IAMS TH
Does Your Dog Have Allergies?
Does Your Dog Have Allergies?-mob

adp_description_block9
สัญญาณเตือนและการดูแลรักษาภาวะภูมิแพ้ในสุนัข

  • แบ่งปัน

น้องหมามีอาการคัน เกา เลีย หรือกัดแทะตัวเองไม่หยุดอยู่ใช่หรือไม่? พวกเค้ากำลังงับอุ้งเท้าตัวเองไปมาอยู่ใช่มั้ย? หากใช่! อาการเหล่านี้บ่งบอกถึงความเป็นไปได้ที่น้องหมาของคุณจะเป็นภูมิแพ้

น้องหมาเองก็มีแนวโน้มที่จะแพ้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ หรือในอาหารได้เช่นเดียวกับคนเรา แต่แตกต่างกันที่อาการแพ้ของคนมักดีขึ้นได้ แต่สำหรับน้องหมานั้น อาการจะย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้น โรคภูมิแพ้สุนัขจึงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการพาน้องหมาไปพบสัตวแพทย์เลยทีเดียว โดยส่วนใหญ่มักพบอาการแพ้บริเวณผิวหนังและหู 

ทั้งนี้โรคภูมิแพ้สุนัขต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยสัตวแพทย์เท่านั้น แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าน้องหมามีอาการแพ้หรือกำลังแพ้อะไรอยู่? น่าเสียดายที่การวินิจฉัยสาเหตุของภูมิแพ้ในสุนัขไม่ใช่เรื่องง่าย บวกกับน้องหมาไม่สามารถบอกได้ว่ากำลังรู้สึกเช่นไร เจ้าของจึงจำเป็นต้องหมั่นสังเกตอาการเตือนต่าง ๆ อย่างสุนัขแพ้อาหารอาการก็มักเกี่ยวกับผิวหนัง หรือบางรายอาจมีอาการอาเจียนและท้องเสียร่วมด้วยก็ได้

ซึ่งอาการแพ้ของสุนัขที่เจ้าของควรหมั่นสังเกตและระมัดระวัง มีดังต่อไปนี้:

  • เกา เลีย และกัดแทะตัวเองอย่างต่อเนื่อง
  • ชอบเอาหน้าและหูไถไปกับพื้น
  • ผิวหนังอักเสบ ขนร่วง และมีกลิ่นเหม็น
  • ไอ จาม น้ำตาไหล น้ำมูกไหล
  • อาเจียนหรือท้องเสียบ่อย

 

ประเภทของภูมิแพ้ที่พบบ่อยในสุนัข

อาการแพ้ของสุนัขพบได้หลากหลาย ซึ่งประกอบไปด้วย:

ภูมิแพ้สารในสิ่งแวดล้อม

หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง สารก่อภูมิแพ้จากสิ่งแวดล้อม เช่น เชื้อรา ฝุ่น และละอองเกสรดอกไม้ ทำให้น้องหมาเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ สิ่งเร้าเหล่านี้พบได้ในบริเวณบ้าน ในสวน หรือที่ใดก็ตามที่น้องหมาของคุณอาศัยอยู่ มันจะซึมเข้าไปในผิวหนังก่อนก่อให้เกิดอาการแพ้ โดยบริเวณที่มักจะแสดงอาการคือหูและอุ้งเท้า หรืออาจพบอาการในบริเวณปาก ข้อเท้า รอบดวงตา ใต้วงแขน ง่ามขา และผิวหนังระหว่างนิ้วเท้าได้ด้วยเช่นกัน

ภูมิแพ้น้ำลายหมัด

อาการแพ้ที่เกิดจากหมัดสามารถพบได้บ่อย เนื่องจากน้องหมาแพ้น้ำลายของหมัดที่มากัดตามผิวหนัง ส่งผลให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรง ผิวหนังอักเสบ มีรอยแดง และมีแผลแห้งตกสะเก็ด โดยเฉพาะบริเวณโคนหาง

ภูมิแพ้อาหาร

ุนัขแพ้อาหารอาการคันจะพบได้บ่อย พวกเค้าอาจแพ้สารอาหารจำพวกโปรตีน เช่น เนื้อวัว (34%) ผลิตภัณฑ์นม (17%) และเนื้อไก่ (15%) ถึงแม้ว่าสุนัขแพ้อาหารอาการมักเกี่ยวกับผิวหนัง แต่ในน้องหมาบางรายก็อาจอาเจียนหรือท้องเสียด้วยได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามน้องหมามีความเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้อาหารได้ตลอดชีวิต และเสี่ยงต่อการแพ้อาหารได้ทุกประเภท

