IAMS TH
stomach-issues-in-cats-why-cats-vomit-and-what-to-do-banner
stomach-issues-in-cats-why-cats-vomit-and-what-to-do-banner

adp_description_block13
ปัญหาปวดท้องในแมว: สาเหตุและวิธีรับมือเมื่อแมวอาเจียน

  • แบ่งปัน

เจ้าของแมวล้วนคุ้นเคยกับอาการที่บ่งบอกว่าเจ้าเหมียวกำลังปวดท้องเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเสียงครางเจ็บปวด การขย้อนอาหาร หรืออาการคลื่นไส้ แต่เมื่อเค้าแสดงอาการเหล่านี้แล้ว เจ้าเหมียวก็กลับไปร่าเริงเหมือนปกติ ปล่อยให้เจ้าของทำความสะอาดคราบบนพื้นที่กองอยู่

ซินเธีย โบเวนแห่งคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอก็คุ้นชินกับเหตุการณ์ทำนองนี้เป็นอย่างดี ในฐานะเจ้าของแมวเมนคูน 4 ตัว ซินเธียผ่านการเช็ดคราบอาเจียนของเจ้าเหมียวมาไม่น้อย “ฉันเจอกับเหตุการณ์ลักษณะนี้ประมาณ 2-3 เดือนครั้ง” เธอกล่าว “แต่นอกจากนี้แล้วเค้าก็ดูแข็งแรงดี”

แม้ว่าจะไม่ใช่หัวข้อที่น่าอภิรมย์สักเท่าไร แต่การอาเจียนดูจะเป็นอาการที่เจ้าเหมียวทำเป็นปกติ เจ้าของแมวส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่านี่เป็นเรื่องธรรมชาติเมื่อเป็นเจ้าของแมว แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป การทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เจ้าเหมียวปวดท้องและวิธีรับมือจะช่วยสานสัมพันธ์ระหว่างคุณและเค้าให้สนิทกันมากขึ้น
 

ทำไมแมวจึงอาเจียน ?

เจ้าของแมวส่วนใหญ่เชื่อว่ามาจากปัญหาเรื่องก้อนขน แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัจจัยเดียว “การเดาว่าอาการอาเจียนส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากก้อนขนดูจะเป็นการรีบด่วนสรุปไปหน่อย” ดร.วิลเลียม ฟอล์เจอร์ สัตวแพทย์แห่งเมืองฮิวสตันกล่าว อีกสองสาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่ การกินอาหารเร็วเกินไป และนิสัยขี้สงสัยของแมว
 

การกินอาหารเร็วเกินไป

บางครั้งเจ้าเหมียวก็รีบกินอาหารครั้งละมาก ๆ ทำให้กระเพาะขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดการสำรอกอาหารได้ ในเหตุการณ์ทำนองนี้ คราบอาเจียนบนพื้นจะเป็นอาหารที่ถูกสำรอกออกมา ไม่ใช่การอาเจียนจริง ๆ ในลักษณะนี้จะเรียกว่าการสำรอก เมื่อแมวสำรอกของเหลวและอาหารจะไหลย้อนขึ้นมาทางหลอดอาหารและออกทางปาก ซึ่งต่างกับการอาเจียนที่มักมีการขย้อนและคลื่นไส้ร่วมด้วย

อาหารที่สำรอกออกมาจะยังเหลือรูปร่างและมีกลิ่นคล้ายอาหารหมัก “แมวที่รีบกินอาหารเพราะตะกละหรือเครียดเนื่องจากต้องแย่งกันกินจะสำรอกอาหารทันทีหลังจากกินเสร็จ” ดร.ซาร่า สตีเฟนส์ สัตวแพทย์จากมอนทาน่ากล่าว แต่อย่ารีบด่วนสรุปว่าการสำรอกอาหารมีสาเหตุมาจากการรีบกินอาหารเท่านั้น เพราะยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น ปัญหาภายในหลอดอาหาร ทางเดินอาหารอุดตัน ก้อนขน หรือการขาดน้ำ หากคุณสอนให้เจ้าเหมียวกินอาหารช้าลงแล้วยังพบปัญหาอยู่ ให้ปรึกษาสัตวแพทย์
 

Stomach Issues

 

ความขี้สงสัย

หญ้า ผ้าปูพื้น และกระดาษชำระ ล้วนแต่เป็นของที่แมวอาจกินเข้าไปและอาเจียนออกมาทีหลังได้ การอาเจียนในลักษณะนี้มาจากกลไกการป้องกันตัวเอง ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติเพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย บางครั้งความขี้สงสัยของเจ้าเหมียวก็นำไปสู่ปัญหาร้ายแรงได้ นอกจากนี้ ของโปรดของเจ้าเหมียวอย่าง เชือก ชิ้นส่วนของเล่น หรือขนนกอาจติดอยู่ในลำไส้หรือกระเพาะได้ ซึ่งทำให้เกิดการอาเจียนบ่อย ๆ ร่วมด้วยภาวะเครียดรุนแรง หากพบว่าแมวของคุณมีอาการเหล่านี้ รีบพาเค้าไปหาสัตวแพทย์ทันที ส่วนใหญ่การนำสิ่งของออกจำเป็นต้องอาศัยการผ่าตัด
 

เหตุกังวลใจเมื่อแมวอาเจียน ?

