IAMS TH
Puppy Basics: Health Care Essentials
Puppy Basics: Health Care Essentials

adp_description_block216
การตรวจสุขภาพของลูกสุนัขตัวใหม่

  • แบ่งปัน

ลูกสุนัขก็เหมือนกับเด็กทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าต้องการความรัก ความเอาใจใส่ และการดูแลอย่างดีในช่วงเจริญเติบโต โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและโภชนาการที่มีความสำคัญมากในช่วงเดือนแรก ลูกสุนัขควรได้รับการดูแลป้องกันควบคู่ไปกับการให้อาหารที่เหมาะสม สำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่สงสัยว่ารายการตรวจสุขภาพของลูกสุนัขมีอะไรบ้าง มาติดตามไปพร้อม ๆ กันเลย
 

การดูแลสุขภาพที่สำคัญสำหรับลูกสุนัข

หน้าที่สำคัญที่สุดของผู้เลี้ยงทุกคนคือการดูแลสุขภาพของเจ้าตัวน้อยให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคร้าย ซึ่งการดูแลป้องกันที่สำคัญมีดังนี้

  • การพบสัตวแพทย์ – สัตวแพทย์จะตรวจร่างกายลูกสุนัขอย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัยอาการแพ้หรือปัญหาสุขภาพต่าง ๆ รวมถึงจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลป้องกันและการกรูมมิ่งอย่างถูกต้อง การนัดพบสัตวแพทย์จะช่วยให้คุณเข้าใจข้อกำหนดด้านสุขภาพและพฤติกรรมของเจ้าตัวน้อยมากยิ่งขึ้น 
  • การถ่ายพยาธิ – การติดเชื้อพยาธิเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในลูกสุนัข สัตวแพทย์จึงมักจะแนะนำให้ตรวจอุจจาระเพื่อหาพยาธิและปรสิต รวมถึงจะให้ถ่ายพยาธิกันตั้งแต่การนัดพบครั้งแรก
  • การฉีดวัคซีน – ลูกสุนัขควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อและโรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น โรคตับอักเสบ โรคไข้หัด โรคพิษสุนัขบ้า ไวรัสพาราอินฟลูเอนซา พาร์โวไวรัส และโรคปอดอักเสบ หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนก็สามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้
  • การป้องกันเห็บหมัด – เห็บและหมัดก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อย มันส่งผลต่อสุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดีของลูกสุนัข เนื่องจากปรสิตเหล่านี้จะดูดเลือดและสารอาหารจากร่างกาย อีกทั้งยังสร้างความระคายเคืองให้กับลูกสุนัขด้วย จึงควรป้องกันเห็บและหมัดเป็นประจำ
  • การจัดตารางออกกำลังกาย – เนื่องจากลูกสุนัขอยู่ในวัยชอบสำรวจและเต็มไปด้วยพลัง ผู้เลี้ยงจึงควรจัดตารางออกกำลังกายหรือหากิจกรรมให้พวกเค้าทำเป็นประจำ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกสุนัขเพลิดเพลินและมีสุขภาพดี การใช้เวลาเล่นกับลูกสุนัขยังช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และเป็นโอกาสดีที่จะสังเกตลูกสุนัขเพื่อประเมินพัฒนาการ สุขภาพ และอารมณ์
  • การเลือกอาหาร – แม้จะมีขนาดตัวเล็ก แต่ลูกสุนัขต้องการพลังงานมากเนื่องจากอยู่ในวัยเจริญเติบโต ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเค้าได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล ทั้งโปรตีน ไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ และคาร์โบไฮเดรต รวมถึงควรให้อาหารพวกเค้าอย่างน้อย 3 – 4 มื้อต่อวัน เพื่อรองรับความต้องการทางโภชนาการและการเติบโตอย่างแข็งแรง

ขอแนะนำไอแอมส์™ อาหารลูกสุนัขเกรดพรีเมียม อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนและสมดุลเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี ผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพสูง ย่อยง่าย ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น
 

การดูแลรักษาลูกสุนัข

ลูกสุนัขยังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจว่าอะไรดีหรือไม่ดี พวกเค้าขาดทักษะการรับรู้และการประเมินความเสี่ยง อีกทั้งยังมีความกระตือรือร้นสูง อยากรู้อยากเห็น ขี้เล่น และชอบกัดแทะสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งบางอย่างก็อาจเป็นอันตรายและเป็นพิษต่อร่างกาย จึงควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเค้าจะเติบโตและมีพัฒนาการที่ดี

