เป็นที่รู้กันดีว่าแมวมีความเป็นตัวของตัวเองสูงและมีความสง่างามชวนให้หลงใหล เจ้าเหมียวขนฟูเหล่านี้มีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 12 – 18 ปี แมวที่มีอายุมากกว่า 3 ปีจะถือว่าเป็นแมวโตเต็มวัย และเมื่อมีอายุ 11 ปีขึ้นไปก็จะเข้าสู่ช่วงสูงวัย
พฤติกรรมหรือนิสัยการกินของแมวจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ อย่างลูกแมวต้องการปริมาณอาหารมากกว่าเพื่อน เนื่องจากพวกเค้าต้องการพลังงานสูงและอยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต แมวโตเต็มวัยต้องการอาหารในปริมาณปานกลางเพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อการทำกิจกรรมตลอดวัน ส่วนแมวสูงอายุมักจะมีความอยากอาหารน้อยลง เจ้าของจึงอาจต้องปรับเปลี่ยนสูตรอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของพวกเค้า หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการให้อาหารแมวสูงวัย มาติดตามบทความนี้ไปพร้อม ๆ กันเลย
พฤติกรรมการกินส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของแมวสูงวัย เจ้าของควรดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับโภชนาการกันให้มากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าน้องแมวจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม
ผู้เลี้ยงควรทำความเข้าใจก่อนว่าแมวแต่ละช่วงวัยมีความต้องการทางโภชนาการแตกต่างกัน ลูกแมวควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม แมวโตเต็มวัยควรได้รับการดูแลอย่างใส่ใจเพื่อป้องกันปัญหาน้ำหนักตัวเกิน และแมวสูงวัยควรได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง อาหารของพวกเค้าควรประกอบด้วยโปรตีนคุณภาพสูงและวิตามินอีเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและข้อต่อ
เมื่อน้องแมวมีอายุมากขึ้น การรับรสและการดมกลิ่นก็จะเสื่อมลง นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อปัญหาฟันเสื่อมสภาพซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการเคี้ยวอาหารด้วย เจ้าของสามารถทำตามคำแนะนำในการเลือกอาหารต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้น้องแมวกินอาหารได้ดียิ่งขึ้น
เนื่องจากแมวสูงวัยมีความอยากอาหารน้อยลง เจ้าของจึงต้องเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพื่อให้แน่ใจว่าน้องแมวจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน หรืออาจทำตามเคล็ดลับเหล่านี้เพิ่มเติมด้วยก็ได้
แม้ว่าน้องแมวสูงวัยจะอยากอาหารน้อยลง แต่พวกเค้ายังคงต้องการสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนหรือวิตามินที่จำเป็น สำหรับแมวสูงวัยที่มีสุขภาพแข็งแรง อาจให้อาหาร 3 – 4 ครั้งต่อวัน แต่หากพวกเค้ามีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร ควรให้อาหารอย่างน้อย 10 – 12 ครั้งต่อ
แทนที่จะเสิร์ฟอาหารร้อนหรือเย็นเกินไป เจ้าของควรเสิร์ฟอาหารในอุณหภูมิห้องปกติ เนื่องจากประสาทสัมผัสของแมวสูงวัยไม่ได้ดีดังเดิม อาหารอุณหภูมิห้องจะช่วยให้พวกเค้ารับรสและกลิ่นของอาหารได้ดีขึ้น
อาหารของแมวสูงวัยควรย่อยง่ายและมีสารอาหารที่สำคัญครบถ้วน เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุ
ช่วงวัยเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกอาหาร รวมถึงสภาวะสุขภาพ น้ำหนัก ความอยากอาหาร และรูปแบบการใช้ชีวิตของแมวด้วย แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อทำความเข้าใจข้อกำหนดด้านสุขภาพ การขาดสารอาหาร และโรคประจำตัวก่อนเลือกอาหารให้กับพวกเค้า
แมวสูงวัยส่วนใหญ่ต้องการพลังงานประมาณ 280 – 360 แคลอรี่ต่อวัน แนะนำให้เลือกอาหารคุณภาพดี โดยพิจารณาจากน้ำหนัก สภาวะสุขภาพ และสารอาหารที่ต้องการ
ควรให้อาหารแมวสูงวัยในปริมาณเล็กน้อยแต่ให้บ่อยขึ้น อย่างน้อย 3 – 4 ครั้งต่อวัน หากพวกเค้ามีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร คุณควรให้อาหารปริมาณที่น้อยลงและแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 10 – 12 ครั้งต่อวัน
ใช่ คุณควรเลือกอาหารสูตรสำหรับแมวสูงวัยโดยเฉพาะ เนื่องจากได้รับการคิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของแมวในช่วงวัยนี้
ข้อดีของอาหารสำหรับแมวสูงวัยมีดังต่อไปนี้
แมวที่มีอายุมากกว่า 11 ปีถือเป็นแมวสูงวัย
