IAMS TH
Common Questions about Feeding Your Dog
Common Questions about Feeding Your Dog

adp_description_block103
มารู้จักว่าสุนัขของคุณกินอะไร และ ให้อาหารสุนัขของคุณอย่างไร

  • แบ่งปัน

 

 

การเลือกอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและสมดุลให้น้องหมาไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คุณคิด! มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันว่า อะไรคืออาหารที่ใช่สำหรับน้องหมา ปริมาณอาหารที่จำเป็นในแต่ละวัน รวมไปถึงวิธีการให้ขนม และอาหารเสริมต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

  1. เราควรเลือกอาหารให้น้องหมาอย่างไร?

เมื่อพูดถึงเรื่องการเลือกอาหารที่ใช่สำหรับน้องหมาแล้ว เราควรพิจารณาจาก 3 ปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ช่วงวัยของน้องหมา
  • กิจวัตรประจำวัน (หรือการออกกำลังกาย)
  • เงื่อนไขด้านสุขภาพ (สุขภาพโดยรวมและน้ำหนักตัว)

 

  1. เราควรให้อาหารน้องหมากี่มื้อในหนึ่งวัน?

หากเป็นลูกสุนัขในวัยหย่านม (อายุ 3 – 6 สัปดาห์) ควรให้อาหารพวกเค้า 3 มื้อต่อวัน เมื่อมีอายุครบ 4 เดือน ให้ลดลงเหลือเพียง 2 มื้อต่อวัน ซึ่งเป็นจำนวนมื้ออาหารของน้องหมาส่วนใหญ่ แต่ก็มีน้องหมาบางส่วนที่สามารถกินอาหารเพียงวันละ 1 มื้อได้

 

  1. ปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับน้องหมาคือเท่าใด?

ปริมาณอาหารที่น้องหมาควรได้รับจะขึ้นอยู่กับอายุ ขนาดตัว และกิจวัตรประจำวันของพวกเค้า หรือจะเลือกให้อาหารตามตารางแนะนำที่ระบุไว้บนซองอาหารสุนัขทุกซองของไอแอมส์™ ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณอาหารตามความต้องการของน้องหมาได้ และอย่าลืมแบ่งสัดส่วนให้เหมาะสมหากคุณให้อาหารพวกเค้ามากกว่า 1 ครั้งต่อวัน

 

  1. ปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกสุนัขตัวน้อยคือเท่าใด?

การกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกสุนัข จะพิจารณาจาก 3 ปัจจัยหลักดังนี้ สายพันธุ์ น้ำหนักตัว และช่วงวัย หรือเลือกให้อาหารตามตารางแนะนำดังต่อไปนี้

ลูกสุนัข

น้ำหนักตัว (กก.)

ปริมาณอาหารที่แนะนำต่อวัน

                                                <3 เดือน              3-6 เดือน            6-9 เดือน           9-12 เดือน             12-18 เดือน

พันธุ์ทอย

1-3

15-72

32-83

37-83

   
 

3-5

33-106

72-121

83-121

   
 

พันธุ์เล็ก 

(25-50)

5-8

48-151

106-172

111-172

111-170

เปลี่ยนมาให้อาหารสุนัขไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™สำหรับสุนัขโตเต็มวัย

 

8-10

69-178

151-204

170-204

170-201

 
 

พันธุ์กลาง

10-20

82-299

178-343

201-343

201-339

 
 

20-25

137-346

339-404

339-404

339-404

 
 

พันธุ์ใหญ่

25-40

136-492

346-575

404-575

396-575

396-563

 

40-50

191-509

493-675

575-681

563-681

553-676

 

อาหารปริมาณ 100 กรัม จะให้พลังงาน 390 กิโลแคลอรี่ นอกจากปริมาณอาหารที่ควรใส่ใจแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วยนะ

  1. เราควรเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตเต็มวัยเมื่อไหร่?

