IAMS TH
How Nutrition Can Help Improve Your Cat’s Coat
How Nutrition Can Help Improve Your Cat’s Coat

adp_description_block228
สารอาหารช่วยบำรุงสุขภาพขนของแมวคุณได้อย่างไร

  • แบ่งปัน

“ทำความเข้าใจว่ากรดลิโนเลอิก กรดไขมันโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 ในอาหารแมวอย่าง ไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ แมวโต รสดั้งเดิม และไก่ช่วยบำรุงสุขขนให้แมวคุณได้อย่างไร”

 

กรดลิโนเลอิกคืออะไร ?

 

กรดลิโนเลอิกเป็นกรดไขมันโอเมก้า-6 ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยนิยมใช้เป็นวัตถุดิบของอาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งพบได้ใน ข้าวโพด และไขมันไก่ กรดลิโนเอลิกเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อสุนัขและแมว

 

กรดไขมันโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 คืออะไร ?

 

กรดไขมัน อยู่ในไขมันที่พบในอาหารโดยเกิดจากการรวมตัวของ คาร์บอน ไฮเดนเจน และออกซิเจนในสัดส่วนเฉพาะ กรดไขมันบางกลุ่ม อย่างเช่น โอเมก้า-3 (กรดไขมันที่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนตำแหน่งที่ 3) และโอเมก้า-6 (กรดไขมันที่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนตำแหน่งที่ 6) ก็มีความจำเป็นอย่างมากต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายแมว

พันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนตำแหน่งที่ 6 จึงมีชื่อว่า กรดไขมันโอเมก้า-6 มีหน้าที่บำรุงรักษาผิวหนังและขน รวมถึงช่วยให้พัฒนาการเป็นปกติ ทำให้เนื้อเยื่อเซลล์มีโครงสร้างที่ถูกต้อง และดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน

กรดลิโนเลอิกเป็นกรดไขมันโอเมก้า-6 ที่สำคัญที่สุด เนื่องจากแมวไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งยังต้องใช้เพื่อผลิตกรดไขมันโอเมก้า-6 ชนิดอื่นอีกด้วย

นอกจากนี้แมวยังต้องการกรดอะราคิโดนิกด้วยเนื่องจากเป็นกรดที่ไม่สามารถผลิตจากกรดลิโนเลอิกได้ 

 

แมวของฉันต้องการกรดลิโนเลอิกมากแค่ไหน ?

 

อาหารแมวส่วนใหญ่มีปริมาณกรดลิโนเลอิกเกินกว่าที่จำเป็นอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม งานวิจัยไอแอมส์พบว่า ไม่ใช่แค่ปริมาณเท่านั้นที่สำคัญ แต่สัดส่วนระหว่างโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

สัดส่วนโอเมก้า-6 ต่อโอเมก้า-3 ที่ดีที่สุดเพื่อสุขภาพผิวหนังและขนที่แข็งแรงในสุนัขและแมวคือระหว่าง 5:1 และ 10:1 ดังนั้น กรดไขมันโอเมก้า-6 ทุก 5-10 หน่วยต้องมีโอเมก้า-3 อย่างน้อย 1 หน่วยเสมอ

 

 

 

  • เผย 8 เคล็ดลับดูแลลูกแมวให้เติบโตอย่างแข็งแรง
    เผย 8 เคล็ดลับดูแลลูกแมวให้เติบโตอย่างแข็งแรง
    adp_description_block312
    วิธีดูแลลูกแมวแรกเกิดให้มีสุขภาพดี

    • แบ่งปัน

    ในโลกออนไลน์ทุกวันนี้ เต็มไปด้วยรูปภาพและคลิปวิดีโอของแมวเหมียว นั่นเพราะความน่ารักน่าเอ็นดูและนิสัยที่เป็นเอกลักษณ์ของพวกเค้า ไม่น่าแปลกใจเลยที่ใครหลาย ๆ คนอยากมีลูกแมวเป็นของตัวเอง แต่รู้ไหมว่าเจ้าตัวน้อยเหล่านี้บอบบางและจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี หากคุณรับเลี้ยงลูกแมวกำพร้าแม่ คุณอาจต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ และควรเรียนรู้วิธีการดูแลลูกแมวเพิ่มเติมด้วย
     

    สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง เรามีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณเริ่มต้นเส้นทางการดูแลลูกแมวได้อย่างราบรื่น ตั้งแต่การนัดพบสัตวแพทย์ การเลือกอาหาร ไปจนถึงการดูแลทำความสะอาด ติดตามเรื่องราวน่ารู้ทั้งหมดได้ในบทความนี้
     

    ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

    เมื่อรับลูกแมวเข้าบ้านแล้ว แนะนำให้พาไปตรวจสุขภาพเบื้องต้นกับสัตวแพทย์กันก่อน หากพบปัญหาหรืออาการผิดปกติก็สามารถทำการรักษาได้ทันที นอกจากนี้คุณหมอจะแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนและการทำหมันเพิ่มเติมด้วย หากคุณเป็นทาสแมวมือใหม่ นี่ถือเป็นโอกาสที่ดีในการสอบถามข้อสงสัยต่าง ๆ
     

    จัดเตรียมน้ำให้เพียงพอ

    เนื่องจากลูกแมวที่มีภาวะขาดน้ำมักจะเสี่ยงต่อโรคและการติดเชื้อสูง แนะนำให้วางชามน้ำหลาย ๆ จุดรอบบ้าน หลีกเลี่ยงบริเวณกระบะทรายหรือมุมขับถ่าย รวมถึงทำความสะอาดชามเหล่านี้เป็นประจำและหมั่นเปลี่ยนน้ำเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
     