 

ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ

ภูมิแพ้ทางเดินหายใจเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ทั่วไป เช่น ฝุ่น หญ้า ต้นไม้ เชื้อรา และละอองเกสร อาการแพ้ลักษณะนี้อาจเกิดขึ้นเป็นบางช่วงหรือเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับน้องหมาบางสายพันธุ์ (โดยเฉพาะพันธุ์หน้าสั้น) อาจมีอาการคัดจมูกและจามด้วย แต่อาการแพ้บริเวณผิวหนังมักจะเกิดขึ้นบ่อยที่สุด ทั้งนี้ภูมิแพ้ทางเดินหายใจควรได้รับการดูแลรักษาตามคำแนะนำของสัตวแพทย์เท่านั้น

อาการแพ้ของสุนัขแต่ละตัวอาจแตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลที่เหมาะสม

 

 

อาการแพ้ในสุนัขที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง?

เกาอย่างต่อเนื่อง

อาการคันเป็นกลุ่มอาการทางผิวหนังที่พบได้บ่อยและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของน้องหมาเป็นอย่างมาก โดยสุนัขจะกัดแทะ เกา หรือเลียผิวหนังมากผิดปกติ

 

เลียตัวเองไม่หยุด 

การเลียตัวบ่อยหรือเลียตัวไม่หยุดเป็นหนึ่งในอาการแพ้ของสุนัข โดยเฉพาะในบริเวณอุ้งเท้า อาการนี้อาจเกิดจากสิ่งเร้าที่พบในได้บ้าน หรือพบขณะพาน้องหมาออกไปเดินเล่น หรืออาจเกิดจากการแพ้อาหารได้ด้วยเช่นกัน

 

กัดแทะอุ้งเท้า

เป็นอีกหนึ่งอาการแพ้ในสุนัขที่พบได้บ่อย โดยอาจเกิดจากสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อม เช่น หญ้า ละอองเกสร และไรฝุ่น เมื่อสิ่งเร้าเหล่านี้ซึมเข้าสู่ผิวหนังก็จะส่งผลให้เกิดการอักเสบและอาการระคายเคือง ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมกัดแทะในบริเวณที่มีอาการดังกล่าว

 

อาการคัน รอยแดง และผิวร้อนชื้น

น้องหมาอาจมีอาการคันหรือมีรอยแดงบนผิวหนัง อาการแพ้เหล่านี้พบได้บ่อยในโรคภูมิแพ้สุนัขทุกประเภท หากนี่เป็นอาการเดียวที่คุณสังเกตเห็น คุณสามารถรอเวลาสัก 1 -2 วันก่อนจะพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์

 

การป้องกันโรคภูมิแพ้ในหมามีวิธีอย่างไรบ้าง?

มันอาจต้องใช้เวลาเล็กน้อยเพื่อหาวิธีบรรเทาอาการแพ้ในสุนัข โดยหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพคือการอาบน้ำด้วยแชมพูสูตรสำหรับผิวบอบบาง (Hypoallergenic Shampoos) วิธีนี้จะช่วยขจัดสารก่อภูมิแพ้ เช่น หญ้าหรือละอองเกสรออกจากร่างกายน้องหมาได้

การป้องกันเห็บหมัดเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดการเกิดภูมิแพ้ในหมาได้ การทำความสะอาดบ้านและสภาพแวดล้อมโดยรอบก็ช่วยตัดวงจรชีวิตของเจ้าปรสิตตัวร้ายเหล่านี้ได้เช่นกัน 

นอกจากนี้ควรเลือกสูตรอาหารที่มีแหล่งโปรตีนคุณภาพดีหรือผ่านการออกแบบเพื่อสุนัขที่เป็นภูมิแพ้โดยเฉพาะ ทั้งนี้ในช่วงเปลี่ยนอาหารเพื่อทดสอบว่าน้องหมามีอาการแพ้หรือไม่ ควรหลีกเลี่ยงการให้ยา ขนม หรืออาหารของคน คุณอาจปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำด้านโภชนาการเพิ่มเติมได้

 

 

น้องหมาสายพันธุ์ไหนเสี่ยงเป็นภูมิแพ้มากที่สุด?