ไม่แนะนำให้เปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหัน เพราะอาจส่งผลเสียต่อท้องน้อย ๆ ของลูกสุนัขได้ ควรให้เวลาพวกเค้าได้ปรับตัว และทำความคุ้นเคยกับอาหารใหม่กันก่อน สำหรับการกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสม และวิธีการเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตเต็มวัยอย่างถูกวิธี เจ้าของสามารถทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • วันที่หนึ่ง – ผสมอาหารสูตรลูกสุนัข 75% เข้ากับอาหารสูตรสุนัขโต 25%
  • วันที่สอง – ผสมอาหารทั้งสองสูตรในปริมาณที่เท่ากัน หรือในสัดส่วน 50-50
  • วันที่สาม – เพิ่มปริมาณอาหารสูตรสุนัขโตเป็น 75% และลดปริมาณอาหารสูตรลูกสุนัขลงเหลือ 25%
  • วันที่สี่ – เปลี่ยนมาให้อาหารสูตรสุนัขโต 100%

ตารางน้ำหนักตัวและช่วงวัยที่แนะนำสำหรับการเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรสุนัขโตเต็มวัย

ตารางน้ำหนัก

ช่วงวัยที่เริ่มเปลี่ยนสูตรอาหารได้

สุนัขพันธุ์เล็กที่มีน้ำหนัก < 20 ปอนด์ 

9 - 12 เดือน

สุนัขพันธุ์กลางที่มีน้ำหนัก 20 ถึง 50 ปอนด์

12 - 14 เดือน

สุนัขพันธุ์ใหญ๋ที่มีน้ำหนักมากกว่า 50 ปอนด์ขึ้นไป

12 - 24 เดือน

 

  1. เราควรเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขสูงวัยเมื่อไหร่?

น้ำหนักตัวคือปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงเมื่อต้องเปลี่ยนอาหารจากสูตรสุนัขโตเต็มวัยมาเป็นสูตรสุนัขสูงวัย เรามาดูตารางแนะนำที่จะช่วยให้การเปลี่ยนอาหารเป็นไปอย่างถูกต้องกันได้เลย

ตารางน้ำหนัก

ช่วงวัยที่เริ่มเปลี่ยนสูตรอาหารได้

น้ำหนักมากกว่า 90 ปอนด์ขึ้นไป

5 ปี

51 - 90 ปอนด์

6 ปี

21 - 50 ปอนด์

7 ปี

น้ำหนัก 20 ปอนด์ขึ้นไป

7 ปี

 

  1. วิธีใดดีที่สุดในการแนะนำอาหารสูตรใหม่ให้น้องหมา?

การปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไปคือกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนอาหารให้น้องหมา ช่วงแรกควรให้อาหารในอัตราส่วนต่อไปนี้ อาหารเก่า 75% อาหารใหม่ 25% และหลังจากนั้น 3 วัน ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหารใหม่ และลดปริมาณอาหารเก่าลง

 

  1. เราควรให้อาหารสุนัขที่มีน้ำหนักเกินอย่างไรจึงจะเหมาะสม?

หากน้องหมาของคุณมีปัญหาน้ำหนักเกิน แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง และเพิ่มความถี่ในการออกกำลังกาย หรือเลือกอาหารสุนัขแบบเม็ดจากไอแอมส์™ ที่มีไขมันต่ำ สารอาหารครบถ้วน มีส่วนผสมของเส้นใยอาหารและพรีไบโอติก ซึ่งมีส่วนช่วยให้ระบบย่อยและขับถ่ายดี รวมถึงมี แอล – คาร์นิทีน ช่วยเสริมการทำงานของระบบเผาผลาญ นอกจากคุณภาพอาหารแล้ว ปริมาณอาหารก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับน้องหมาที่มีน้ำหนักเกิน ต้องมั่นใจว่าให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ไม่ลดน้อยจนทำให้ขาดสารอาหารอย่างโปรตีนและกรดไขมันที่จำเป็น

 

  1. เราควรให้อาหารแม่สุนัขที่กำลังตั้งท้องอย่างไร?

แม่สุนัขที่กำลังตั้งท้องต้องการสารอาหารแตกต่างจากสุนัขทั่วไป แนะนำให้เลือกอาหารสุนัขไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สำหรับแม่และลูกสุนัข ที่อุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพดี ช่วยให้คุณแม่สี่ขามีร่างกายแข็งแรงและมีน้ำนมที่ดีสำหรับลูกตัวน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลก

 

  1. จำเป็นต้องให้อาหารทั้งแบบเม็ดและแบบเปียกกับน้องหมาหรือไม่?

