IAMS TH
Does Your Dog Have Allergies?
Does Your Dog Have Allergies?-mob

adp_description_block452
สัญญาณเตือนและการดูแลรักษาภาวะภูมิแพ้ในสุนัข

  • แบ่งปัน

น้องหมามีอาการคัน เกา เลีย หรือกัดแทะตัวเองไม่หยุดอยู่ใช่หรือไม่? พวกเค้ากำลังงับอุ้งเท้าตัวเองไปมาอยู่ใช่มั้ย? หากใช่! อาการเหล่านี้บ่งบอกถึงความเป็นไปได้ที่น้องหมาของคุณจะเป็นภูมิแพ้

น้องหมาเองก็มีแนวโน้มที่จะแพ้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ หรือในอาหารได้เช่นเดียวกับคนเรา แต่แตกต่างกันที่อาการแพ้ของคนมักดีขึ้นได้ แต่สำหรับน้องหมานั้น อาการจะย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้น โรคภูมิแพ้สุนัขจึงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการพาน้องหมาไปพบสัตวแพทย์เลยทีเดียว โดยส่วนใหญ่มักพบอาการแพ้บริเวณผิวหนังและหู 

ทั้งนี้โรคภูมิแพ้สุนัขต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยสัตวแพทย์เท่านั้น แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าน้องหมามีอาการแพ้หรือกำลังแพ้อะไรอยู่? น่าเสียดายที่การวินิจฉัยสาเหตุของภูมิแพ้ในสุนัขไม่ใช่เรื่องง่าย บวกกับน้องหมาไม่สามารถบอกได้ว่ากำลังรู้สึกเช่นไร เจ้าของจึงจำเป็นต้องหมั่นสังเกตอาการเตือนต่าง ๆ อย่างสุนัขแพ้อาหารอาการก็มักเกี่ยวกับผิวหนัง หรือบางรายอาจมีอาการอาเจียนและท้องเสียร่วมด้วยก็ได้

ซึ่งอาการแพ้ของสุนัขที่เจ้าของควรหมั่นสังเกตและระมัดระวัง มีดังต่อไปนี้:

  • เกา เลีย และกัดแทะตัวเองอย่างต่อเนื่อง
  • ชอบเอาหน้าและหูไถไปกับพื้น
  • ผิวหนังอักเสบ ขนร่วง และมีกลิ่นเหม็น
  • ไอ จาม น้ำตาไหล น้ำมูกไหล
  • อาเจียนหรือท้องเสียบ่อย

 

ประเภทของภูมิแพ้ที่พบบ่อยในสุนัข

อาการแพ้ของสุนัขพบได้หลากหลาย ซึ่งประกอบไปด้วย:

ภูมิแพ้สารในสิ่งแวดล้อม

หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง สารก่อภูมิแพ้จากสิ่งแวดล้อม เช่น เชื้อรา ฝุ่น และละอองเกสรดอกไม้ ทำให้น้องหมาเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ สิ่งเร้าเหล่านี้พบได้ในบริเวณบ้าน ในสวน หรือที่ใดก็ตามที่น้องหมาของคุณอาศัยอยู่ มันจะซึมเข้าไปในผิวหนังก่อนก่อให้เกิดอาการแพ้ โดยบริเวณที่มักจะแสดงอาการคือหูและอุ้งเท้า หรืออาจพบอาการในบริเวณปาก ข้อเท้า รอบดวงตา ใต้วงแขน ง่ามขา และผิวหนังระหว่างนิ้วเท้าได้ด้วยเช่นกัน

ภูมิแพ้น้ำลายหมัด

อาการแพ้ที่เกิดจากหมัดสามารถพบได้บ่อย เนื่องจากน้องหมาแพ้น้ำลายของหมัดที่มากัดตามผิวหนัง ส่งผลให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรง ผิวหนังอักเสบ มีรอยแดง และมีแผลแห้งตกสะเก็ด โดยเฉพาะบริเวณโคนหาง

ภูมิแพ้อาหาร

ุนัขแพ้อาหารอาการคันจะพบได้บ่อย พวกเค้าอาจแพ้สารอาหารจำพวกโปรตีน เช่น เนื้อวัว (34%) ผลิตภัณฑ์นม (17%) และเนื้อไก่ (15%) ถึงแม้ว่าสุนัขแพ้อาหารอาการมักเกี่ยวกับผิวหนัง แต่ในน้องหมาบางรายก็อาจอาเจียนหรือท้องเสียด้วยได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามน้องหมามีความเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้อาหารได้ตลอดชีวิต และเสี่ยงต่อการแพ้อาหารได้ทุกประเภท