 

อเมริกันบูลล์ด็อกและอิงลิช บูลล์ด็อก

อิงลิช บูลล์ด็อกมักมีปัญหาน้ำลายไหล ซึ่งเมื่อโปรตีนที่อยู่ในน้ำลายสัมผัสกับอากาศก็อาจส่งผลให้น้องหมาเกิดอาการแพ้ได้

ระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นของอเมริกันบูลล์ด็อกสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้ หากพบว่าพวกเค้ามีอาการคัน มีรอยแดงบนผิวหนัง หรือเลียอุ้งเท้า นั่นแปลว่าพวกเค้ามีแนวโน้มที่จะเป็นภูมิแพ้

 

บิชอง ฟริเซ่

โรคภูมิแพ้อาหารและโรคภูมิแพ้ชนิดสัมผัสสามารถพบได้บ่อยในน้องหมาสายพันธุ์นี้ นอกจากนี้พวกเค้ายังมีแนวโน้มเป็นภูมิแพ้น้ำลายหมัด และมักจะแพ้สิ่งเร้าในสภาพแวดล้อม ทั้งละอองเกสรดอกไม้ เศษฝุ่น หญ้า และต้นไม้บางชนิดอีกด้วย

 

บอสตัน เทอร์เรีย

น้องหมาพันธุ์นี้เสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ชนิดสัมผัส พวกเค้าอาจแพ้ไม้ประดับในบ้าน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือแม้แต่แชมพูสำหรับสุนัขบางชนิด อาการแพ้มักปรากฏบริเวณผิวหนัง ให้หมั่นสังเกตรอยแดง ผิวหนังที่ลอกเป็นขุย หรือผื่นบริเวณอุ้งเท้า หน้าท้อง และหูทั้งสองข้าง

 

บ๊อกเซอร์

ุนัขแพ้อาหารอาการมักจะเกี่ยวข้องกับผิวหนัง ซึ่งบ็อกเซอร์เป็นสายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้อาหารสูง จึงมักพบอาการแพ้บริเวณผิวหนังได้บ่อย โดยบ็อกเซอร์ค่อนข้างไวต่ออาหารสุนัขที่มีส่วนประกอบของธัญพืช อย่างเช่นข้าวสาลีหรือข้าวโพด นอกจากนี้พวกเค้ายังแพ้สิ่งเร้าในสภาพแวดล้อม เช่น เกสรดอกไม้ ต้นไม้บางชนิด เศษฝุ่น และวัชพืชด้วย

 

สิ่งเร้าที่ทำให้สุนัขเกิดอาการแพ้ได้บ่อยมีอะไรบ้าง?

สปอร์ของเชื้อรา

สปอร์เชื้อรามีอยู่ทั่วไปรอบตัวเรา เมื่อน้องหมาสูดดมเข้าไป อาจทำให้มีอาการหายใจลำบาก มีเสียงฟืดฟาดหรือฮืดฮาดขณะหายใจ และอาจมีอาการจามร่วมด้วย ภูมิแพ้ในสุนัขยังอาจเกิดจากการกินอาหารหรืออาศัยอยู่ในบ้านที่มีเชื้อราได้อีกด้วย อาการบ่งบอกที่พบได้คือการกัดแทะและการเกามากผิดปกติ รวมถึงอาจมีผิวแห้งหรือพบแผลตกสะเก็ด

 

สะเก็ดผิวหนัง

น้ำมันซีบัม (Sebum) มีหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นให้กับผิวของน้องหมา แต่หากถูกผลิตออกมามากเกินไป จะทำให้เกิดรังแคและสะเก็ดผิวหนัง ซึ่งก่อให้เกิดอาการแพ้ในสุนัขได้

 

หมัด

น้ำลายของหมัดจะซึมเข้าไปในผิวหนังของสุนัข ส่งผลให้เกิดการอักเสบและทำให้เกิดอาการคันได้

 

ไรฝุ่น

การแพ้ไรฝุ่นเกิดจากแมลงตัวเล็ก ๆ ที่มีลักษณะคล้ายแมงมุม พวกมันอาศัยอยู่ตามที่ต่าง ๆ ในบ้าน และกินสะเก็ดผิวหนังเป็นอาหาร

 

เป็นไปได้หรือไม่ที่จะหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ในสุนัข?

