IAMS TH
How to Decipher Cat Food Product Labels
How to Decipher Cat Food Product Labels

adp_description_block286
อายุขัยแมวและเคล็ดลับการดูแลแมวให้อายุยืน

  • แบ่งปัน

ทาสแมวรู้ไหมว่า อายุขัยเฉลี่ยของแมวอยู่ที่ 15 ปี โดยแมวเลี้ยงในบ้านมักมีอายุขัยราว 12 – 18 ปี และบางตัวอาจอยู่ได้นานถึง 20 ปีเลยทีเดียว ในทางกลับกัน อายุขัยของแมวที่เลี้ยงแบบปล่อยหรือแมวจรนั้นมักสั้นกว่า เพราะพวกเค้ามีชีวิตที่เสี่ยงอันตรายจากการประสบอุบัติเหตุและการถูกทำร้ายโดยสัตว์ชนิดอื่น อีกทั้งหากเจ็บป่วยก็มักไม่ได้รับการรักษาพยาบาล

เราเชื่อว่าพ่อแม่แมวเหมียวทุกคนย่อมอยากดูแลให้เจ้าตัวน้อยแข็งแรงและอยู่ด้วยกันนาน ๆ  สำหรับแมว อายุขัยที่ยืนยาวเป็นผลรวมของหลากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเราได้รวบรวมมาให้แล้วในบทความนี้

ช่วงอายุแมวมีกี่ช่วง?

การดูแลแมวให้มีอายุยืนยาวต้องเริ่มจากทำความเข้าใจแต่ละช่วงวัยของพวกเค้าก่อน โดยช่วงอายุแมวแบ่งออกเป็น 6 ช่วงด้วยกัน

  • ช่วงวัยลูกแมว
    • ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 เดือน ถือเป็นช่วงวัยลูกแมว ในช่วงเวลานี้ เจ้าตัวน้อยจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงต้องการสารอาหารและพลังงานมากเป็นพิเศษ
  • ช่วงวัยเด็ก
    • น้องแมวอายุ 6 เดือน – 2 ปี จัดว่าอยู่ในช่วงวัยเด็ก พวกเค้าจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และจะแสดงลักษณะนิสัยเฉพาะตัวออกมาให้เห็นกัน ทั้งนี้เมื่อพวกเค้ามีอายุ 1 ปี สามารถเปลี่ยนอาหารจากสูตรลูกแมวมาเป็นสูตรแมวโตได้
  • ช่วงวัยรุ่น
    • ช่วงวัยรุ่นคือช่วงอายุ 3 – 6 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายของพวกเค้าอยู่ในสภาพที่สมบรูณ์ที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าน้องแมวจะมีสุขภาพดี แต่ก็ยังคงต้องตรวจเช็กร่างกายกับสัตวแพทย์เป็นประจำ
  • ช่วงโตเต็มวัย
    • น้องแมวในช่วงโตเต็มวัยมีอายุระหว่าง 7 – 10 ปี พวกเค้าอาจทำกิจกรรมน้อยลง ซึ่งทำให้น้ำหนักเพิ่มง่ายขึ้น น้องแมวในวัยนี้อาจต้องเปลี่ยนสูตรอาหาร รวมถึงเพิ่มวิตามินบางชนิดเพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกัน นี่ถือเป็นก้าวสำคัญในการดูแลพวกเค้าให้แข็งแรงและอยู่กับเราได้นานขึ้น
  • ช่วงสูงวัย
    • ช่วงอายุระหว่าง 11 – 14 ปี ถือว่าเข้าสู่ช่วงสูงวัยแล้ว และมีความเสี่ยงสูงที่จะเจ็บป่วย จึงควรปรึกษาและพบสัตวแพทย์เป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าเหมียวจะมีสุขภาพดี ได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ
  • ช่วงวัยชรา
    • เมื่อน้องแมวมีอายุ 15 ปีขึ้นไปแปลว่าอยู่ในช่วงวัยชราแล้ว โดยน้องแมวส่วนใหญ่จะไม่ค่อยแอ็กทีฟ และต้องการการดูแลมากเป็นพิเศษ

เทียบอายุแมวกับอายุคนได้อย่างไร?

สามารถเปรียบเทียบอายุแมวกับอายุของคนได้ดังนี้

  1. แมวอายุ 1 ปี เทียบเท่าคนอายุ 15 ปี
  2. แมวอายุ 2 ปี เทียบเท่าคนอายุ 24 ปี
  3. หลังจากน้องแมวอายุ 2 ปี วิธีคำนวณอายุเทียบกับคนคือ 1 ปีของแมวเทียบเท่า 4 ปีของคน เช่น เมื่อมีอายุ 3 ปี ก็จะเทียบเท่ากับคนอายุ 28 ปี และเมื่ออายุครบ 4 ปี จะเทียบเท่ากับคนอายุ 32 ปี

ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่ออายุขัยแมว?