เจ้าของไม่ควรมองข้ามเมื่อแมวที่เลี้ยงอาเจียนซ้ำ ๆ เนื่องจากจะนำไปสู่ภาวะขาดน้ำได้ แต่ถ้าแมวอาเจียนเป็นเรื่องปกติ คุณจะแยกออกได้อย่างไร … “คำแนะนำเบื้องต้นคือหากแมวของคุณอาเจียนเดือนละ 1-3 ครั้ง ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ” ดร.ฟอล์เจอร์กล่าว

คุณหมอถือว่าเป็นเหตุการณ์รุนแรงต่อเมื่อแมวอาเจียนสองครั้งภายในสามวัน ยิ่งหากแมวของคุณไม่ยอมกินอาหาร แสดงอาการปวดท้อง หรืออาเจียนปนกับเลือด ควรรีบพาเค้าไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน และอย่าลืมว่าหากคุณสงสัยว่ามีปัญหากวนใจใด ๆ ที่อาจกลายเป็นปัญหารุนแรงกับแมว ให้รีบติดต่อสัตวแพทย์ หรือพาแมวไปพบสัตวแพทย์ทีนทีก็สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดของแมว รวมถึงคลายความกังวลของคุณได้
 

วิธีป้องกันไม่ให้แมวอาเจียน

เจ้าของแมวอาจจะคิดว่าการอาเจียนเป็นพฤติกรรมปกติของแมว ที่อาจเกิดขึ้นได้เพราะแมวมีปัญหาเรื่องกระเพาะอาหารมากกว่าในคน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่มีวิธีป้องกันแมวอาเจียน
 

Stomach Issues

 

สอนให้แมวกินอาหารช้าลง

วิธีแก้ไขเบื้องต้นคือการสอนให้แมวของคุณกินอาหารช้าลงหรือน้อยลง ดร.สตีเฟนส์แนะนำให้ ให้อาหารในปริมาณที่น้อยลง ยกภาชนะให้สูงขึ้นเล็กน้อย หรือใส่สิ่งของ เช่นลูกบอลเล็ก ๆ ลงในชามอาหาร ทำให้เจ้าเหมียวกินช้าลงเนื่องจากต้องคอยหลบลูกบอล แต่หากเลือกใช้วิธีนี้ต้องมั่นใจว่าลูกบอลมีขนาดใหญ่เกินกว่าเจ้าเหมียวจะกลืนได้ หรืออีกวิธีสำหรับบ้านที่เลี้ยงแมวหลายตัว คือให้อาหารแต่ละตัวคนละเวลา คนละที่กันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแย่งกันกิน
 

ปรับเปลี่ยนอาหารแมวของคุณ
 

หากวิธีเบื้องต้นไม่ได้ผล ให้สังเกตพฤติกรรมการกินของเค้าแล้วปรับอาหาร อย่างเช่น โบเวนที่เปลี่ยนแบรนด์อาหารแมว “ตั้งแต่เปลี่ยนมาให้ไอแอมส์™ เค้าก็ไม่ค่อยอาเจียนอีกเลย” โบเวนกล่าว

“ปกติแล้วพอคุณเปลี่ยนมาใช้อาหารที่คุณภาพสูงขึ้น ก็มักจะไม่ค่อยเกิดปัญหา” สตีเฟนส์กล่าว เคล็ดลับในการเปลี่ยนอาหารที่ได้ผลและไม่ลำบากใจเจ้าเหมียว ได้แก่

ค่อยเป็นค่อยไป ค่อย ๆ ปรับอาหารเพื่อให้แมวมีเวลาปรับตัว “ตรวจดูว่าแมวได้กินอาหารทุกวัน” ดร.สตีเฟนส์แนะนำ “แมวที่หยุดกินอาหารทันทีอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับตับได้”

เพิ่มความน่าทาน การเปลี่ยนจากอาหารเปียกเป็นอาหารเม็ด หรือจากอาหารเม็ดเป็นอาหารเปียกก็ควรค่อย ๆ เปลี่ยนเช่นเดียวกัน แมวส่วนใหญ่ชื่นชอบอาหารเปียกมากกว่า หากคุณเปลี่ยนมาให้อาหารเม็ด ให้เติมน้ำและอุ่นให้พอร้อนเพื่อเพิ่มความน่าทาน นำอาหารที่ไม่ได้กินเกิน 20 นาทีทิ้งเพื่อป้องกันอาหารเสีย 