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่โรคภูมิแพ้สุนัขไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่โชคดีที่คุณสามารถบรรเทาอาการแพ้ของสุนัขได้ เริ่มต้นจากหาสาเหตุที่แท้จริงกันก่อน เพื่อให้หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าได้ถูก ทั้งนี้เพื่อป้องกันอาการระคายเคืองและการติดเชื้อบริเวณผิวหนังและหู หากพบว่าน้องหมามีอาการคัน ให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

 

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภูมิแพ้ในสุนัข

 

จะช่วยบรรเทาอาการแพ้ในสุนัขได้อย่างไรบ้าง?

คุณสามารถปกป้องเจ้าตัวน้อยจากอาการแพ้ได้โดยหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เพียงแค่หมั่นทำความสะอาดทั้งในและนอกบ้าน การอาบน้ำน้องหมาด้วยแชมพูสูตรอ่อนโยนก็สามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้ได้เช่นกัน

 

อาการแพ้ของสุนัขที่พบบ่อยที่สุดคืออะไร?

อาการแพ้ที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้:

  • ภูมิแพ้ผิวหนัง
  • ภูมิแพ้อาหาร
  • ภูมิแพ้น้ำลายหมัด
  • ภูมิแพ้อากาศ จะเกิดเป็นบางช่วงเวลาเท่านั้น มักเกิดในช่วงฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูใบไม้ร่วง

 

การดูแลรักษาอาการแพ้ในสุนัขทำอย่างไรได้บ้าง?

การดูแลรักษาด้วยวิธีเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการแพ้บริเวณผิวหนังได้ดี:

  • ให้วิตามินอีเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว
  • ให้กินนมเปรี้ยวเพื่อช่วยรักษาสมดุลของเชื้อโรคดีในลำไส้
  • การอาบน้ำด้วยข้าวโอ๊ตจะช่วยบรรเทาอาการติดเชื้อและอาการแพ้ทางผิวหนังได้

 

น้องหมาใช้เวลาฟื้นตัวจากการเป็นภูมิแพ้นานแค่ไหน?

รคภูมิแพ้สุนัขไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยความอดทนและการช่วยเหลือจากสัตวแพทย์ คุณจะสามารถหาวิธีดูแลและรับมือกับปัญหาภูมิแพ้ในสุนัขได้อย่างเหมาะสมในท้ายที่สุด

Does Your Dog Have Allergies?
  • วิธีกำจัดเห็บหมัดสุนัข
    วิธีกำจัดเห็บหมัดสุนัข
    adp_description_block302
    วิธีกำจัดเห็บหมัดสุนัข

    • แบ่งปัน

    เราเชื่อว่าผู้เลี้ยงทุกคนอยากให้น้องหมามีชีวิตที่มีความสุขและสุขภาพดี อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามที่ซ่อนอยู่ในเงามืดอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของพวกเค้าได้  อย่างการแพร่กระจายของเห็บและหมัด ปรสิตตัวร้ายเหล่านี้มีขนาดเล็ก สังเกตได้ยาก จึงต้องอาศัยความระมัดระวังและจัดการในทันทีที่พบเจอ
     

    วงจรชีวิตของเห็บและหมัด

    เพื่อปกป้องน้องหมาจากการติดเชื้อปรสิต คุณควรทำความเข้าใจวงจรชีวิตของพวกมัน
     

    หมัด

    หมัดมีวงจรชีวิตสี่ระยะ ได้แก่

    • ระยะไข่ – ไข่หมัดมีขนาดเล็กและมีสีขาว โดยหมัดตัวเมียจะวางไข่บนตัวสุนัข ซึ่งมักจะตกหล่นอยู่ตามสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น พรม ผ้าปูที่นอน และรอยแตกบนพื้น 
    • ระยะตัวอ่อน – หลังระยะวางไข่ประมาณ 2 วัน – 2 สัปดาห์ ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนอน พวกมันจะกินอินทรียวัตถุในสิ่งแวดล้อมเป็นอาหาร
    • ระยะดักแด้ – จากนั้นตัวอ่อนจะหมุนรังไหมป้องกันตัวเองและเข้าสู่ระยะดักแด้ ระยะนี้อาจใช้เวลาหลายเดือน ทำให้ยากต่อการกำจัด
    • ระยะตัวเต็มวัย – หมัดตัวเต็มวัยจะโผล่ออกมาจากดักแด้ พร้อมที่จะกระโดดขึ้นไปบนตัวสุนัข กินเลือดและวางไข่เพื่อเริ่มวงจรใหม่
       

