IAMS TH
How Beet Pulp Ingredients Are Used in Our Dog Foods
How Beet Pulp Ingredients Are Used in Our Dog Foods

adp_description_block335
บีทพัลป์ในอาหารสุนัขของเรา

บีทพัลป์ในอาหารสุนัขของเรา

  • แบ่งปัน

'บีทพัลป์คืออะไร

บีทพัลป์เป็นวัสดุที่ยังคงหลงเหลืออยู่หลังจากสกัดน้ำตาลออกจากเยื่อหัวบีท— บีทพัลป์เป็นแหล่งไฟเบอร์ในอาหารสุนัขของเรา

ไฟเบอร์และบีทพัลป์

 

ไฟเบอร์นั้นแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ  แบบที่ไม่สามารถย่อยได้โดยจุลินทรีย์และแบบที่สามารถย่อยได้
ไฟเบอร์ที่ไม่สามารถย่อยได้จะเคลื่อนตัวผ่านลำไส้โดยการเพิ่มขนาดแล้วขับออกมาเป็นของเสีย ยกตัวอย่างเช่นเซลลูโลสก็คือไฟเบอร์ที่ไม่สามารถย่อยได้ เป็นต้น

 

ไฟเบอร์สามารถย่อยได้จะถูกย่อยสลายในลำไส้ให้เป็นกรดไขมันสายสั้นที่ให้พลังงานแก่เซลล์ในลำไส้

 

ไฟเบอร์ที่ย่อยได้โดยจุลินทรีย์ จะช่วยในการเคลื่อนย้ายของเสียและให้พลังงานแก่เซลล์ในลำไส้ ซึ่งบีทพัลป์เป็นหนึ่งในไฟเบอร์ที่ย่อยได้โดยจุลินทรีย์

 

ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับบีทพัลป์

 

''บีทพัลป์มีอันตราย''

 

บีทพัลป์ไม่มีสารพิษและเป็นแหล่งไฟเบอร์ที่ปลอดภัยมาก

 

''บีทพัลป์มีผลต่อสีขนสุนัข''

 

ไม่มีอะไรในบีทพัลป์ที่มีผลต่อเม็ดสีขนของสุนัข  เราใช้บีทพัลป์ด้านในที่เป็นสีอ่อน  ไม่ได้ใช้เปลือกนอกซึ่งเป็นสีเข้ม

 

''บีทพัลป์มีน้ำตาล''

 

บีทพัลป์เป็นวัสดุเหลือใช้หลังจากการนำน้ำตาลออกจากหัวบีท ดังนั้นบีทพัลป์จึงไม่มีน้ำตาล

 

''บีทพัลป์ทำให้เกิดอาการกระเพาะบิด''

 

ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่า บีทพัลป์ ทำให้เกิดอาการกระเพาะบิด รวมไปถึงส่วนผสมอื่นๆของ บีทพัลป์ด้วยเช่นกัน
สำหรับสาเหตุของอาการกระเพาะบิดนั้นยังไม่สามารถระบุแน่ชัดได้ '

  • วิธีกำจัดเห็บหมัดสุนัข
    วิธีกำจัดเห็บหมัดสุนัข
    adp_description_block302
    วิธีกำจัดเห็บหมัดสุนัข

    • แบ่งปัน

    เราเชื่อว่าผู้เลี้ยงทุกคนอยากให้น้องหมามีชีวิตที่มีความสุขและสุขภาพดี อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามที่ซ่อนอยู่ในเงามืดอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของพวกเค้าได้  อย่างการแพร่กระจายของเห็บและหมัด ปรสิตตัวร้ายเหล่านี้มีขนาดเล็ก สังเกตได้ยาก จึงต้องอาศัยความระมัดระวังและจัดการในทันทีที่พบเจอ
     

    วงจรชีวิตของเห็บและหมัด

    เพื่อปกป้องน้องหมาจากการติดเชื้อปรสิต คุณควรทำความเข้าใจวงจรชีวิตของพวกมัน
     

    หมัด

    หมัดมีวงจรชีวิตสี่ระยะ ได้แก่

    • ระยะไข่ – ไข่หมัดมีขนาดเล็กและมีสีขาว โดยหมัดตัวเมียจะวางไข่บนตัวสุนัข ซึ่งมักจะตกหล่นอยู่ตามสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น พรม ผ้าปูที่นอน และรอยแตกบนพื้น 
    • ระยะตัวอ่อน – หลังระยะวางไข่ประมาณ 2 วัน – 2 สัปดาห์ ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนอน พวกมันจะกินอินทรียวัตถุในสิ่งแวดล้อมเป็นอาหาร
    • ระยะดักแด้ – จากนั้นตัวอ่อนจะหมุนรังไหมป้องกันตัวเองและเข้าสู่ระยะดักแด้ ระยะนี้อาจใช้เวลาหลายเดือน ทำให้ยากต่อการกำจัด
    • ระยะตัวเต็มวัย – หมัดตัวเต็มวัยจะโผล่ออกมาจากดักแด้ พร้อมที่จะกระโดดขึ้นไปบนตัวสุนัข กินเลือดและวางไข่เพื่อเริ่มวงจรใหม่
       