อาหารสุนัขแบบเปียกคือที่สุดของความอร่อยสำหรับเจ้าตัวน้อย จะให้เพียงอย่างเดียวหรือผสมกับอาหารเม็ดเพิ่มความฟินด้วยก็ได้ แนะนำให้ลองกันเลยสำหรับอาหารสุนัขแบบเปียกจากไอแอมส์™ ที่อัดแน่นไปด้วยสารอาหารครบถ้วนและสมดุล มาพร้อมรสชาติความอร่อยที่ถูกใจ ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเสิร์ฟอาหารเปียกทุกมื้อ สามารถสลับกับการให้อาหารเม็ดจากไอแอมส์™ เป็นบางมื้อก็ได้ เพราะอาหารสุนัขของเรามีโปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อไก่ เนื้อแกะ และเนื้อปลา อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้เม็ดอาหารยังมีเนื้อสัมผัสที่เหมาะกับการขัดฟัน ช่วยให้น้องหมามีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดี รวมถึงช่วยลดการสะสมของคราบหินปูนได้อีกด้วย





 

  1. น้องหมาจะเบื่อหรือไม่ หากต้องกินอาหารเดิม ๆ เป็นประจำทุกวัน?

น้องหมาแตกต่างจากนิสัยของคน น้องหมามักไม่มีอาการเบื่ออาหาร หรือเบื่อที่ต้องกินอาหารเดิม ๆ โดยทั่วไปแล้วพวกเค้ากินอาหารเพื่อเพิ่มพลังงานและรับสารอาหารที่จำเป็นเข้าสู่ร่างกายเท่านั้น นอกจากนี้พวกเค้ายังมีระบบย่อยอาหารที่สั้นมาก การเปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหันจึงส่งผลเสียกับท้องน้อย ๆ ของพวกเค้า และการเปลี่ยนอาหารบ่อย ๆ ยังส่งเสริมให้พวกเค้ามีนิสัยเลือกกินอีกด้วย

 

  1.  เราสามารถเติมน้ำลงในอาหารแบบเม็ดได้หรือไม่?

การเติมน้ำไม่ทำให้คุณค่าทางโภชนาการของอาหารเปลี่ยนแปลงไป แต่แนะนำให้น้องหมากินอาหารในทันที เพื่อป้องกันการเน่าเสีย ขอแนะนำอาหารเม็ดจากไอแอมส์™ ที่ทั้งเอร็ดอร่อยและมีส่วนช่วยให้น้องหมาของคุณมีสุขภาพช่องปากที่ดี ลองเลยวันนี้!

 

  1. น้องหมากินอาหารแมวได้หรือไม่?

น้องหมาและน้องแมวต้องการสารอาหารแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น น้องแมวต้องการกรดอะมิโนอย่างทอรีนสูงกว่าน้องหมา จึงไม่แนะนำให้กินอาหารชนิดเดียวกัน การกินอาหารแมวเป็นครั้งคราวอาจไม่เป็นอันตราย แต่ก็ไม่แนะนำให้น้องหมากินเป็นประจำ เพราะอาจส่งผลเสียกับร่างกายของพวกเค้าได้

 

  1. ในหนึ่งวัน เราสามารถให้ขนมบิสกิตกับน้องหมาได้มากน้อยเท่าใด?

ปริมาณที่แนะนำคือ 2-4 ชิ้นต่ออาหารหนึ่งถ้วยตวง ทั้งนี้การให้ขนมคือการเพิ่มปริมาณแคลอรี่ จึงควรปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสมต่อความต้องการในแต่ละวัน รวมถึงควรเช็กปริมาณแคลอรี่ของขนมให้ดีก่อน เพราะขนมแต่ละชนิดมีขนาดและปริมาณแคลอรี่ที่แตกต่างกัน

 

  1. เราสามารถให้อาหารเสริมที่เป็นวิตามิน แร่ธาตุ หรือกรดไขมันนอกเหนือจากอาหารสุนัขได้หรือไม่?