ในการดูแลเจ้าเหมียวให้มีสุขภาพดี แข็งแรง และอยู่ด้วยกันกับเราได้นาน ๆ ต้องเริ่มจากทำความเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่ออายุขัยของเจ้าเหมียวกันก่อน

  • อาหารคุณภาพดีและน้ำสะอาด

    • การให้อาหารคุณภาพดีเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มอายุขัยเฉลี่ยแมว น้องแมวเป็นสัตว์กินเนื้อ ดังนั้นควรเลือกอาหารที่มีส่วนผสมหลักเป็นโปรตีนและมีสารอาหารจำเป็นต่อแมว เช่น ทอรีน นอกจากนี้อย่าลืมเตรียมน้ำสะอาดให้พวกเค้าตลอดเวลาด้วย
  • การดูแลสุขภาพร่างกาย

    • การพบสัตวแพทย์เป็นประจำ จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าเจ้าเหมียวสุขภาพดี ไม่มีปัญหาสุขภาพแอบแฝง โดยคุณหมอยังสามารถแนะนำเรื่องอาหารการกิน การควบคุมน้ำหนัก และการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับเจ้าตัวน้อยของคุณได้ด้วย
    • การป้องกันปรสิตตัวร้ายก็สำคัญ คุณหมออาจแนะนำให้ตรวจอุจจาระเพื่อหาหนอนพยาธิชนิดต่าง ๆ โดยคุณสามารถเก็บตัวอย่างอุจจาระได้ด้วยตัวเอง ก่อนนำไปให้คุณหมอเมื่อถึงเวลานัดหมาย วิธีนี้จะช่วยให้ประหยัดเวลา ไม่ต้องเดินทางบ่อย แถมเจ้าเหมียวก็แฮปปี้ด้วย
    • นอกจากนี้คุณหมอจะจัดตารางการฉีดวัคซีนให้เจ้าตัวน้อยด้วย เพื่อป้องกันและเตรียมร่างกายให้พร้อมต่อสู้กับโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคพิษสุนัข ทั้งนี้วัคซีนบางชนิดจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นทุกปี ส่วนบางชนิดก็ทุก ๆ สามปี ดังนั้นควรไปพบคุณหมอตามนัดหมายทุกครั้ง!
  • ความเอาใจใส่

    • ไม่ใช่แค่อาหารหรือข้าวของที่จำเป็นเท่านั้นที่น้องแมวต้องการจากเรา พวกเค้าต้องการความรักความเอาใจใส่ด้วย แม้ว่าจะมีนิสัยรักอิสระ แต่บางเวลาเจ้าตัวน้อยเหล่านี้ก็ต้องการความสนใจ อย่าลืมแบ่งเวลามาเล่นหรือทำกิจกรรมกับพวกเค้าประมาณ 10 – 15 นาทีต่อวัน ไม่จำเป็นต้องหาซื้อของเล่นราคาแพง แค่ถุงเท้าที่สะอาดผูกเข้ากับเชือกก็สร้างความสนุกสนานให้เจ้าเหมียวได้มากแล้ว
  • การออกกำลังกาย

    • ชวนน้องแมวเล่นสนุกหรือทำกิจกรรมง่าย ๆ วันละ 30 นาที เพื่อให้มั่นใจว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะมีร่างกายแข็งแรง พร้อมอยู่ด้วยกันไปนาน ๆ
  • ดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

    • หากไม่แปรงฟันเป็นประจำจะทำให้เกิดคราบหินปูนสะสม ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงอื่น ๆ ได้ เช่น ปวดฟัน ฟันหลุดร่วง หรือโรคไต จึงควรหมั่นทำความสะอาดฟันและพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กสุขภาพฟันเป็นประจำ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอายุขัยแมวและการดูแลแมวให้อายุยืน

  1. อายุขัยแมวเฉลี่ยอยู่ที่เท่าไหร่?
  2. อายุขัยของแมวส่วนใหญ่อยู่ที่ 12 – 18 ปี แต่น้องแมวบางตัวก็อาจอยู่ได้นานถึง 20 ปี

  3. น้องแมวอายุ 18 ปีเทียบเป็นคนอายุกี่ปี?
  4. แมวอายุ 1 ปี เทียบเท่าคนอายุ 15 ปี แมวอายุ 2 ปี เทียบเท่าคนอายุ 24 ปี แต่ในปีต่อ ๆ ไป การคำนวณคือ 1 ปีที่เพิ่มขึ้นของแมวเท่ากับ 4 ปีของคน เช่น แมวอายุ 3 ปี เทียบเท่าคนอายุ 28 ปี ดังนั้นแมวอายุ 18 ปี จะเทียบเท่ากับคนอายุ 88 ปี

  5. น้องแมวสามารถอยู่ได้นานกว่า 20 ปีหรือไม่?
  6. โดยทั่วไปสำหรับแมว อายุขัยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 15 ปี แต่แมวบางตัวก็อยู่ได้นานถึง 20 ปี อันที่จริงมีน้องแมวหลายตัวเลยที่อยู่ได้นานกว่า 25 ปี สำหรับน้องแมวที่มีอายุยืนที่สุด มีชื่อว่าน้องครีมพัฟ ซึ่งมีอายุยาวถึง 38 ปี 3 วัน