 

ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ

ภูมิแพ้ทางเดินหายใจเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ทั่วไป เช่น ฝุ่น หญ้า ต้นไม้ เชื้อรา และละอองเกสร อาการแพ้ลักษณะนี้อาจเกิดขึ้นเป็นบางช่วงหรือเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับน้องหมาบางสายพันธุ์ (โดยเฉพาะพันธุ์หน้าสั้น) อาจมีอาการคัดจมูกและจามด้วย แต่อาการแพ้บริเวณผิวหนังมักจะเกิดขึ้นบ่อยที่สุด ทั้งนี้ภูมิแพ้ทางเดินหายใจควรได้รับการดูแลรักษาตามคำแนะนำของสัตวแพทย์เท่านั้น

อาการแพ้ของสุนัขแต่ละตัวอาจแตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลที่เหมาะสม

 

 

อาการแพ้ในสุนัขที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง?

เกาอย่างต่อเนื่อง

อาการคันเป็นกลุ่มอาการทางผิวหนังที่พบได้บ่อยและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของน้องหมาเป็นอย่างมาก โดยสุนัขจะกัดแทะ เกา หรือเลียผิวหนังมากผิดปกติ

 

เลียตัวเองไม่หยุด 

การเลียตัวบ่อยหรือเลียตัวไม่หยุดเป็นหนึ่งในอาการแพ้ของสุนัข โดยเฉพาะในบริเวณอุ้งเท้า อาการนี้อาจเกิดจากสิ่งเร้าที่พบในได้บ้าน หรือพบขณะพาน้องหมาออกไปเดินเล่น หรืออาจเกิดจากการแพ้อาหารได้ด้วยเช่นกัน

 

กัดแทะอุ้งเท้า

เป็นอีกหนึ่งอาการแพ้ในสุนัขที่พบได้บ่อย โดยอาจเกิดจากสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อม เช่น หญ้า ละอองเกสร และไรฝุ่น เมื่อสิ่งเร้าเหล่านี้ซึมเข้าสู่ผิวหนังก็จะส่งผลให้เกิดการอักเสบและอาการระคายเคือง ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมกัดแทะในบริเวณที่มีอาการดังกล่าว

 

อาการคัน รอยแดง และผิวร้อนชื้น

น้องหมาอาจมีอาการคันหรือมีรอยแดงบนผิวหนัง อาการแพ้เหล่านี้พบได้บ่อยในโรคภูมิแพ้สุนัขทุกประเภท หากนี่เป็นอาการเดียวที่คุณสังเกตเห็น คุณสามารถรอเวลาสัก 1 -2 วันก่อนจะพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์

 

การป้องกันโรคภูมิแพ้ในหมามีวิธีอย่างไรบ้าง?

มันอาจต้องใช้เวลาเล็กน้อยเพื่อหาวิธีบรรเทาอาการแพ้ในสุนัข โดยหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพคือการอาบน้ำด้วยแชมพูสูตรสำหรับผิวบอบบาง (Hypoallergenic Shampoos) วิธีนี้จะช่วยขจัดสารก่อภูมิแพ้ เช่น หญ้าหรือละอองเกสรออกจากร่างกายน้องหมาได้

การป้องกันเห็บหมัดเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดการเกิดภูมิแพ้ในหมาได้ การทำความสะอาดบ้านและสภาพแวดล้อมโดยรอบก็ช่วยตัดวงจรชีวิตของเจ้าปรสิตตัวร้ายเหล่านี้ได้เช่นกัน 

นอกจากนี้ควรเลือกสูตรอาหารที่มีแหล่งโปรตีนคุณภาพดีหรือผ่านการออกแบบเพื่อสุนัขที่เป็นภูมิแพ้โดยเฉพาะ ทั้งนี้ในช่วงเปลี่ยนอาหารเพื่อทดสอบว่าน้องหมามีอาการแพ้หรือไม่ ควรหลีกเลี่ยงการให้ยา ขนม หรืออาหารของคน คุณอาจปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำด้านโภชนาการเพิ่มเติมได้

 

 

น้องหมาสายพันธุ์ไหนเสี่ยงเป็นภูมิแพ้มากที่สุด?