อาหารสุนัขของไอแอมส์™ อุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล การเพิ่มอาหารเสริมเข้าไปอาจทำให้พวกเค้าได้รับสารอาหารเกินความจำเป็น การเลือกให้อาหารคุณภาพดี มีสารอาหารจำเป็นและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ก็สามารถช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงได้แล้ว

 

  1. ทำไมน้องหมาจึงจำเป็นต้องได้รับโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม?

โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญและควรเป็นส่วนประกอบหลักในอาหารสุนัข เพราะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง รวมถึงช่วยให้มีสุขภาพผิวหนังที่ดีและขนนุ่มเงางามอีกด้วย

 

  1. ทำไมจึงควรให้อาหารน้องหมาตรงเวลา?

ควรให้อาหารตรงเวลาทุกวันและฝึกให้กินแค่ในช่วงเวลานั้น เพื่อหลีกเลี่ยงนิสัยขอกินอาหารตลอดเวลา

 

  1. อาหารต้องห้ามที่ไม่ควรให้น้องหมากินมีอะไรบ้าง?

ไม่ควรให้น้องหมากินขนมอบ ลูกอม หมากฝรั่ง ช็อกโกแลต มะนาว หัวหอม และองุ่น ทั้งหมดนี้อาจเป็นอันตรายกับระบบย่อยอาหารของพวกเค้า และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อได้

 

  1. ทำไมจึงควรเลือกอาหารสุนัข ไอแอมส์™ ให้กับน้องหมามากกว่าการให้อาหารปรุงเอง?

อาหารสุนัข ไอแอมส์™ มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของน้องหมา นอกจากนี้ยังผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพดี ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไก่ เนื้อปลา กรดไขมัน บีทพัลพ์สูตรเฉพาะ ธัญพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหาร และพรีไบโอติกจากธรรมชาติ

 

  1. ฉันจะเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการของสัตว์เลี้ยงเพิ่มเติมผ่านช่องทางใดได้บ้าง?

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโภชนาการของสัตว์เลี้ยง สามารถติดต่อเราได้ที่นี่

  • การฝึกลูกสุนัขให้มีวินัยและรู้จักกฎระเบียบของบ้าน
    การฝึกลูกสุนัขให้มีวินัยและรู้จักกฎระเบียบของบ้าน
    adp_description_block405
    การฝึกลูกสุนัขให้มีวินัยและรู้จักกฎระเบียบของบ้าน

    • แบ่งปัน

    การมีเจ้าตัวน้อยอยู่ในบ้านคงทำให้ทุก ๆ วันของพ่อแม่มะหมามีทั้งความสุขและความสนุก สำหรับพ่อแม่บางคน นี่คือความฝันที่กลายเป็นจริงในที่สุด แต่การเลี้ยงน้องหมาไม่ได้ง่ายอย่างที่หลาย ๆ คนคาดคิด โดยเฉพาะเมื่อพวกเค้าไม่ได้รับการฝึกอย่างเหมาะสม
     

    หากผู้เลี้ยงละเลยการฝึกฝนอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้ ลูกสุนัขอาจมีพฤติกรรมไม่น่ารัก ทำลายข้าวของในบ้าน และไม่เชื่อฟังคำสั่ง แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้คุณและครอบครัวหัวหมุนได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตาม มือใหม่หัดเลี้ยงส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับวิธีจัดการและควบคุมเจ้าตัวน้อยแสนซน หากคุณเป็นหนึ่งในนั้น นี่คือทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการฝึกลูกสุนัขที่บ้าน

    • เริ่มด้วยการเตรียมตัวให้พร้อม

    กระบวนการฝึกต้องใช้เวลา ความอดทน และความตั้งใจ ไม่สามารถทำเล่น ๆ หรือทำแบบขอไปทีได้ ผู้เลี้ยงต้องทำเป็นกิจวัตรเพื่อให้น้องหมาคุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกใส่สายจูงหรือการขับถ่ายให้เป็นที่
     

    ข้อควรรู้ – น้องหมาต้องใช้เวลาปรับตัวในสภาพแวดล้อมใหม่ คุณอาจต้องวางแผนการฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่าเร่งรัดและกดดันพวกเค้าจนเกินไป

