IAMS TH
Our Favorite Tips to Train a Kitten
Our Favorite Tips to Train a Kitten

adp_description_block92
รวมเคล็ดลับฝึกลูกแมวให้เป็นเด็กดีและมีพฤติกรรมที่เหมาะสม

  • แบ่งปัน

การรับลูกแมวตัวใหม่เข้าบ้านเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับเจ้าของทุกคน มีสิ่งสำคัญมากมายที่ต้องเตรียมพร้อมเพื่อให้เจ้าตัวน้อยทั้งหลายเติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย และหนึ่งในนั้นคือการฝึกลูกแมวอย่างเหมาะสม ซึ่งจำเป็นต่อความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางร่างกายและทางพฤติกรรม โดยในช่วงวัยเจริญเติบโต สมองของลูกแมวเปรียบเสมือนฟองน้ำ พวกเค้าจะดูดซับข้อมูลและเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อรวมกับการดูแลเอาใจใส่ด้วยความรักจากเจ้าของ มั่นใจได้เลยว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะเติบโตเป็นสมาชิกในครอบครัวที่ปรับตัวได้ดี มีความสุข และมีสุขภาพดี โดยคุณสามารถติดตามทุกเรื่องน่ารู้และเคล็ดลับการฝึกลูกแมวได้จากบทความนี้ 

 

เคล็ดลับการฝึกลูกแมวให้ได้ผล

สำหรับทาสแมวมือใหม่ ต้องเข้าใจก่อนว่าการฝึกลูกแมวควรเป็นประสบการณ์ที่สนุกและเป็นการส่งเสริมในเชิงบวก คุณสามารถสอนลูกแมวได้ทุกอย่างตั้งแต่คำสั่งพื้นฐานไปจนถึงการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม เพียงแต่ต้องใช้ความอดทนและการฝึกอย่างสม่ำเสมอ หรือจะลองใช้เคล็ดลับง่าย ๆ ต่อไปนี้ด้วยก็ได้เช่นกัน

 

  1. ฝึกสอนคำสั่งที่สำคัญ

    การฝึกลูกแมวให้นั่งควรเป็นขั้นตอนแรกในการฝึก เริ่มด้วยการถือขนมไว้หน้าจมูกลูกแมว จากนั้นค่อย ๆ เลื่อนขึ้นไปเหนือหัว  เพื่อให้ลูกแมวเงยหน้าขึ้นมองตามขนม ซึ่งก้นของพวกเค้าจะค่อย ๆ ย่อลงกับพื้นตามธรรมชาติ ทันทีที่พวกเค้านั่งลง ให้พูดคำสั่งว่า 'นั่ง' แล้วค่อยยื่นขนมให้พวกเค้าเป็นลำดับต่อไป ทำขั้นตอนนี้ซ้ำหลาย ๆ ครั้งจนกว่าพวกเค้าจะเข้าใจคำสั่ง
     

  2. จัดเตรียมพื้นที่ส่วนตัว

    การจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัยและสะดวกสบายให้กับเจ้าตัวน้อยเป็นสิ่งสำคัญ คุณอาจจะเตรียมกล่องลังหรือกรงไว้ให้พวกเค้าภายในบ้าน สำหรับการฝึกให้อยู่ในกรง ให้วางผ้าห่มนุ่ม ๆ และของเล่นไว้ข้างใน จากนั้นปล่อยให้ลูกแมวสำรวจรอบ ๆ ด้วยตัวเอง เมื่อพวกเค้าเข้าไปข้างในกรงก็ให้รางวัลเป็นขนมหรือคำชม คุณสามารถปิดประตูเป็นช่วงสั้น ๆ และค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาในการฝึกครั้งต่อ ๆ ไป
     

  3. เปิดโอกาสให้สำรวจโลกรอบ ๆ ตัว

    การเข้าสังคมเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของการฝึกลูกแมว เริ่มต้นด้วยการแนะนำให้ลูกแมวรู้จักกับเพื่อน คนในครอบครัว และสัตว์เลี้ยงตัวอื่นในบ้าน อาจจะพาเจ้าตัวน้อยเหล่านี้นั่งรถเล่นในระยะทางสั้น ๆ เพื่อให้สัมผัสบรรยากาศรอบ ๆ ตัว ทั้งภาพ เสียง และกลิ่น ยิ่งได้สัมผัสกับผู้คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มากเท่าไร พวกเค้าก็จะยิ่งมีความมั่นใจและปรับตัวได้ดีเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
     

