IAMS TH
Tips for Feeding Your Senior Cat
Tips for Feeding Your Senior Cat

adp_description_block20
คู่มือการให้อาหารน้องแมวสูงวัย

  • แบ่งปัน

เป็นที่รู้กันดีว่าแมวมีความเป็นตัวของตัวเองสูงและมีความสง่างามชวนให้หลงใหล เจ้าเหมียวขนฟูเหล่านี้มีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 12 – 18 ปี แมวที่มีอายุมากกว่า 3 ปีจะถือว่าเป็นแมวโตเต็มวัย และเมื่อมีอายุ 11 ปีขึ้นไปก็จะเข้าสู่ช่วงสูงวัย
 

พฤติกรรมหรือนิสัยการกินของแมวจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ อย่างลูกแมวต้องการปริมาณอาหารมากกว่าเพื่อน เนื่องจากพวกเค้าต้องการพลังงานสูงและอยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต แมวโตเต็มวัยต้องการอาหารในปริมาณปานกลางเพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อการทำกิจกรรมตลอดวัน ส่วนแมวสูงอายุมักจะมีความอยากอาหารน้อยลง เจ้าของจึงอาจต้องปรับเปลี่ยนสูตรอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของพวกเค้า หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการให้อาหารแมวสูงวัย มาติดตามบทความนี้ไปพร้อม ๆ กันเลย
 

ทำไมผู้เลี้ยงจึงควรใส่ใจกับการให้อาหารแมวสูงวัยมากเป็นพิเศษ?

พฤติกรรมการกินส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของแมวสูงวัย เจ้าของควรดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับโภชนาการกันให้มากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าน้องแมวจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม
 

ผู้เลี้ยงควรทำความเข้าใจก่อนว่าแมวแต่ละช่วงวัยมีความต้องการทางโภชนาการแตกต่างกัน ลูกแมวควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม แมวโตเต็มวัยควรได้รับการดูแลอย่างใส่ใจเพื่อป้องกันปัญหาน้ำหนักตัวเกิน และแมวสูงวัยควรได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง อาหารของพวกเค้าควรประกอบด้วยโปรตีนคุณภาพสูงและวิตามินอีเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและข้อต่อ
 

เมื่อน้องแมวมีอายุมากขึ้น การรับรสและการดมกลิ่นก็จะเสื่อมลง นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อปัญหาฟันเสื่อมสภาพซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการเคี้ยวอาหารด้วย เจ้าของสามารถทำตามคำแนะนำในการเลือกอาหารต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้น้องแมวกินอาหารได้ดียิ่งขึ้น

  • เลือกอาหารที่มีชิ้นเล็ก
  • เลือกอาหารที่มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย
  • เลือกอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลัก เพื่อเพิ่มกลิ่นและรสชาติของอาหาร

เคล็ดลับง่าย ๆ ในการให้อาหารแมวสูงวัย

เนื่องจากแมวสูงวัยมีความอยากอาหารน้อยลง เจ้าของจึงต้องเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพื่อให้แน่ใจว่าน้องแมวจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน หรืออาจทำตามเคล็ดลับเหล่านี้เพิ่มเติมด้วยก็ได้

  1. ให้อาหารน้อยลงแต่บ่อยขึ้น –

แม้ว่าน้องแมวสูงวัยจะอยากอาหารน้อยลง แต่พวกเค้ายังคงต้องการสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนหรือวิตามินที่จำเป็น สำหรับแมวสูงวัยที่มีสุขภาพแข็งแรง อาจให้อาหาร 3 – 4 ครั้งต่อวัน แต่หากพวกเค้ามีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร ควรให้อาหารอย่างน้อย 10 – 12 ครั้งต่อ

  1. เสิร์ฟอาหารอุณหภูมิห้อง –

แทนที่จะเสิร์ฟอาหารร้อนหรือเย็นเกินไป เจ้าของควรเสิร์ฟอาหารในอุณหภูมิห้องปกติ เนื่องจากประสาทสัมผัสของแมวสูงวัยไม่ได้ดีดังเดิม อาหารอุณหภูมิห้องจะช่วยให้พวกเค้ารับรสและกลิ่นของอาหารได้ดีขึ้น

  1. เลือกอาหารที่มีคุณภาพดี –

อาหารของแมวสูงวัยควรย่อยง่ายและมีสารอาหารที่สำคัญครบถ้วน เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุ
 

ช่วงวัยเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกอาหาร รวมถึงสภาวะสุขภาพ น้ำหนัก ความอยากอาหาร และรูปแบบการใช้ชีวิตของแมวด้วย แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อทำความเข้าใจข้อกำหนดด้านสุขภาพ การขาดสารอาหาร และโรคประจำตัวก่อนเลือกอาหารให้กับพวกเค้า

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้อาหารน้องแมวสูงวัย

  1. ควรให้อาหารแมวสูงวัยในปริมาณเท่าใด?
  2. แมวสูงวัยส่วนใหญ่ต้องการพลังงานประมาณ 280 – 360 แคลอรี่ต่อวัน แนะนำให้เลือกอาหารคุณภาพดี โดยพิจารณาจากน้ำหนัก สภาวะสุขภาพ และสารอาหารที่ต้องการ

  3. ควรให้อาหารแมวสูงวัยบ่อยแค่ไหน?
  4. ควรให้อาหารแมวสูงวัยในปริมาณเล็กน้อยแต่ให้บ่อยขึ้น อย่างน้อย 3 – 4 ครั้งต่อวัน หากพวกเค้ามีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร คุณควรให้อาหารปริมาณที่น้อยลงและแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 10 – 12 ครั้งต่อวัน

  5. ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับแมวสูงวัยโดยเฉพาะใช่หรือไม่?
  6. ใช่ คุณควรเลือกอาหารสูตรสำหรับแมวสูงวัยโดยเฉพาะ เนื่องจากได้รับการคิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของแมวในช่วงวัยนี้

  7. อาหารสูตรสำหรับแมวสูงวัยมีข้อดีอย่างไร?
  8. ข้อดีของอาหารสำหรับแมวสูงวัยมีดังต่อไปนี้

    • มีสารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้น ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน
    • มีไฟเบอร์สูงเพื่อเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร
    • มีวิตามินเพิ่มมากขึ้นเพื่อเสริมข้อต่อและกระดูกให้แข็งแรง

  9. แมวเข้าสู่ช่วงสูงวัยเมื่อมีอายุเท่าไหร่?
  10. แมวที่มีอายุมากกว่า 11 ปีถือเป็นแมวสูงวัย

  • Kitten and cat adoption basics
    Kitten and cat adoption basics
    adp_description_block6
    มือใหม่ต้องรู้! วิธีเตรียมความพร้อมก่อนรับเลี้ยงแมว

    • แบ่งปัน

    เชื่อเถอะว่าการรับเลี้ยงแมวจะกลายเป็นหนึ่งในสายสัมพันธ์ที่พิเศษที่สุดในชีวิตของคุณ แมวเหมียวเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่ารักและขี้เล่น เพียงใช้เวลากับพวกเค้าไม่นาน คุณจะพบว่าตัวเองเครียดน้อยลงและมีความสุขมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การรับแมวมาเลี้ยงเป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่ซึ่งมาพร้อมความรับผิดชอบมากมาย บ้านของคุณจะกลายเป็นบ้านของพวกเค้า และคุณจะกลายเป็นครอบครัวของเจ้าตัวน้อย ดังนั้นก่อนจะมองหาสถานที่รับเลี้ยงแมวใกล้ฉัน คุณควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้ดีเสียก่อน

    ข้อควรรู้ก่อนรับเลี้ยงแมว 

    ไม่ว่าจะเลือกรับเลี้ยงลูกแมวตัวน้อยหรือพี่เหมียวตัวโต คุณควรพิจารณาสิ่งเหล่านี้ก่อน

    1. การทำหมันให้แมว

      • หากรับเลี้ยงน้องแมวโตที่ยังไม่ได้ทำหมัน ควรพาพวกเค้าไปทำหมันให้เรียบร้อย แต่หากเป็นลูกแมว คุณต้องรอจนกว่าจะถึงช่วงอายุที่เหมาะสม โดยสามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์พักพิงสัตว์เลี้ยงหรือสัตวแพทย์เกี่ยวกับขั้นตอนการทำหมันเพิ่มเติมได้
    2. ทบทวนเรื่องเวลาและกิจวัตรประจำวันของตัวเองให้ดี

      • หากต้องทำงานหรือมีตารางชีวิตที่วุ่นวาย ควรพิจารณาก่อนว่าจะสามารถแบ่งเวลามาดูแลเจ้าเหมียวได้หรือไม่ ทั้งเรื่องอาหารและการทำความสะอาด คุณจำเป็นต้องวางแผนการให้อาหารพวกเค้าอย่างเหมาะสม และต้องอย่าลืมแบ่งเวลามาเล่นหรือทำกิจกรรมกับพวกเค้าด้วย
    3. การรับเลี้ยงแมวเป็นความผูกพันระยะยาว

      • เมื่อรับน้องแมวเข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวแล้ว คุณจะกลายเป็นโลกทั้งใบของพวกเค้า และจำเป็นต้องดูแลรับผิดชอบพวกเค้าตลอดไปจนกว่าจะสิ้นอายุขัย ทั้งนี้อายุขัยของแมวจะอยู่ที่ 12 – 20 ปี ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจรับเลี้ยงแมวจรจากศูนย์พักพิงสัตว์ไร้บ้านหรือเก็บมาจากข้างถนน ควรพิจารณาให้ดีว่าพร้อมสำหรับความผูกพันและความรับผิดชอบระยะยาวนี้แล้วหรือยัง

     

    ปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสมสำหรับน้องแมว

    ก่อนจะพาเจ้าตัวน้อยกลับบ้าน คุณอาจต้องปรับเปลี่ยนบางสิ่งในบ้านให้เรียบร้อยก่อน โดยเริ่มจากทำตามคำแนะนำเหล่านี้

    1. นำสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายต่อน้องแมวออกไป เช่น ไม้ประดับบางชนิด หรือสารเคมีต่าง ๆ 
    2. เก็บสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พ้นอุ้งมือเจ้าเหมียว (พวกเค้าอาจเคี้ยวสายไฟเล่น จนนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรงได้)
    3. หากมีเด็กน้อยในครอบครัว ควรสอนวิธีการเข้าหาและการเล่นกับแมวอย่างเหมาะสม
    4. เตรียมพื้นที่ส่วนตัวให้เจ้าเหมียว เพื่อให้พวกเค้ารู้สึกปลอดภัยและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว
    5. ค้นหาคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้าน เพื่อความสะดวกต่อการพาเจ้าตัวน้อยไปตรวจสุขภาพ

    ข้อดีของการรับเลี้ยงแมวมีอะไรบ้าง?

    ตามมาดูข้อดีหรือประโยชน์ของการรับเลี้ยงแมวกันได้เลย

    1. มอบชีวิตใหม่ให้น้องแมว

      • การเลือกที่จะรับเลี้ยงแมวจรแทนการซื้อแมวถือเป็นการช่วยเหลือน้องแมวอย่างแท้จริง ให้พวกเค้ามีบ้าน ได้รับการดูแล มีอาหารดี ๆ กิน และมีคนที่พร้อมมอบความรักให้ 
    2. น้องแมวมักได้รับการฝึกมาแล้ว

      • น้องแมวจากศูนย์พักพิงสัตว์ไร้บ้านมักได้รับการฝึกขั้นพื้นฐานกันมาบ้างแล้ว ทั้งการกินอาหารจากชามและการใช้เสาลับเล็บ
    3. เลือกรับเลี้ยงได้จากลักษณะนิสัยเฉพาะตัว

      • นี่เป็นหนึ่งในประโยชน์ที่ดีที่สุดของการรับเลี้ยงน้องแมวจากศูนย์พักพิงสัตว์ไร้บ้าน เพราะน้องแมวส่วนใหญ่มักแสดงนิสัยหรือลักษณะพิเศษเฉพาะตัวออกมาให้เห็น ทำให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นว่าพวกเค้าเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณหรือไม่

     

    ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงเมื่อรับเลี้ยงแมว

    ปัจจัยเหล่านี้คือสิ่งที่คุณควรพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจรับแมวมาเลี้ยง

     

    1. การแนะนำให้รู้จักแมวเจ้าถิ่น

      • หากมีแมวเหมียวอยู่แล้วในบ้าน คุณควรปรึกษาศูนย์พักพิงเพื่อเลือกแมวที่ชอบอยู่ร่วมกับตัวอื่น ๆ รวมทั้งศึกษาวิธีการค่อย ๆ แนะนำแมวตัวใหม่ให้รู้จักกับเจ้าถิ่นตัวเดิม เพื่อระวังไม่ให้พวกเค้าเครียดจนเกินไป
    2. การเลี้ยงแมวมีค่าใช้จ่าย

      • ทั้งค่าตรวจสุขภาพ ค่ายารักษา ค่าอาหาร ของเล่น และอื่น ๆ สำหรับน้องแมวไร้บ้านหรือน้องแมวจร อาจมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมากเป็นพิเศษ 
    3. กิจวัตรประจำวัน

      • น้องแมวต้องการการดูแลและเอาใจใส่อย่างเหมาะสม เวลาจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่คุณควรพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจรับแมวมาเลี้ยง โดยอาจเลือกน้องแมวที่มีไลฟ์สไตล์ตรงกับคุณ เช่น หากต้องออกจากบ้านไปทำงาน อาจเลือกน้องแมวที่รักอิสระและสามารถอยู่ตามลำพังได้

     

    อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงแมว

    เพื่อการดูแลเจ้าเหมียวได้อย่างเต็มที่ ทาสแมวมือใหม่ควรเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ให้พร้อม

    1. ชามน้ำและชามอาหาร
    2. กระบะทราย
    3. เสาลับเล็บ
    4. ของเล่น
    5. แคทนิป
    6. อุปกรณ์อาบน้ำและดูแลขน
    7. กรงหรือกระเป๋าใส่แมว
    8. เบาะนอน
    9. ปลอกคอพร้อมป้ายชื่อ

Close modal