IAMS TH
เปิดเคล็ดลับการฝึกใช้สายจูงให้น้องหมา
เปิดเคล็ดลับการฝึกใช้สายจูงให้น้องหมา

adp_description_block483
เปิดเคล็ดลับการฝึกใช้สายจูงให้น้องหมา

  • แบ่งปัน

การฝึกใช้สายจูงช่วยให้น้องหมาสำรวจโลกภายนอกได้อย่างปลอดภัย พวกเค้าจะมีประสบการณ์การเดินเล่นที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม น้องหมาไม่ได้เกิดมาพร้อมความสามารถในการเดินโดยใช้สายจูง พวกเค้าจำเป็นต้องได้รับการฝึกสอนทักษะนี้เพิ่มเติม
 

หากคุณเลี้ยงน้องหมาพันธุ์ใหญ่ ควรฝึกการใช้สายจูงให้พวกเค้าตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะเมื่อโตขึ้น น้ำหนักตัวของพวกเค้าก็จะเพิ่มมากขึ้น สิ่งนี้จะทำให้คุณควบคุมพวกเค้าได้ยาก คุณอาจโดนพวกเค้าลากไปมา หรือไม่น้องหมาของคุณก็อาจวิ่งเตลิดจนเกิดปัญหาวุ่นวายได้
 

สำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่สงสัยว่า ควรฝึกลูกสุนัขใช้สายจูงตั้งแต่อายุเท่าไหร่? คำตอบคือเริ่มฝึกได้ตั้งแต่อายุ 10 สัปดาห์ หรืออาจฝึกก่อนหน้านั้นก็ได้เช่นกัน การฝึกทักษะนี้จะช่วยให้ลูกสุนัขของคุณเติบโตเป็นเพื่อนที่น่ารักและเชื่อฟัง การเดินทางหรือผจญภัยไปด้วยกันก็จะง่ายขึ้น!
 

มาติดตามเคล็ดลับและคำแนะนำดี ๆ ในการฝึกลูกสุนัขใช้สายจูงไปพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นผู้เลี้ยงมือใหม่หรือมือโปรก็สามารถทำตามได้

  • เลือกปลอกคอที่มีขนาดพอดี

การเลือกปลอกคอเป็นขั้นตอนแรกในการทำให้น้องหมาคุ้นเคยกับสายจูง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าปลอกคอไม่แน่นหรือหลวมเกินไป เมื่อใช้นิ้วมือสอดลงไปควรมีช่องว่างระหว่างปลอกคออย่างน้อยสองนิ้ว เพื่อให้น้องหมาหายใจสะดวกและไม่รู้สึกอึดอัด

ข้อควรรู้ – หากคุณวางแผนจะฝึกลูกสุนัขตั้งแต่อายุยังน้อย ควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด และหมั่นตรวจสอบความพอดีของปลอกคอ เนื่องจากเจ้าตัวน้อยของคุณยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต

  • ทำความคุ้นเคยกับสายจูง

ลูกสุนัขอาจใช้เวลาสักพักในการปรับตัวและยอมรับอุปกรณ์ใหม่นี้ คุณสามารถช่วยให้พวกเค้าคุ้นเคยได้เร็วขึ้นด้วยเทคนิคง่าย ๆ โดยเริ่มจากปล่อยให้พวกเค้าดมกลิ่นและเล่นกับสายจูงก่อน อาจใส่ให้ทุกครั้งที่เล่นสนุกด้วยกันในบ้าน แต่ควรหลีกเลี่ยงการใส่สายจูงเมื่อน้องหมาอยู่ตามลำพัง ตอนเศร้าหรือหงุดหงิด

  • ให้รางวัลเมื่อการฝึกเป็นไปด้วยดี

ในการฝึกเดินโดยใช้สายจูง แนะนำให้ถือขนมไว้ในมือ จากนั้นถอยหลังไปสองสามก้าว สิ่งนี้จะกระตุ้นให้น้องหมาเดินไปหาคุณเพื่อกินขนมแสนอร่อย แต่เพื่อป้องกันการกินขนมมากเกินไป อาจเปลี่ยนมาให้รางวัลเป็นของเล่น คำชมเชย หรือการลูบหัวลูบตัวแทน ทั้งนี้การให้รางวัลจะช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี และกระตุ้นให้ลูกสุนัขอยากฝึกในครั้งต่อ ๆ ไป

เคล็ดลับน่ารู้ – กำหนดระยะเวลาในการฝึกให้เหมาะสม ไม่ควรฝึกเป็นเวลาหลายชั่วโมง เพราะลูกสุนัขอาจจะเหนื่อยและหลีกเลี่ยงการฝึก

