“ทำความเข้าใจว่ากรดลิโนเลอิก กรดไขมันโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 ในอาหารแมวอย่าง ไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ แมวโต รสดั้งเดิม และไก่ช่วยบำรุงสุขขนให้แมวคุณได้อย่างไร”
กรดลิโนเลอิกเป็นกรดไขมันโอเมก้า-6 ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยนิยมใช้เป็นวัตถุดิบของอาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งพบได้ใน ข้าวโพด และไขมันไก่ กรดลิโนเอลิกเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อสุนัขและแมว
กรดไขมัน อยู่ในไขมันที่พบในอาหารโดยเกิดจากการรวมตัวของ คาร์บอน ไฮเดนเจน และออกซิเจนในสัดส่วนเฉพาะ กรดไขมันบางกลุ่ม อย่างเช่น โอเมก้า-3 (กรดไขมันที่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนตำแหน่งที่ 3) และโอเมก้า-6 (กรดไขมันที่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนตำแหน่งที่ 6) ก็มีความจำเป็นอย่างมากต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายแมว
พันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนตำแหน่งที่ 6 จึงมีชื่อว่า กรดไขมันโอเมก้า-6 มีหน้าที่บำรุงรักษาผิวหนังและขน รวมถึงช่วยให้พัฒนาการเป็นปกติ ทำให้เนื้อเยื่อเซลล์มีโครงสร้างที่ถูกต้อง และดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน
กรดลิโนเลอิกเป็นกรดไขมันโอเมก้า-6 ที่สำคัญที่สุด เนื่องจากแมวไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งยังต้องใช้เพื่อผลิตกรดไขมันโอเมก้า-6 ชนิดอื่นอีกด้วย
นอกจากนี้แมวยังต้องการกรดอะราคิโดนิกด้วยเนื่องจากเป็นกรดที่ไม่สามารถผลิตจากกรดลิโนเลอิกได้
อาหารแมวส่วนใหญ่มีปริมาณกรดลิโนเลอิกเกินกว่าที่จำเป็นอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม งานวิจัยไอแอมส์พบว่า ไม่ใช่แค่ปริมาณเท่านั้นที่สำคัญ แต่สัดส่วนระหว่างโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
สัดส่วนโอเมก้า-6 ต่อโอเมก้า-3 ที่ดีที่สุดเพื่อสุขภาพผิวหนังและขนที่แข็งแรงในสุนัขและแมวคือระหว่าง 5:1 และ 10:1 ดังนั้น กรดไขมันโอเมก้า-6 ทุก 5-10 หน่วยต้องมีโอเมก้า-3 อย่างน้อย 1 หน่วยเสมอ
หากพบว่าเจ้าเหมียวเกาหรือกัดตัวเองบ่อยผิดปกติ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของการมีหมัด นอกจากจะทำให้เกิดอาการคันและไม่สบายตัวแล้ว หมัดยังสามารถแพร่โรคได้อีกด้วย ในกรณีที่ร้ายแรง ลูกแมวอาจมีภาวะโลหิตจาง ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับลูกแมวตัวน้อย แต่ไม่ต้องกังวล! เรามีคำแนะนำและวิธีจัดการกับหมัดตัวร้ายเหล่านี้มาฝากกัน
ก่อนจะเริ่มใช้วิธีรักษาหมัดแมวในรูปแบบต่าง ๆ คุณต้องประเมินสถานการณ์เสียก่อน โดยวิธีการอาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักของลูกแมว
ข้อควรระวัง
หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเห็บหมัดกับลูกแมวที่มีอายุน้อยกว่า 12 สัปดาห์
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ป้องกันเหมาะกับอายุและน้ำหนักของลูกแมว
แปรงขน – แปรงหรือหวีซี่เล็กสามารถกำจัดหมัดที่มองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาบน้ำ – เมื่อลูกแมวมีอายุที่เหมาะสม อาจเลือกใช้แชมพูกำจัดเห็บหมัดสำหรับผิวแพ้ง่าย หรือใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนและไม่มีฟองแทนก็ได้
ทำความสะอาดบ้าน – ซักผ้าปูที่นอนทั้งหมดด้วยน้ำสบู่และดูดฝุ่นบริเวณพรมเป็นประจำ อาจใช้สเปรย์กำจัดหมัดฉีดรอบ ๆ ตัวบ้านด้วยก็ได้
ทำความสะอาดสวนหรือสนามหญ้า – แม้จะเลี้ยงลูกแมวในบ้าน แต่หมัดก็อาจแอบเข้ามาจากข้างนอกได้ คุณสามารถใช้สเปรย์กำจัดหมัดฉีดให้ทั่วทุกบริเวณเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของหมัด
ทางเลือกในการรักษาค่อนข้างมีจำกัด เพราะลูกแมวในวัยนี้ยังไม่แข็งแรงมากพอที่จะใช้วิธีการรักษาสำหรับแมวโต โดยแนะนำให้วิธีเหล่านี้แทน
สำหรับลูกแมวที่มีอายุต่ำกว่า 8 สัปดาห์ ทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุดคือการใช้หวีกำจัดหมัด โดยให้จุ่มหวีลงในน้ำสบู่ร้อนระหว่างการแปรงขน
อีกหนึ่งวิธีที่แนะนำคือการอาบน้ำ การอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นและแชมพูสูตรอ่อนโยนช่วยลดจำนวนหมัดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ควรจำกัดเวลาในการอาบน้ำให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันลูกแมวของคุณหนาวหรือรู้สึกกังวลมากจนเกินไป
หลายคนอาจคิดว่าน้ำมันหอมระเหยเป็นสิ่งที่ดีและปลอดภัย แต่ความจริงนั้น น้ำมันหอมระเหยหลายชนิดเป็นพิษต่อแมว แม้จะใช้เพียงปริมาณเล็กน้อยก็ตาม ยากำจัดหมัดบางชนิดก็มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหย แนะนำให้อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนเลือกซื้อทุกครั้ง และหากมีข้อสงสัย ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติม
สำหรับลูกแมวที่มีอายุมากกว่า 8 – 10 สัปดาห์และมีน้ำหนักมากกว่า 1 กก. คุณสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเฉพาะจุดได้ แต่ต้องแน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่เลือกนั้นเหมาะกับอายุและน้ำหนักของลูกแมว
สิ่งสำคัญคือความปลอดภัยของลูกแมวและประสิทธิภาพในการกำจัดหมัด วิธีที่ดีที่สุดคือการรักษาตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเห็บหมัดที่มีจำหน่ายทั่วไปได้เช่นกัน แต่แนะนำให้อ่านฉลากอย่างละเอียดและหลีกเลี่ยงส่วนผสมที่เป็นอันตราย เช่น เพอร์เมทรินและน้ำมันหอมระเหยบางชนิด
การรักษาหมัดอาจใช้เวลานาน แต่หากคุณมีความอดทนและรักษาอย่างถูกวิธี แมวของคุณก็จะปราศจากหมัดและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ก่อนการรักษาด้วยตนเองหรือก่อนการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อความปลอดภัยของลูกแมว