แมวเลี้ยงง่าย อยู่ง่าย ไม่ต้องเอาใจใส่อะไรมากมาย ชุดความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง! แม้จะพึ่งพาตัวเองได้ค่อนข้างดี แต่แมวเหมียวยังคงต้องการการดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การรักษาพยาบาล และการดูแลป้องกัน โดยแมวทุกตัวควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีน FVRCP เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อร้ายแรง และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
วัคซีนถูกพัฒนามาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง การฉีดวัคซีนให้แมวมักจะพิจารณาจากอายุ สุขภาพโดยรวม การใช้ชีวิต และสายพันธุ์ โดยวัคซีนสำหรับแมวแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ วัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือก วัคซีนหลักจำเป็นสำหรับแมวทุกตัว ส่วนวัคซีนทางเลือกจะฉีดให้กับแมวหลังจากพิจารณาสถานการณ์บางอย่างแล้ว
การฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยปกป้องแมวจากการตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายแรงได้ โดยวัคซีนสำคัญที่ลูกแมวทุกตัวควรได้รับมีดังนี้
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดเป็นประจำทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่คุณเลือก เพื่อปกป้องลูกแมวตัวน้อยจากไวรัสเรบีส์ที่อันตราย เชื้อชนิดนี้ไม่ได้พบแค่ในหมาแมวเท่านั้น แต่พบได้ในคนด้วย โดยแพร่กระจายผ่านการกัดหรือข่วนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวร้าว สับสน และมีอาการกลัวน้ำหลังผ่านระยะฟักตัว โรคพิษสุนัขบ้าส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ ไม่มียารักษา อัตราเสียชีวิตก็สูง การฉีดวัคซีนป้องกันจึงจำเป็นมาก
ต่อกันด้วยวัคซีนรวมที่ช่วยป้องกันแมวจากไวรัสสามชนิด ได้แก่ ไวรัสไข้หัดแมว รวมถึงเชื้อ Feline Virus Rhinotracheitis (FVR) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดในแมว ทั้งนี้แนะนำให้ฉีดวัคซีน FVRCP เป็นประจำทุกปี
วัคซีน FeLV เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยแมวอาจติดเชื้อขณะเลียขนหรือจากการใช้ชามอาหารชามน้ำร่วมกับแมวที่ติดเชื้อ ไวรัสร้ายแรงนี้อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรฉีดวัคซีน FeLV ให้แมวตั้งแต่อายุยังน้อยหรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ วัคซีนนี้ประกอบด้วย 2 โดส โดยเว้นระยะห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์สำหรับลูกแมว และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อแมวอายุอย่างน้อย 16 สัปดาห์
วัคซีน FPV จะช่วยปกป้องแมวจากโรคไข้หัดแมว โดยลูกแมวควรได้รับการฉีดวัคซีน FPV เมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ และฉีดทุก ๆ 3 – 4 สัปดาห์จนกระทั่งอายุ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นในช่วงอายุ 1 – 2 ปี
วัคซีน F4 หรือ FVRCCP พัฒนาขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคหวัดแมว การติดเชื้อไวรัสคาลิไซในแมว โรคไข้หัดแมว และโรคติดเชื้อคลาไมเดียในแมวซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตาในระยะเริ่มแรกด้วย ลูกแมวควรได้รับวัคซีนชนิดนี้เมื่อมีอายุ 8, 12 และ 16 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครบ 1 ปี และฉีดใหม่ทุก ๆ 3 ปี
วัคซีน F5 หรือ Fevac 5 เป็นวัคซีนรวมที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของลูกแมวเพื่อรับมือกับไวรัส 5 ชนิด การฉีดวัคซีนชนิดนี้จะช่วยให้ลูกแมวตัวน้อยปลอดภัยจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ
หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว ลูกแมวของคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและแสดงอาการผิดปกติเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายกำลังสร้างกลไกป้องกันเพื่อกำจัดไวรัสร้ายแรง โดยผลข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีนมีดังนี้
อ่อนเพลีย เซื่องซึม
อยากอาหารลดลง
อาเจียน
มีไข้
ท้องเสีย
การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นหนึ่งในการดูแลที่สำคัญ มันช่วยให้แมวมีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง และกระฉับกระเฉง ขอแนะนำให้พ่อแม่แมวทุกคนวางแผนตารางการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้