  7. อะไรคือสัญญาณที่บ่งบอกว่าแมวเข้าสู่ช่วงสูงวัยแล้ว?
  8. เมื่อน้องแมวเข้าสู่ช่วงสูงวัย เราจะสังเกตเห็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น ขยับตัวน้อยหรือทำกิจกรรมน้อยลง น้ำหนักตัวลดลง มีอาการสับสนงุนงง พฤติกรรมเปลี่ยน ความอยากอาหารและการนอนเปลี่ยนไป

  9. อายุขัยแมวตัวผู้ยืนยาวกว่าแมวตัวเมียจริงไหม?
  10. จากสถิติพบว่าอายุขัยของแมวตัวเมียยืนยาวกว่าตัวผู้ นอกจากนี้ในแมว อายุขัยยังเพิ่มขึ้นได้หากทำหมัน เพราะน้องแมวที่ทำหมันแล้วมักมีอายุยืนกว่าน้องแมวที่ไม่ได้ทำหมันนั่นเอง

  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในแมว
    การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในแมว
    adp_description_block140
    การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าและการดูแล

    • แบ่งปัน

    โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการถูกกัดและข่วนโดยสัตว์ที่ติดเชื้อ เนื่องจากไม่มียาในการรักษา ทางออกเดียวที่จะต่อสู้กับไวรัสร้ายแรงนี้คือการฉีดวัคซีนป้องกัน

     

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นหนึ่งในวัคซีนหลักสำหรับแมว มันช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และช่วยให้แมวมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่ก่อนจะพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีน เรามาทำความเข้าใจรายละเอียดของโรคและวิธีป้องกันไปด้วยกันในบทความนี้
     

    โรคพิษสุนัขบ้าแพร่กระจายได้อย่างไร?

    โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ ซึ่งติดต่อได้ทั้งในสัตว์และคน ไม่ใช่แค่สุนัขอย่างที่เข้าใจผิดกัน เชื้อชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลเปิด ผ่านเยื่อเมือกในตา ปาก และจมูก รวมถึงแพร่กระจายผ่านการสัมผัสน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อด้วย โดยแมวส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายในเวลาไม่กี่วันหรืออาจใช้เวลานานถึงสองสามปีหลังได้รับเชื้อ
     

    เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรง พ่อแม่แมวจึงควรเรียนรู้สัญญาณเตือนและลักษณะอาการของโรคให้ดี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังนี้

    1. มีไข้

    2. เซื่องซึม

    3. ความอยากอาหารลดลง

    4. หายใจลำบาก

    5. น้ำลายไหลมาก

    6. กลืนลำบาก

    7. พฤติกรรมผิดปกติ

    การรักษาโรคพิษสุนัขบ้าอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มียารักษา การฉีดวัคซีนป้องกันจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าแมวของคุณจะปลอดภัยจากโรคร้ายนี้
     

    แมวที่เลี้ยงในบ้านจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่?

    วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแมวทั้งในบ้านและนอกบ้าน เพราะแมวมักจะเข้าสังคมด้วยการเลีย ดม หรือเกาตัวให้กัน แมวในบ้านจึงยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ การฉีดวัคซีนป้องกันถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ที่ลูกแมวจะติดเชื้อ วัคซีนจะกระตุ้นการสร้างแอนติเจนในร่างกาย ทำให้แมวสามารถรับมือกับไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าได้
     

    แมวควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าบ่อยแค่ไหน?

    การฉีดวัคซีนจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ สายพันธุ์ และไลฟ์สไตล์ของลูกแมว รวมถึงประเภทของวัคซีนด้วย วัคซีนบางชนิดก็ต้องฉีดทุกปี บางชนิดอาจฉีดทุก ๆ 3 ปี โดยคุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนของแมวเพิ่มเติมได้

     

    แมวควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อใด?

    ลูกแมวควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มแรกเมื่อมีอายุ 12 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีนครั้งแรก ต้องฉีดวัคซีนทุกปีหรือทุก ๆ 3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีน
     

    ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    หลังจากการฉีดวัคซีน น้องแมวอาจมีอาการผิดปกติเล็กน้อย โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้มีดังนี้

    1. มีไข้ต่ำ

    2. เซื่องซึม

    3. ความอยากอาหารลดลง

    4. มีอาการบวมหรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

    นอกจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว พ่อแม่แมวควรพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีนหลักอื่น ๆ ด้วย เช่น วัคซีนรวม F4 วัคซีนรวม FeVac 5 และวัคซีน FVRCP การฉีดวัคซีนควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพเป็นประจำจะช่วยให้ลูกแมวของคุณมีสุขภาพที่ดี