    เลือกโภชนาการที่เหมาะสม

    ลูกแมวแรกเกิดควรได้รับน้ำนมแม่ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์แรก อย่างไรก็ตาม ลูกแมวจรจัดหรือลูกแมวไร้บ้านมักจะถูกแยกจากแม่ตั้งแต่อายุยังน้อย หากคุณรับเลี้ยงลูกแมวเหล่านี้ คุณอาจต้องปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อเรียนรู้วิธีการดูแลและการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าลูกแมวจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ โดยคุณอาจต้องเปลี่ยนสูตรอาหารให้เหมาะสมกับช่วงวัยด้วย
     

    แมวเป็นสัตว์กินเนื้อ อาหารแมวจึงควรมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลัก และต้องมาจากแหล่งโปรตีนคุณภาพเยี่ยม อย่างอาหารแมวไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ สูตรแม่และลูกแมว ที่อัดแน่นไปด้วยโปรตีนคุณภาพดีจากเนื้อไก่และโอเมก้า 3 มีส่วนผสมของโคลอสตรุมและดีเอชเอ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการดวงตาและสมอง
     

    ดูแลเอาใจใส่และมอบความรักให้อย่างสม่ำเสมอ

    แม้ว่าแมวจะมีนิสัยรักอิสระและชอบความเป็นส่วนตัว แต่ในบางครั้งพวกเค้าก็ชอบให้กอด ให้อุ้ม และชอบให้เอาอกเอาใจ พวกเค้ามีวิธีแสดงความรักในแบบของตัวเอง ให้เวลาลูกแมวตัวใหม่ของคุณได้ปรับตัว ค่อย ๆ เข้าหาและเริ่มสัมผัสพวกเค้าอย่างอ่อนโยน อาจใช้ของเล่นมาช่วยดึงความสนใจ โดยลูกแมวส่วนใหญ่ชอบเล่นกับกระดิ่ง เชือก หรืออะไรก็ตามที่พวกเค้าสามารถวิ่งไล่ตามได้
     

    แนะนำให้รู้จักกับสมาชิกในครอบครัว

    หลังจากรับลูกแมวเข้าบ้านแล้ว คุณควรเปิดโอกาสให้เจ้าตัวน้อยทำความรู้จักกับสมาชิกในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงตัวอื่นตั้งแต่แรกเริ่ม โดยการแนะนำลูกแมวตัวใหม่ควรทำภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด สำหรับบ้านที่มีน้องหมาอยู่ก่อน คุณควรฝึกให้น้องหมาคุ้นเคยกับกลิ่นของลูกแมว เพื่อป้องกันสัญชาตญาณการล่าเหยื่อ อย่างไรก็ตาม น้องหมาบางสายพันธุ์ก็ไม่เหมาะที่จะอยู่ร่วมกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น 
     

    การฝึกเข้าสังคมเป็นสิ่งสำคัญ ควรให้ลูกแมวพบเจอผู้คนหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นเป็นครั้งคราว เพื่อให้พวกเค้าปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ง่าย วิธีนี้มีประโยชน์มากเมื่อถึงเวลาพบสัตวแพทย์หรือเมื่อต้องเข้าร้านอาบน้ำตัดขน
     

    ดูแลขนลูกแมวเป็นประจำ

    แมวชอบดูแลตัวเองและใส่ใจกับรูปร่างหน้าตามากเป็นพิเศษ แม้ว่าพวกเค้าจะดูแลตัวเองได้เป็นอย่างดี แต่บางครั้งก็อาจต้องการความช่วยเหลือ โดยเฉพาะเมื่อเนื้อตัวมอมแมม ทั้งนี้การแปรงขนไม่เพียงแต่ช่วยขจัดสิ่งสกปรกและเส้นขนที่ตายแล้วเท่านั้น แต่ยังช่วยนวดผิวหนังเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้ลูกแมวของคุณมีสุขภาพผิวหนังที่ดีและเส้นขนเงางามอีกด้วย
     

    ฝึกลูกแมวเข้ากระบะทราย

    การฝึกเข้ากระบะทรายถือเป็นหนึ่งในการฝึกที่สำคัญที่สุด เริ่มจากเลือกกระบะทรายที่มีขนาดเหมาะกับตัวลูกแมว ส่วนทรายแมวอาจต้องทดลองใช้หลาย ๆ ชนิดเพื่อค้นหาชนิดที่ถูกใจเจ้าเหมียวที่สุด โชคดีที่แมวส่วนใหญ่มักจะขับถ่ายในพื้นผิวที่เป็นทราย การฝึกนี้จึงมีโอกาสสำเร็จสูง แต่หากลูกแมวไม่ยอมเข้ากระบะทรายในทันที ให้เวลาพวกเค้าปรับตัวกันสักพัก และหมั่นทำความสะอาดกระบะทรายเป็นประจำด้วย
     

    เตรียมพื้นที่พักผ่อนสำหรับลูกแมว

    ลูกแมวและแมวมักจะงีบหลับกันในช่วงกลางวัน โดยลูกแมวสามารถนอนได้ถึง 20 ชั่วโมงต่อวัน! ในช่วงสองสามคืนแรก ลูกแมวอาจส่งเสียงร้องบ่อย เนื่องจากยังปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ไม่ดี คุณอาจจับพวกเค้านอนข้างเตียงเพื่อให้ง่ายต่อการดูแล เมื่อพวกเค้าเริ่มคุ้นเคยกับพื้นที่ใหม่และนอนหลับได้นานหลายชั่วโมงแล้ว สามารถจัดเตรียมมุมสบาย ๆ อากาศถ่ายเท และเงียบสงบให้พวกเค้าพักผ่อนตามลำพังได้

Close modal