  •  การพบสัตวแพทย์ – การพูดคุยกับสัตวแพทย์จะช่วยให้คุณได้รับคำแนะนำด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์และช่วยให้ลูกสุนัขมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ก่อนตัดสินเลือกสัตวแพทย์ประจำตัวลูกสุนัข คุณควรตรวจสอบรายละเอียดที่สำคัญให้เรียบร้อย เช่น ประสบการณ์ทางการแพทย์ ความชำนาญพิเศษของคุณหมอ และสถานที่ตั้งของคลินิกหรือโรงพยาบาล
  • การตรวจสุขภาพ – สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบบางอย่างเพื่อวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติหรือโรคต่าง ๆ เช่น การตรวจอุจจาระเพื่อหาพยาธิ หรือการตรวจร่างกายตั้งแต่หัวจรดหาง ทั้งเส้นขน ดวงตา ใบหู และช่องปาก
  • การให้ยา – สัตวแพทย์อาจสั่งจ่ายยาหรืออาหารเสริมเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยและทดแทนสารอาหารบางชนิดที่ขาดไป อย่างไรก็ตาม การให้ยาลูกสุนัขนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่พ่อแม่ทุกคนสามารถทำได้ เพียงแค่ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
  1. ขั้นตอนที่ 1 – เริ่มต้นด้วยการชวนเล่นเพื่อให้ลูกสุนัขรู้สึกผ่อนคลาย พูดชมเชยเมื่อพวกเค้าเป็นเด็กดี และนั่งลงใกล้ ๆ เมื่อพวกเค้ามีท่าทีที่สงบลง
  2. ขั้นตอนที่ 2 – ถือยาไว้ในมือข้างหนึ่ง และค่อย ๆ เปิดปากลูกสุนัขโดยใช้มืออีกข้างที่ว่างอยู่
  3. ขั้นตอนที่ 3 – วางยาไว้ที่ปลายลิ้นของลูกสุนัข จากนั้นให้รีบปิดปากลูกสุนัขของคุณแล้วเป่าเบา ๆ ไปที่จมูก การเป่าลมที่จมูกจะทำให้ลูกสุนัขกลืนเม็ดยาลงไป
  4. ขั้นตอนที่ 4 – ให้ขนมแสนอร่อยเป็นรางวัลและชวนพวกเค้าเล่นกันต่ออีกสักพัก

นอกจากการตรวจสุขภาพร่างกายแล้ว ผู้เลี้ยงควรจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับลูกสุนัขให้พร้อมด้วย การฝึกทำตามคำสั่งและการเข้าสังคมก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน อย่างการฝึกขับถ่ายให้เป็นที่เป็นทางตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อเสริมสร้างสุขอนามัยและพฤติกรรมที่ดีให้กับเจ้าตัวน้อยของคุณ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพลูกสุนัข

  1. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกสุนัขมีสุขภาพดี?
  2. ต้องหมั่นสังเกตลูกสุนัขทุกวัน คอยเช็กสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพหรืออาการผิดปกติต่าง ๆ หากพบว่าลูกสุนัขมีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ ลักษณะทางกายภาพ การขับถ่าย สุขภาพเส้นขน หรือมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกไป แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด

  3. สัญญาณสุขภาพดี 5 ประการของลูกสุนัขมีอะไรบ้าง?
  4. ขนนุ่มเงางาม หูสะอาด ดวงตาสดใส จมูกโล่ง และร่าเริง ถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกสุนัขของคุณมีสุขภาพดี

  5. ลูกสุนัขที่เจ็บป่วยมักจะมีอาการใดบ้าง?
  6. ลูกสุนัขที่ป่วยมักจะมีอาการผิดปกติ เช่น ท้องเสีย อาเจียน คันเนื้อคันตัว ส่งเสียงครวญคราง และมีอาการอ่อนเพลีย

  • เปิดเคล็ดลับการฝึกใช้สายจูงให้น้องหมา
    เปิดเคล็ดลับการฝึกใช้สายจูงให้น้องหมา
    adp_description_block471
    เปิดเคล็ดลับการฝึกใช้สายจูงให้น้องหมา

    • แบ่งปัน

    การฝึกใช้สายจูงช่วยให้น้องหมาสำรวจโลกภายนอกได้อย่างปลอดภัย พวกเค้าจะมีประสบการณ์การเดินเล่นที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม น้องหมาไม่ได้เกิดมาพร้อมความสามารถในการเดินโดยใช้สายจูง พวกเค้าจำเป็นต้องได้รับการฝึกสอนทักษะนี้เพิ่มเติม
     

    หากคุณเลี้ยงน้องหมาพันธุ์ใหญ่ ควรฝึกการใช้สายจูงให้พวกเค้าตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะเมื่อโตขึ้น น้ำหนักตัวของพวกเค้าก็จะเพิ่มมากขึ้น สิ่งนี้จะทำให้คุณควบคุมพวกเค้าได้ยาก คุณอาจโดนพวกเค้าลากไปมา หรือไม่น้องหมาของคุณก็อาจวิ่งเตลิดจนเกิดปัญหาวุ่นวายได้
     

    สำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่สงสัยว่า ควรฝึกลูกสุนัขใช้สายจูงตั้งแต่อายุเท่าไหร่? คำตอบคือเริ่มฝึกได้ตั้งแต่อายุ 10 สัปดาห์ หรืออาจฝึกก่อนหน้านั้นก็ได้เช่นกัน การฝึกทักษะนี้จะช่วยให้ลูกสุนัขของคุณเติบโตเป็นเพื่อนที่น่ารักและเชื่อฟัง การเดินทางหรือผจญภัยไปด้วยกันก็จะง่ายขึ้น!
     

    มาติดตามเคล็ดลับและคำแนะนำดี ๆ ในการฝึกลูกสุนัขใช้สายจูงไปพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นผู้เลี้ยงมือใหม่หรือมือโปรก็สามารถทำตามได้

    • เลือกปลอกคอที่มีขนาดพอดี

    การเลือกปลอกคอเป็นขั้นตอนแรกในการทำให้น้องหมาคุ้นเคยกับสายจูง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าปลอกคอไม่แน่นหรือหลวมเกินไป เมื่อใช้นิ้วมือสอดลงไปควรมีช่องว่างระหว่างปลอกคออย่างน้อยสองนิ้ว เพื่อให้น้องหมาหายใจสะดวกและไม่รู้สึกอึดอัด

    ข้อควรรู้ – หากคุณวางแผนจะฝึกลูกสุนัขตั้งแต่อายุยังน้อย ควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด และหมั่นตรวจสอบความพอดีของปลอกคอ เนื่องจากเจ้าตัวน้อยของคุณยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต

    • ทำความคุ้นเคยกับสายจูง

    ลูกสุนัขอาจใช้เวลาสักพักในการปรับตัวและยอมรับอุปกรณ์ใหม่นี้ คุณสามารถช่วยให้พวกเค้าคุ้นเคยได้เร็วขึ้นด้วยเทคนิคง่าย ๆ โดยเริ่มจากปล่อยให้พวกเค้าดมกลิ่นและเล่นกับสายจูงก่อน อาจใส่ให้ทุกครั้งที่เล่นสนุกด้วยกันในบ้าน แต่ควรหลีกเลี่ยงการใส่สายจูงเมื่อน้องหมาอยู่ตามลำพัง ตอนเศร้าหรือหงุดหงิด

    • ให้รางวัลเมื่อการฝึกเป็นไปด้วยดี

    ในการฝึกเดินโดยใช้สายจูง แนะนำให้ถือขนมไว้ในมือ จากนั้นถอยหลังไปสองสามก้าว สิ่งนี้จะกระตุ้นให้น้องหมาเดินไปหาคุณเพื่อกินขนมแสนอร่อย แต่เพื่อป้องกันการกินขนมมากเกินไป อาจเปลี่ยนมาให้รางวัลเป็นของเล่น คำชมเชย หรือการลูบหัวลูบตัวแทน ทั้งนี้การให้รางวัลจะช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี และกระตุ้นให้ลูกสุนัขอยากฝึกในครั้งต่อ ๆ ไป

    เคล็ดลับน่ารู้ – กำหนดระยะเวลาในการฝึกให้เหมาะสม ไม่ควรฝึกเป็นเวลาหลายชั่วโมง เพราะลูกสุนัขอาจจะเหนื่อยและหลีกเลี่ยงการฝึก

    • ฝึกเดินเล่นในบ้าน

    นอกจากจะสร้างความคุ้นเคยให้น้องหมาแล้ว ยังเป็นโอกาสให้คุณสังเกตท่าทีของน้องหมาเมื่อต้องเดินโดยใช้สายจูงอีกด้วย แนะนำให้เลือกพื้นที่โล่งกว้างในการฝึก พร้อมตรวจเช็กให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งกีดขวางใด หลังจากการฝึกก็ควรให้รางวัลเป็นขนมที่พวกเค้าโปรดปราน ขั้นตอนนี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญ เพราะทำให้รู้ว่าลูกสุนัขของคุณพร้อมจะลงสนามจริงแล้วหรือไม่

    • เริ่มออกไปเดินเล่นนอกบ้าน

    การฝึกลูกสุนัขเต็มไปด้วยเรื่องที่ไม่คาดคิดและน่าประหลาดใจ หากคุณคิดว่าเจ้าตัวน้อยจะเดินเล่นนอกบ้านได้อย่างราบรื่นหลังฝึกเดินในบ้านมาแล้ว คุณคิดผิด! ความอยากรู้อยากเห็นเป็นนิสัยโดยธรรมชาติของลูกสุนัข และเมื่อได้ออกไปผจญภัย พวกเค้าก็มักจะพุ่งตัวไปสำรวจทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า แนะนำให้เริ่มต้นด้วยการเดินในระยะทางสั้น ๆ ก่อน
     

    เคล็ดลับน่ารู้ – ควรพกขนมติดตัวเมื่อออกไปเดินเล่น เพื่อใช้หลอกล่อให้น้องหมาเดินตามได้ง่ายขึ้น
     

    จำไว้ว่าความอดทนเป็นสิ่งสำคัญ! น้องหมาอาจต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นการใส่ปลอกคอ การใส่สายจูง และการเดินโดยใช้สายจูง คุณต้องให้เวลาพวกเค้าปรับตัว อย่าเร่งรัดหรือบังคับ รวมถึงต้องทำให้การฝึกไม่น่าเบื่อและกำหนดระยะเวลาอย่างเหมาะสม หลังจากทำตามเคล็ดลับข้างต้น รับรองเลยว่าการเดินเล่นจะเป็นช่วงเวลาที่ดีและสนุกมากขึ้น