    เห็บ

    แม้จะมีวงจรชีวิตแตกต่างกัน แต่ก็ก่อให้เกิดอันตรายที่คล้ายกัน โดยพวกมันมีวงจรชีวิตดังนี้

    • ระยะไข่ – เห็บตัวเมียจะวางไข่หลายพันฟองในสิ่งแวดล้อม โดยมักอยู่ตามหญ้าสูงหรือพื้นที่ป่า
    • ระยะตัวอ่อน – หลังฟักตัวออกจากไข่ ตัวอ่อนของเห็บจะมีหกขาและกระตือรือร้นที่จะหาที่อยู่ พวกมันจะปีนขึ้นไปบนตัวสุนัขและกินเลือดเป็นเวลาหลายวันก่อนที่จะลอกคราบ
    • ระยะตัวกลางวัย – ตัวอ่อนจะพัฒนาเป็นตัวแปดขา โดยยังต้องอาศัยการกินเลือดเพื่อเติบโต
    • ระยะตัวเต็มวัย – เห็บตัวเต็มวัยจะหาอาหารเป็นครั้งสุดท้าย โดยเกาะติดกับสุนัขและกินเลือดเป็นเวลาหลายวันก่อนที่จะแยกตัวออกไปผสมพันธุ์และวางไข่ ซึ่งเป็นการสิ้นสุดวงจร
       

    สัญญาณเตือนของการติดเชื้อเห็บหมัด

    การตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นกุญแจสำคัญในการจัดการปรสิตเหล่านี้
     

    หมัดกับสุนัข

    หมัดเป็นแมลงตัวเล็กไม่มีปีก พวกมันกินเลือดสุนัขเป็นอาหาร ซึ่งการกัดและการกินเลือดของพวกมันอาจทำให้เกิดปัญหากับสุนัขดังนี้

    • มีอาการคัน เกาตัวบ่อยผิดปกติ – เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาการคันเกิดจากการถูกหมัดกัด และการแพ้น้ำลายของหมัด
    • ขนร่วง – หมัดอาจทำให้ขนร่วงได้ โดยเฉพาะบริเวณโคนหางและท้อง
    • อาการระคายเคือง – หมัดกัดอาจทำให้ผิวหนังแดงและระคายเคืองได้
    • เหงือกซีด – ในกรณีที่หมัดระบาดอย่างรุนแรง อาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง ซึ่งทำให้เหงือกซีดได้
    • มีสิ่งสกปรกจากหมัด – สิ่งสกปรกจากหมัดหมายถึงของเสีย มีลักษณะเป็นจุดดำเล็ก ๆ สามารถพบได้ในขนสุนัขหรือบนเตียง
       

    เห็บกับสุนัข

    เห็บมีแปดขาและมีขนาดตัวใหญ่กว่าหมัด พวกมันเกาะติดกับผิวหนังสุนัขเพื่อกินเลือด เห็บสามารถแพร่โรคต่าง ๆ ไปยังสุนัขได้ เช่น โรคลายม์ โรคอะนาพลาสโมซิส และโรคไข้พุพองเทือกเขาร็อคกี้ หากน้องหมาติดเชื้อ คุณอาจพบอาการเหล่านี้

    • เห็นตัวเห็บ – เห็บมักมองเห็นได้ง่าย พบได้บริเวณหัว คอ หู อุ้งเท้า และขาหนีบ
    • ตุ่มแดงและบวม – การติดเชื้อเห็บมักจะทำให้เกิดตุ่มแดงและอาการบวมบนผิวหนังของสุนัข
    • อาการเซื่องซึม – สุนัขอาจมีอาการเซื่องซึมหรือเหนื่อยง่าย
    • ไข้ – เป็นหนึ่งในอาการที่บ่งบอกว่าสุนัขติดเชื้อเห็บ
       