  4. ช่วงเวลาเล่นสนุกสำคัญที่สุด

    การฝึกลูกแมวให้เล่นเป็นวิธีที่ดีในการกระตุ้นพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ เริ่มต้นด้วยการแนะนำเจ้าลูกเหมียวให้รู้จักกับของเล่นชนิดต่าง ๆ และคอยสังเกตว่าของเล่นชิ้นไหนที่พวกเค้าสนใจมากที่สุด เมื่อเจ้าตัวน้อยเริ่มสนุกแล้ว คุณอาจชวนพวกเค้าเล่นเกมสนุก ๆ เช่น คาบของ ตะครุบเหยื่อ และชักเย่อ
     

  5. ฝึกใช้กระบะทราย

    เจ้าของควรเริ่มฝึกให้พวกเค้าใช้กระบะทรายตั้งแต่ยังเด็ก โดยวางลูกแมวไว้ในกระบะทรายทุกครั้งหลังมื้ออาหารและหลังการงีบหลับ เมื่อพวกเค้าใช้กระบะทราย ก็ให้รางวัลเป็นขนมหรือคำชมเชย ทั้งนี้ควรวางกระบะทรายไว้ในมุมที่สงบและเข้าถึงได้ง่าย รวมถึงต้องทำความสะอาดกระบะทรายเป็นประจำด้วย
     

  6. ปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสม

    พฤติกรรมการกินอาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ที่ดีของเจ้าเหมียว จึงควรฝึกให้พวกเค้ามีพฤติกรรมที่เหมาะสม เริ่มต้นด้วยการสอนให้พวกเค้ากินอาหารจากชามและดัดนิสัยชอบขอของกิน นอกจากนี้ควรให้อาหารลูกแมวเป็นเวลาและกำหนดปริมาณตามคำแนะนำ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเค้าจะได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน
     

  7. ฝึกให้จำชื่อตัวเอ

    เป็นการฝึกที่สำคัญและมีประโยชน์ไม่น้อยเลย โดยคุณอาจเริ่มต้นด้วยการเรียกชื่อเจ้าตัวน้อยของคุณ จากนั้นให้รางวัลหรือชมเชยเมื่อพวกเค้าตอบสนองต่อการเรียก โดยแนะนำให้ฝึกเรียกชื่อพวกเค้าบ่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกลูกแมวเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความอดทนและความสม่ำเสมอ เจ้าเหมียวอาจใช้เวลาสักพักในการเรียนรู้คำสั่งหรือทักษะต่าง ๆ ทั้งนี้เจ้าของควรเลือกฝึกในเชิงบวกและต้องทำให้การฝึกเป็นเรื่องสนุก! อย่าลืมมอบความรัก พูดชมเชย และให้ขนมแสนอร่อยเป็นรางวัลตลอดการฝึกด้วย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฝึกลูกแมว

  1. ลูกแมวฝึกยากหรือไม่?  
  2. แม้ว่าเราควรฝึกทักษะและการเข้าสังคมให้เจ้าเหมียวตั้งแต่ยังเด็ก แต่ลูกแมวอาจติดนิสัยชอบเล่นและว่อกแว่กง่ายจนทำให้ฝึกยากกว่าแมวโต อีกทั้งสมองยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จึงอาจไม่เข้าใจคำสั่งได้อย่างครบถ้วน แต่ด้วยความอดทนและความสม่ำเสมอ เจ้าตัวน้อยของคุณจะเรียนรู้คำสั่งและทักษะพื้นฐานได้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกใช้กระบะทรายหรือการตอบสนองเมื่อถูกเรียก

     

  3. ควรเริ่มฝึกลูกแมวตั้งแต่อายุเท่าไหร่?  
  4. ช่วงอายุที่ดีที่สุดในการเริ่มฝึกลูกแมวคือ 8 – 12 สัปดาห์ ในช่วงวัยนี้ ลูกแมวจะเปิดรับการเรียนรู้มากขึ้นและมีโอกาสน้อยที่จะติดนิสัยที่ไม่ดี สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับสัตวแพทย์ก่อนเริ่มการฝึก เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกแมวมีสุขภาพแข็งแรงและพร้อมสำหรับการฝึก

     

  5. เราสามารถสานสัมพันธ์กับลูกแมวด้วยวิธีใดได้บ้าง?
  6. เพื่อสร้างความผูกพันกับลูกแมว คุณอาจใช้เวลาร่วมกับพวกเค้าให้มากขึ้น พยายามทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยกันเป็นประจำ เช่น การเล่น การดูแล และการกอด นอกจากนี้การจัดตารางกิจวัตรประจำวัน การฝึกเข้าสังคม การฝึกทักษะพื้นฐาน และการตรวจสุขภาพเป็นประจำก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการสานสัมพันธ์ที่ดีกับลูกแมวของคุณเช่นกัน