 

อเมริกันบูลล์ด็อกและอิงลิช บูลล์ด็อก

อิงลิช บูลล์ด็อกมักมีปัญหาน้ำลายไหล ซึ่งเมื่อโปรตีนที่อยู่ในน้ำลายสัมผัสกับอากาศก็อาจส่งผลให้น้องหมาเกิดอาการแพ้ได้

ระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นของอเมริกันบูลล์ด็อกสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้ หากพบว่าพวกเค้ามีอาการคัน มีรอยแดงบนผิวหนัง หรือเลียอุ้งเท้า นั่นแปลว่าพวกเค้ามีแนวโน้มที่จะเป็นภูมิแพ้

 

บิชอง ฟริเซ่

โรคภูมิแพ้อาหารและโรคภูมิแพ้ชนิดสัมผัสสามารถพบได้บ่อยในน้องหมาสายพันธุ์นี้ นอกจากนี้พวกเค้ายังมีแนวโน้มเป็นภูมิแพ้น้ำลายหมัด และมักจะแพ้สิ่งเร้าในสภาพแวดล้อม ทั้งละอองเกสรดอกไม้ เศษฝุ่น หญ้า และต้นไม้บางชนิดอีกด้วย

 

บอสตัน เทอร์เรีย

น้องหมาพันธุ์นี้เสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ชนิดสัมผัส พวกเค้าอาจแพ้ไม้ประดับในบ้าน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือแม้แต่แชมพูสำหรับสุนัขบางชนิด อาการแพ้มักปรากฏบริเวณผิวหนัง ให้หมั่นสังเกตรอยแดง ผิวหนังที่ลอกเป็นขุย หรือผื่นบริเวณอุ้งเท้า หน้าท้อง และหูทั้งสองข้าง

 

บ๊อกเซอร์

ุนัขแพ้อาหารอาการมักจะเกี่ยวข้องกับผิวหนัง ซึ่งบ็อกเซอร์เป็นสายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้อาหารสูง จึงมักพบอาการแพ้บริเวณผิวหนังได้บ่อย โดยบ็อกเซอร์ค่อนข้างไวต่ออาหารสุนัขที่มีส่วนประกอบของธัญพืช อย่างเช่นข้าวสาลีหรือข้าวโพด นอกจากนี้พวกเค้ายังแพ้สิ่งเร้าในสภาพแวดล้อม เช่น เกสรดอกไม้ ต้นไม้บางชนิด เศษฝุ่น และวัชพืชด้วย

 

สิ่งเร้าที่ทำให้สุนัขเกิดอาการแพ้ได้บ่อยมีอะไรบ้าง?

สปอร์ของเชื้อรา

สปอร์เชื้อรามีอยู่ทั่วไปรอบตัวเรา เมื่อน้องหมาสูดดมเข้าไป อาจทำให้มีอาการหายใจลำบาก มีเสียงฟืดฟาดหรือฮืดฮาดขณะหายใจ และอาจมีอาการจามร่วมด้วย ภูมิแพ้ในสุนัขยังอาจเกิดจากการกินอาหารหรืออาศัยอยู่ในบ้านที่มีเชื้อราได้อีกด้วย อาการบ่งบอกที่พบได้คือการกัดแทะและการเกามากผิดปกติ รวมถึงอาจมีผิวแห้งหรือพบแผลตกสะเก็ด

 

สะเก็ดผิวหนัง

น้ำมันซีบัม (Sebum) มีหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นให้กับผิวของน้องหมา แต่หากถูกผลิตออกมามากเกินไป จะทำให้เกิดรังแคและสะเก็ดผิวหนัง ซึ่งก่อให้เกิดอาการแพ้ในสุนัขได้

 

หมัด

น้ำลายของหมัดจะซึมเข้าไปในผิวหนังของสุนัข ส่งผลให้เกิดการอักเสบและทำให้เกิดอาการคันได้

 

ไรฝุ่น

การแพ้ไรฝุ่นเกิดจากแมลงตัวเล็ก ๆ ที่มีลักษณะคล้ายแมงมุม พวกมันอาศัยอยู่ตามที่ต่าง ๆ ในบ้าน และกินสะเก็ดผิวหนังเป็นอาหาร

 

เป็นไปได้หรือไม่ที่จะหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ในสุนัข?

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่โรคภูมิแพ้สุนัขไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่โชคดีที่คุณสามารถบรรเทาอาการแพ้ของสุนัขได้ เริ่มต้นจากหาสาเหตุที่แท้จริงกันก่อน เพื่อให้หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าได้ถูก ทั้งนี้เพื่อป้องกันอาการระคายเคืองและการติดเชื้อบริเวณผิวหนังและหู หากพบว่าน้องหมามีอาการคัน ให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

 

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภูมิแพ้ในสุนัข

 

จะช่วยบรรเทาอาการแพ้ในสุนัขได้อย่างไรบ้าง?