    การรักษาหมัดและเห็บ

    เมื่อตรวจพบการระบาดของปรสิตในสุนัข ผู้เลี้ยงควรทำการดูแลรักษาโดยทันที
     

    การรักษาหมัดในสุนัข

    วิธีรับมือกับหมัดมีหลายขั้นตอน โดยมีทางเลือกในการจัดการดังนี้

    • ยากิน – ยาเม็ดแบบเคี้ยวช่วยป้องกันหมัดได้ยาวนานและใช้งานง่าย
    • ยารักษาเฉพาะที่ – ยาประเภทนี้แนะนำให้ใช้กับผิวหนังของสุนัขโดยตรง สามารถหยอดบริเวณสะบัก เป็นวิธีควบคุมหมัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและอาจกำจัดเห็บได้ด้วย
    • แชมพูและสเปรย์กำจัดหมัด – แม้จะออกฤทธิ์ได้ไม่นานเท่ายากินและยารักษาเฉพาะที่ แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ช่วยกำจัดหมัดได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ร่วมกับการรักษาอื่น ๆ เพื่อให้ได้แนวทางที่ครอบคลุมมากขึ้น

    ทั้งนี้ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยคุณหมอจะพิจารณาจากอายุ สายพันธุ์ และความต้องการเฉพาะของน้องหมา
     

    การรักษาเห็บในสุนัข

    หากพบเห็บบนตัวสุนัข ให้กำจัดออกทันทีตามขั้นตอนต่อไปนี้

    • ใช้แหนบปลายแหลมดึงออก โดยจับเห็บให้ใกล้กับผิวมากที่สุด
    • ค่อย ๆ ดึงเห็บออกอย่างช้า ๆ หลีกเลี่ยงการบิดหรือขยี้เห็บ เพราะจะทำให้น้ำลายไหลเข้าไปในรอยกัดได้มากขึ้น
    • หลังจากดึงเห็บออกแล้ว ให้ใส่ในภาชนะที่ปิดสนิทและกำจัดเห็บอย่างเหมาะสม อย่าบดหรือทิ้งมันลงในชักโครก
    • ทำความสะอาดบริเวณที่ถูกกัดด้วยแอลกอฮอล์หรือแผ่นเช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อ

    หมั่นสังเกตอาการและพฤติกรรมของน้องหมาอย่างใกล้ชิด หากพบอาการบวมแดงหรือมีไข้ ให้ปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

    เคล็ดลับ – หลีกเลี่ยงการใช้วิธีรักษาบางวิธี เช่น ใช้ปิโตรเลียมเจลลีหรือไม้ขีดเพื่อกำจัดเห็บ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เห็บปล่อยน้ำลายออกมามากขึ้น และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรคได้
     

    การป้องกันเห็บหมัดในสุนัข

    แนวทางป้องกันเห็บและหมัดตัวร้ายที่ดีที่สุดมีขั้นตอนดังนี้
     

    การตรวจหาและกำจัดตั้งแต่เนิ่น ๆ

    • ตรวจสอบสม่ำเสมอ – หมั่นตรวจสอบขนและผิวหนังของน้องหมา โดยเฉพาะบริเวณหัว หู คอ และรักแร้ เพื่อหาสัญญาณของเห็บหมัด
    • ดูแลขนเป็นประจำ – การแปรงขนจะช่วยกำจัดหมัดและสิ่งสกปรกได้ นอกจากนี้ยังทำให้พบเจอสิ่งผิดปกติได้ง่ายและเร็วขึ้น
    • ทำความสะอาด – ซักเบาะนอนของน้องหมา ดูดฝุ่นและทำความสะอาดบ้านเป็นประจำเพื่อกำจัดหมัดที่มีอยู่และป้องกันการแพร่กระจายในอนาคต
       

    การป้องกัน

    • ดูแลป้องกันทุกเวลา – แนะนำให้ดูแลเอาใจใส่น้องหมาอย่างสม่ำเสมอ เห็บหมัดสามารถมีชีวิตอยู่ในบ้านได้เป็นเวลานานและพบเจอตลอดทั้งปี
    • รักษาสภาพแวดล้อม – หากสงสัยว่ามีเห็บหมัดในบ้านหรือในสวน ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำจัดสัตว์รบกวนเหล่านี้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
    • ระมัดระวังเมื่อต้องเดินทาง – ควรระมัดระวังเป็นพิเศษในช่วงเดินทาง เนื่องจากสภาพแวดล้อมใหม่อาจเป็นที่อยู่ของประชากรปรสิตที่แตกต่างกัน

    การปกป้องน้องหมาจากเห็บหมัดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี หากมีการป้องกันอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการใช้ยาและรักษาความสะอาด น้องหมาของคุณก็จะปลอดภัยจากปรสิตตัวร้ายเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและกำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับน้องหมาของคุณ

Close modal