IAMS TH
The Importance of Sodium in Your Dog’s Diet
The Importance of Sodium in Your Dog’s Diet

adp_description_block12
ความสำคัญของโซเดียมในอาหารสุนัข

  • แบ่งปัน

โซเดียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต



โซเดียมมีส่วนช่วยในการควบคุมและรักษาสมดุลของน้ำในเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อป้องกันภาวะการบวมน้ำและภาวะการขาดน้ำ นอกจากนี้โซเดียมยังมีส่วนสำคัญในการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อและเส้นประสาทอีกด้วย



โซเดียมในอาหารสุนัขมีแหล่งที่มาจากไหน ?


เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา และไข่เป็นแหล่งของโซเดียม

แหล่งที่มาของโซเดียมมักได้จากเนื้อสัตว์ ทั้งสัตว์ปีก ปลา และไข่ แต่ในบางครั้งโซเดียมอาจอยู่ในรูปแบบของเกลือแกง ซึ่งเกลือก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสัตว์เช่นเดียวกัน


 

สุนัขต้องการโซเดียมมากแค่ไหน?
 

สมาคม American Feed Control Official ได้แนะนำว่าอาหารสุนัขชนิดเม็ด ควรมีโซเดียมอย่างน้อย 0.3% เพื่อความเหมาะสมในการเจริญเติบโตของสุนัข

แต่หากสุนัขได้รับโซเดียมมากเกินไป พวกเค้าจะเกิดการกระหายน้ำ แล้วเมื่อสุนัขได้กินน้ำเข้าไปในปริมาณมาก โซเดียมก็จะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ แต่สำหรับสุนัขที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง จะสามารถรับปริมาณโซเดียมได้มากกว่าอาหารสุนัขที่วางจำหน่ายทั่วไป โดยไม่ทำให้เกิดการกระหายน้ำ

ดังนั้นเจ้าของสามารถคลายกังวลเรื่องโซเดียมในอาหารสุนัขได้ เนื่องจากอาหารสุนัขที่วางจำหน่ายจะมีระดับโซเดียมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของพวกเค้า

ข้อแนะนำในการใช้โซเดียมสำหรับสุนัขบางตัว

สัตวแพทย์มักแนะนำให้สุนัขที่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจ โรคตับ หรือโรคไต ปรับลดปริมาณโซเดียมลง เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูง และช่วยลดการสะสมของของเหลวในร่างกายที่มีปริมาณมากเกินไป

นอกจากนี้ถึงแม้สุนัขสูงวัยจะมีแนวโน้มที่เป็นโรคเหล่านี้ได้ แต่หากพวกเค้ายังมีร่างกายที่แข็งแรง ก็ไม่จำเป็นต้องลดปริมาณโซเดียมลง

การใช้โซเดียมเป็นส่วนประกอบในอาหารสุนัขของเรา

ระดับโซเดียมในอาหารสุนัขของเรามีปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายสุนัข โดยปริมาณโซเดียมในอาหารเหล่านี้ มีสัดส่วนที่สมดุลกับพลังงาน แร่ธาตุต่างๆ วิตามิน ไขมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต

โซเดียมมีส่วนช่วยในการควบคุมและรักษาสมดุลของน้ำในเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อป้องกันภาวะการบวมน้ำและภาวะการขาดน้ำ นอกจากนี้โซเดียมยังมีส่วนสำคัญในการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อและเส้นประสาทอีกด้วย

 

โซเดียมในอาหารสุนัขมีแหล่งที่มาจากไหน ?
 

เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา และไข่เป็นแหล่งของโซเดียม

แหล่งที่มาของโซเดียมมักได้จากเนื้อสัตว์ ทั้งสัตว์ปีก ปลา และไข่ แต่ในบางครั้งโซเดียมอาจอยู่ในรูปแบบของเกลือแกง ซึ่งเกลือก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสัตว์เช่นเดียวกัน

 

สุนัขต้องการโซเดียมมากแค่ไหน?
 

สมาคม American Feed Control Official ได้แนะนำว่าอาหารสุนัขชนิดเม็ด ควรมีโซเดียมอย่างน้อย 0.3% เพื่อความเหมาะสมในการเจริญเติบโตของสุนัข

แต่หากสุนัขได้รับโซเดียมมากเกินไป พวกเค้าจะเกิดการกระหายน้ำ แล้วเมื่อสุนัขได้กินน้ำเข้าไปในปริมาณมาก โซเดียมก็จะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ แต่สำหรับสุนัขที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง จะสามารถรับปริมาณโซเดียมได้มากกว่าอาหารสุนัขที่วางจำหน่ายทั่วไป โดยไม่ทำให้เกิดการกระหายน้ำ

ดังนั้นเจ้าของสามารถคลายกังวลเรื่องโซเดียมในอาหารสุนัขได้ เนื่องจากอาหารสุนัขที่วางจำหน่ายจะมีระดับโซเดียมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของพวกเค้า