    เห็บ

    แม้จะมีวงจรชีวิตแตกต่างกัน แต่ก็ก่อให้เกิดอันตรายที่คล้ายกัน โดยพวกมันมีวงจรชีวิตดังนี้

    • ระยะไข่ – เห็บตัวเมียจะวางไข่หลายพันฟองในสิ่งแวดล้อม โดยมักอยู่ตามหญ้าสูงหรือพื้นที่ป่า
    • ระยะตัวอ่อน – หลังฟักตัวออกจากไข่ ตัวอ่อนของเห็บจะมีหกขาและกระตือรือร้นที่จะหาที่อยู่ พวกมันจะปีนขึ้นไปบนตัวสุนัขและกินเลือดเป็นเวลาหลายวันก่อนที่จะลอกคราบ
    • ระยะตัวกลางวัย – ตัวอ่อนจะพัฒนาเป็นตัวแปดขา โดยยังต้องอาศัยการกินเลือดเพื่อเติบโต
    • ระยะตัวเต็มวัย – เห็บตัวเต็มวัยจะหาอาหารเป็นครั้งสุดท้าย โดยเกาะติดกับสุนัขและกินเลือดเป็นเวลาหลายวันก่อนที่จะแยกตัวออกไปผสมพันธุ์และวางไข่ ซึ่งเป็นการสิ้นสุดวงจร
       

    สัญญาณเตือนของการติดเชื้อเห็บหมัด

    การตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นกุญแจสำคัญในการจัดการปรสิตเหล่านี้
     

    หมัดกับสุนัข

    หมัดเป็นแมลงตัวเล็กไม่มีปีก พวกมันกินเลือดสุนัขเป็นอาหาร ซึ่งการกัดและการกินเลือดของพวกมันอาจทำให้เกิดปัญหากับสุนัขดังนี้

    • มีอาการคัน เกาตัวบ่อยผิดปกติ – เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาการคันเกิดจากการถูกหมัดกัด และการแพ้น้ำลายของหมัด
    • ขนร่วง – หมัดอาจทำให้ขนร่วงได้ โดยเฉพาะบริเวณโคนหางและท้อง
    • อาการระคายเคือง – หมัดกัดอาจทำให้ผิวหนังแดงและระคายเคืองได้
    • เหงือกซีด – ในกรณีที่หมัดระบาดอย่างรุนแรง อาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง ซึ่งทำให้เหงือกซีดได้
    • มีสิ่งสกปรกจากหมัด – สิ่งสกปรกจากหมัดหมายถึงของเสีย มีลักษณะเป็นจุดดำเล็ก ๆ สามารถพบได้ในขนสุนัขหรือบนเตียง
       

    เห็บกับสุนัข

    เห็บมีแปดขาและมีขนาดตัวใหญ่กว่าหมัด พวกมันเกาะติดกับผิวหนังสุนัขเพื่อกินเลือด เห็บสามารถแพร่โรคต่าง ๆ ไปยังสุนัขได้ เช่น โรคลายม์ โรคอะนาพลาสโมซิส และโรคไข้พุพองเทือกเขาร็อคกี้ หากน้องหมาติดเชื้อ คุณอาจพบอาการเหล่านี้

    • เห็นตัวเห็บ – เห็บมักมองเห็นได้ง่าย พบได้บริเวณหัว คอ หู อุ้งเท้า และขาหนีบ
    • ตุ่มแดงและบวม – การติดเชื้อเห็บมักจะทำให้เกิดตุ่มแดงและอาการบวมบนผิวหนังของสุนัข
    • อาการเซื่องซึม – สุนัขอาจมีอาการเซื่องซึมหรือเหนื่อยง่าย
    • ไข้ – เป็นหนึ่งในอาการที่บ่งบอกว่าสุนัขติดเชื้อเห็บ
       