  • ฝึกเดินเล่นในบ้าน

นอกจากจะสร้างความคุ้นเคยให้น้องหมาแล้ว ยังเป็นโอกาสให้คุณสังเกตท่าทีของน้องหมาเมื่อต้องเดินโดยใช้สายจูงอีกด้วย แนะนำให้เลือกพื้นที่โล่งกว้างในการฝึก พร้อมตรวจเช็กให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งกีดขวางใด หลังจากการฝึกก็ควรให้รางวัลเป็นขนมที่พวกเค้าโปรดปราน ขั้นตอนนี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญ เพราะทำให้รู้ว่าลูกสุนัขของคุณพร้อมจะลงสนามจริงแล้วหรือไม่

  • เริ่มออกไปเดินเล่นนอกบ้าน

การฝึกลูกสุนัขเต็มไปด้วยเรื่องที่ไม่คาดคิดและน่าประหลาดใจ หากคุณคิดว่าเจ้าตัวน้อยจะเดินเล่นนอกบ้านได้อย่างราบรื่นหลังฝึกเดินในบ้านมาแล้ว คุณคิดผิด! ความอยากรู้อยากเห็นเป็นนิสัยโดยธรรมชาติของลูกสุนัข และเมื่อได้ออกไปผจญภัย พวกเค้าก็มักจะพุ่งตัวไปสำรวจทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า แนะนำให้เริ่มต้นด้วยการเดินในระยะทางสั้น ๆ ก่อน
 

เคล็ดลับน่ารู้ – ควรพกขนมติดตัวเมื่อออกไปเดินเล่น เพื่อใช้หลอกล่อให้น้องหมาเดินตามได้ง่ายขึ้น
 

จำไว้ว่าความอดทนเป็นสิ่งสำคัญ! น้องหมาอาจต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นการใส่ปลอกคอ การใส่สายจูง และการเดินโดยใช้สายจูง คุณต้องให้เวลาพวกเค้าปรับตัว อย่าเร่งรัดหรือบังคับ รวมถึงต้องทำให้การฝึกไม่น่าเบื่อและกำหนดระยะเวลาอย่างเหมาะสม หลังจากทำตามเคล็ดลับข้างต้น รับรองเลยว่าการเดินเล่นจะเป็นช่วงเวลาที่ดีและสนุกมากขึ้น

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฝึกน้องหมาใช้สายจูง

  1. ควรเริ่มฝึกลูกสุนัขใช้สายจูงตอนอายุเท่าไร?
  2. คุณสามารถเริ่มฝึกใช้สายจูงได้เมื่อลูกสุนัขมีอายุครบ 10 สัปดาห์

  3. จะทำให้ลูกสุนัขหยุดดึงสายจูงได้อย่างไร?
  4. วิธีที่ดีที่สุดในการหยุดลูกสุนัขดึงสายจูงคือการเปลี่ยนทิศทาง โดยใช้คำสั่ง 'เลี้ยว' เพื่อให้น้องหมาเรียนรู้และเข้าใจว่าต้องเปลี่ยนเส้นทางในครั้งต่อ ๆ ไป

  5. ควรดึงสายจูงหรือลากลูกสุนัขหรือไม่?
  6. ไม่ เราไม่ควรลากจูงลูกสุนัข เพราะอาจทำให้คอและหัวเข่าของพวกเค้าได้รับบาดเจ็บ อีกทั้งยังจุดประกายความรู้สึกด้านลบต่อคุณด้วย

  7. ควรเลือกใช้ปลอกคอหรือสายรัดอก?
  8. ลูกสุนัขควรใช้ทั้งปลอกคอและสายรัดอก โดยสามารถสวมปลอกคอได้ทุกวัน ส่วนสายรัดอกอาจใช้เฉพาะเวลาเดินเล่นหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ

  • วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    adp_description_block404
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย

    • แบ่งปัน

    หากคุณอยากมีเพื่อนเล่นแก้เหงาหรือเพื่อนแท้ที่คอยอยู่เคียงข้าง ขอแนะนำให้รับเลี้ยงลูกสุนัขไว้สักตัว แต่ต้องมั่นใจด้วยว่าคุณสามารถดูแลรับผิดชอบเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ได้ เพราะลูกสุนัขต้องการความรักความเอาใจใส่เพื่อให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี
     

    การดูแลลูกสุนัขไม่ใช่แค่การให้อาหาร มอบความรัก หรือชวนเล่นเป็นครั้งคราว คุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม ฝึกพวกเค้าให้รู้จักขับถ่ายเป็นที่ รวมถึงต้องพาไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการดูแลทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณและเจ้าตัวน้อยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันมากขึ้น คุณจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการเจริญเติบโตของพวกเค้า สำหรับผู้เลี้ยงที่ไม่มั่นใจหรือมีความกังวล ในบทความนี้จะบอกเคล็ดลับและวิธีดูแลลูกสุนัขในช่วง 2 – 3 เดือนแรกให้ทุกคนได้รู้กัน
     

