IAMS TH
Puppy Basics: Health Care Essentials
Puppy Basics: Health Care Essentials

adp_description_block137
การตรวจสุขภาพของลูกสุนัขตัวใหม่

  • แบ่งปัน

ลูกสุนัขก็เหมือนกับเด็กทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าต้องการความรัก ความเอาใจใส่ และการดูแลอย่างดีในช่วงเจริญเติบโต โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและโภชนาการที่มีความสำคัญมากในช่วงเดือนแรก ลูกสุนัขควรได้รับการดูแลป้องกันควบคู่ไปกับการให้อาหารที่เหมาะสม สำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่สงสัยว่ารายการตรวจสุขภาพของลูกสุนัขมีอะไรบ้าง มาติดตามไปพร้อม ๆ กันเลย
 

การดูแลสุขภาพที่สำคัญสำหรับลูกสุนัข

หน้าที่สำคัญที่สุดของผู้เลี้ยงทุกคนคือการดูแลสุขภาพของเจ้าตัวน้อยให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคร้าย ซึ่งการดูแลป้องกันที่สำคัญมีดังนี้

  • การพบสัตวแพทย์ – สัตวแพทย์จะตรวจร่างกายลูกสุนัขอย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัยอาการแพ้หรือปัญหาสุขภาพต่าง ๆ รวมถึงจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลป้องกันและการกรูมมิ่งอย่างถูกต้อง การนัดพบสัตวแพทย์จะช่วยให้คุณเข้าใจข้อกำหนดด้านสุขภาพและพฤติกรรมของเจ้าตัวน้อยมากยิ่งขึ้น 
  • การถ่ายพยาธิ – การติดเชื้อพยาธิเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในลูกสุนัข สัตวแพทย์จึงมักจะแนะนำให้ตรวจอุจจาระเพื่อหาพยาธิและปรสิต รวมถึงจะให้ถ่ายพยาธิกันตั้งแต่การนัดพบครั้งแรก
  • การฉีดวัคซีน – ลูกสุนัขควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อและโรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น โรคตับอักเสบ โรคไข้หัด โรคพิษสุนัขบ้า ไวรัสพาราอินฟลูเอนซา พาร์โวไวรัส และโรคปอดอักเสบ หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนก็สามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้
  • การป้องกันเห็บหมัด – เห็บและหมัดก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อย มันส่งผลต่อสุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดีของลูกสุนัข เนื่องจากปรสิตเหล่านี้จะดูดเลือดและสารอาหารจากร่างกาย อีกทั้งยังสร้างความระคายเคืองให้กับลูกสุนัขด้วย จึงควรป้องกันเห็บและหมัดเป็นประจำ
  • การจัดตารางออกกำลังกาย – เนื่องจากลูกสุนัขอยู่ในวัยชอบสำรวจและเต็มไปด้วยพลัง ผู้เลี้ยงจึงควรจัดตารางออกกำลังกายหรือหากิจกรรมให้พวกเค้าทำเป็นประจำ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกสุนัขเพลิดเพลินและมีสุขภาพดี การใช้เวลาเล่นกับลูกสุนัขยังช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และเป็นโอกาสดีที่จะสังเกตลูกสุนัขเพื่อประเมินพัฒนาการ สุขภาพ และอารมณ์
  • การเลือกอาหาร – แม้จะมีขนาดตัวเล็ก แต่ลูกสุนัขต้องการพลังงานมากเนื่องจากอยู่ในวัยเจริญเติบโต ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเค้าได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล ทั้งโปรตีน ไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ และคาร์โบไฮเดรต รวมถึงควรให้อาหารพวกเค้าอย่างน้อย 3 – 4 มื้อต่อวัน เพื่อรองรับความต้องการทางโภชนาการและการเติบโตอย่างแข็งแรง

ขอแนะนำไอแอมส์™ อาหารลูกสุนัขเกรดพรีเมียม อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนและสมดุลเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี ผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพสูง ย่อยง่าย ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น
 

การดูแลรักษาลูกสุนัข

ลูกสุนัขยังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจว่าอะไรดีหรือไม่ดี พวกเค้าขาดทักษะการรับรู้และการประเมินความเสี่ยง อีกทั้งยังมีความกระตือรือร้นสูง อยากรู้อยากเห็น ขี้เล่น และชอบกัดแทะสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งบางอย่างก็อาจเป็นอันตรายและเป็นพิษต่อร่างกาย จึงควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเค้าจะเติบโตและมีพัฒนาการที่ดี

