IAMS TH
Tips for Feeding Your Senior Cat
Tips for Feeding Your Senior Cat

adp_description_block135
คู่มือการให้อาหารน้องแมวสูงวัย

  • แบ่งปัน

เป็นที่รู้กันดีว่าแมวมีความเป็นตัวของตัวเองสูงและมีความสง่างามชวนให้หลงใหล เจ้าเหมียวขนฟูเหล่านี้มีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 12 – 18 ปี แมวที่มีอายุมากกว่า 3 ปีจะถือว่าเป็นแมวโตเต็มวัย และเมื่อมีอายุ 11 ปีขึ้นไปก็จะเข้าสู่ช่วงสูงวัย
 

พฤติกรรมหรือนิสัยการกินของแมวจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ อย่างลูกแมวต้องการปริมาณอาหารมากกว่าเพื่อน เนื่องจากพวกเค้าต้องการพลังงานสูงและอยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต แมวโตเต็มวัยต้องการอาหารในปริมาณปานกลางเพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อการทำกิจกรรมตลอดวัน ส่วนแมวสูงอายุมักจะมีความอยากอาหารน้อยลง เจ้าของจึงอาจต้องปรับเปลี่ยนสูตรอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของพวกเค้า หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการให้อาหารแมวสูงวัย มาติดตามบทความนี้ไปพร้อม ๆ กันเลย
 

ทำไมผู้เลี้ยงจึงควรใส่ใจกับการให้อาหารแมวสูงวัยมากเป็นพิเศษ?

พฤติกรรมการกินส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของแมวสูงวัย เจ้าของควรดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับโภชนาการกันให้มากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าน้องแมวจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม
 

ผู้เลี้ยงควรทำความเข้าใจก่อนว่าแมวแต่ละช่วงวัยมีความต้องการทางโภชนาการแตกต่างกัน ลูกแมวควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม แมวโตเต็มวัยควรได้รับการดูแลอย่างใส่ใจเพื่อป้องกันปัญหาน้ำหนักตัวเกิน และแมวสูงวัยควรได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง อาหารของพวกเค้าควรประกอบด้วยโปรตีนคุณภาพสูงและวิตามินอีเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและข้อต่อ
 

เมื่อน้องแมวมีอายุมากขึ้น การรับรสและการดมกลิ่นก็จะเสื่อมลง นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อปัญหาฟันเสื่อมสภาพซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการเคี้ยวอาหารด้วย เจ้าของสามารถทำตามคำแนะนำในการเลือกอาหารต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้น้องแมวกินอาหารได้ดียิ่งขึ้น

  • เลือกอาหารที่มีชิ้นเล็ก
  • เลือกอาหารที่มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย
  • เลือกอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลัก เพื่อเพิ่มกลิ่นและรสชาติของอาหาร

เคล็ดลับง่าย ๆ ในการให้อาหารแมวสูงวัย

เนื่องจากแมวสูงวัยมีความอยากอาหารน้อยลง เจ้าของจึงต้องเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพื่อให้แน่ใจว่าน้องแมวจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน หรืออาจทำตามเคล็ดลับเหล่านี้เพิ่มเติมด้วยก็ได้

  1. ให้อาหารน้อยลงแต่บ่อยขึ้น –

แม้ว่าน้องแมวสูงวัยจะอยากอาหารน้อยลง แต่พวกเค้ายังคงต้องการสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนหรือวิตามินที่จำเป็น สำหรับแมวสูงวัยที่มีสุขภาพแข็งแรง อาจให้อาหาร 3 – 4 ครั้งต่อวัน แต่หากพวกเค้ามีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร ควรให้อาหารอย่างน้อย 10 – 12 ครั้งต่อ

  1. เสิร์ฟอาหารอุณหภูมิห้อง –

แทนที่จะเสิร์ฟอาหารร้อนหรือเย็นเกินไป เจ้าของควรเสิร์ฟอาหารในอุณหภูมิห้องปกติ เนื่องจากประสาทสัมผัสของแมวสูงวัยไม่ได้ดีดังเดิม อาหารอุณหภูมิห้องจะช่วยให้พวกเค้ารับรสและกลิ่นของอาหารได้ดีขึ้น

  1. เลือกอาหารที่มีคุณภาพดี –

อาหารของแมวสูงวัยควรย่อยง่ายและมีสารอาหารที่สำคัญครบถ้วน เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุ
 

ช่วงวัยเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกอาหาร รวมถึงสภาวะสุขภาพ น้ำหนัก ความอยากอาหาร และรูปแบบการใช้ชีวิตของแมวด้วย แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อทำความเข้าใจข้อกำหนดด้านสุขภาพ การขาดสารอาหาร และโรคประจำตัวก่อนเลือกอาหารให้กับพวกเค้า