    การรักษาหมัดและเห็บ

    เมื่อตรวจพบการระบาดของปรสิตในสุนัข ผู้เลี้ยงควรทำการดูแลรักษาโดยทันที
     

    การรักษาหมัดในสุนัข

    วิธีรับมือกับหมัดมีหลายขั้นตอน โดยมีทางเลือกในการจัดการดังนี้

    • ยากิน – ยาเม็ดแบบเคี้ยวช่วยป้องกันหมัดได้ยาวนานและใช้งานง่าย
    • ยารักษาเฉพาะที่ – ยาประเภทนี้แนะนำให้ใช้กับผิวหนังของสุนัขโดยตรง สามารถหยอดบริเวณสะบัก เป็นวิธีควบคุมหมัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและอาจกำจัดเห็บได้ด้วย
    • แชมพูและสเปรย์กำจัดหมัด – แม้จะออกฤทธิ์ได้ไม่นานเท่ายากินและยารักษาเฉพาะที่ แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ช่วยกำจัดหมัดได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ร่วมกับการรักษาอื่น ๆ เพื่อให้ได้แนวทางที่ครอบคลุมมากขึ้น

    ทั้งนี้ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยคุณหมอจะพิจารณาจากอายุ สายพันธุ์ และความต้องการเฉพาะของน้องหมา
     

    การรักษาเห็บในสุนัข

    หากพบเห็บบนตัวสุนัข ให้กำจัดออกทันทีตามขั้นตอนต่อไปนี้

    • ใช้แหนบปลายแหลมดึงออก โดยจับเห็บให้ใกล้กับผิวมากที่สุด
    • ค่อย ๆ ดึงเห็บออกอย่างช้า ๆ หลีกเลี่ยงการบิดหรือขยี้เห็บ เพราะจะทำให้น้ำลายไหลเข้าไปในรอยกัดได้มากขึ้น
    • หลังจากดึงเห็บออกแล้ว ให้ใส่ในภาชนะที่ปิดสนิทและกำจัดเห็บอย่างเหมาะสม อย่าบดหรือทิ้งมันลงในชักโครก
    • ทำความสะอาดบริเวณที่ถูกกัดด้วยแอลกอฮอล์หรือแผ่นเช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อ

    หมั่นสังเกตอาการและพฤติกรรมของน้องหมาอย่างใกล้ชิด หากพบอาการบวมแดงหรือมีไข้ ให้ปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

    เคล็ดลับ – หลีกเลี่ยงการใช้วิธีรักษาบางวิธี เช่น ใช้ปิโตรเลียมเจลลีหรือไม้ขีดเพื่อกำจัดเห็บ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เห็บปล่อยน้ำลายออกมามากขึ้น และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรคได้
     

    การป้องกันเห็บหมัดในสุนัข

    แนวทางป้องกันเห็บและหมัดตัวร้ายที่ดีที่สุดมีขั้นตอนดังนี้
     

    การตรวจหาและกำจัดตั้งแต่เนิ่น ๆ

    • ตรวจสอบสม่ำเสมอ – หมั่นตรวจสอบขนและผิวหนังของน้องหมา โดยเฉพาะบริเวณหัว หู คอ และรักแร้ เพื่อหาสัญญาณของเห็บหมัด
    • ดูแลขนเป็นประจำ – การแปรงขนจะช่วยกำจัดหมัดและสิ่งสกปรกได้ นอกจากนี้ยังทำให้พบเจอสิ่งผิดปกติได้ง่ายและเร็วขึ้น
    • ทำความสะอาด – ซักเบาะนอนของน้องหมา ดูดฝุ่นและทำความสะอาดบ้านเป็นประจำเพื่อกำจัดหมัดที่มีอยู่และป้องกันการแพร่กระจายในอนาคต
       

    การป้องกัน

    • ดูแลป้องกันทุกเวลา – แนะนำให้ดูแลเอาใจใส่น้องหมาอย่างสม่ำเสมอ เห็บหมัดสามารถมีชีวิตอยู่ในบ้านได้เป็นเวลานานและพบเจอตลอดทั้งปี
    • รักษาสภาพแวดล้อม – หากสงสัยว่ามีเห็บหมัดในบ้านหรือในสวน ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำจัดสัตว์รบกวนเหล่านี้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
    • ระมัดระวังเมื่อต้องเดินทาง – ควรระมัดระวังเป็นพิเศษในช่วงเดินทาง เนื่องจากสภาพแวดล้อมใหม่อาจเป็นที่อยู่ของประชากรปรสิตที่แตกต่างกัน

    การปกป้องน้องหมาจากเห็บหมัดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี หากมีการป้องกันอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการใช้ยาและรักษาความสะอาด น้องหมาของคุณก็จะปลอดภัยจากปรสิตตัวร้ายเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและกำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับน้องหมาของคุณ

Close modal