  •  การพบสัตวแพทย์ – การพูดคุยกับสัตวแพทย์จะช่วยให้คุณได้รับคำแนะนำด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์และช่วยให้ลูกสุนัขมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ก่อนตัดสินเลือกสัตวแพทย์ประจำตัวลูกสุนัข คุณควรตรวจสอบรายละเอียดที่สำคัญให้เรียบร้อย เช่น ประสบการณ์ทางการแพทย์ ความชำนาญพิเศษของคุณหมอ และสถานที่ตั้งของคลินิกหรือโรงพยาบาล
  • การตรวจสุขภาพ – สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบบางอย่างเพื่อวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติหรือโรคต่าง ๆ เช่น การตรวจอุจจาระเพื่อหาพยาธิ หรือการตรวจร่างกายตั้งแต่หัวจรดหาง ทั้งเส้นขน ดวงตา ใบหู และช่องปาก
  • การให้ยา – สัตวแพทย์อาจสั่งจ่ายยาหรืออาหารเสริมเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยและทดแทนสารอาหารบางชนิดที่ขาดไป อย่างไรก็ตาม การให้ยาลูกสุนัขนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่พ่อแม่ทุกคนสามารถทำได้ เพียงแค่ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
  1. ขั้นตอนที่ 1 – เริ่มต้นด้วยการชวนเล่นเพื่อให้ลูกสุนัขรู้สึกผ่อนคลาย พูดชมเชยเมื่อพวกเค้าเป็นเด็กดี และนั่งลงใกล้ ๆ เมื่อพวกเค้ามีท่าทีที่สงบลง
  2. ขั้นตอนที่ 2 – ถือยาไว้ในมือข้างหนึ่ง และค่อย ๆ เปิดปากลูกสุนัขโดยใช้มืออีกข้างที่ว่างอยู่
  3. ขั้นตอนที่ 3 – วางยาไว้ที่ปลายลิ้นของลูกสุนัข จากนั้นให้รีบปิดปากลูกสุนัขของคุณแล้วเป่าเบา ๆ ไปที่จมูก การเป่าลมที่จมูกจะทำให้ลูกสุนัขกลืนเม็ดยาลงไป
  4. ขั้นตอนที่ 4 – ให้ขนมแสนอร่อยเป็นรางวัลและชวนพวกเค้าเล่นกันต่ออีกสักพัก

นอกจากการตรวจสุขภาพร่างกายแล้ว ผู้เลี้ยงควรจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับลูกสุนัขให้พร้อมด้วย การฝึกทำตามคำสั่งและการเข้าสังคมก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน อย่างการฝึกขับถ่ายให้เป็นที่เป็นทางตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อเสริมสร้างสุขอนามัยและพฤติกรรมที่ดีให้กับเจ้าตัวน้อยของคุณ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพลูกสุนัข

  1. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกสุนัขมีสุขภาพดี?
  2. ต้องหมั่นสังเกตลูกสุนัขทุกวัน คอยเช็กสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพหรืออาการผิดปกติต่าง ๆ หากพบว่าลูกสุนัขมีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ ลักษณะทางกายภาพ การขับถ่าย สุขภาพเส้นขน หรือมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกไป แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด

  3. สัญญาณสุขภาพดี 5 ประการของลูกสุนัขมีอะไรบ้าง?
  4. ขนนุ่มเงางาม หูสะอาด ดวงตาสดใส จมูกโล่ง และร่าเริง ถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกสุนัขของคุณมีสุขภาพดี

  5. ลูกสุนัขที่เจ็บป่วยมักจะมีอาการใดบ้าง?
  6. ลูกสุนัขที่ป่วยมักจะมีอาการผิดปกติ เช่น ท้องเสีย อาเจียน คันเนื้อคันตัว ส่งเสียงครวญคราง และมีอาการอ่อนเพลีย

  • สุนัขหายใจแรงเกิดจากอะไร?
    สุนัขหายใจแรงเกิดจากอะไร?
    adp_description_block36
    สุนัขหายใจแรงเกิดจากอะไร?