ตวงอาหาร ควรให้อาหารแมวเท่าไรดี? … อย่าลืมพิจารณาอายุ เพศ สายพันธุ์ การทำกิจกรรมในแต่ละวัน รวมถึงสุขภาพโดยรวมของแมว ปรึกษาสัตวแพทย์ของคุณและอ่านคำแนะนำของผู้ผลิตอาหาร อาหารระดับพรีเมียมอย่างไอแอมส์™ มีสารอาหารอัดแน่นกว่าอาหารทั่วไป จึงไม่ต้องแปลกใจหากพบว่าต้องให้อาหารปริมาณน้อยลง

อีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ นอกจากการตวงอาหารแล้ว อย่าลืมชั่งน้ำหนักแมวเป็นประจำและปรับสัดส่วนอาหารตามความเหมาะสมหลังจากเปลี่ยนมาให้อาหารระดับพรีเมียม เจ้าเหมียวอาจรู้สึกชอบใจเมื่อได้กินอาหารเยอะกว่าปกติ แต่ในระยะยาวจะทำให้เค้าน้ำหนักเกินได้

หากแมวของคุณอาเจียนมากกว่าเดือนละ 3 ครั้งหรือมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารเรื้อรัง คุณสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อบรรเทาอาการของเค้าได้ เพียงแค่การได้รับคำแนะนำจากสัตวแพทย์และความพยายามของคุณในการดูแลเจ้าเหมียวอย่างถูกต้อง ก็จะสามารถจัดการปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดท้องได้

 

  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในแมว
    การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในแมว
    adp_description_block494
    การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าและการดูแล

    • แบ่งปัน

    โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการถูกกัดและข่วนโดยสัตว์ที่ติดเชื้อ เนื่องจากไม่มียาในการรักษา ทางออกเดียวที่จะต่อสู้กับไวรัสร้ายแรงนี้คือการฉีดวัคซีนป้องกัน

     

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นหนึ่งในวัคซีนหลักสำหรับแมว มันช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และช่วยให้แมวมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่ก่อนจะพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีน เรามาทำความเข้าใจรายละเอียดของโรคและวิธีป้องกันไปด้วยกันในบทความนี้
     

    โรคพิษสุนัขบ้าแพร่กระจายได้อย่างไร?

    โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ ซึ่งติดต่อได้ทั้งในสัตว์และคน ไม่ใช่แค่สุนัขอย่างที่เข้าใจผิดกัน เชื้อชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลเปิด ผ่านเยื่อเมือกในตา ปาก และจมูก รวมถึงแพร่กระจายผ่านการสัมผัสน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อด้วย โดยแมวส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายในเวลาไม่กี่วันหรืออาจใช้เวลานานถึงสองสามปีหลังได้รับเชื้อ
     

    เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรง พ่อแม่แมวจึงควรเรียนรู้สัญญาณเตือนและลักษณะอาการของโรคให้ดี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังนี้

    1. มีไข้

    2. เซื่องซึม

    3. ความอยากอาหารลดลง

    4. หายใจลำบาก

    5. น้ำลายไหลมาก

    6. กลืนลำบาก

    7. พฤติกรรมผิดปกติ

    การรักษาโรคพิษสุนัขบ้าอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มียารักษา การฉีดวัคซีนป้องกันจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าแมวของคุณจะปลอดภัยจากโรคร้ายนี้
     

    แมวที่เลี้ยงในบ้านจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่?

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแมวทั้งในบ้านและนอกบ้าน เพราะแมวมักจะเข้าสังคมด้วยการเลีย ดม หรือเกาตัวให้กัน แมวในบ้านจึงยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ที่ลูกแมวจะติดเชื้อ วัคซีนจะกระตุ้นการสร้างแอนติเจนในร่างกาย ทำให้แมวสามารถรับมือกับไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าได้
     

    แมวควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าบ่อยแค่ไหน?

    การฉีดวัคซีนจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ สายพันธุ์ และไลฟ์สไตล์ของลูกแมว รวมถึงประเภทของวัคซีนด้วย วัคซีนบางชนิดก็ต้องฉีดทุกปี บางชนิดอาจฉีดทุก ๆ 3 ปี โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนของแมวเพิ่มเติมได้

     

    แมวควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อใด?

    ลูกแมวควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มแรกเมื่อมีอายุ 12 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีนครั้งแรก ต้องฉีดวัคซีนทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีน
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    หลังจากการฉีดวัคซีน น้องแมวอาจมีอาการผิดปกติเล็กน้อย โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้มีดังนี้

    1. มีไข้ต่ำ

    2. เซื่องซึม

    3. ความอยากอาหารลดลง

    4. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    นอกจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว พ่อแม่แมวควรพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีนหลักอื่น ๆ ด้วย เช่น วัคซีนรวม F4 วัคซีนรวม FeVac 5 และวัคซีน FVRCP การฉีดวัคซีนควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพเป็นประจำจะช่วยให้ลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี