IAMS TH
Kitten Basics: Enriched Environments
Kitten Basics: Enriched Environments

adp_description_block459
ทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงแมว

  • แบ่งปัน

ทาสแมวทุกคนต่างก็อยากมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกแมวตัวน้อยของตัวเอง และหนึ่งในนั้นคือการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตและเสริมสร้างสุขภาพที่ดี สิ่งนี้หมายรวมถึงการจัดหากิจกรรม ของเล่น หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่ช่วยกระตุ้นสภาพร่างกายและจิตใจพวกเค้าด้วย นอกจากนี้สภาพแวดล้อมที่ดียังช่วยป้องกันปัญหาทางพฤติกรรม เช่น การข่วน การกัด และการทำลายข้าวของได้อีกด้วย

 

การสร้างสภาพแวดล้อมให้ลูกแมวมีความสุขและสุขภาพดี
 

เพื่อให้เจ้าตัวน้อยของคุณมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง ลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้กันได้เลย

  1. การออกกำลังกายและการเล่น – การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับน้องแมวทุกช่วงวัย ควรหาเวลาให้พวกเค้าได้วิ่ง กระโดด และเล่นตามใจชอบบ้าง โดยคุณสามารถใช้ของเล่นเสริมพัฒนาการ เช่น ลูกบอล ตุ๊กตา เลเซอร์ หรือคอนโดแมว เพื่อกระตุ้นให้ลูกแมวอยากเล่นและยอมเคลื่อนไหวร่างกายมากยิ่งขึ้น

  2. พื้นที่แห่งความสนุกและปลอดภัย – ควรจัดเตรียมพื้นที่สำหรับเล่นและพักผ่อนให้กับลูกแมว อาจจัดเตรียมเสาลับเล็บและข้าวของอื่น ๆ ที่พวกเค้าสามารถใช้สร้างอาณาเขตเพิ่มเติมด้วย นอกจากนี้คุณยังสามารถนำกล่องลังหรืออุโมงค์แมวมาไว้ในบ้าน เพื่อเปิดโอกาสให้พวกเค้าได้เล่น ได้สำรวจ และใช้เป็นที่ซ่อนตัว 

  3. ของเล่นที่ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัส – น้องแมวมีประสาทสัมผัสที่ยอดเยี่ยม ทั้งการมองเห็นและการดมกลิ่น เจ้าของจึงควรจัดหาของเล่นเพื่อช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสของพวกเค้า อาจใช้ของเล่นที่มีพื้นผิวต่างกันหรือหาต้นแคทนิปมาให้แทนก็ได้ นอกจากของเล่นและอุปกรณ์แล้ว คุณอาจให้อาหารหลาย ๆ ชนิด เพื่อให้ลูกแมวได้รู้จักกับรสชาติและเนื้อสัมผัสใหม่ ๆ

  4. การเข้าสังคม – แมวเป็นสัตว์สังคมและเติบโตได้ดีเมื่อมีเพื่อน หากคุณมีลูกแมวเพียงตัวเดียว อาจใช้ตุ๊กตาสัตว์หรือกระจกเป็นเพื่อนแก้เหงาให้พวกเค้า สิ่งนี้จะช่วยให้เจ้าตัวน้อยได้รับการกระตุ้นทางสังคมที่จำเป็น แต่หากคุณมีแมวมากกว่าหนึ่ง ควรจัดพื้นที่ในบ้านให้เหมาะสมและเตรียมอุปกรณ์จำเป็นให้เพียงพอสำหรับน้องแมวทุกตัว โดยอาจจัดให้มีพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันและเตรียมของเล่นหลากหลายชนิดเอาไว้ให้พร้อม 
     

    นอกจากการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีแล้ว คุณยังสามารถจัดหากิจกรรมหรือตัวช่วยต่าง ๆ เพื่อให้ลูกแมวมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งสิ่งที่เราแนะนำมีดังนี้

     

  5. ฝึกทำตามคำสั่ง – ลองฝึกสอนคำสั่งพื้นฐาน เช่น การนั่งหรืออยู่นิ่ง การฝึกจะช่วยให้ลูกแมวมีสมาธิและความมั่นใจมากขึ้น

  6. เลือกใช้ชามอาหารแบบพิเศษ – ชามอาหารประเภทนี้จะช่วยให้ลูกแมวเพลิดเพลินกับการกินมากยิ่งขึ้น และช่วยป้องกันปัญหาลูกแมวกินเร็วเกินไปได้อีกด้วย

