมักจะมีอาการใดบ้าง?
  6. ลูกสุนัขที่ป่วยมักจะมีอาการผิดปกติ เช่น ท้องเสีย อาเจียน คันเนื้อคันตัว ส่งเสียงครวญคราง และมีอาการอ่อนเพลีย

  • 5 เหตุผลที่สุนัขของคุณนอนหลับนาน
    5 เหตุผลที่สุนัขของคุณนอนหลับนาน
    adp_description_block352
    5 เหตุผลที่สุนัขของคุณนอนหลับนาน

    • แบ่งปัน

    ใครเคยเป็นบ้าง? อยากสลับตัวกับน้องหมา เพราะอิจฉาที่น้องหมาได้นอนทั้งวัน ไม่ต้องทำงาน แค่พักผ่อนสบาย ๆ อยู่ในบ้าน แม้ว่าจะนอนหลับเต็มอิ่มมาตลอดทั้งคืนแล้ว แต่น้องหมาก็ยังสามารถงีบหลับได้ในช่วงกลางวัน อาจเห็นพวกเค้านอนอาบแดด หลับไปบนโซฟา หรือแค่งีบหลับอยู่ใกล้ ๆ ตัวเรา และเมื่อตื่นขึ้นมาหลังจากงีบหลับไป เจ้าตัวน้อยของคุณก็จะเต็มไปด้วยพลังและพร้อมสำหรับการเล่นอย่างจริงจัง

     

    ทำไมสุนัขของฉันถึงนอนมาก? สุนัขนอนกลางคืนกี่ชั่วโมง? สุนัขนอนทั้งวันผิดปกติหรือไม่? คำถามเหล่านี้พบบ่อยมากในหมู่ผู้เลี้ยงสุนัข เพราะสัตว์หลายชนิด รวมถึงสุนัขด้วย มีพฤติกรรมการนอนแตกต่างจากคน นอกจากนี้วงจรการนอนหลับของสุนัขก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ สุขภาพ และรูปแบบการใช้ชีวิต อ่านบทความของเราเพื่อค้นหาคำตอบว่าน้องหมานอนวันละกี่ชั่วโมง พร้อมทำความเข้าใจพฤติกรรมการนอนของพวกเค้ากันให้มากขึ้น
     

    สุนัขนอนกี่ชั่วโมงในแต่ละวัน?

    สุนัขจำเป็นต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งระยะเวลาในการนอนอาจมากกว่าเรา และเพราะเป็นสัตว์กินเนื้อจึงนอนหลับมากกว่าสัตว์กินพืช เนื่องจากการนอนเป็นอันตรายต่อสัตว์ที่เป็นเหยื่อมากกว่า ระยะเวลาในการนอนหลับของสุนัขจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ สุขภาพโดยรวม และรูปแบบการใช้ชีวิต โดยอายุถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด
     

    สุนัขนอนทั้งวันจริงหรือไม่? โดยทั่วไป สุนัขจะนอนหลับประมาณ 12 – 14 ชั่วโมงต่อวัน แต่สำหรับลูกสุนัขอาจนอนนานกว่านี้ เนื่องจากลูกสุนัขจำเป็นต้องพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อฟื้นฟูร่างกายในช่วง 2 – 3 เดือนแรกของชีวิต เรามาดูกันว่าอายุส่งผลต่อวงจรการนอนหลับของสุนัขอย่างไรบ้าง

    • ลูกสุนัข

    ลูกสุนัขต้องนอนมากเท่าที่ร่างกายต้องการเพื่อการเจริญเติบโตและการฟื้นฟู เป็นเรื่องปกติหากลูกสุนัขจะนอนหลับเกือบทั้งวัน ความจริงแล้ว ลูกสุนัขมักจะนอนหลับในช่วงกลางวันและนอนน้อยลงในช่วงกลางคืน

    • สุนัขโต

    สุนัขโตเต็มวัยจะนอนประมาณ 8 – 13 ชั่วโมง หรือโดยเฉลี่ย 11 ชั่วโมงต่อวัน สุนัขโตมักจะนอนได้นานขึ้นในตอนกลางคืน ขึ้นอยู่กับกิจวัตรประจำวันของพวกเค้าและผู้เลี้ยง อย่างไรก็ตาม การงีบหลับในช่วงกลางวันก็ยังคงเกิดขึ้นตามปกติ พวกเค้าอาจนอนสองสามชั่วโมงระหว่างวัน

    • สุนัขสูงวัย

    สุนัขสูงอายุนอนหลับได้มากเท่ากับลูกสุนัข มักจะไม่ตื่นขึ้นมากลางดึกและงีบหลับเป็นเวลาหลายชั่วโมงตลอดทั้งวัน การนอนหลับช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่และฟื้นตัวได้ดีเมื่อมีอายุมากขึ้น
     

    สุนัขนอนหลับมากเกินไปหรือเปล่า?