     

  7. จะบอกลูกแมวว่า “ไม่” ได้อย่างไร?  
  8. ในการบอกปฏิเสธลูกแมวหรือพูดคำว่า "ไม่" ให้ใช้น้ำเสียงที่หนักแน่นแต่ต้องไม่รุนแรง จากนั้นจึงค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมที่ไม่น่ารักของพวกเค้าด้วยการฝึกอย่างสม่ำเสมอและส่งเสริมในเชิงบวก เพื่อให้ลูกแมวเข้าใจว่าพฤติกรรมไหนดีและแบบไหนที่ไม่ดี ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

     

  9. การฝึกลูกแมวใช้เวลานานแค่ไหน?  
  10. โดยทั่วไปจะใช้เวลาหลายเดือนในการฝึกลูกแมว ความสม่ำเสมอและความอดทนเป็นกุญแจสำคัญ เนื่องจากลูกแมวมีสมาธิสั้นและอาจไม่เข้าใจคำสั่งทั้งหมดจนกว่าพวกเค้าจะมีอายุประมาณ 6 เดือน แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์หรือผู้ฝึกสอนมืออาชีพ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณใช้เทคนิคการฝึกที่ถูกต้องและเหมาะสม

     

  • รวมทุกเรื่องที่คุณควรรู้ ก่อนนำลูกแมวเข้าบ้าน
    รวมทุกเรื่องที่คุณควรรู้ ก่อนนำลูกแมวเข้าบ้าน
    adp_description_block205
    พาแมวเข้าบ้านวันแรก ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

    • แบ่งปัน

    การนำลูกแมวตัวใหม่กลับบ้านเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนี่เป็นครั้งแรกของคุณ แต่ไม่ว่าจะรู้สึกตื่นเต้นหรือดีใจมากน้อยแค่ไหน คุณก็ควรเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อให้วันแรกและคืนแรกของเจ้าตัวน้อยเป็นไปอย่างราบรื่น
     

    การนำลูกแมวกลับบ้านก็เหมือนการพาลูกน้อยกลับบ้าน คุณควรเก็บข้าวของอันตรายในบ้านให้เรียบร้อย และสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ที่สำคัญในช่วงสัปดาห์แรก ควรพาลูกแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกาย แนะนำให้พวกเค้ารู้จักกับ
     

    สมาชิกในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ ส่วนการวางแผนออกไปผจญภัยนอกบ้านควรเริ่มเมื่อลูกแมวได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว
     

    สำหรับพ่อแม่แมวมือใหม่ทุกคน เรามีคำแนะนำและเคล็ดลับดี ๆ เกี่ยวกับการต้อนรับลูกแมวตัวใหม่เข้าบ้านมาฝากกัน
     

    สิ่งที่ควรทำก่อนนำลูกแมวเข้าบ้าน

    ก่อนที่จะพาลูกแมวเข้าบ้าน คุณควรพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์ที่น่าเชื่อถือในละแวกบ้าน เพื่อทำการตรวจสุขภาพ วางแผนการฉีดวัคซีนและป้องกันปรสิตเบื้องต้น ทั้งนี้หากคุณรับเลี้ยงลูกแมวแรกเกิด ก็ควรพาไปพบคุณหมอทันทีที่รับเลี้ยง รวมถึงควรทำตามขั้นตอนสำคัญอื่น ๆ ดังนี้ด้วย

    1. ป้องกันอันตรายภายในบ้าน

    ลูกแมวมีขนาดตัวเล็กและยังคงบอบบาง ผู้เลี้ยงจึงควรทำความสะอาดบ้าน เก็บข้าวของมีคมและสารอันตรายต่าง ๆ ให้มิดชิด พร้อมตรวจสอบให้แน่ใจว่าจัดพื้นที่นอน ชามอาหาร ชามน้ำ ของเล่น และกระบะทรายให้ครบถ้วน

    1. เตรียมพื้นที่พักผ่อนให้ดี

    ในช่วงสองสามคืนแรก ลูกแมวอาจรู้สึกวิตกกังวลและมักจะส่งเสียงร้อง พวกเค้าจะใช้เวลาสักพักเพื่อทำความคุ้นเคยกับบ้านใหม่ เพื่อช่วยให้ลูกแมวนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น ควรจัดมุมพักผ่อนในบริเวณที่อบอุ่น เงียบสงบ เมื่ออยู่บ้านใหม่ได้อย่างสบายใจ ลูกแมวจะสามารถนอนหลับได้นานถึง 20 ชั่วโมงต่อวัน

