IAMS TH
Understanding Puppy Food Nutrition Labels
Understanding Puppy Food Nutrition Labels

adp_description_block353
การทำความเข้าใจฉลากโภชนาการอาหารลูกสุนัข

การทำความเข้าใจฉลากโภชนาการอาหารลูกสุนัข

  • แบ่งปัน

'คุณรู้จักอาหารที่คุณซื้อให้ลูกสุนัขของคุณมากน้อยแค่ไหน เมื่อซื้ออาหารลูกสุนัข คุณควรให้ความใส่ใจกับฉลากอาหารสุนัขทั้งสามส่วนนี้

1. แถบส่วนผสม

ส่วนนี้แสดงรายการส่วนผสมทั้งหมดที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ ส่วนผสมที่ระบุไว้ในลำดับจากมากไปน้อยตามน้ำหนักก่อนปรุงอาหาร หากคุณมองหาแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงจากสัตว์เช่น เนื้อไก่ หรือเนื้อแกะ เช่น สุนัขกินโปรตีนจากสัตว์เพื่อเจริญเติบโตสามารถอ่านได้จากตรงส่วนนี้

ผู้ผลิตที่ใช้โปรตีนจากพืชในปริมาณมากอาจช่วยประหยัดต้นทุนในการผลิตอาหาร— แต่เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม — ทางโภชนาการ คุณควรหลีกอาหารสุนัขที่ผ่านการแต่งสีและรสชาติเทียมเนื่องจากไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการกับสุนัข

 

2. การวิเคราะห์สารอาหาร

ใกล้แถบส่วนผสมต้องมีแผนผังเปอร์เซ็นต์สารอาหารที่เรียกว่า ''การวิเคราะห์สารอาหาร'' ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงสารอาหารพื้นฐานของสูตรอาหารสุนัขและปริมาณโปรตีน อาหารสุนัขที่มีคุณภาพควรระบุเปอร์เซ็นต์ขั้นต่ำของโปรตีนและไขมัน และเปอร์เซ็นต์สูงสุดของไฟเบอร์และความชื้น (น้ำ) เอาไว้ด้วย

 

3. ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต

ข้อมูลนี้จะต้องรวมอยู่ในฉลากตามกฎหมาย เบอร์คอลเซนเตอร์หรือที่อยู่เว็บสำหรับผู้ผลิตอาจมีการระบุไว้ ผู้ผลิตที่แสดงหมายเลขโทรศัพท์เช่น ไอแอมส์™ ยินดีรับสายและตอบคำถามของผู้บริโภค หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ไอแอมส์™  โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราหรือโทรหาเราโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่หมายเลข 800-525-4267'

 article understanding puppy food nutrition header
  • เปิดเคล็ดลับการฝึกใช้สายจูงให้น้องหมา
    เปิดเคล็ดลับการฝึกใช้สายจูงให้น้องหมา
    adp_description_block292
    เปิดเคล็ดลับการฝึกใช้สายจูงให้น้องหมา

    • แบ่งปัน

    การฝึกใช้สายจูงช่วยให้น้องหมาสำรวจโลกภายนอกได้อย่างปลอดภัย พวกเค้าจะมีประสบการณ์การเดินเล่นที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม น้องหมาไม่ได้เกิดมาพร้อมความสามารถในการเดินโดยใช้สายจูง พวกเค้าจำเป็นต้องได้รับการฝึกสอนทักษะนี้เพิ่มเติม
     

    หากคุณเลี้ยงน้องหมาพันธุ์ใหญ่ ควรฝึกการใช้สายจูงให้พวกเค้าตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะเมื่อโตขึ้น น้ำหนักตัวของพวกเค้าก็จะเพิ่มมากขึ้น สิ่งนี้จะทำให้คุณควบคุมพวกเค้าได้ยาก คุณอาจโดนพวกเค้าลากไปมา หรือไม่น้องหมาของคุณก็อาจวิ่งเตลิดจนเกิดปัญหาวุ่นวายได้
     

    สำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่สงสัยว่า ควรฝึกลูกสุนัขใช้สายจูงตั้งแต่อายุเท่าไหร่? คำตอบคือเริ่มฝึกได้ตั้งแต่อายุ 10 สัปดาห์ หรืออาจฝึกก่อนหน้านั้นก็ได้เช่นกัน การฝึกทักษะนี้จะช่วยให้ลูกสุนัขของคุณเติบโตเป็นเพื่อนที่น่ารักและเชื่อฟัง การเดินทางหรือผจญภัยไปด้วยกันก็จะง่ายขึ้น!
     