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้อาหารน้องแมวสูงวัย

  1. ควรให้อาหารแมวสูงวัยในปริมาณเท่าใด?
  2. แมวสูงวัยส่วนใหญ่ต้องการพลังงานประมาณ 280 – 360 แคลอรี่ต่อวัน แนะนำให้เลือกอาหารคุณภาพดี โดยพิจารณาจากน้ำหนัก สภาวะสุขภาพ และสารอาหารที่ต้องการ

  3. ควรให้อาหารแมวสูงวัยบ่อยแค่ไหน?
  4. ควรให้อาหารแมวสูงวัยในปริมาณเล็กน้อยแต่ให้บ่อยขึ้น อย่างน้อย 3 – 4 ครั้งต่อวัน หากพวกเค้ามีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร คุณควรให้อาหารปริมาณที่น้อยลงและแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 10 – 12 ครั้งต่อวัน

  5. ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับแมวสูงวัยโดยเฉพาะใช่หรือไม่?
  6. ใช่ คุณควรเลือกอาหารสูตรสำหรับแมวสูงวัยโดยเฉพาะ เนื่องจากได้รับการคิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของแมวในช่วงวัยนี้

  7. อาหารสูตรสำหรับแมวสูงวัยมีข้อดีอย่างไร?
  8. ข้อดีของอาหารสำหรับแมวสูงวัยมีดังต่อไปนี้

    • มีสารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้น ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน
    • มีไฟเบอร์สูงเพื่อเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร
    • มีวิตามินเพิ่มมากขึ้นเพื่อเสริมข้อต่อและกระดูกให้แข็งแรง

  9. แมวเข้าสู่ช่วงสูงวัยเมื่อมีอายุเท่าไหร่?
  10. แมวที่มีอายุมากกว่า 11 ปีถือเป็นแมวสูงวัย

  • cat article detail banner
    cat article detail banner
    adp_description_block379
    รวมประโยชน์น่ารู้ของอาหารแมวโปรตีนสูง

    • แบ่งปัน

    แมวเหมียวเป็นสัตว์ตระกูลเดียวกันกับเสือและสิงโต แม้จะมีขนาดตัวเล็กกว่าและดุร้ายน้อยกว่า แต่ยังมีความต้องการทางกายภาพและโภชนาการที่คล้ายคลึงกัน โดยแมวและลูกแมวต้องการโปรตีนมากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น เพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเหมาะสม ผู้เลี้ยงจึงควรเลือกอาหารแมวที่มีโปรตีนสูงให้กับพวกเค้า

    ลูกแมวต้องการโปรตีนสูงเพื่อเพิ่มพลังงาน การเลือกอาหารให้ลูกแมวจึงต้องพิจารณาจากปริมาณโปรตีนเป็นสำคัญ โดยอาหารแมวส่วนใหญ่จะเลือกใช้โปรตีนทั้งจากพืชและสัตว์เพื่อให้ได้ปริมาณตรงตามความต้องการในแต่ละวันของลูกแมว แม้ว่าโปรตีนจะเป็นสารอาหารที่จำเป็นมาก แต่ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้ออาหาร เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

    อาหารโปรตีนสูงสำหรับลูกแมวควรมีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วนและสมดุลควบคู่ไปกับสารอาหารชนิดอื่น รวมถึงควรเลือกใช้แหล่งโปรตีนคุณภาพดีและย่อยง่ายด้วย

    กรดอะมิโนที่ควรมีอยู่ในอาหารแมว

    กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน และมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานในร่างกาย เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น แมวต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นเพียง 2 ชนิดสำหรับการเจริญเติบโตและความเป็นอยู่ที่ดี โดยในอาหารแมวควรมีกรดอะมิโนที่จำเป็นดังต่อไปนี้

    1. อาร์จินีน – เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดสำหรับแมว หากขาดกรดอะมิโนชนิดนี้ ระดับแอมโมเนียในกระแสเลือดของลูกแมวจะสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการชักและเป็นอันตรายถึงชีวิตในบางสถานการณ์
    2. ทอรีน – ทอรีนจำเป็นต่อพัฒนาการของดวงตา หัวใจ และการสืบพันธุ์ของลูกแมว แมวสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนชนิดนี้ได้ในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งมักจะไม่เพียงพอต่อพัฒนาการที่เหมาะสม ทั้งนี้ลูกแมวที่ขาดทอรีนอาจมีอาการจอประสาทตาเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจพองโต การสืบพันธุ์ล้มเหลว และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความผิดปกติในร่างกาย

    ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับแมว

    แน่นอนว่าอาหารแมวทุกประเภทมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลัก แต่ผู้เลี้ยงก็ยังคงต้องตรวจสอบปริมาณโปรตีนของอาหารแต่ละชนิด เพื่อให้แน่ใจว่ามีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของแมวในแต่ละช่วงวัย

    แมวส่วนใหญ่ต้องการโปรตีนประมาณ 35% – 45% เพื่อเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี โดยคุณสามารถเช็กปริมาณโปรตีนที่แมวต้องการได้จากตารางด้านล่างนี้

    ช่วงวัย

    ปริมาณโปรตีนโดยเฉลี่ย (%)

    ลูกแมว

    40 – 50%

    แมวโตเต็มวัย

    35 – 40%

    แม่แมวตั้งท้องหรือให้นมลูก

    45 – 50%

    แมวสูงวัย

    35 – 38%

    แหล่งโปรตีนในอาหารแมว

    โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต การเสริมสร้างความแข็งแรง และยังเป็นแหล่งพลังงานชั้นเยี่ยมด้วย อาหารสำหรับลูกแมวจึงควรมีโปรตีนสูง ไม่เพียงแต่ในช่วงปีแรกเท่านั้น แต่รวมถึงช่วงวัยเจริญเติบโตด้วย นอกจากปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมแล้ว แหล่งที่มาของโปรตีนก็สำคัญเช่นกัน โดยแหล่งโปรตีนที่พบบ่อยที่สุดในอาหารแมว มีดังนี้

    1. โปรตีนจากพืช กลูเตนข้าวโพด กลูเตนข้าวสาลี กากถั่วเหลือง และโปรตีนจากข้าวถือเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่เหมาะสำหรับลูกแมว
    2. โปรตีนจากสัตว์ – เนื่องจากเป็นสัตว์กินเนื้อ อาหารสำหรับแมวจึงต้องมีเนื้อสัตว์คุณภาพดีเป็นส่วนผสมหลัก เพื่อให้แน่ใจว่าแมวจะได้รับปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม โดยแหล่งโปรตีนที่มีความเข้มข้นสูง ได้แก่ เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ ปลา และไก่งวง เหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณควรมองหาในอาหารแมวโปรตีนสูง

    จะรู้ได้อย่างไรว่าแมวได้รับปริมาณโปรตีนเพียงพอแล้ว?

    แมวทุกตัวต้องการโปรตีนเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการโดยรวมที่ดี แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพวกเค้าได้รับโปรตีนเพียงพอต่อความต้องการแล้ว? โดยแมวโตทั่วไปควรได้รับโปรตีนประมาณ 35% จากอาหาร อ้างอิงจากข้อกำหนดของ AAFCO (องค์กรควบคุมอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงแห่งอเมริกา) แมวต้องการโปรตีนอย่างน้อย 30% สำหรับการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ และโปรตีนประมาณ 26% สำหรับการบำรุงรักษาร่างกาย หากอาหารผลิตจากแหล่งโปรตีนคุณภาพต่ำหรือมีปริมาณโปรตีนต่ำ อาจทำให้แมวมีอาการอาหารไม่ย่อยและสูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้

    วิธีคำนวณปริมาณโปรตีนในอาหารแมวแบบเปียก

    เนื่องจาก AAFCO กำหนดปริมาณโปรตีนในรูปแบบของวัตถุแห้ง ดังนั้นหากให้อาหารเปียกแก่ลูกแมวตัวน้อย คุณอาจต้องคำนวณปริมาณโปรตีนด้วยตนเอง โดยสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้

    ขั้นตอนที่ 1 – คำนวณหาปริมาณวัตถุแห้งของอาหารโดยหักลงจากปริมาณความชื้นสูงสุด(%) 

    ขั้นตอนที่ 2 – นำปริมาณโปรตีนดิบ(%) มาหารด้วยปริมาณวัตถุแห้งที่ได้

    ขั้นตอนที่ 3 – คูณผลลัพธ์ด้วย 100 เพื่อให้ได้ปริมาณโปรตีนในรูปแบบร้อยละที่มีอยู่ในวัตถุแห้งของอาหาร

    ตัวอย่าง อาหารมีความชื้น 75% มีโปรตีนดิบ 12%

    1. 100 – 75(ความชื้น) = 25(ปริมาณวัตถุแห้งของอาหาร)
    2. 12(ปริมาณโปรตีนดิบ) / 25 = 0.48
    3. 0.48 x 100 = 48%