“ทำความเข้าใจว่ากรดลิโนเลอิก กรดไขมันโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 ในอาหารแมวอย่าง ไอแอมส์™ โปรแอคทีฟ เฮลท์™ แมวโต รสดั้งเดิม และไก่ช่วยบำรุงสุขขนให้แมวคุณได้อย่างไร”
กรดลิโนเลอิกเป็นกรดไขมันโอเมก้า-6 ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยนิยมใช้เป็นวัตถุดิบของอาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งพบได้ใน ข้าวโพด และไขมันไก่ กรดลิโนเอลิกเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อสุนัขและแมว
กรดไขมัน อยู่ในไขมันที่พบในอาหารโดยเกิดจากการรวมตัวของ คาร์บอน ไฮเดนเจน และออกซิเจนในสัดส่วนเฉพาะ กรดไขมันบางกลุ่ม อย่างเช่น โอเมก้า-3 (กรดไขมันที่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนตำแหน่งที่ 3) และโอเมก้า-6 (กรดไขมันที่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนตำแหน่งที่ 6) ก็มีความจำเป็นอย่างมากต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายแมว
พันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนตำแหน่งที่ 6 จึงมีชื่อว่า กรดไขมันโอเมก้า-6 มีหน้าที่บำรุงรักษาผิวหนังและขน รวมถึงช่วยให้พัฒนาการเป็นปกติ ทำให้เนื้อเยื่อเซลล์มีโครงสร้างที่ถูกต้อง และดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน
กรดลิโนเลอิกเป็นกรดไขมันโอเมก้า-6 ที่สำคัญที่สุด เนื่องจากแมวไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งยังต้องใช้เพื่อผลิตกรดไขมันโอเมก้า-6 ชนิดอื่นอีกด้วย
นอกจากนี้แมวยังต้องการกรดอะราคิโดนิกด้วยเนื่องจากเป็นกรดที่ไม่สามารถผลิตจากกรดลิโนเลอิกได้
อาหารแมวส่วนใหญ่มีปริมาณกรดลิโนเลอิกเกินกว่าที่จำเป็นอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม งานวิจัยไอแอมส์พบว่า ไม่ใช่แค่ปริมาณเท่านั้นที่สำคัญ แต่สัดส่วนระหว่างโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
สัดส่วนโอเมก้า-6 ต่อโอเมก้า-3 ที่ดีที่สุดเพื่อสุขภาพผิวหนังและขนที่แข็งแรงในสุนัขและแมวคือระหว่าง 5:1 และ 10:1 ดังนั้น กรดไขมันโอเมก้า-6 ทุก 5-10 หน่วยต้องมีโอเมก้า-3 อย่างน้อย 1 หน่วยเสมอ
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการถูกกัดและข่วนโดยสัตว์ที่ติดเชื้อ เนื่องจากไม่มียาในการรักษา ทางออกเดียวที่จะต่อสู้กับไวรัสร้ายแรงนี้คือการฉีดวัคซีนป้องกัน
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นหนึ่งในวัคซีนหลักสำหรับแมว มันช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และช่วยให้แมวมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่ก่อนจะพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีน เรามาทำความเข้าใจรายละเอียดของโรคและวิธีป้องกันไปด้วยกันในบทความนี้
โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ ซึ่งติดต่อได้ทั้งในสัตว์และคน ไม่ใช่แค่สุนัขอย่างที่เข้าใจผิดกัน เชื้อชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลเปิด ผ่านเยื่อเมือกในตา ปาก และจมูก รวมถึงแพร่กระจายผ่านการสัมผัสน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อด้วย โดยแมวส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายในเวลาไม่กี่วันหรืออาจใช้เวลานานถึงสองสามปีหลังได้รับเชื้อ
เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรง พ่อแม่แมวจึงควรเรียนรู้สัญญาณเตือนและลักษณะอาการของโรคให้ดี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังนี้
มีไข้
เซื่องซึม
ความอยากอาหารลดลง
หายใจลำบาก
น้ำลายไหลมาก
กลืนลำบาก
พฤติกรรมผิดปกติ
การรักษาโรคพิษสุนัขบ้าอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มียารักษา การฉีดวัคซีนป้องกันจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าแมวของคุณจะปลอดภัยจากโรคร้ายนี้
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแมวทั้งในบ้านและนอกบ้าน เพราะแมวมักจะเข้าสังคมด้วยการเลีย ดม หรือเกาตัวให้กัน แมวในบ้านจึงยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ที่ลูกแมวจะติดเชื้อ วัคซีนจะกระตุ้นการสร้างแอนติเจนในร่างกาย ทำให้แมวสามารถรับมือกับไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าได้
การฉีดวัคซีนจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ สายพันธุ์ และไลฟ์สไตล์ของลูกแมว รวมถึงประเภทของวัคซีนด้วย วัคซีนบางชนิดก็ต้องฉีดทุกปี บางชนิดอาจฉีดทุก ๆ 3 ปี โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนของแมวเพิ่มเติมได้
ลูกแมวควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มแรกเมื่อมีอายุ 12 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีนครั้งแรก ต้องฉีดวัคซีนทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีน
หลังจากการฉีดวัคซีน น้องแมวอาจมีอาการผิดปกติเล็กน้อย โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้มีดังนี้
มีไข้ต่ำ
เซื่องซึม
ความอยากอาหารลดลง
นอกจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว พ่อแม่แมวควรพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีนหลักอื่น ๆ ด้วย เช่น วัคซีนรวม F4 วัคซีนรวม FeVac 5 และวัคซีน FVRCP การฉีดวัคซีนควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพเป็นประจำจะช่วยให้ลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี