IAMS TH
Puppy Basics: Health Care Essentials
Puppy Basics: Health Care Essentials

adp_description_block282
การตรวจสุขภาพของลูกสุนัขตัวใหม่

  • แบ่งปัน

ลูกสุนัขก็เหมือนกับเด็กทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าต้องการความรัก ความเอาใจใส่ และการดูแลอย่างดีในช่วงเจริญเติบโต โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและโภชนาการที่มีความสำคัญมากในช่วงเดือนแรก ลูกสุนัขควรได้รับการดูแลป้องกันควบคู่ไปกับการให้อาหารที่เหมาะสม สำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่สงสัยว่ารายการตรวจสุขภาพของลูกสุนัขมีอะไรบ้าง มาติดตามไปพร้อม ๆ กันเลย
 

การดูแลสุขภาพที่สำคัญสำหรับลูกสุนัข

หน้าที่สำคัญที่สุดของผู้เลี้ยงทุกคนคือการดูแลสุขภาพของเจ้าตัวน้อยให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคร้าย ซึ่งการดูแลป้องกันที่สำคัญมีดังนี้

  • การพบสัตวแพทย์ – สัตวแพทย์จะตรวจร่างกายลูกสุนัขอย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัยอาการแพ้หรือปัญหาสุขภาพต่าง ๆ รวมถึงจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลป้องกันและการกรูมมิ่งอย่างถูกต้อง การนัดพบสัตวแพทย์จะช่วยให้คุณเข้าใจข้อกำหนดด้านสุขภาพและพฤติกรรมของเจ้าตัวน้อยมากยิ่งขึ้น 
  • การถ่ายพยาธิ – การติดเชื้อพยาธิเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในลูกสุนัข สัตวแพทย์จึงมักจะแนะนำให้ตรวจอุจจาระเพื่อหาพยาธิและปรสิต รวมถึงจะให้ถ่ายพยาธิกันตั้งแต่การนัดพบครั้งแรก
  • การฉีดวัคซีน – ลูกสุนัขควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อและโรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น โรคตับอักเสบ โรคไข้หัด โรคพิษสุนัขบ้า ไวรัสพาราอินฟลูเอนซา พาร์โวไวรัส และโรคปอดอักเสบ หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนก็สามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้
  • การป้องกันเห็บหมัด – เห็บและหมัดก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อย มันส่งผลต่อสุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดีของลูกสุนัข เนื่องจากปรสิตเหล่านี้จะดูดเลือดและสารอาหารจากร่างกาย อีกทั้งยังสร้างความระคายเคืองให้กับลูกสุนัขด้วย จึงควรป้องกันเห็บและหมัดเป็นประจำ
  • การจัดตารางออกกำลังกาย – เนื่องจากลูกสุนัขอยู่ในวัยชอบสำรวจและเต็มไปด้วยพลัง ผู้เลี้ยงจึงควรจัดตารางออกกำลังกายหรือหากิจกรรมให้พวกเค้าทำเป็นประจำ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกสุนัขเพลิดเพลินและมีสุขภาพดี การใช้เวลาเล่นกับลูกสุนัขยังช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และเป็นโอกาสดีที่จะสังเกตลูกสุนัขเพื่อประเมินพัฒนาการ สุขภาพ และอารมณ์
  • การเลือกอาหาร – แม้จะมีขนาดตัวเล็ก แต่ลูกสุนัขต้องการพลังงานมากเนื่องจากอยู่ในวัยเจริญเติบโต ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเค้าได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล ทั้งโปรตีน ไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ และคาร์โบไฮเดรต รวมถึงควรให้อาหารพวกเค้าอย่างน้อย 3 – 4 มื้อต่อวัน เพื่อรองรับความต้องการทางโภชนาการและการเติบโตอย่างแข็งแรง

ขอแนะนำไอแอมส์™ อาหารลูกสุนัขเกรดพรีเมียม อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนและสมดุลเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี ผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพสูง ย่อยง่าย ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น
 

การดูแลรักษาลูกสุนัข

ลูกสุนัขยังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจว่าอะไรดีหรือไม่ดี พวกเค้าขาดทักษะการรับรู้และการประเมินความเสี่ยง อีกทั้งยังมีความกระตือรือร้นสูง อยากรู้อยากเห็น ขี้เล่น และชอบกัดแทะสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งบางอย่างก็อาจเป็นอันตรายและเป็นพิษต่อร่างกาย จึงควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเค้าจะเติบโตและมีพัฒนาการที่ดี

  •  การพบสัตวแพทย์ – การพูดคุยกับสัตวแพทย์จะช่วยให้คุณได้รับคำแนะนำด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์และช่วยให้ลูกสุนัขมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ก่อนตัดสินเลือกสัตวแพทย์ประจำตัวลูกสุนัข คุณควรตรวจสอบรายละเอียดที่สำคัญให้เรียบร้อย เช่น ประสบการณ์ทางการแพทย์ ความชำนาญพิเศษของคุณหมอ และสถานที่ตั้งของคลินิกหรือโรงพยาบาล
  • การตรวจสุขภาพ – สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบบางอย่างเพื่อวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติหรือโรคต่าง ๆ เช่น การตรวจอุจจาระเพื่อหาพยาธิ หรือการตรวจร่างกายตั้งแต่หัวจรดหาง ทั้งเส้นขน ดวงตา ใบหู และช่องปาก
  • การให้ยา – สัตวแพทย์อาจสั่งจ่ายยาหรืออาหารเสริมเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยและทดแทนสารอาหารบางชนิดที่ขาดไป อย่างไรก็ตาม การให้ยาลูกสุนัขนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่พ่อแม่ทุกคนสามารถทำได้ เพียงแค่ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
  1. ขั้นตอนที่ 1 – เริ่มต้นด้วยการชวนเล่นเพื่อให้ลูกสุนัขรู้สึกผ่อนคลาย พูดชมเชยเมื่อพวกเค้าเป็นเด็กดี และนั่งลงใกล้ ๆ เมื่อพวกเค้ามีท่าทีที่สงบลง
  2. ขั้นตอนที่ 2 – ถือยาไว้ในมือข้างหนึ่ง และค่อย ๆ เปิดปากลูกสุนัขโดยใช้มืออีกข้างที่ว่างอยู่
  3. ขั้นตอนที่ 3 – วางยาไว้ที่ปลายลิ้นของลูกสุนัข จากนั้นให้รีบปิดปากลูกสุนัขของคุณแล้วเป่าเบา ๆ ไปที่จมูก การเป่าลมที่จมูกจะทำให้ลูกสุนัขกลืนเม็ดยาลงไป
  4. ขั้นตอนที่ 4 – ให้ขนมแสนอร่อยเป็นรางวัลและชวนพวกเค้าเล่นกันต่ออีกสักพัก

นอกจากการตรวจสุขภาพร่างกายแล้ว ผู้เลี้ยงควรจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับลูกสุนัขให้พร้อมด้วย การฝึกทำตามคำสั่งและการเข้าสังคมก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน อย่างการฝึกขับถ่ายให้เป็นที่เป็นทางตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อเสริมสร้างสุขอนามัยและพฤติกรรมที่ดีให้กับเจ้าตัวน้อยของคุณ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพลูกสุนัข

  1. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกสุนัขมีสุขภาพดี?
  2. ต้องหมั่นสังเกตลูกสุนัขทุกวัน คอยเช็กสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพหรืออาการผิดปกติต่าง ๆ หากพบว่าลูกสุนัขมีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ ลักษณะทางกายภาพ การขับถ่าย สุขภาพเส้นขน หรือมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกไป แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด

  3. สัญญาณสุขภาพดี 5 ประการของลูกสุนัขมีอะไรบ้าง?
  4. ขนนุ่มเงางาม หูสะอาด ดวงตาสดใส จมูกโล่ง และร่าเริง ถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกสุนัขของคุณมีสุขภาพดี

  5. ลูกสุนัขที่เจ็บป่วยมักจะมีอาการใดบ้าง?
  6. ลูกสุนัขที่ป่วยมักจะมีอาการผิดปกติ เช่น ท้องเสีย อาเจียน คันเนื้อคันตัว ส่งเสียงครวญคราง และมีอาการอ่อนเพลีย

  • วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    adp_description_block468
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย

    • แบ่งปัน

    หากคุณอยากมีเพื่อนเล่นแก้เหงาหรือเพื่อนแท้ที่คอยอยู่เคียงข้าง ขอแนะนำให้รับเลี้ยงลูกสุนัขไว้สักตัว แต่ต้องมั่นใจด้วยว่าคุณสามารถดูแลรับผิดชอบเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ได้ เพราะลูกสุนัขต้องการความรักความเอาใจใส่เพื่อให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี
     

    การดูแลลูกสุนัขไม่ใช่แค่การให้อาหาร มอบความรัก หรือชวนเล่นเป็นครั้งคราว คุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม ฝึกพวกเค้าให้รู้จักขับถ่ายเป็นที่ รวมถึงต้องพาไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการดูแลทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณและเจ้าตัวน้อยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันมากขึ้น คุณจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการเจริญเติบโตของพวกเค้า สำหรับผู้เลี้ยงที่ไม่มั่นใจหรือมีความกังวล ในบทความนี้จะบอกเคล็ดลับและวิธีดูแลลูกสุนัขในช่วง 2 – 3 เดือนแรกให้ทุกคนได้รู้กัน
     

    การนำลูกสุนัขกลับบ้าน

    มีอะไรบ้างที่เราควรรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัข? มาเริ่มกันที่การรับลูกสุนัขเข้าบ้านวันแรก คุณควรจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นอันตรายอยู่รอบ ๆ ตัวลูกสุนัข เช่น สารเคมี สายไฟ ต้นไม้ที่มีพิษ ของมีคม และข้าวของที่แตกหักง่าย เพราะลูกสุนัขก็เปรียบเหมือนทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าบอบบางแต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น นอกจากนี้คุณต้องซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม อย่างเช่น ชามอาหาร ปลอกคอ สายจูง และเบาะนอนนุ่ม ๆ สำหรับพักผ่อน
     

    การให้อาหารลูกสุนัข

    หนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้ามีความต้องการแตกต่างจากสุนัขวัยอื่น อีกทั้งยังต้องการสารอาหารที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี 
     

    การเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตจะขึ้นอยู่กับขนาดพันธุ์ สำหรับสุนัขพันธุ์เล็กหรือพันธุ์กลาง คุณสามารถเปลี่ยนสูตรอาหารได้เมื่อพวกเค้ามีอายุ 9 – 12 เดือน แต่หากเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ควรเปลี่ยนเมื่อมีอายุ 12 – 24 เดือน นอกจากการให้อาหารที่ดีและเหมาะสมแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วย
     

    ตารางการให้อาหารสำหรับลูกสุนัข

    • 6 – 12 สัปดาห์ - 4 มื้อต่อวัน 
    • 3 – 6 เดือน - 3 มื้อต่อวัน
    • 6 – 12 เดือน - 2 มื้อต่อวัน

    ไอแอมส์™ มีผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับลูกสุนัขและสุนัขโตให้เลือกหลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์ของเราคัดสรรแต่วัตถุดิบคุณภาพระดับพรีเมียม นอกจากนี้ยังอุดมด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ มั่นใจได้เลยว่าน้องหมาของคุณจะเพลิดเพลินกับอาหารทุกคำที่พวกเค้าลิ้มรส
     

    การพบสัตวแพทย์และการฉีดวัคซีน

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลลูกสุนัข การเข้าพบครั้งแรกจะช่วยให้คุณรับรู้ข้อมูลสุขภาพโดยรวมของเจ้าตัวน้อย คุณหมอจะแจ้งตารางการฉีดวัคซีนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเหล่านี้เพิ่มเติมด้วย

    • ตารางการฉีดวัคซีน
    • การทำหมัน
    • การฝึกขับถ่าย
    • การฝึกทำตามคำสั่งพื้นฐาน
    • การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
    • โภชนาการที่เหมาะสม
    • การถ่ายพยาธิ

    การฝึกเข้าสังคมให้ลูกสุนัข

    ลูกสุนัขควรได้พบเจอกับผู้คน เพื่อนหมาตัวอื่น และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเรียนรู้ที่จะปรับตัว โดยเวลาที่สำคัญที่สุดในการฝึกเข้าสังคมคือช่วงอายุระหว่าง 3 – 12 สัปดาห์ และแนะนำให้ฝึกอย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

    คุณควรเริ่มฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัขตั้งแต่วันแรกที่พาเข้าบ้าน เพื่อปลูกฝังให้พวกเค้าขับถ่ายเป็นที่ ไม่ต้องคอยทำความสะอาดทุกครั้ง เริ่มต้นฝึกด้วยการเลือกพื้นที่ขับถ่ายนอกบ้าน จากนั้นพาลูกสุนัขไปที่ดังกล่าวเมื่อถึงเวลาขับถ่าย ให้รางวัลทันทีหลังจากพวกเค้าขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำโทษไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวและอาจแสดงท่าทีก้าวร้าว
     

    การฝึกที่ดีที่สุดคือการฝึกในเชิงบวก หรือก็คือการให้รางวัลเมื่อพวกเค้าทำได้ดีหรือทำตัวน่ารัก และควรกำหนดระยะเวลาการฝึกเป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อไม่ให้ลูกสุนัขรู้สึกเบื่อหรือเหนื่อยจนเกินไป
     

    การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

    น้องหมาก็มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันเช่นเดียวกัน ทั้งการมีกลิ่นปาก ฟันหลุด และโรคปริทันต์ ซึ่งพวกเค้ามักจะไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็นอย่างชัดเจน ผู้เลี้ยงจึงควรดูแลช่องปากและฟันของพวกเค้าเป็นประจำ โดยควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยของคุณเพิ่มเติมได้
     

    การออกกำลังกายสำหรับลูกสุนัข

    แม้จะเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลัง แต่ผู้เลี้ยงควรควบคุมปริมาณและเวลาในการออกกำลังกายของลูกสุนัขให้เหมาะสม และปล่อยให้พวกเค้าได้พักผ่อนทุกครั้งที่ต้องการ หลีกเลี่ยงการให้เล่นเป็นเวลานาน ๆ เพียงครั้งเดียว แนะนำให้พาออกไปเดินเล่นระยะสั้น ๆ วันละสองครั้งแทน