    มาติดตามเคล็ดลับและคำแนะนำดี ๆ ในการฝึกลูกสุนัขใช้สายจูงไปพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นผู้เลี้ยงมือใหม่หรือมือโปรก็สามารถทำตามได้

    • เลือกปลอกคอที่มีขนาดพอดี

    การเลือกปลอกคอเป็นขั้นตอนแรกในการทำให้น้องหมาคุ้นเคยกับสายจูง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าปลอกคอไม่แน่นหรือหลวมเกินไป เมื่อใช้นิ้วมือสอดลงไปควรมีช่องว่างระหว่างปลอกคออย่างน้อยสองนิ้ว เพื่อให้น้องหมาหายใจสะดวกและไม่รู้สึกอึดอัด

    ข้อควรรู้ – หากคุณวางแผนจะฝึกลูกสุนัขตั้งแต่อายุยังน้อย ควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด และหมั่นตรวจสอบความพอดีของปลอกคอ เนื่องจากเจ้าตัวน้อยของคุณยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต

    • ทำความคุ้นเคยกับสายจูง

    ลูกสุนัขอาจใช้เวลาสักพักในการปรับตัวและยอมรับอุปกรณ์ใหม่นี้ คุณสามารถช่วยให้พวกเค้าคุ้นเคยได้เร็วขึ้นด้วยเทคนิคง่าย ๆ โดยเริ่มจากปล่อยให้พวกเค้าดมกลิ่นและเล่นกับสายจูงก่อน อาจใส่ให้ทุกครั้งที่เล่นสนุกด้วยกันในบ้าน แต่ควรหลีกเลี่ยงการใส่สายจูงเมื่อน้องหมาอยู่ตามลำพัง ตอนเศร้าหรือหงุดหงิด

    • ให้รางวัลเมื่อการฝึกเป็นไปด้วยดี

    ในการฝึกเดินโดยใช้สายจูง แนะนำให้ถือขนมไว้ในมือ จากนั้นถอยหลังไปสองสามก้าว สิ่งนี้จะกระตุ้นให้น้องหมาเดินไปหาคุณเพื่อกินขนมแสนอร่อย แต่เพื่อป้องกันการกินขนมมากเกินไป อาจเปลี่ยนมาให้รางวัลเป็นของเล่น คำชมเชย หรือการลูบหัวลูบตัวแทน ทั้งนี้การให้รางวัลจะช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี และกระตุ้นให้ลูกสุนัขอยากฝึกในครั้งต่อ ๆ ไป

    เคล็ดลับน่ารู้ – กำหนดระยะเวลาในการฝึกให้เหมาะสม ไม่ควรฝึกเป็นเวลาหลายชั่วโมง เพราะลูกสุนัขอาจจะเหนื่อยและหลีกเลี่ยงการฝึก

    • ฝึกเดินเล่นในบ้าน

    นอกจากจะสร้างความคุ้นเคยให้น้องหมาแล้ว ยังเป็นโอกาสให้คุณสังเกตท่าทีของน้องหมาเมื่อต้องเดินโดยใช้สายจูงอีกด้วย แนะนำให้เลือกพื้นที่โล่งกว้างในการฝึก พร้อมตรวจเช็กให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งกีดขวางใด หลังจากการฝึกก็ควรให้รางวัลเป็นขนมที่พวกเค้าโปรดปราน ขั้นตอนนี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญ เพราะทำให้รู้ว่าลูกสุนัขของคุณพร้อมจะลงสนามจริงแล้วหรือไม่

    • เริ่มออกไปเดินเล่นนอกบ้าน

    การฝึกลูกสุนัขเต็มไปด้วยเรื่องที่ไม่คาดคิดและน่าประหลาดใจ หากคุณคิดว่าเจ้าตัวน้อยจะเดินเล่นนอกบ้านได้อย่างราบรื่นหลังฝึกเดินในบ้านมาแล้ว คุณคิดผิด! ความอยากรู้อยากเห็นเป็นนิสัยโดยธรรมชาติของลูกสุนัข และเมื่อได้ออกไปผจญภัย พวกเค้าก็มักจะพุ่งตัวไปสำรวจทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า แนะนำให้เริ่มต้นด้วยการเดินในระยะทางสั้น ๆ ก่อน
     

    เคล็ดลับน่ารู้ – ควรพกขนมติดตัวเมื่อออกไปเดินเล่น เพื่อใช้หลอกล่อให้น้องหมาเดินตามได้ง่ายขึ้น
     

    จำไว้ว่าความอดทนเป็นสิ่งสำคัญ! น้องหมาอาจต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นการใส่ปลอกคอ การใส่สายจูง และการเดินโดยใช้สายจูง คุณต้องให้เวลาพวกเค้าปรับตัว อย่าเร่งรัดหรือบังคับ รวมถึงต้องทำให้การฝึกไม่น่าเบื่อและกำหนดระยะเวลาอย่างเหมาะสม หลังจากทำตามเคล็ดลับข้างต้น รับรองเลยว่าการเดินเล่นจะเป็นช่วงเวลาที่ดีและสนุกมากขึ้น