  7. ที่นั่งริมหน้าต่าง – น้องแมวส่วนใหญ่ชอบชมวิวนอกบ้าน เพราะมันช่วยให้พวกเค้าเพลิดเพลินและได้สำรวจสิ่งใหม่ ๆ ทุกวัน

    การเลี้ยงน้องแมวในสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากจะช่วยให้พวกเค้ามีสุขภาพดีและมีความสุขแล้ว ยังป้องกันปัญหาพฤติกรรมได้อีกด้วย ยิ่งถ้าคุณฝึกทักษะและการเข้าสังคมอย่างเหมาะสม พวกเค้าก็จะสามารถปรับตัวได้ดีและมีความสุขในการใช้ชีวิตเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นอย่าลืมทำความเข้าใจความต้องการของลูกแมวและจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเอาไว้ให้พร้อม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงแมว

  1. อะไรคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับการเลี้ยงแมว?  
  2. มันคือการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งอาจรวมถึงการเตรียมอุปกรณ์ เช่น คอนโดแมว เสาลับเล็บ ของเล่นชนิดต่าง ๆ และที่หลบซ่อนตัว นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้น้องแมวได้ปลดปล่อยสัญชาตญาณตามธรรมชาติด้วย เช่น การล่าเหยื่อและการสำรวจ

     

  3. จะช่วยให้ลูกแมวคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ได้อย่างไรบ้าง?  
  4. ค่อย ๆ แนะนำให้ลูกแมวรู้จักพื้นที่รอบตัว โดยปล่อยให้พวกเค้าได้สำรวจตามใจชอบ และอาจใช้การกระตุ้นเชิงบวก เช่น การให้ขนมหรือพูดชมเชย ทั้งนี้เจ้าของควรเตรียมพื้นที่ส่วนตัวและปลอดภัยให้พวกเค้าด้วย  โดยอาจจะเลือกเป็นเบาะนอน กระเป๋าแมว หรือกล่องลัง คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

     

  5. ลูกแมวใช้เวลาทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่นานแค่ไหน?
  6. ลูกแมวส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ในช่วงเวลานี้ สิ่งสำคัญคือต้องจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัยและสะดวกสบายเพื่อให้ลูกแมวได้สำรวจสิ่งต่าง ๆ และสร้างกิจวัตรประจำวัน ความสม่ำเสมอและความอดทนเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ลูกแมวรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน

     

  7. ลูกแมวต้องการความสนใจมากน้อยแค่ไหน?
  8. ลูกแมวต้องการความเอาใจใส่และการดูแลมากเป็นพิเศษ เนื่องจากร่างกายของพวกเค้ายังเติบโตและพัฒนาได้ไม่เต็มที่ พวกเค้าต้องการอาหารที่ดี การดูแล การเล่น การเข้าสังคม และการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ โดยแนะนำให้ใช้เวลาร่วมกับพวกเค้าอย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมงต่อวัน ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลลูกแมวตามช่วงวัยหรือความต้องการที่เฉพาะเจาะจงได้

     

  • vet approved tips image
    vet approved tips image
    adp_description_block89
    วิธีอาบน้ำลูกแมวตัวน้อย

    • แบ่งปัน

    การอาบน้ำเป็นหนึ่งในงานที่ยากมากสำหรับพ่อแม่แมว เพราะเจ้าเหมียวส่วนใหญ่ไม่ชอบน้ำและมักจะหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำ แต่มันเป็นการดูแลที่สำคัญและไม่สามารถละเลยได้ โดยเฉพาะเมื่อลูกแมวมีปัญหาสุขภาพผิวหนัง สำหรับทาสแมวมือใหม่ที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอาบน้ำลูกแมวอย่างไร เรามีเคล็ดลับและเทคนิคดี ๆ มาฝากกัน ห้ามพลาดบทความนี้เลย!

     

    เคล็ดลับการอาบน้ำให้ลูกแมว
     

    ก่อนเริ่มอาบน้ำให้ลูกแมว คุณควรตัดเล็บพวกเค้าให้เรียบร้อย เพราะเจ้าเหมียวจะข่วนคุณอย่างไม่ลังเลหากรู้สึกไม่พอใจหรือไม่สบายตัว และคุณอาจทำตามเคล็ดลับเหล่านี้เพื่อให้การอาบน้ำเจ้าตัวน้อยง่ายขึ้น!