ข้อแนะนำในการใช้โซเดียมสำหรับสุนัขบางตัว

สัตวแพทย์มักแนะนำให้สุนัขที่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจ โรคตับ หรือโรคไต ปรับลดปริมาณโซเดียมลง เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูง และช่วยลดการสะสมของของเหลวในร่างกายที่มีปริมาณมากเกินไป

นอกจากนี้ถึงแม้สุนัขสูงวัยจะมีแนวโน้มที่เป็นโรคเหล่านี้ได้ แต่หากพวกเค้ายังมีร่างกายที่แข็งแรง ก็ไม่จำเป็นต้องลดปริมาณโซเดียมลง

การใช้โซเดียมเป็นส่วนประกอบในอาหารสุนัขของเรา

ระดับโซเดียมในอาหารสุนัขของเรามีปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายสุนัข โดยปริมาณโซเดียมในอาหารเหล่านี้ มีสัดส่วนที่สมดุลกับพลังงาน แร่ธาตุต่างๆ วิตามิน ไขมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต

  • สุนัขหายใจแรงเกิดจากอะไร?
    สุนัขหายใจแรงเกิดจากอะไร?
    adp_description_block353
    สุนัขหายใจแรงเกิดจากอะไร?

    • แบ่งปัน

    เคยเห็นน้องหมาหายใจแรงหรือหอบจนลิ้นห้อยกันไหม? พฤติกรรมนี้มักจะเกิดหลังการเล่นหรือในช่วงบ่ายที่อากาศค่อนข้างร้อน หลายคนอาจสงสัยว่าอะไรคือสาเหตุเบื้องหลัง มันเชื่อมโยงกับสุขภาพและความเป็นอยู่ของสุนัขหรือไม่

    การหอบของสุนัขเป็นวิธีการตอบสนองของร่างกายเพื่อควบคุมอุณหภูมิและระบายความร้อน อีกทั้งยังเป็นวิธีสื่อสารภาวะทางอารมณ์อย่างหนึ่งด้วย โดยการทำความเข้าใจลักษณะและสาเหตุของอาการหอบ จะช่วยให้เราดูแลน้องหมาที่รักได้ดียิ่งขึ้น
     

    อาการหอบของสุนัข

    สุนัขหอบเพื่อควบคุมอุณหภูมิร่างกาย เป็นกลไกที่คล้ายคลึงกับเหงื่อของคน แม้ว่าการหอบจะเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีอาการมากผิดปกติ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่
     

    อาการหอบทั่วไป

    • การหายใจ – สำหรับน้องหมาที่มีสุขภาพดี ในขณะที่นั่งพักมักจะมีอัตราการหายใจ 15 – 35 ครั้งต่อนาที
    • ความรุนแรง – หายใจตื้นแต่เงียบ ไม่ค่อยมีอาการลิ้นห้อย
    • บริบท – คาดว่าจะมีอาการหอบหลังออกกำลังกาย เล่น ตื่นเต้น หรือในช่วงที่อากาศร้อน
    • ความต่อเนื่อง – เมื่อได้รับการดูแลแล้ว (เช่น เย็นลงหรือสงบลง) การหอบก็ควรจะทุเลาลง
       

    อาการหอบที่ผิดปกติ

    • การหายใจ – ในช่วงพักหรือขณะเคลื่อนไหวเล็กน้อย น้องหมาหายใจเร็วมาก หรือมีอัตราการหายใจ 40 ครั้งต่อนาที นี่ถือเป็นสัญญาณอันตราย
    • ความรุนแรง – เมื่อสุนัขหายใจแรง การหอบจะลึกและหนักหน่วง โดยมีอาการลิ้นห้อยและน้ำลายไหลอย่างชัดเจน
    • บริบท – เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เช่น ขณะพักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่เย็นสบาย
    • ความต่อเนื่อง – อาการหอบไม่ทุเลาแม้จะดูแลหรือจัดการกับสาเหตุแล้ว อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เซื่องซึม อาเจียน หรือเบื่ออาหาร
       

    สาเหตุของอาการหอบ

    แม้อาการหอบจะเป็นกลไกหลักในการระบายความร้อน แต่อาการนี้ก็เกิดจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน 
     

    สาเหตุทางกายภาพ

    • การควบคุมความร้อนในร่างกาย – การหอบช่วยให้ร่างกายของสุนัขเย็นลงหลังออกกำลังกาย เล่น หรือในช่วงที่อากาศร้อน โดยจะระเหยความชื้นออกจากลิ้นและทางเดินหายใจ เพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายกลับสู่ระดับปกติ
    • ความเจ็บปวด – การหอบมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณของความเจ็บปวดจากการบาดเจ็บหรือปัญหาสุขภาพ ความเจ็บปวดทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหอบ
    • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ – โรคภูมิแพ้ หอบหืด อาการไอ และปัญหาในระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ อาจทำให้สุนัขหายใจได้ยาก ส่งผลให้หายใจหอบเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องการออกซิเจนมากขึ้น
       

    สาเหตุทางอารมณ์

    • ความตื่นเต้น – เมื่อน้องหมารู้สึกตื่นเต้น อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจจะเพิ่มขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งถูกมองว่าเป็นอาการหอบ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเล่น การทักทาย หรือการคาดหวังกิจกรรมโปรด
    • ความเครียดหรือวิตกกังวล – การหอบเป็นกลไกในการรับมือกับความเครียดและความกังวล แนะนำให้ระวังพฤติกรรมผิดปกติอื่น ๆ ด้วย เช่น เดินวนไปมา น้ำลายไหล หรือการเชิดหาง
    • ความกลัว – เสียงดัง พายุฝนฟ้าคะนอง และสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยสามารถกระตุ้นให้เกิดความกลัว ส่งผลให้น้องหมาหายใจเร็ว หอบ ตัวสั่น และพยายามซ่อนตัว
       

    ควรทำอย่างไรเมื่อสุนัขหายใจแรง?

    การเห็นเจ้าตัวน้อยกำลังดิ้นรนหายใจอาจเป็นประสบการณ์ที่สะเทือนอารมณ์ แต่สิ่งสำคัญคือต้องสงบสติอารมณ์ จากนั้นให้ประเมินสถานการณ์และปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้
     

    ตรวจสอบสภาพแวดล้อม

    • กิจกรรมล่าสุด – น้องหมาทำกิจกรรมใดไปบ้าง มีการออกแรงมากหรือไม่ เช่น เล่นคาบของ วิ่ง หรือออกกำลังกายอย่างหนัก
    • อุณหภูมิและสภาพอากาศ – อากาศร้อนหรือเปล่า? พวกเค้าตากแดดนานไปหรือไม่?
    • สภาพแวดล้อมที่ตึงเครียด – มีเสียงดัง คนที่ไม่คุ้นเคย หรือมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลหรือไม่?

    หากพบปัจจัยเหล่านี้ การหอบน่าจะเป็นการตอบสนองของร่างกายตามปกติเพื่อควบคุมอุณหภูมิหรือจัดการกับความเครียด ในกรณีนี้ เพียงจัดพื้นที่ที่อากาศถ่ายเท เย็นสบาย และเงียบสงบให้น้องหมาพักผ่อน รวมถึงควรจัดเตรียมน้ำสะอาดให้เพียงพอด้วย
     

    สังเกตอาการและพฤติกรรม

    • ความรุนแรง – การหอบหายใจตื้นและเงียบสงบ หรือลึกและหนักหน่วง
    • การหายใจ – พวกเค้าหายใจกี่ครั้งต่อนาที
    • ลิ้น – มีอาการลิ้นห้อยและน้ำลายไหลหรือไม่
    • อาการร่วม – มีอาการร่วมด้วยหรือไม่ เช่น เซื่องซึม อาเจียน หรือเบื่ออาหาร

    คอยสังเกตอาการและการหายใจของน้องหมาอย่างใกล้ชิด อาการหอบที่มากผิดปกติทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็นสบาย อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพซึ่งควรได้รับการตรวจสอบเพิ่มเติม
     

    วิธีการดูแล

    • ลดอุณหภูมิร่างกาย – ย้ายน้องหมาไปยังบริเวณที่อากาศถ่ายเทและมีร่มเงา 
    • เตรียมน้ำสะอาด – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเค้าสามารถเข้าถึงน้ำที่สะอาดและสดใหม่ได้ตลอดเวลา
    • สร้างสภาพแวดล้อมที่สงบ – สร้างพื้นที่ที่เงียบสงบและสะดวกสบายเพื่อให้น้องหมาพักผ่อนโดยปราศจากการรบกวน

    ขั้นตอนเหล่านี้ช่วยบรรเทาอาการหอบที่เกิดจากความร้อนหรือความเครียดได้
     

    อาการหอบแบบใดที่น่ากังวลและควรพาไปพบสัตวแพทย์?

    ลักษณะอาการเหล่านี้เป็นอาการที่ผิดปกติและน่ากังวล ควรไปพบคุณหมอทันทีที่พบเห็น

    • อาการร่วม – หากน้องหมามีอาการหอบร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เซื่องซึม อ่อนแรง เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย ไอ เหงือกซีด น้ำลายไหลมาก หรือมีพฤติกรรมผิดปกติ ควรได้รับการดูแลจากสัตวแพทย์โดยทันที
    • อาการหอบอย่างรุนแรง – อาการหอบลึก หนักหน่วง และลิ้นห้อย อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
    • อาการหอบอย่างต่อเนื่อง – หากยังคงมีอาการหอบอยู่แม้จะพักผ่อนแล้ว อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็นแล้ว หรือได้รับการดูแลเบื้องต้นแล้ว กรณีนี้จำเป็นต้องได้รับการประเมินจากสัตวแพทย์เพิ่มเติม
    • อาการหอบไม่ดีขึ้น – หากการหอบไม่ทุเลาลงภายในระยะเวลาที่เหมาะสมหรือแย่ลงไปอีก แม้ว่าจะจัดการกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมแล้วก็ตาม คุณจำเป็นจะต้องขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

    แม้การหอบจะเป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกาย แต่ก็บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน คุณจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการเพื่อประเมินความรุนแรงและความน่ากังวล วิธีนี้จะช่วยให้คุณดูแลน้องหมาได้ดียิ่งขึ้น

Close modal