    1. เลือกโภชนาการอย่างเหมาะสม

    อาหารมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีในลูกแมว คุณจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม รวมไปถึงวิธีการให้อาหารอย่างถูกต้อง สำหรับลูกแมวในช่วงวัย 2 – 12 เดือน ขอแนะนำ ไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ อาหารเม็ดสูตรสำหรับแม่และลูกแมว เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน มีวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยพัฒนาสมองและดวงตาให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังมีดีเอชเอและโคลอสตรุม ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานตามธรรมชาติและป้องกันโรคร้าย ถือเป็นแหล่งอาหารจำเป็นที่พบได้ในนมแม่
     

    สิ่งที่ควรทำหลังนำลูกแมวเข้าบ้าน

    เมื่อเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยดีแล้ว ก็ถึงเวลารับเจ้าตัวน้อยเข้าบ้าน และมีขั้นตอนอีกมากมายที่คุณควรทำหลังจากนี้

    1. แนะนำลูกแมวให้รู้จักกับสมาชิกในครอบครัว

    ลูกแมวอาจรู้สึกกังวลเมื่ออยู่กับคนแปลกหน้า การทำให้พวกเค้าคุ้นเคยกับครอบครัวใหม่ตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้บรรยากาศสงบและไม่เสียงดังจนเกินไปในช่วงเวลาที่ทำความรู้จักกัน ควรปฏิบัติกับลูกแมวอย่างอ่อนโยน ไม่บังคับ ให้เวลาลูกแมวได้ปรับตัวและสำรวจบ้านด้วยตัวเอง

    1. แนะนำลูกแมวให้รู้จักกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่น

    หากคุณมีสัตว์เลี้ยงหรือแมวในบ้านอยู่แล้ว การเลือกวิธีแนะนำลูกแมวตัวใหม่เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะพวกเค้าทั้งหมดต้องอยู่ร่วมกันและควรจะเข้ากันได้ดี เริ่มจากปล่อยให้พวกเค้าทำความคุ้นเคยกลิ่นของกันและกันก่อน อาจนำผ้าห่มของลูกแมวตัวใหม่ไปวางใกล้ ๆ ชามอาหารของแมวตัวเก่า จากนั้นปล่อยให้ดมกลิ่นสำรวจจนคุ้นชิน วิธีนี้จะทำให้แมวตัวเก่าค่อย ๆ คุ้นเคยกับกลิ่นของแมวตัวใหม่ไปเอง

    1. พาลูกแมวไปพบสัตวแพทย์

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นหนึ่งในข้อปฏิบัติสำคัญที่ต้องทำทันทีหลังนำลูกแมวตัวใหม่กลับบ้าน คุณหมอจะวางแผนการฉีดวัคซีน พร้อมทำการดูแลป้องกันอื่น ๆ เพื่อเสริมสุขภาพโดยรวมของลูกแมว รวมถึงจะตรวจสอบน้ำหนักและสภาพร่างกาย เพื่อประเมินความต้องการทางโภชนาการของลูกแมวให้อีกด้วย

    1. ปล่อยให้ลูกแมวสำรวจบ้านใหม่

    เมื่อลูกแมวรู้สึกสบายใจกับการอยู่ในบ้านใหม่ พวกเค้าจะเริ่มสำรวจพื้นที่ทุกซอกทุกมุม คุณอาจพบว่าลูกแมวเดินเตร่ไปมาและดมกลิ่นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว นี่ถือเป็นข่าวดี ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกแมวได้รับบาดเจ็บขณะสำรวจบ้านใหม่ คุณควรเก็บกวาดบ้านให้เรียบร้อยพร้อมตามดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ไม่แนะนำให้อุ้มลูกแมวขึ้นมากอดหรือบังคับให้เคลื่อนไหวไปมา ปล่อยให้พวกเค้าสำรวจด้วยตัวเอง

    1. แบ่งเวลามาเล่นกับลูกแมวเป็นประจำ

    หลังจากลูกแมวปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้แล้ว คุณสามารถชวนพวกเค้าเล่นและทำกิจกรรมง่าย ๆ ได้ เช่น เล่นซ่อนแอบ เล่นตะครุบเหยื่อ อาจให้รางวัลด้วยขนมเมื่อพวกเค้าเล่นกับคุณ วิธีนี้ช่วยให้ลูกแมวเชื่อใจคุณมากยิ่งขึ้น จากนั้นอีกไม่นาน พวกเค้าก็จะเริ่มอ้อน เข้ามาคลอเคลีย และแสดงความรักให้เห็นบ่อยมากขึ้น

Close modal