    1. แปรงขนก่อนอาบน้ำเสมอ

      ลูกแมวผลัดขนตลอดทั้งปี ขนของพวกเค้าอาจร่วงมากขณะอาบน้ำ และอาจอุดตันระบบระบายน้ำของคุณได้ ทางที่ดีจึงควรแปรงขนลูกแมวเพื่อกำจัดเส้นขนที่หลุดร่วงออกไปก่อน

    2. เลือกเวลาที่เหมาะสม

      แนะนำให้เลือกอาบน้ำหลังจากที่ลูกแมวทำกิจกรรมอย่างเต็มที่แล้ว เช่น หลังเวลาเล่นหรือออกกำลังกาย เมื่อลูกแมวเหนื่อยและหมดแรง พวกเค้าอาจจะปล่อยให้คุณอาบน้ำโดยไม่ขัดขืน

    3. ใช้แชมพูสูตรสำหรับแมวโดยเฉพาะ

      ควรเลือกแชมพูที่ถูกออกแบบมาเพื่อแมวโดยเฉพาะ หลีกเลี่ยงการใช้แชมพูหรือสบู่ของคนในทุกกรณี เนื่องจากมันอาจตกค้างอยู่บนเส้นขน ทำให้แมวได้รับเข้าไปขณะเลียตัวทำความสะอาด

    4. ล้างน้ำให้สะอาด

      สิ่งสำคัญคือต้องล้างแชมพูออกจากขนลูกแมวให้หมด และควรระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าหู จมูก หรือตา ทั้งนี้เพื่อให้ลูกแมวรู้สึกสบายตัวมากที่สุด ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนหรือน้ำเย็นจัด แนะนำให้ใช้น้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้องแทน

    5. ให้ขนมแสนอร่อยเป็นรางวัล

      เมื่ออาบน้ำให้ลูกแมวเรียบร้อยแล้ว ควรให้ขนมเป็นรางวัลทันที การเล่นและขนมแสนอร่อยจะทำให้ช่วงเวลาอาบน้ำเป็นประสบการณ์ที่ดีของแมว นอกจากนี้ขนมยังมีประโยชน์ในการหันเหความสนใจได้ดีเมื่อลูกแมวเริ่มวิตกกังวล

     

    การเป่าขนแมวอย่างถูกวิธี

     

    หลังอาบน้ำเสร็จ ควรเช็ดตัวและเป่าขนแมวให้แห้งทันที หากปล่อยให้ขนเปียกชื้นนาน ๆ อาจทำให้เกิดปัญหาผิวหนังได้ แต่การใช้ผ้าขนหนูถูตัวแรง ๆ ก็อาจทำให้แมวรู้สึกไม่สบายและเกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังได้เช่นกัน คุณจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยแนะนำให้ทำตามวิธีต่อไปนี้แทน
     

    1. ขั้นตอนที่ 1 – วางลูกแมวลงบนผ้าขนหนูที่แห้งและสะอาด

    2. ขั้นตอนที่ 2 – ห่อตัวลูกแมวด้วยผ้าขนหนู

    3. ขั้นตอนที่ 3 – จับแมวนั่งบนตัก ปล่อยให้แมวสงบอารมณ์ลงสักพัก

    4. ขั้นตอนที่ 4 – ใช้ผ้าขนหนูซับเบา ๆ ทั่วทั้งตัวแมว

    5. ขั้นตอนที่ 5 – ค่อย ๆ ซับไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งขนชื้นและไม่เปียกโชก

     

    ป้องกันปัญหาขณะอาบน้ำให้ลูกแมว
     

    แมวเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบน้ำโดยธรรมชาติ เนื่องจากบรรพบุรุษอาศัยอยู่ในทะเลทราย ซึ่งหมายความว่าพวกเค้าแทบจะไม่เคยเจอฝน ทะเลสาบ หรือแม่น้ำเลย ดังนั้นน้ำทุกประเภท ยกเว้นน้ำดื่ม จึงกลายเป็นสิ่งแปลกปลอม อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติกับลูกแมวอย่างอ่อนโยนจะช่วยลดปัญหาขณะอาบน้ำและสร้างประสบการณ์ที่ดีได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการจ่อฝักบัวที่ตัวลูกแมวตลอดเวลา และพยายามจำกัดเวลาอาบน้ำให้สั้นที่สุด
     

    ข้อควรระวัง – หากลูกแมวยังคงแสดงอาการกังวลหรือเครียดมาก ๆ ขณะอาบน้ำ แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์
     

    การอาบน้ำเป็นช่วงเวลาที่ดีในการสานสัมพันธ์กับลูกแมวตัวน้อยของคุณ อีกทั้งยังช่วยให้ลูกแมวคุ้นเคยกับการสัมผัส เสริมสร้างความไว้วางใจและกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นขึ้นด้วย

Close modal