    การนำลูกสุนัขกลับบ้าน

    มีอะไรบ้างที่เราควรรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัข? มาเริ่มกันที่การรับลูกสุนัขเข้าบ้านวันแรก คุณควรจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นอันตรายอยู่รอบ ๆ ตัวลูกสุนัข เช่น สารเคมี สายไฟ ต้นไม้ที่มีพิษ ของมีคม และข้าวของที่แตกหักง่าย เพราะลูกสุนัขก็เปรียบเหมือนทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าบอบบางแต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น นอกจากนี้คุณต้องซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม อย่างเช่น ชามอาหาร ปลอกคอ สายจูง และเบาะนอนนุ่ม ๆ สำหรับพักผ่อน
     

    การให้อาหารลูกสุนัข

    หนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้ามีความต้องการแตกต่างจากสุนัขวัยอื่น อีกทั้งยังต้องการสารอาหารที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี 
     

    การเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตจะขึ้นอยู่กับขนาดพันธุ์ สำหรับสุนัขพันธุ์เล็กหรือพันธุ์กลาง คุณสามารถเปลี่ยนสูตรอาหารได้เมื่อพวกเค้ามีอายุ 9 – 12 เดือน แต่หากเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ควรเปลี่ยนเมื่อมีอายุ 12 – 24 เดือน นอกจากการให้อาหารที่ดีและเหมาะสมแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วย
     

    ตารางการให้อาหารสำหรับลูกสุนัข

    • 6 – 12 สัปดาห์ - 4 มื้อต่อวัน 
    • 3 – 6 เดือน - 3 มื้อต่อวัน
    • 6 – 12 เดือน - 2 มื้อต่อวัน

    ไอแอมส์™ มีผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับลูกสุนัขและสุนัขโตให้เลือกหลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์ของเราคัดสรรแต่วัตถุดิบคุณภาพระดับพรีเมียม นอกจากนี้ยังอุดมด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ มั่นใจได้เลยว่าน้องหมาของคุณจะเพลิดเพลินกับอาหารทุกคำที่พวกเค้าลิ้มรส
     

    การพบสัตวแพทย์และการฉีดวัคซีน

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลลูกสุนัข การเข้าพบครั้งแรกจะช่วยให้คุณรับรู้ข้อมูลสุขภาพโดยรวมของเจ้าตัวน้อย คุณหมอจะแจ้งตารางการฉีดวัคซีนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเหล่านี้เพิ่มเติมด้วย

    • ตารางการฉีดวัคซีน
    • การทำหมัน
    • การฝึกขับถ่าย
    • การฝึกทำตามคำสั่งพื้นฐาน
    • การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
    • โภชนาการที่เหมาะสม
    • การถ่ายพยาธิ

    การฝึกเข้าสังคมให้ลูกสุนัข

    ลูกสุนัขควรได้พบเจอกับผู้คน เพื่อนหมาตัวอื่น และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเรียนรู้ที่จะปรับตัว โดยเวลาที่สำคัญที่สุดในการฝึกเข้าสังคมคือช่วงอายุระหว่าง 3 – 12 สัปดาห์ และแนะนำให้ฝึกอย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

    คุณควรเริ่มฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัขตั้งแต่วันแรกที่พาเข้าบ้าน เพื่อปลูกฝังให้พวกเค้าขับถ่ายเป็นที่ ไม่ต้องคอยทำความสะอาดทุกครั้ง เริ่มต้นฝึกด้วยการเลือกพื้นที่ขับถ่ายนอกบ้าน จากนั้นพาลูกสุนัขไปที่ดังกล่าวเมื่อถึงเวลาขับถ่าย ให้รางวัลทันทีหลังจากพวกเค้าขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำโทษไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวและอาจแสดงท่าทีก้าวร้าว
     

    การฝึกที่ดีที่สุดคือการฝึกในเชิงบวก หรือก็คือการให้รางวัลเมื่อพวกเค้าทำได้ดีหรือทำตัวน่ารัก และควรกำหนดระยะเวลาการฝึกเป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อไม่ให้ลูกสุนัขรู้สึกเบื่อหรือเหนื่อยจนเกินไป
     

    การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

    น้องหมาก็มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันเช่นเดียวกัน ทั้งการมีกลิ่นปาก ฟันหลุด และโรคปริทันต์ ซึ่งพวกเค้ามักจะไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็นอย่างชัดเจน ผู้เลี้ยงจึงควรดูแลช่องปากและฟันของพวกเค้าเป็นประจำ โดยควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยของคุณเพิ่มเติมได้
     

    การออกกำลังกายสำหรับลูกสุนัข

    แม้จะเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลัง แต่ผู้เลี้ยงควรควบคุมปริมาณและเวลาในการออกกำลังกายของลูกสุนัขให้เหมาะสม และปล่อยให้พวกเค้าได้พักผ่อนทุกครั้งที่ต้องการ หลีกเลี่ยงการให้เล่นเป็นเวลานาน ๆ เพียงครั้งเดียว แนะนำให้พาออกไปเดินเล่นระยะสั้น ๆ วันละสองครั้งแทน