    • แบ่งปัน

    เคยเห็นน้องหมาหายใจแรงหรือหอบจนลิ้นห้อยกันไหม? พฤติกรรมนี้มักจะเกิดหลังการเล่นหรือในช่วงบ่ายที่อากาศค่อนข้างร้อน หลายคนอาจสงสัยว่าอะไรคือสาเหตุเบื้องหลัง มันเชื่อมโยงกับสุขภาพและความเป็นอยู่ของสุนัขหรือไม่

    การหอบของสุนัขเป็นวิธีการตอบสนองของร่างกายเพื่อควบคุมอุณหภูมิและระบายความร้อน อีกทั้งยังเป็นวิธีสื่อสารภาวะทางอารมณ์อย่างหนึ่งด้วย โดยการทำความเข้าใจลักษณะและสาเหตุของอาการหอบ จะช่วยให้เราดูแลน้องหมาที่รักได้ดียิ่งขึ้น
     

    อาการหอบของสุนัข

    สุนัขหอบเพื่อควบคุมอุณหภูมิร่างกาย เป็นกลไกที่คล้ายคลึงกับเหงื่อของคน แม้ว่าการหอบจะเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีอาการมากผิดปกติ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่
     

    อาการหอบทั่วไป

    • การหายใจ – สำหรับน้องหมาที่มีสุขภาพดี ในขณะที่นั่งพักมักจะมีอัตราการหายใจ 15 – 35 ครั้งต่อนาที
    • ความรุนแรง – หายใจตื้นแต่เงียบ ไม่ค่อยมีอาการลิ้นห้อย
    • บริบท – คาดว่าจะมีอาการหอบหลังออกกำลังกาย เล่น ตื่นเต้น หรือในช่วงที่อากาศร้อน
    • ความต่อเนื่อง – เมื่อได้รับการดูแลแล้ว (เช่น เย็นลงหรือสงบลง) การหอบก็ควรจะทุเลาลง
       

    อาการหอบที่ผิดปกติ

    • การหายใจ – ในช่วงพักหรือขณะเคลื่อนไหวเล็กน้อย น้องหมาหายใจเร็วมาก หรือมีอัตราการหายใจ 40 ครั้งต่อนาที นี่ถือเป็นสัญญาณอันตราย
    • ความรุนแรง – เมื่อสุนัขหายใจแรง การหอบจะลึกและหนักหน่วง โดยมีอาการลิ้นห้อยและน้ำลายไหลอย่างชัดเจน
    • บริบท – เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เช่น ขณะพักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่เย็นสบาย
    • ความต่อเนื่อง – อาการหอบไม่ทุเลาแม้จะดูแลหรือจัดการกับสาเหตุแล้ว อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เซื่องซึม อาเจียน หรือเบื่ออาหาร
       

    สาเหตุของอาการหอบ

    แม้อาการหอบจะเป็นกลไกหลักในการระบายความร้อน แต่อาการนี้ก็เกิดจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน 
     

    สาเหตุทางกายภาพ

    • การควบคุมความร้อนในร่างกาย – การหอบช่วยให้ร่างกายของสุนัขเย็นลงหลังออกกำลังกาย เล่น หรือในช่วงที่อากาศร้อน โดยจะระเหยความชื้นออกจากลิ้นและทางเดินหายใจ เพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายกลับสู่ระดับปกติ
    • ความเจ็บปวด – การหอบมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณของความเจ็บปวดจากการบาดเจ็บหรือปัญหาสุขภาพ ความเจ็บปวดทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหอบ
    • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ – โรคภูมิแพ้ หอบหืด อาการไอ และปัญหาในระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ อาจทำให้สุนัขหายใจได้ยาก ส่งผลให้หายใจหอบเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องการออกซิเจนมากขึ้น
       

    สาเหตุทางอารมณ์

    • ความตื่นเต้น – เมื่อน้องหมารู้สึกตื่นเต้น อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจจะเพิ่มขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งถูกมองว่าเป็นอาการหอบ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเล่น การทักทาย หรือการคาดหวังกิจกรรมโปรด
    • ความเครียดหรือวิตกกังวล – การหอบเป็นกลไกในการรับมือกับความเครียดและความกังวล แนะนำให้ระวังพฤติกรรมผิดปกติอื่น ๆ ด้วย เช่น เดินวนไปมา น้ำลายไหล หรือการเชิดหาง
    • ความกลัว – เสียงดัง พายุฝนฟ้าคะนอง และสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยสามารถกระตุ้นให้เกิดความกลัว ส่งผลให้น้องหมาหายใจเร็ว หอบ ตัวสั่น และพยายามซ่อนตัว
       

    ควรทำอย่างไรเมื่อสุนัขหายใจแรง?

    การเห็นเจ้าตัวน้อยกำลังดิ้นรนหายใจอาจเป็นประสบการณ์ที่สะเทือนอารมณ์ แต่สิ่งสำคัญคือต้องสงบสติอารมณ์ จากนั้นให้ประเมินสถานการณ์และปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้
     

    ตรวจสอบสภาพแวดล้อม

    • กิจกรรมล่าสุด – น้องหมาทำกิจกรรมใดไปบ้าง มีการออกแรงมากหรือไม่ เช่น เล่นคาบของ วิ่ง หรือออกกำลังกายอย่างหนัก
    • อุณหภูมิและสภาพอากาศ – อากาศร้อนหรือเปล่า? พวกเค้าตากแดดนานไปหรือไม่?
    • สภาพแวดล้อมที่ตึงเครียด – มีเสียงดัง คนที่ไม่คุ้นเคย หรือมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลหรือไม่?

    หากพบปัจจัยเหล่านี้ การหอบน่าจะเป็นการตอบสนองของร่างกายตามปกติเพื่อควบคุมอุณหภูมิหรือจัดการกับความเครียด ในกรณีนี้ เพียงจัดพื้นที่ที่อากาศถ่ายเท เย็นสบาย และเงียบสงบให้น้องหมาพักผ่อน รวมถึงควรจัดเตรียมน้ำสะอาดให้เพียงพอด้วย
     

    สังเกตอาการและพฤติกรรม

    • ความรุนแรง – การหอบหายใจตื้นและเงียบสงบ หรือลึกและหนักหน่วง
    • การหายใจ – พวกเค้าหายใจกี่ครั้งต่อนาที
    • ลิ้น – มีอาการลิ้นห้อยและน้ำลายไหลหรือไม่
    • อาการร่วม – มีอาการร่วมด้วยหรือไม่ เช่น เซื่องซึม อาเจียน หรือเบื่ออาหาร

    คอยสังเกตอาการและการหายใจของน้องหมาอย่างใกล้ชิด อาการหอบที่มากผิดปกติทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็นสบาย อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพซึ่งควรได้รับการตรวจสอบเพิ่มเติม
     

    วิธีการดูแล

    • ลดอุณหภูมิร่างกาย – ย้ายน้องหมาไปยังบริเวณที่อากาศถ่ายเทและมีร่มเงา 
    • เตรียมน้ำสะอาด – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเค้าสามารถเข้าถึงน้ำที่สะอาดและสดใหม่ได้ตลอดเวลา
    • สร้างสภาพแวดล้อมที่สงบ – สร้างพื้นที่ที่เงียบสงบและสะดวกสบายเพื่อให้น้องหมาพักผ่อนโดยปราศจากการรบกวน

    ขั้นตอนเหล่านี้ช่วยบรรเทาอาการหอบที่เกิดจากความร้อนหรือความเครียดได้
     

    อาการหอบแบบใดที่น่ากังวลและควรพาไปพบสัตวแพทย์?

    ลักษณะอาการเหล่านี้เป็นอาการที่ผิดปกติและน่ากังวล ควรไปพบคุณหมอทันทีที่พบเห็น

    • อาการร่วม – หากน้องหมามีอาการหอบร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เซื่องซึม อ่อนแรง เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย ไอ เหงือกซีด น้ำลายไหลมาก หรือมีพฤติกรรมผิดปกติ ควรได้รับการดูแลจากสัตวแพทย์โดยทันที
    • อาการหอบอย่างรุนแรง – อาการหอบลึก หนักหน่วง และลิ้นห้อย อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
    • อาการหอบอย่างต่อเนื่อง – หากยังคงมีอาการหอบอยู่แม้จะพักผ่อนแล้ว อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็นแล้ว หรือได้รับการดูแลเบื้องต้นแล้ว กรณีนี้จำเป็นต้องได้รับการประเมินจากสัตวแพทย์เพิ่มเติม
    • อาการหอบไม่ดีขึ้น – หากการหอบไม่ทุเลาลงภายในระยะเวลาที่เหมาะสมหรือแย่ลงไปอีก แม้ว่าจะจัดการกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมแล้วก็ตาม คุณจำเป็นจะต้องขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

    แม้การหอบจะเป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกาย แต่ก็บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน คุณจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการเพื่อประเมินความรุนแรงและความน่ากังวล วิธีนี้จะช่วยให้คุณดูแลน้องหมาได้ดียิ่งขึ้น

Close modal