    น้องหมานอนเยอะมาก พฤติกรรมนี้ผิดปกติหรือเปล่า? สุนัขทุกช่วงวัยนอนหลับเฉลี่ยประมาณ 15 ชั่วโมงต่อวัน น้องหมาแต่ละตัวมีความแตกต่างกัน ทั้งความต้องการ สุขภาพ และกิจวัตรประจำวัน หากคุณหมั่นสังเกตพฤติกรรม ในไม่ช้า คุณก็จะเข้าใจวิธีการทำงานของร่างกายและวงจรการนอนหลับของน้องหมา
     

    หากคุณกังวลที่น้องหมานอนเยอะเกินไป อย่าลังเลที่จะปรึกษาสัตวแพทย์ เป็นการดีกว่าเสมอที่จะคลายข้อสงสัยของคุณและพาเจ้าตัวน้อยไปตรวจสุขภาพเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เนื่องจากปัญหาสุขภาพเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้น้องหมานอนเยอะกว่าปกติ เช่น โรคเบาหวาน อาการซึมเศร้า และความวิตกกังวล
     

    สาเหตุที่สุนัขนอนหลับมาก

    มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้น้องหมานอนหลับมากหรือนอนนานเกินไป โดยปัญหาสุขภาพเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย จึงแนะนำให้หมั่นพาน้องหมาไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ แต่นอกจากปัญหาสุขภาพแล้ว น้องหมาอาจนอนหลับนานขึ้นเพราะสาเหตุเหล่านี้ได้เช่นกัน

    • ความเครียด ความวิตกกังวล และความเบื่อหน่าย

    หากbbที่ง่ายที่สุดคือความเบื่อหน่าย บางครั้งน้องหมาก็เลือกที่จะนอนเพียงเพราะไม่มีอะไรทำ แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากความเครียดและความวิตกกังวล โดยคุณจะพบว่าน้องหมามีอาการเซื่องซึมและเผลอหลับบ่อย ๆ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการสร้างกิจวัตรประจำวัน พยายามแบ่งเวลาเล่นและออกกำลังกายให้เพียงพอต่อความต้องการของพวกเค้า

    • โรคเบาหวาน

    น้องหมาอาจเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ในปริมาณที่ต้องการ สุนัขบางพันธุ์มีความเสี่ยงต่อโรคนี้สูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ

    • การติดเชื้อไวรัส

    การติดเชื้อไวรัสในสุนัขติดต่อได้ง่ายและอาจส่งผลต่อร่างกายอย่างรุนแรง น้องหมาจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ตามปกติ ทำให้ร่างกายขาดน้ำ และอาจมีภาวะขาดโปรตีนด้วย การฟื้นตัวจากโรคนี้มักจะใช้เวลานานพอสมควร แนะนำให้ฉีดวัคซีนลูกสุนัขตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

    • การติดเชื้อแบคทีเรีย

    การติดเชื้อแบคทีเรียเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในสุนัข อีกทั้งยังติดต่อได้ง่ายผ่านการสัมผัสปัสสาวะของสุนัขตัวอื่น และสามารถแพร่กระจายมาสู่คนได้เช่นกัน การติดเชื้อนี้อาจทำให้ร่างกายหมดพลังงาน ส่งผลให้น้องหมานอนหลับบ่อยผิดปกติ

    • การได้รับสารพิษ

    หากน้องหมาไม่ได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมและชอบกินของแปลกปลอม ความเสี่ยงต่อการได้รับพิษก็จะมากขึ้น นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการให้อาหารของคนหลายชนิด เนื่องจากเป็นอันตรายต่อสุนัข เช่น อะโวคาโด เครื่องเทศ กาแฟ และชีสบางชนิด
     

    ตอนนี้คุณรู้แล้วว่าในหนึ่งวันสุนัขนอนกี่ชั่วโมง หากพบว่าน้องหมามีอาการผิดปกติหรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างกะทันหัน ควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์ทันที

Close modal