คุณสามารถปกป้องเจ้าตัวน้อยจากอาการแพ้ได้โดยหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เพียงแค่หมั่นทำความสะอาดทั้งในและนอกบ้าน การอาบน้ำน้องหมาด้วยแชมพูสูตรอ่อนโยนก็สามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้ได้เช่นกัน

 

อาการแพ้ของสุนัขที่พบบ่อยที่สุดคืออะไร?

อาการแพ้ที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้:

  • ภูมิแพ้ผิวหนัง
  • ภูมิแพ้อาหาร
  • ภูมิแพ้น้ำลายหมัด
  • ภูมิแพ้อากาศ จะเกิดเป็นบางช่วงเวลาเท่านั้น มักเกิดในช่วงฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูใบไม้ร่วง

 

การดูแลรักษาอาการแพ้ในสุนัขทำอย่างไรได้บ้าง?

การดูแลรักษาด้วยวิธีเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการแพ้บริเวณผิวหนังได้ดี:

  • ให้วิตามินอีเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว
  • ให้กินนมเปรี้ยวเพื่อช่วยรักษาสมดุลของเชื้อโรคดีในลำไส้
  • การอาบน้ำด้วยข้าวโอ๊ตจะช่วยบรรเทาอาการติดเชื้อและอาการแพ้ทางผิวหนังได้

 

น้องหมาใช้เวลาฟื้นตัวจากการเป็นภูมิแพ้นานแค่ไหน?

รคภูมิแพ้สุนัขไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยความอดทนและการช่วยเหลือจากสัตวแพทย์ คุณจะสามารถหาวิธีดูแลและรับมือกับปัญหาภูมิแพ้ในสุนัขได้อย่างเหมาะสมในท้ายที่สุด

Does Your Dog Have Allergies?
  • วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย
    adp_description_block489
    วิธีดูแลลูกสุนัขให้เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย

    • แบ่งปัน

    หากคุณอยากมีเพื่อนเล่นแก้เหงาหรือเพื่อนแท้ที่คอยอยู่เคียงข้าง ขอแนะนำให้รับเลี้ยงลูกสุนัขไว้สักตัว แต่ต้องมั่นใจด้วยว่าคุณสามารถดูแลรับผิดชอบเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ได้ เพราะลูกสุนัขต้องการความรักความเอาใจใส่เพื่อให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี
     

    การดูแลลูกสุนัขไม่ใช่แค่การให้อาหาร มอบความรัก หรือชวนเล่นเป็นครั้งคราว คุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม ฝึกพวกเค้าให้รู้จักขับถ่ายเป็นที่ รวมถึงต้องพาไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการดูแลทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณและเจ้าตัวน้อยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันมากขึ้น คุณจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการเจริญเติบโตของพวกเค้า สำหรับผู้เลี้ยงที่ไม่มั่นใจหรือมีความกังวล ในบทความนี้จะบอกเคล็ดลับและวิธีดูแลลูกสุนัขในช่วง 2 – 3 เดือนแรกให้ทุกคนได้รู้กัน
     

    การนำลูกสุนัขกลับบ้าน

    มีอะไรบ้างที่เราควรรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกสุนัข? มาเริ่มกันที่การรับลูกสุนัขเข้าบ้านวันแรก คุณควรจัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นอันตรายอยู่รอบ ๆ ตัวลูกสุนัข เช่น สารเคมี สายไฟ ต้นไม้ที่มีพิษ ของมีคม และข้าวของที่แตกหักง่าย เพราะลูกสุนัขก็เปรียบเหมือนทารกตัวน้อย ๆ พวกเค้าบอบบางแต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น นอกจากนี้คุณต้องซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม อย่างเช่น ชามอาหาร ปลอกคอ สายจูง และเบาะนอนนุ่ม ๆ สำหรับพักผ่อน
     

    การให้อาหารลูกสุนัข

    หนึ่งในการดูแลที่สำคัญคือการเลือกโภชนาการที่เหมาะสม ควรเลือกสูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเค้ามีความต้องการแตกต่างจากสุนัขวัยอื่น อีกทั้งยังต้องการสารอาหารที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี 
     

    การเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตจะขึ้นอยู่กับขนาดพันธุ์ สำหรับสุนัขพันธุ์เล็กหรือพันธุ์กลาง คุณสามารถเปลี่ยนสูตรอาหารได้เมื่อพวกเค้ามีอายุ 9 – 12 เดือน แต่หากเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ควรเปลี่ยนเมื่อมีอายุ 12 – 24 เดือน นอกจากการให้อาหารที่ดีและเหมาะสมแล้ว อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้พวกเค้าด้วย
     

    ตารางการให้อาหารสำหรับลูกสุนัข

    • 6 – 12 สัปดาห์ - 4 มื้อต่อวัน 
    • 3 – 6 เดือน - 3 มื้อต่อวัน
    • 6 – 12 เดือน - 2 มื้อต่อวัน

    ไอแอมส์™ มีผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับลูกสุนัขและสุนัขโตให้เลือกหลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์ของเราคัดสรรแต่วัตถุดิบคุณภาพระดับพรีเมียม นอกจากนี้ยังอุดมด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ มั่นใจได้เลยว่าน้องหมาของคุณจะเพลิดเพลินกับอาหารทุกคำที่พวกเค้าลิ้มรส
     

    การพบสัตวแพทย์และการฉีดวัคซีน

    การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการดูแลลูกสุนัข การเข้าพบครั้งแรกจะช่วยให้คุณรับรู้ข้อมูลสุขภาพโดยรวมของเจ้าตัวน้อย คุณหมอจะแจ้งตารางการฉีดวัคซีนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเหล่านี้เพิ่มเติมด้วย

    • ตารางการฉีดวัคซีน
    • การทำหมัน
    • การฝึกขับถ่าย
    • การฝึกทำตามคำสั่งพื้นฐาน
    • การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
    • โภชนาการที่เหมาะสม
    • การถ่ายพยาธิ

    การฝึกเข้าสังคมให้ลูกสุนัข

    ลูกสุนัขควรได้พบเจอกับผู้คน เพื่อนหมาตัวอื่น และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเรียนรู้ที่จะปรับตัว โดยเวลาที่สำคัญที่สุดในการฝึกเข้าสังคมคือช่วงอายุระหว่าง 3 – 12 สัปดาห์ และแนะนำให้ฝึกอย่างต่อเนื่อง
     

    การฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัข

    คุณควรเริ่มฝึกขับถ่ายให้ลูกสุนัขตั้งแต่วันแรกที่พาเข้าบ้าน เพื่อปลูกฝังให้พวกเค้าขับถ่ายเป็นที่ ไม่ต้องคอยทำความสะอาดทุกครั้ง เริ่มต้นฝึกด้วยการเลือกพื้นที่ขับถ่ายนอกบ้าน จากนั้นพาลูกสุนัขไปที่ดังกล่าวเมื่อถึงเวลาขับถ่าย ให้รางวัลทันทีหลังจากพวกเค้าขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำโทษไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เพราะจะทำให้ลูกสุนัขหวาดกลัวและอาจแสดงท่าทีก้าวร้าว
     

    การฝึกที่ดีที่สุดคือการฝึกในเชิงบวก หรือก็คือการให้รางวัลเมื่อพวกเค้าทำได้ดีหรือทำตัวน่ารัก และควรกำหนดระยะเวลาการฝึกเป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อไม่ให้ลูกสุนัขรู้สึกเบื่อหรือเหนื่อยจนเกินไป
     

    การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

    น้องหมาก็มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันเช่นเดียวกัน ทั้งการมีกลิ่นปาก ฟันหลุด และโรคปริทันต์ ซึ่งพวกเค้ามักจะไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็นอย่างชัดเจน ผู้เลี้ยงจึงควรดูแลช่องปากและฟันของพวกเค้าเป็นประจำ โดยควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยของคุณเพิ่มเติมได้
     

    การออกกำลังกายสำหรับลูกสุนัข

    แม้จะเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลัง แต่ผู้เลี้ยงควรควบคุมปริมาณและเวลาในการออกกำลังกายของลูกสุนัขให้เหมาะสม และปล่อยให้พวกเค้าได้พักผ่อนทุกครั้งที่ต้องการ หลีกเลี่ยงการให้เล่นเป็นเวลานาน ๆ เพียงครั้งเดียว แนะนำให้พาออกไปเดินเล่นระยะสั้น ๆ วันละสองครั้งแทน