    • การกำหนดตารางเวลาและทำให้เป็นกิจวัตร

    วิธีนี้จะส่งผลดีในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นสำหรับเราหรือน้องหมา การกำหนดตารางเวลาที่ชัดเจนจะช่วยให้น้องหมาเรียนรู้ว่าเวลาไหนต้องกินอาหาร เล่น นอน หรือขับถ่าย ซึ่งช่วยลดปัญหาขับถ่ายเรี่ยราดได้ดี
     

    การพาน้องหมาออกไปเดินเล่นและขับถ่ายนอกบ้านควรทำเป็นเวลา แนะนำให้พาพวกเค้าออกไปเดินเล่นทันทีหลังจากตื่นนอน เมื่อถึงเวลาเล่นสนุก และหลังจากกินอาหารเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรเว้นระยะห่างระหว่างมื้ออาหารและเวลานอนให้เหมาะสม ลูกสุนัขจะได้ไม่ต้องกลั้นปัสสาวะนานจนเกินไป
     

    เมื่อลูกสุนัขโตขึ้น พวกเค้าจะกลั้นปัสสาวะได้นานขึ้น ตัวอย่างเช่น ลูกสุนัขวัย 2 เดือน จะกลั้นขับถ่ายได้นาน 2 ชั่วโมง แต่ระยะเวลามากสุดที่น้องหมาทำได้คือ 6 ชั่วโมง ไม่ควรปล่อยให้กลั้นนานเกินกว่านี้

    • การใช้คำสั่งร่วมกับการฝึก

    การใช้คำสั่งจะช่วยให้เราสื่อสารกับน้องหมาได้ดีขึ้น หากใช้คำสั่งซ้ำ ๆ กับการกระทำบางอย่าง น้องหมาจะเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคำพูดและการกระทำของคุณ เช่น พูดว่า “ไปคาบมา” ในขณะที่คุณโยนของเล่นหรือกิ่งไม้ น้องหมาจะเข้าใจว่าต้องไปเอาของกลับมา ในทำนองเดียวกัน เมื่อพาพวกเค้าไปขับถ่าย ให้พูดว่า “อึ” หรือ “เบ่ง” โดยชี้ไปที่จุดใดจุดหนึ่งด้วย สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเค้าเรียนรู้ว่าต้องทำอย่างไรต่อไป

    • การให้รางวัลเมื่อน้องหมาทำได้ดี

    การให้รางวัลช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณกับน้องหมา รางวัลเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบของขนม คำชม หรือช่วงเวลาเล่นกับของเล่นชิ้นโปรด นอกจากนี้การให้รางวัลยังช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี ทำให้พวกเค้าฝึกคำสั่งใหม่ ๆ ได้ดีขึ้น คุณสามารถให้รางวัลก่อนหรือหลังการฝึกก็ได้ แต่หลีกเลี่ยงการให้กลางคัน เช่น ระหว่างการขับถ่าย ควรรอให้พวกเค้าขับถ่ายเสร็จเรียบร้อยก่อน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

    ข้อควรระวัง – หากการฝึกขับถ่ายได้ผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้ผลเลย ให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อเช็กให้แน่ใจว่าไม่ได้เกิดจากปัญหาทางสุขภาพ เช่น การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ

    • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

    คุณต้องเข้าใจว่าการฝึกเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน ลูกสุนัขอาจใช้เวลาในการเรียนรู้มากน้อยแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม หากฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ พวกเค้าจะเชื่อฟังและเรียนรู้ได้ดีขึ้น ต่อไปนี้คือเรื่องที่เจ้าของควรรู้ก่อนเริ่มต้นฝึกลูกสุนัข

    • หลีกเลี่ยงการลงโทษเมื่อลูกสุนัขขับถ่ายไม่เป็นที่ เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวหรืออาจตอบโต้ด้วยพฤติกรรมก้าวร้าว
    • หากลูกสุนัขขับถ่ายเป็นที่ ให้รางวัลพวกเค้า แต่ควรรอจนกว่าพวกเค้าจะขับถ่ายเสร็จเรียบร้อย
    • ควรอยู่เป็นเพื่อนลูกสุนัขตลอดเวลาขับถ่าย หากพวกเค้าใช้เวลานานกว่าปกติ ไม่ควรเร่งหรือบังคับให้พวกเค้าขับถ่าย